อนุโมทนาผู้อื่น
ได้บุญอย่างไร?
ถาม : การอนุโมทนาบุญในบุญประเภทต่างๆ เช่น
อนุโมทนาบุญกับคนที่ปฏิบัติธรรม กับคนที่ให้ทาน กับคนที่ให้อภัย
ตัวคนที่อนุโมทนาจะได้บุญตามประเภทของบุญนั้นๆหรือเปล่า? และในบางครั้งดูละครที่มีฉากเกี่ยวกับการทำบุญ
รู้สึกอิ่มใจ ก็จะอนุโมทนาบุญตามไปด้วย อย่างนี้เราจะได้บุญไปด้วยหรือเปล่า?
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/wvA48HygHig
ดังตฤณ :
ตอบคำถามที่สองก่อนแล้วกัน ที่บอกว่าเห็นในละครเกี่ยวกับทำบุญแล้วเกิดความรู้สึกอิ่มใจ รู้สึกอนุโมทนาบุญ อย่างนี้ได้บุญไหม? ได้ครับ เพราะขณะนั้นจิตเป็นกุศล จิตนึกอยากทำบุญหรือจิตมีอาการเข้าไปทำบุญแบบที่เห็นในละครเต็มๆมันได้บุญประเภทนั้นด้วย เพียงแต่ว่าเป็นการได้บุญเป็นลักษณะของการคิดนึก ในลักษณะของมโนกรรม ไม่ใช่ลักษณะของวจีกรรม หรือว่ากายกรรม เป็นมโนกรรม
แต่ถามว่ามันมีกำลังอ่อนหรือว่าแก่กล้าแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรู้สึกอิน ถ้าอินมากๆขนาดอยากจะทำแบบนั้นบ้าง ถ้าหากมีโอกาสทำเดี๋ยวนั้น ทำทันที ทำด้วยความเต็มใจ ทำด้วยความเต็มอิ่ม นี่แหละตัวนี้แหละเป็นวัดได้ว่า กำลังจิตของเราเป็นบุญเต็มที่ มีความแก่กล้ามีความพร้อมเต็มที่
ถ้าหากว่าดูแล้วรู้สึกดี แต่ว่าถ้าให้ทำแบบนั้นไม่เอา อย่างนี้ก็วัดได้ว่า กำลังของจิตยังไม่เต็มที่ ยังไม่เป็นบุญตามนั้นนะครับ ยังไม่ถูกปรุงแต่งให้เกิดความเป็นกุศลธรรม ไม่ถูกปรุงแต่งให้เกิดลักษณะของบุญขึ้นมา
ถามว่า ถ้ามีความอิ่มใจในลักษณะนี้แล้ว ผลตอบแทน หรือว่าเวลาที่กรรมผลิตผลจะให้ผลอย่างไร?
ก็ยกตัวอย่าง ถ้าสมมุติว่าในละคร เราไปเห็นว่าตัวละครไปให้ความช่วยเหลือ คนที่ตกทุกข์ได้ยากหรือกำลังประสบชะตากรรมที่เดือดร้อนลำบากอย่างแสนสาหัส แล้วใจของเราเต็มตื้น ใจของเรารู้สึกดีจังเลยที่ตัวละครไปช่วยเสียสละ ทำให้คนผ่อนจากความเดือดร้อนกลายไปเป็นความสบาย หรือว่าทำให้ความร้อนในชีวิตของเขามันเบาบางทุเลาลง เย็นลง สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็คือว่า ใจของเราชัดๆเลย จะหนีออกห่างจากอาการอยากเบียดเบียนคน แต่จะมีแนวโน้มที่จะเข้าไปช่วยคนมากขึ้น และคนที่มีแนวโน้มที่จะเข้าช่วยคนมากขึ้นนี่ ใจจะไปผูกอยู่กับภพอยู่กับภูมิ หรือสภาวะที่มันดีที่มันมีการเกื้อกูลกัน
ถ้าหากเราตายในเวลาใกล้ๆนั้น สมมุติว่าเครื่องบินตกใส่หลังคาบ้าน นะ เราตายไปแบบฉับพลัน ภพภูมิที่เราจะไป มันก็จะเป็นภพภูมิที่ไม่มีการเบียดเบียนกัน ที่มีการช่วยกันเกื้อกูลกัน ด้วยความเต็มใจ ด้วยความรู้สึกเป็นมิตร ด้วยความที่รู้สึกว่าหนักนิดเบาหน่อยก็จะไม่มาเอาเรื่องเอาราวกัน นี่ประมาณนั้น
มีผลใหญ่นะ คือจิตก่อนตายมันสำคัญมาก ถ้าหากว่า ใจของเรากำลังปรุงแต่งไปในกุศลธรรมแบบใด ก็จะไปเสวยภาวะที่สอดคล้องกับกุศลธรรมแบบนั้น นี่ก็เป็นเรื่องของอาสัญกรรม หรือว่ากรรมใกล้ตาย ก่อนที่จะตาย จิตผูกอยู่กับอะไร คิดถึงอะไร เป็นมโนกรรมแบบไหน มันชี้ชะตาได้ว่า เราจะไปดีหรือไปร้ายนะ
