ถาม : เคยได้ยินว่าถ้ารักษาศีลโดยไม่เคยสมาทานศีลเลย
ก็จะไม่ได้บุญจากการรักษาศีลนั้น จริงหรือเปล่า?
รับฟังทางยูทูป : http://youtu.be/LE2bDXEIC1Y
ดังตฤณ : ไม่จริงนะครับ อธิบายแยกอย่างนี้นะครับ สมมุติว่าเราถูกยั่วยุให้ฆ่าสัตว์ หรือถูกยั่วยุให้ขโมยของหรือว่าลักทรัพย์ใคร มีโอกาสแล้ว แล้วถูกยั่วยุแล้ว แต่เราไม่ทำ ฝืนใจไม่ทำนี่ ห้ามใจไว้ไม่ทำ ทั้งๆที่อยากจะทำ ทั้งๆที่เห็นโอกาส ทั้งๆที่มีโอกาส นี่อย่างนี้เรียกว่าได้บุญแล้ว ถือว่าเป็นการรักษาศีลแล้ว
แต่ที่มันจะแน่นอนหรือไม่แน่นอนนี่ มันขึ้นอยู่กับความเข้าใจชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าเรามีศรัทธาในอะไรบ้าง ในใครบ้าง คือคนที่ห้ามใจตัวเอง คนที่ฝืนใจตัวเอง ไม่ทำผิดศีลนี่ บางทีมันเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบ เป็นแค่มโนธรรม เป็นแค่มนุษยธรรมที่มันปรากฏตัวขึ้นมาชนะอำนาจกิเลส ยังไม่ได้ประกันว่าครั้งต่อๆไป เราจะทำหรือไม่ทำ เพราะไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน
ทีนี้ถ้าเราศรัทธาพุทธศาสนาแล้ว เชื่อแล้ว เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดตามเหตุปัจจัย คือสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เรากลัว เราละอายต่อบาป ด้วยความไม่อยากจะต้องไปตกทุกข์ได้ยาก เพราะบาปที่ทำนั้น แล้วตั้งใจรักษาศีลตลอดชีวิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี ละขาดจากการมุสา ละขาดจากการกินเหล้าเมายา อย่างนี้เรียกว่าเป็นการสมาทานศีลอย่างสมบูรณ์ เป็นการตั้งใจจะเว้นขาดชั่วชีวิตเลย
บุญอันเกิดจากการรักษาศีล ไม่ได้เกิดขึ้นนะเวลาที่เราสมาทานศีล สมาทานนี่ก็แปลว่าตั้งใจรักษาศีล ถือปฏิบัติเอาตลอดชีวิต มันไม่ได้เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นอย่างเต็มที่นะครับ มันเกิดขึ้นก็จริง เป็นความตั้งใจที่ดี แต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเต็มรูปแบบ บุญที่เกิดจากการสมาทานศีลตลอดชีวิต จะเกิดเต็มที่ต่อเมื่อเราตายไป โดยสามารถจะรักษาศีลได้ต่างหาก หมายความว่า นับจากสมาทานศีลนี่ ชั่วชีวิตเราไม่ประพฤติผิด ไม่ละเมิดศีลอีกเลย ได้ตามความตั้งใจ แม้จะถูกยั่วยุต่างๆนานา อย่างไรก็ตามนี่ เรียกว่านี่ได้บุญจากการรักษาศีลอย่างแท้จริง
