ถาม : เวลาทำบุญใหญ่ คนทำบุญเยอะ แย่งกันทำบุญ
เบียดดันกัน ส่งเสียงดังจิตไม่เป็นกุศล ควรทำอย่างไร? หรือไม่ควรทำบุญในที่
คนเยอะเกินไป?
รับฟังทางยูทูป : https://youtu.be/8DosXfrpedE
ดังตฤณ:
บรรยากาศการทำบุญนี่นะ ถ้าพูดไปแล้วก็ต่างจิตต่างใจนะ บางคนเหมือนกับว่าถ้าหากไม่มีความคึกคัก ก็ไม่มีความสนุก ไม่มีความร่าเริงในงานบุญ อย่างนี้ก็มีนะ คือ รู้สึกเหมือนกับว่า ถ้าไปในที่คนน้อยๆนี่แสดงว่า ไม่ค่อยมีศรัทธา ไม่ค่อยน่าศรัทธา
บรรยากาศการทำบุญนี่นะ ถ้าพูดไปแล้วก็ต่างจิตต่างใจนะ บางคนเหมือนกับว่าถ้าหากไม่มีความคึกคัก ก็ไม่มีความสนุก ไม่มีความร่าเริงในงานบุญ อย่างนี้ก็มีนะ คือ รู้สึกเหมือนกับว่า ถ้าไปในที่คนน้อยๆนี่แสดงว่า ไม่ค่อยมีศรัทธา ไม่ค่อยน่าศรัทธา
ก็ต่างจิตต่างใจกันไปนะครับ
คือถ้ามองว่าเราอยากจะได้บรรยากาศของการทำบุญที่มีความสงบเงียบ
แล้วก็ยังจิตให้เป็นกุศล ก็ควรจะหาที่ๆถูกกับจริต ว่าอย่างนั้นก็แล้วกัน
อย่างบางแห่ง ถึงแม้ว่าจะคึกคัก
แต่ก็มีความสงบ มีความเรียบร้อยพอสมควร ก็จะทำให้บรรยากาศการทำบุญนี่
มันเป็นไปด้วยกุศล แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องทำใจนิดหนึ่งว่า
ถ้าเป็นสถานที่ๆมีคนร่วมกันเคารพ ศรัทธามากๆมักจะไม่ค่อยสงบเท่าไหร่
ผมเองก็หาอยู่เหมือนกันนะ ถ้าเวลาจะทำสังฆทาน
ตระเวนไปตามที่ต่างๆ ก็มักจะยอมลงทุนขับไปไกลๆเลยนะ
ขับไปไกลๆในแบบที่ว่าเจอวัดอยู่ลิบๆอยู่ในทุ่งนาอะไรแบบนั้น จะต้องดั้นด้น จะต้องลัดเลาะเข้าทางพิเศษกัน
อะไรแบบนั้น เพื่อที่จะได้ไปพบกับความสัปปายะ หรือว่าจะชอบเป็นพิเศษ
ถ้าวัดไหนมีคลอง อะไรแบบนั้น
เพราะว่าหลังจากทำสังฆทานเสร็จ
ก็จะได้ไปนั่งเล่น คือคิดถึงความสงบ คิดถึงวัด อยากจะพบกับความสงบ
แต่ในความเป็นจริงก็คือ วัดแบบนั้น ถ้าจะมีอยู่ ก็อาจจะต้องลงทุนเดินทางนิดหนึ่ง
แล้วก็ถึงแม้ว่าจะไปพบแล้ว
ถึงแม้ว่าจะมีอยู่จริงนะครับ ก็อาจจะไม่ได้สงบทุกวัน ผู้คนส่วนใหญ่
ถ้าเป็นวัดขึ้นมา ต้องเข้าใจว่าคนนี่ช่วยกันสร้าง
เป็นศรัทธาของชาวบ้านร่วมกันสร้างในท้องถิ่นนั้น
จะไม่ค่อยมีการสร้างวัดกันขึ้นมาได้ ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากคนต่างถิ่นนะ
ส่วนใหญ่จะเป็นคนถิ่นนั้น และถ้าหากว่าเป็นศูนย์รวมของคนในย่านนั้นนี่
ส่วนใหญ่ก็จะมีการมาประชุม ชุมนุม หรือว่าทำบุญกันให้สมกับที่เคยร่วมกันสร้างมา
โอกาสที่เราจะเข้าสู่วัดแล้วก็มีความสงบเรียบร้อย มีความสัปปายะ มันค่อนข้างต่ำ