แต่ถ้ามองกันแบบถนัดๆหน่อย เอาตอนยังมีชีวิตอยู่ ถ้าหากว่าเราเห็นตัวละครที่ทำบุญโดยการช่วยเหลือคน แล้วเกิดความรู้สึกอยากไปช่วยแบบนั้นบ้าง ยกตัวอย่างที่มักจะเห็นกันบ่อยๆก็คือว่า จะไปอ่านนิยายหรือดูละครที่ไหนมาก็แล้วแต่ เห็นพระเอกนางเอกไปช่วยคนตาบอด หรือว่าไปอ่านนิทานให้คนตาบอด เด็กตาบอดฟัง แล้วเกิดความรู้สึกอยากทำอย่างนั้นบ้าง แล้วก็เกิดแรงบันดาลใจไปทำจริงๆ
นี่ ตัวนี้แหละ เป็นสิ่งที่บอกได้ว่า ผลของการที่เราอนุโมทนาเต็มๆมันก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดความยินดี ก่อให้เกิดแรงดันที่ทำให้ไปกระทำเช่นนั้นได้จริงๆ อันนี้ก็เป็นคุณ เป็นคมดาบด้านดี ของนิยายหรือละคร ที่บันดาลใจคนให้ไปทำบุญได้จริงๆนะครับ
ส่วนการอนุโมทนาบุญประเภทต่างๆ จะเป็นการปฏิบัติธรรม จะเป็นการให้ทาน หรือจะเป็นการให้อภัย จะแตกต่างกันขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับบุญประเภทนั้นๆ คือมันก็แยกไปด้วย อย่างที่เมื่อกี้ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าหากเราอนุโมทนา เรายินดีไปกับตัวละครที่เข้าไปช่วยเหลือผู้คน ก็จะออกแนวเหมาะสมหรือว่าไปผูกโยงกับภพหรือ สภาวะที่ไม่มีการเบียดเบียนกันที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันนี้เป็นต้น
แต่ถ้าหากว่า อนุโมทนากับผู้ปฏิบัติธรรม อันนี้ก็จะไปผูกโยงกับการได้ดิบได้ดีกับการเจริญสติ หรือในการทำสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ คือจิตมีโน้มเอียงที่จะความสงบ จิตมีความโน้มเอียงที่จะตื่นรู้นั่นแหละ แต่ว่าการสะสมสติ สะสมการตื่นรู้ไม่ใช่ด้วยการอนุโมทนาอย่างเดียว แต่การอนุโมทนาจะเป็นแรงดันให้เกิดความอยากจะพอใจ เกิดความพอใจอยากจะเจริญสติบ้าง ทำสมาธิบ้างหรือทำให้เกิดความสงบบ้าง อันนี้จะเป็นสิ่งที่เราจะได้รู้กันจากการลองได้อนุโมทนากับนักเจริญสติทั้งหลายนะครับ เห็น อ้อ พูดต่ออีกนิดก็ได้
คือจะดูอย่างง่ายๆอย่างนี้นะ บางคนไม่เชื่อเรื่องบุญของการอนุโมทนา ก็ลองเชื่อเรื่องบาปของการที่นึกดูถูกหรือว่านึกเหยียดหยาม ถ้าหากว่าเห็นใครนั่งสมาธิแทนที่จะรู้สึกดีไปกับเขา อยากแกล้งหรือลงมือแกล้งจริงๆ ใจนี่นะจะมีอาการที่สงบยาก คือบางคนทำแค่ไม่กี่ครั้งแต่จิตฟุ้งซ่านมาก แล้วก็รู้สึกเลยว่าพอพยายามจะนั่งสมาธิเองหรือเจริญสติเอง มันทำไม่ได้
อันนี้จะได้เห็นเลยว่า แทนที่คล้อยตามไปในกระแสดี แล้วได้รับผลดี ได้รับแรงบันดาลใจให้อยากทำเองบ้าง มันกลายเป็นเกิดความรู้สึกต่อต้านหรือเกิดความรู้สึกทำไม่ได้ บางคนใช้เวลาทั้งชาติไปในการปฏิเสธถึงการทำสมาธิ และก็ดูถูกต่างๆนานา ว่ามันเกิดผลร้ายอย่างโน้นอย่างนี้ตัวเองเลยทำสมาธิไม่ได้เลยทั้งชาติปัจจุบันและอนาคตชาติ