บุญนั้นจะหนักพอที่จะพาให้เราไม่ต้องตกต่ำไปเป็นสัตว์นรก ไม่ต้องตกต่ำไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่ต้องตกต่ำไปเป็นเปรต แล้วถ้าหากกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ก็จะเป็นผู้มีบุญ คือศีลที่รักษาได้ตลอดชีวิตนั้น จะทำให้เกิดในตระกูลสูง จะทำให้จิตใจและร่างกายมีความสว่างพร้อม หมายความว่าสุขภาพก็ดี และจิตใจก็เต็มที่ ไม่มีความขาดตกบกพร่อง ไม่ใช่คนที่อ่อนแอด้วยโรค ไม่ใช่คนที่มีความคิดมาก หรือว่าอาการซึมเศร้ามาแต่กำเนิดอะไรแบบนั้น นี่เรียกว่าเป็นอานิสงส์ของการรักษาศีลได้ นี่ต้องทำความเข้าใจกันเป็นชั้นๆ
คือไม่ใช่บอกว่า ถ้ารักษาศีลโดยไม่สมาทานศีลเลยก็จะไม่ได้บุญจากการรักษาศีล อันนี้ไม่ถูกนะครับ คือแม้แต่กระทั่งว่าเราไม่เชื่อพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นคนของพระพุทธศาสนา ไม่เคยสมาทานศีลเลย แต่แค่ห้ามใจที่จะไม่ประพฤติผิดในศีลข้อใดข้อหนึ่ง นี่ก็ได้บุญแล้วนะครับ
แต่ที่จะได้บุญจริงๆขนานแท้จากการรักษาศีลแบบพุทธศาสนิกชนนี่ ก็ต้องสมาทานศีลเว้นขาดตลอดชีวิต แล้วทำได้ตลอดชีวิตจริงๆ หรือเอาเป็นช่วงๆก็ได้ อย่างสมมุติว่า เราตั้งใจที่จะเว้นขาดจากการประพฤติผิดในบาปทั้งปวงนี่ เราตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้จะไม่ทำอีก และทำไปได้ ๓ ปี ๓ ปีนั้นบริสุทธิ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย ไม่มีมลทินเลย จากการประพฤติล่วงละเมิดศีล ก็เรียกว่าได้บุญไป ๓ ปีแล้ว และขึ้นปีที่ ๔ มันไปทำผิดคิดร้าย ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไปโกหกเขา ไปกินเหล้า อะไรต่างๆนี่ บุญ ๓ ปีที่รักษาศีลมาก็ไม่ได้หายไปไหน ก็ถือว่าเป็นผู้มีบุญจากการรักษาศีลได้ ๓ ปีแล้ว
ขาดคือตรงนั้นก็จะกลายเป็นว่า ทำบุญมากองภูเขาเลย ๓ ปี เสร็จแล้วมาล้มละลายทางศีลธรรม ขึ้นปีที่ ๔ กลายเป็นคนบาปไป อย่างนี้เวลาที่กรรมเผล็ดผล ก็จะเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์พูนสุขจากการเป็นผู้รักษาศีลได้ ๓ ปี เสร็จแล้วก็จะเกิดความไม่แน่ไม่นอนในชีวิตขึ้นมา พอวิบากของการผิดศีลมันเผล็ดผล ก็เปลี่ยนจากดีกลายเป็นร้าย กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือได้
อันนี้คือเรื่องของความซับซ้อนในการก่อกรรม ถ้าหากว่ารักษาศีลได้ตลอดก็ดีได้ตลอดนะครับ เวลากรรมเผล็ดผลนี่ ก็จะมีแต่สุขกับสุข มีแต่รุ่งกับรุ่ง โอกาสที่จะร่วงลงมานี่ยากมาก อย่างบางคนนี่นะ รักษาศีลได้ตลอดชีวิตในชาติก่อน ชาตินี้มีแต่ดีกับดี ต่อให้ทำชั่ว ต่อให้ไปหมกมุ่นอบายมุขอะไรสักช่วงหนึ่ง สมมุติว่าเดือนสองเดือนนี่ ก็ไม่มีผล ก็ยังหน้าตาสว่างไสวอยู่ ดูดีอยู่ ไปโกงบ้านโกงเมือง ไปเผาบ้านเผาเมือง หรือว่าไปยุยงให้ใครเค้าแตกแยกกันนี่ อย่างนี้ ก็ยังไม่ร่วง เพราะอำนาจของการเคยรักษาศีลได้ตลอดชีวิตนี่ มันยังดีอยู่ มันยังให้ผลอยู่