ต้องทำใจกันนิดหนึ่ง
การที่เราจะทำใจให้เป็นกุศลได้นี่
คือมีการสำรวมจิตของตนเอง ไม่ว่าจะก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่วัด
หรือขณะที่อยู่ในวัดนะครับ อาจจะเดินจงกรมด้วยการรู้เท้ากระทบไป
หรือว่าอาจจะไปหลบมุมนั่งสมาธิ คือพอเราทำบุญแล้วนี่ ไอ้จิตตอนให้
จิตตอนที่ถวายของ มันปรุงแต่งให้ใจสว่างได้อยู่แล้วแหละ
เราก็เอาความสว่างของใจแบบนั้นนี่นะ มาสำรวมจิต อาจจะสวดมนต์ หรือว่าจะนั่งสมาธิ
หรือว่าจะระหว่างเดินเข้าเดินออกจากวัดนี่นะ รู้เท้ากระทบไปด้วย
ความมีสติเห็นว่าการรู้อย่างนี้นี่
ทำให้จิตของเรามีความตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว แล้วก็เห็นส่ำเสียง ที่เข้ามากระทบหู เป็นเพียงสิ่งกระทบให้เกิดปฏิกิริยาในทางไม่ดี ในทางลบ
แล้วก็เห็นปฏิกิริยาทางใจนั้นเป็นเพียงสิ่งชั่วคราวที่เกิดขึ้น มีความขัดอก ขัดใจ
มีความขัดเคือง คือยอมรับตามจริงว่า มีความขัดเคือง ไม่ใช่ไปพยายามหลอกตัวเอง
ไม่ใช่พยายามที่จะทำใจให้สว่าง มีความเป็นกุศลอยู่ตลอดเวลานะครับ
เพราะว่าสิ่งที่เป็นกุศลสูงสุดจริงๆหรือว่าเป็น 'กุศลเหนือกุศล' คือสภาวะที่เป็น 'บุญเหนือบุญ' นี่ ก็คือการได้เห็น การได้รู้ว่าทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นภายในใจของเรานี่ จะเป็นปฏิกิริยาทางใจ
หรือว่าการกระทบกระทั่งใดๆทั้งหลายนี่ เป็นเพียงสภาวะหนึ่งชั่วคราวนะครับ
ประกอบประชุมกัน ประเดี๋ยวประด๋าว ด้วยการที่มีเสียงมากระทบหู
แล้วเกิดความขัดเคือง เห็นตามจริงว่ามันเกิดขึ้น เห็นตามจริงว่ามันค่อยๆเสื่อมลง
อันนี้แหละที่เป็นบุญใหญ่สูงสุด
ถ้าเข้าวัดด้วยอาการที่ใจเราตั้งอยู่กับการว่าจะทำบุญ
อันนั้นเป็นเบื้องต้น อันนั้นเป็นความสว่างเบื้องต้นแล้ว ถ้าหากตั้งใจซ้อนเข้าไปอีกว่า มีความขัดเคืองอะไร เราจะรู้ตามจริง
รู้ว่ามันเป็นเพียงแค่ภาวะถูกกระทบกระทั่งอย่างหนึ่งนะ
เกิดปฏิกิริยาทางใจแบบหนึ่ง ชนิดหนึ่ง แล้วปฏิกิริยานั้น เมื่อถูกรู้ มันก็ค่อยๆเสื่อมลงให้ดูต่อหน้าต่อตา
นี่ ตั้งใจไว้แบบนี้ เท่ากับว่าไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวัดที่สงบ หรือว่าเป็นวัดที่มีความวุ่นวายอึกทึกนี่นะ ได้บุญลูกเดียว!
นี่ ตั้งใจไว้แบบนี้ เท่ากับว่าไปวัด ไม่ว่าจะเป็นวัดที่สงบ หรือว่าเป็นวัดที่มีความวุ่นวายอึกทึกนี่นะ ได้บุญลูกเดียว!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น