เคยมีคดีตัวอย่างในพระไตรปิฎกอยู่เหมือนกันที่ว่า ไปแกล้งคนทำสมาธิเลยทำสมาธิเองไม่ได้
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/wvA48HygHig
ดังตฤณ :
ตอบคำถามที่สองก่อนแล้วกัน ที่บอกว่าเห็นในละครเกี่ยวกับทำบุญแล้วเกิดความรู้สึกอิ่มใจ รู้สึกอนุโมทนาบุญ อย่างนี้ได้บุญไหม? ได้ครับ เพราะขณะนั้นจิตเป็นกุศล จิตนึกอยากทำบุญหรือจิตมีอาการเข้าไปทำบุญแบบที่เห็นในละครเต็มๆมันได้บุญประเภทนั้นด้วย เพียงแต่ว่าเป็นการได้บุญเป็นลักษณะของการคิดนึก ในลักษณะของมโนกรรม ไม่ใช่ลักษณะของวจีกรรม หรือว่ากายกรรม เป็นมโนกรรม
แต่ถามว่ามันมีกำลังอ่อนหรือว่าแก่กล้าแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรู้สึกอิน ถ้าอินมากๆขนาดอยากจะทำแบบนั้นบ้าง ถ้าหากมีโอกาสทำเดี๋ยวนั้น ทำทันที ทำด้วยความเต็มใจ ทำด้วยความเต็มอิ่ม นี่แหละตัวนี้แหละเป็นวัดได้ว่า กำลังจิตของเราเป็นบุญเต็มที่ มีความแก่กล้ามีความพร้อมเต็มที่
ถ้าหากว่าดูแล้วรู้สึกดี แต่ว่าถ้าให้ทำแบบนั้นไม่เอา อย่างนี้ก็วัดได้ว่า กำลังของจิตยังไม่เต็มที่ ยังไม่เป็นบุญตามนั้นนะครับ ยังไม่ถูกปรุงแต่งให้เกิดความเป็นกุศลธรรม ไม่ถูกปรุงแต่งให้เกิดลักษณะของบุญขึ้นมา
ถามว่า ถ้ามีความอิ่มใจในลักษณะนี้แล้ว ผลตอบแทน หรือว่าเวลาที่กรรมผลิตผลจะให้ผลอย่างไร?
ก็ยกตัวอย่าง ถ้าสมมุติว่าในละคร เราไปเห็นว่าตัวละครไปให้ความช่วยเหลือ คนที่ตกทุกข์ได้ยากหรือกำลังประสบชะตากรรมที่เดือดร้อนลำบากอย่างแสนสาหัส แล้วใจของเราเต็มตื้น ใจของเรารู้สึกดีจังเลยที่ตัวละครไปช่วยเสียสละ ทำให้คนผ่อนจากความเดือดร้อนกลายไปเป็นความสบาย หรือว่าทำให้ความร้อนในชีวิตของเขามันเบาบางทุเลาลง เย็นลง สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นก็คือว่า ใจของเราชัดๆเลย จะหนีออกห่างจากอาการอยากเบียดเบียนคน แต่จะมีแนวโน้มที่จะเข้าไปช่วยคนมากขึ้น และคนที่มีแนวโน้มที่จะเข้าช่วยคนมากขึ้นนี่ ใจจะไปผูกอยู่กับภพอยู่กับภูมิ หรือสภาวะที่มันดีที่มันมีการเกื้อกูลกัน
ถ้าหากเราตายในเวลาใกล้ๆนั้น สมมุติว่าเครื่องบินตกใส่หลังคาบ้าน นะ เราตายไปแบบฉับพลัน ภพภูมิที่เราจะไป มันก็จะเป็นภพภูมิที่ไม่มีการเบียดเบียนกัน ที่มีการช่วยกันเกื้อกูลกัน ด้วยความเต็มใจ ด้วยความรู้สึกเป็นมิตร ด้วยความที่รู้สึกว่าหนักนิดเบาหน่อยก็จะไม่มาเอาเรื่องเอาราวกัน นี่ประมาณนั้น
มีผลใหญ่นะ คือจิตก่อนตายมันสำคัญมาก ถ้าหากว่า ใจของเรากำลังปรุงแต่งไปในกุศลธรรมแบบใด ก็จะไปเสวยภาวะที่สอดคล้องกับกุศลธรรมแบบนั้น นี่ก็เป็นเรื่องของอาสัญกรรม หรือว่ากรรมใกล้ตาย ก่อนที่จะตาย จิตผูกอยู่กับอะไร คิดถึงอะไร เป็นมโนกรรมแบบไหน มันชี้ชะตาได้ว่า เราจะไปดีหรือไปร้ายนะ