แต่ในที่สุดนะครับ คือถ้าทำกรรมใหม่ ไปหมกมุ่นอบายมุข ไปเป็นชู้ ไปโกหกมดเท็จ อะไรต่อมิอะไรต่างๆนี่จนกระทั่งบุญเก่าเสื่อม บุญเก่านี่ยอมแพ้ ทำได้สัก ๒ ปี ๕ ปีนี่ อย่างไรๆบุญเก่าก็ต้องแพ้ ถ้าหากว่าบาปใหม่มันหนักเหลือเกิน มันหนักอึ้งจริงๆนี่ บุญเก่าล่าถอยไป ก็จะเห็นได้จากการที่หน้าตาคล้ำหมอง ทำอะไรนี่ผิดพลาดไปหมด หรือว่าที่เคยรุ่ง ที่เคยมีแต่ดีกับดี ได้กับได้นี่ มันก็กลายเป็นเสียกับเสียอะไรไปแบบนั้น เวลาตายก็จะตายแบบไม่ดี หรือว่าหน้าตาไม่ผ่องใส เห็นเลยว่าสภาพไม่สวยตอนที่จะไป อะไรแบบนี้
นี่ก็เป็นเรื่องที่เราต้องเน้นความเข้าใจเรื่องตรงนี้กันดีๆเลย แล้วก็จะเกิดความมีศรัทธาในเรื่องของกรรมและวิบากตามหลักของพุทธศาสนาจริงๆ คืออะไรก็แล้วแต่ที่เราทำอยู่เป็นประจำนี่มันเห็นผลเดี๋ยวนี้เลย ไม่ใช่ว่าจะมีบุญเก่าหรือว่ามีบาปเก่ามา แล้วเราจะเอาชนะไม่ได้ด้วยกรรมใหม่นะครับ บุญใหม่เอาชนะบาปเก่าได้ แล้วก็ในขณะเดียวกันตรงกันข้าม บาปใหม่สามารถที่จะเอาชนะบุญเก่าได้เช่นกัน
รับฟังทางยูทูป : http://youtu.be/LE2bDXEIC1Y
ดังตฤณ : ไม่จริงนะครับ อธิบายแยกอย่างนี้นะครับ สมมุติว่าเราถูกยั่วยุให้ฆ่าสัตว์ หรือถูกยั่วยุให้ขโมยของหรือว่าลักทรัพย์ใคร มีโอกาสแล้ว แล้วถูกยั่วยุแล้ว แต่เราไม่ทำ ฝืนใจไม่ทำนี่ ห้ามใจไว้ไม่ทำ ทั้งๆที่อยากจะทำ ทั้งๆที่เห็นโอกาส ทั้งๆที่มีโอกาส นี่อย่างนี้เรียกว่าได้บุญแล้ว ถือว่าเป็นการรักษาศีลแล้ว
แต่ที่มันจะแน่นอนหรือไม่แน่นอนนี่ มันขึ้นอยู่กับความเข้าใจชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าเรามีศรัทธาในอะไรบ้าง ในใครบ้าง คือคนที่ห้ามใจตัวเอง คนที่ฝืนใจตัวเอง ไม่ทำผิดศีลนี่ บางทีมันเป็นแค่อารมณ์ชั่ววูบ เป็นแค่มโนธรรม เป็นแค่มนุษยธรรมที่มันปรากฏตัวขึ้นมาชนะอำนาจกิเลส ยังไม่ได้ประกันว่าครั้งต่อๆไป เราจะทำหรือไม่ทำ เพราะไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน
ทีนี้ถ้าเราศรัทธาพุทธศาสนาแล้ว เชื่อแล้ว เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดตามเหตุปัจจัย คือสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เรากลัว เราละอายต่อบาป ด้วยความไม่อยากจะต้องไปตกทุกข์ได้ยาก เพราะบาปที่ทำนั้น แล้วตั้งใจรักษาศีลตลอดชีวิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดประเวณี ละขาดจากการมุสา ละขาดจากการกินเหล้าเมายา อย่างนี้เรียกว่าเป็นการสมาทานศีลอย่างสมบูรณ์ เป็นการตั้งใจจะเว้นขาดชั่วชีวิตเลย
บุญอันเกิดจากการรักษาศีล ไม่ได้เกิดขึ้นนะเวลาที่เราสมาทานศีล สมาทานนี่ก็แปลว่าตั้งใจรักษาศีล ถือปฏิบัติเอาตลอดชีวิต มันไม่ได้เกิดขึ้น ณ ตอนนั้นอย่างเต็มที่นะครับ มันเกิดขึ้นก็จริง เป็นความตั้งใจที่ดี แต่ยังไม่ได้เกิดขึ้นเต็มรูปแบบ บุญที่เกิดจากการสมาทานศีลตลอดชีวิต จะเกิดเต็มที่ต่อเมื่อเราตายไป โดยสามารถจะรักษาศีลได้ต่างหาก หมายความว่า นับจากสมาทานศีลนี่ ชั่วชีวิตเราไม่ประพฤติผิด ไม่ละเมิดศีลอีกเลย ได้ตามความตั้งใจ แม้จะถูกยั่วยุต่างๆนานา อย่างไรก็ตามนี่ เรียกว่านี่ได้บุญจากการรักษาศีลอย่างแท้จริง
บุญนั้นจะหนักพอที่จะพาให้เราไม่ต้องตกต่ำไปเป็นสัตว์นรก ไม่ต้องตกต่ำไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน ไม่ต้องตกต่ำไปเป็นเปรต แล้วถ้าหากกลับมาเกิดในโลกนี้อีก ก็จะเป็นผู้มีบุญ คือศีลที่รักษาได้ตลอดชีวิตนั้น จะทำให้เกิดในตระกูลสูง จะทำให้จิตใจและร่างกายมีความสว่างพร้อม หมายความว่าสุขภาพก็ดี และจิตใจก็เต็มที่ ไม่มีความขาดตกบกพร่อง ไม่ใช่คนที่อ่อนแอด้วยโรค ไม่ใช่คนที่มีความคิดมาก หรือว่าอาการซึมเศร้ามาแต่กำเนิดอะไรแบบนั้น นี่เรียกว่าเป็นอานิสงส์ของการรักษาศีลได้ นี่ต้องทำความเข้าใจกันเป็นชั้นๆ
คือไม่ใช่บอกว่า ถ้ารักษาศีลโดยไม่สมาทานศีลเลยก็จะไม่ได้บุญจากการรักษาศีล อันนี้ไม่ถูกนะครับ คือแม้แต่กระทั่งว่าเราไม่เชื่อพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นคนของพระพุทธศาสนา ไม่เคยสมาทานศีลเลย แต่แค่ห้ามใจที่จะไม่ประพฤติผิดในศีลข้อใดข้อหนึ่ง นี่ก็ได้บุญแล้วนะครับ
แต่ที่จะได้บุญจริงๆขนานแท้จากการรักษาศีลแบบพุทธศาสนิกชนนี่ ก็ต้องสมาทานศีลเว้นขาดตลอดชีวิต แล้วทำได้ตลอดชีวิตจริงๆ หรือเอาเป็นช่วงๆก็ได้ อย่างสมมุติว่า เราตั้งใจที่จะเว้นขาดจากการประพฤติผิดในบาปทั้งปวงนี่ เราตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้จะไม่ทำอีก และทำไปได้ ๓ ปี ๓ ปีนั้นบริสุทธิ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย ไม่มีมลทินเลย จากการประพฤติล่วงละเมิดศีล ก็เรียกว่าได้บุญไป ๓ ปีแล้ว และขึ้นปีที่ ๔ มันไปทำผิดคิดร้าย ไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไปโกหกเขา ไปกินเหล้า อะไรต่างๆนี่ บุญ ๓ ปีที่รักษาศีลมาก็ไม่ได้หายไปไหน ก็ถือว่าเป็นผู้มีบุญจากการรักษาศีลได้ ๓ ปีแล้ว