แต่ถ้ามองกันแบบถนัดๆหน่อย เอาตอนยังมีชีวิตอยู่ ถ้าหากว่าเราเห็นตัวละครที่ทำบุญโดยการช่วยเหลือคน แล้วเกิดความรู้สึกอยากไปช่วยแบบนั้นบ้าง ยกตัวอย่างที่มักจะเห็นกันบ่อยๆก็คือว่า จะไปอ่านนิยายหรือดูละครที่ไหนมาก็แล้วแต่ เห็นพระเอกนางเอกไปช่วยคนตาบอด หรือว่าไปอ่านนิทานให้คนตาบอด เด็กตาบอดฟัง แล้วเกิดความรู้สึกอยากทำอย่างนั้นบ้าง แล้วก็เกิดแรงบันดาลใจไปทำจริงๆ
นี่ ตัวนี้แหละ เป็นสิ่งที่บอกได้ว่า ผลของการที่เราอนุโมทนาเต็มๆมันก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ก่อให้เกิดความยินดี ก่อให้เกิดแรงดันที่ทำให้ไปกระทำเช่นนั้นได้จริงๆ อันนี้ก็เป็นคุณ เป็นคมดาบด้านดี ของนิยายหรือละคร ที่บันดาลใจคนให้ไปทำบุญได้จริงๆนะครับ
ส่วนการอนุโมทนาบุญประเภทต่างๆ จะเป็นการปฏิบัติธรรม จะเป็นการให้ทาน หรือจะเป็นการให้อภัย จะแตกต่างกันขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับบุญประเภทนั้นๆ คือมันก็แยกไปด้วย อย่างที่เมื่อกี้ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าหากเราอนุโมทนา เรายินดีไปกับตัวละครที่เข้าไปช่วยเหลือผู้คน ก็จะออกแนวเหมาะสมหรือว่าไปผูกโยงกับภพหรือ สภาวะที่ไม่มีการเบียดเบียนกันที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันนี้เป็นต้น
แต่ถ้าหากว่า อนุโมทนากับผู้ปฏิบัติธรรม อันนี้ก็จะไปผูกโยงกับการได้ดิบได้ดีกับการเจริญสติ หรือในการทำสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งนะครับ คือจิตมีโน้มเอียงที่จะความสงบ จิตมีความโน้มเอียงที่จะตื่นรู้นั่นแหละ แต่ว่าการสะสมสติ สะสมการตื่นรู้ไม่ใช่ด้วยการอนุโมทนาอย่างเดียว แต่การอนุโมทนาจะเป็นแรงดันให้เกิดความอยากจะพอใจ เกิดความพอใจอยากจะเจริญสติบ้าง ทำสมาธิบ้างหรือทำให้เกิดความสงบบ้าง อันนี้จะเป็นสิ่งที่เราจะได้รู้กันจากการลองได้อนุโมทนากับนักเจริญสติทั้งหลายนะครับ เห็น อ้อ พูดต่ออีกนิดก็ได้
คือจะดูอย่างง่ายๆอย่างนี้นะ บางคนไม่เชื่อเรื่องบุญของการอนุโมทนา ก็ลองเชื่อเรื่องบาปของการที่นึกดูถูกหรือว่านึกเหยียดหยาม ถ้าหากว่าเห็นใครนั่งสมาธิแทนที่จะรู้สึกดีไปกับเขา อยากแกล้งหรือลงมือแกล้งจริงๆ ใจนี่นะจะมีอาการที่สงบยาก คือบางคนทำแค่ไม่กี่ครั้งแต่จิตฟุ้งซ่านมาก แล้วก็รู้สึกเลยว่าพอพยายามจะนั่งสมาธิเองหรือเจริญสติเอง มันทำไม่ได้
อันนี้จะได้เห็นเลยว่า แทนที่คล้อยตามไปในกระแสดี แล้วได้รับผลดี ได้รับแรงบันดาลใจให้อยากทำเองบ้าง มันกลายเป็นเกิดความรู้สึกต่อต้านหรือเกิดความรู้สึกทำไม่ได้ บางคนใช้เวลาทั้งชาติไปในการปฏิเสธถึงการทำสมาธิ และก็ดูถูกต่างๆนานา ว่ามันเกิดผลร้ายอย่างโน้นอย่างนี้ตัวเองเลยทำสมาธิไม่ได้เลยทั้งชาติปัจจุบันและอนาคตชาติ
เคยมีคดีตัวอย่างในพระไตรปิฎกอยู่เหมือนกันที่ว่า ไปแกล้งคนทำสมาธิเลยทำสมาธิเองไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น