ขาดคือตรงนั้นก็จะกลายเป็นว่า ทำบุญมากองภูเขาเลย ๓ ปี เสร็จแล้วมาล้มละลายทางศีลธรรม ขึ้นปีที่ ๔ กลายเป็นคนบาปไป อย่างนี้เวลาที่กรรมเผล็ดผล ก็จะเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์พูนสุขจากการเป็นผู้รักษาศีลได้ ๓ ปี เสร็จแล้วก็จะเกิดความไม่แน่ไม่นอนในชีวิตขึ้นมา พอวิบากของการผิดศีลมันเผล็ดผล ก็เปลี่ยนจากดีกลายเป็นร้าย กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือได้
อันนี้คือเรื่องของความซับซ้อนในการก่อกรรม ถ้าหากว่ารักษาศีลได้ตลอดก็ดีได้ตลอดนะครับ เวลากรรมเผล็ดผลนี่ ก็จะมีแต่สุขกับสุข มีแต่รุ่งกับรุ่ง โอกาสที่จะร่วงลงมานี่ยากมาก อย่างบางคนนี่นะ รักษาศีลได้ตลอดชีวิตในชาติก่อน ชาตินี้มีแต่ดีกับดี ต่อให้ทำชั่ว ต่อให้ไปหมกมุ่นอบายมุขอะไรสักช่วงหนึ่ง สมมุติว่าเดือนสองเดือนนี่ ก็ไม่มีผล ก็ยังหน้าตาสว่างไสวอยู่ ดูดีอยู่ ไปโกงบ้านโกงเมือง ไปเผาบ้านเผาเมือง หรือว่าไปยุยงให้ใครเค้าแตกแยกกันนี่ อย่างนี้ ก็ยังไม่ร่วง เพราะอำนาจของการเคยรักษาศีลได้ตลอดชีวิตนี่ มันยังดีอยู่ มันยังให้ผลอยู่
แต่ในที่สุดนะครับ คือถ้าทำกรรมใหม่ ไปหมกมุ่นอบายมุข ไปเป็นชู้ ไปโกหกมดเท็จ อะไรต่อมิอะไรต่างๆนี่จนกระทั่งบุญเก่าเสื่อม บุญเก่านี่ยอมแพ้ ทำได้สัก ๒ ปี ๕ ปีนี่ อย่างไรๆบุญเก่าก็ต้องแพ้ ถ้าหากว่าบาปใหม่มันหนักเหลือเกิน มันหนักอึ้งจริงๆนี่ บุญเก่าล่าถอยไป ก็จะเห็นได้จากการที่หน้าตาคล้ำหมอง ทำอะไรนี่ผิดพลาดไปหมด หรือว่าที่เคยรุ่ง ที่เคยมีแต่ดีกับดี ได้กับได้นี่ มันก็กลายเป็นเสียกับเสียอะไรไปแบบนั้น เวลาตายก็จะตายแบบไม่ดี หรือว่าหน้าตาไม่ผ่องใส เห็นเลยว่าสภาพไม่สวยตอนที่จะไป อะไรแบบนี้
นี่ก็เป็นเรื่องที่เราต้องเน้นความเข้าใจเรื่องตรงนี้กันดีๆเลย แล้วก็จะเกิดความมีศรัทธาในเรื่องของกรรมและวิบากตามหลักของพุทธศาสนาจริงๆ คืออะไรก็แล้วแต่ที่เราทำอยู่เป็นประจำนี่มันเห็นผลเดี๋ยวนี้เลย ไม่ใช่ว่าจะมีบุญเก่าหรือว่ามีบาปเก่ามา แล้วเราจะเอาชนะไม่ได้ด้วยกรรมใหม่นะครับ บุญใหม่เอาชนะบาปเก่าได้ แล้วก็ในขณะเดียวกันตรงกันข้าม บาปใหม่สามารถที่จะเอาชนะบุญเก่าได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น