ถาม : มีเหตุปัจจัยอะไรทั้งภายในใจเราเองและสิ่งภายนอกที่ทำให้เราเป็นคนไม่ค่อยจริงจังกับเรื่องต่างๆ
ทั้งชีวิตและการทำงาน เหมือนจะกลายเป็นคนหยิบโหย่ง ท่าดีทีเหลวตลอด
ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง
จะมีวิธีตั้งจิตอย่างไรให้มีความจริงจังมุ่งมั่นมากขึ้นกว่านี้คะ?
ดังตฤณ:
• ถ้าหากว่ารู้ตัวว่าเป็นคนที่หยิบโหย่ง
ไม่ค่อยจะเอาจริงเอาจัง
หรือถูกว่าถูกตำหนิว่าท่าดีทีเหลว
ก็ขอให้มองเป็น ‘จิต’ ก็แล้วกัน
• จิตของเรานี่ไม่พุ่งตรงไปสู่เป้าหมาย
จิตของเรานี่อ้อยอิ่งอยู่
หันซ้ายหันขวา
เหลียวหน้าเหลียวหลังอยู่ที่จุดเริ่มต้น
หรือไม่ก็ก้าวออกมาจากจุดเริ่มต้นแป๊บๆ
เสร็จแล้วก็มีอาการแช่อิ่มอยู่
หรือไม่ก็หนักกว่านั้น
ถอยกลับไปที่ก้าวแรก
แล้วก็หาทิศทางใหม่ที่จะก้าวเดินต่อ
• อย่างนั้นเป็นจิตที่พูดง่ายๆ
ว่ามีความซัดส่าย
ไม่มีความแน่นอน
ไม่มีความพุ่งตรงไปแบบสมาธิ
เปรียบเทียบง่ายๆ
ก็คือ
จิตของเรานี่เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน
แล้วก็คิดย้อนไปย้อนมา
แตกต่างจากคนที่ทำอะไรจริงจัง
แตกต่างจากคนที่ทำอะไรสำเร็จ
มุ่งตรงไปหาเส้นชัยตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงก้าวสุดท้ายโดยไม่ย่อท้อ
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
• ถ้าเราตีโจทย์เป็นจิตนี่
มันจะดูง่ายขึ้นว่าจะให้ทำยังไง
-->
ก็เปลี่ยนจากลักษณะของ ‘จิตฟุ้งซ่าน’
ให้กลายเป็น ‘จิตที่มีความเป็นสมาธิ’ นั่นเอง!
-->
เปลี่ยนจาก ‘จิตที่ไม่มีกำลัง’
ที่จะก้าวเดินไปทีละก้าวๆ
ตามลำดับ
เป็น ‘จิตที่มีกำลัง’ ที่จะก้าวไปอย่างคงเส้นคงวา
แล้วก็มีจังหวะจะโคนที่ไม่วอกแวก
ไม่หวั่นไหว
• ถ้าหากว่าเรามีวิธีอะไร
ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน
แล้วก็ในเรื่องของการเจริญสติ
เปลี่ยนลักษณะของจิตที่ซัดส่ายแกว่งไปแกว่งมา
ให้กลายเป็นจิตที่พุ่งตรงไปข้างหน้าได้
อันนั้นแหละ
ก็จะเปลี่ยนลักษณะนิสัย และ
ชีวิตทั้งชีวิตของเราออกมาจากข้างในได้เลยทันทีนะครับ
!
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
• วิธีง่ายๆ
อุบายง่ายๆ
อาจจะไม่ได้สามารถจะแอพพลาย
(apply) ได้กับทุกคน
แต่โดยทั่วไปนะ
ขอให้อาศัยหลักการที่ว่า
...ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ให้อาศัยกำลังของ ‘บุญกุศล’ และ
‘แสงสว่าง’
เป็นหลักเป็นเครื่องตั้ง แล้วจะง่าย!
• คือผมไม่ได้บอก
ว่าทุกคนจะต้องมาเริ่มต้นแบบนี้กันทั้งโลก
เพราะว่าศรัทธาของคนแตกต่างกัน
ถ้าหากว่าเรา..
ศรัทธาในพุทธศาสนา
ศรัทธาพระพุทธเจ้า
ศรัทธาในเรื่องของผลแห่งกรรม
ศรัทธาในเรื่องของบุญของกุศล
เราต้องฟังคำแนะนำจากทางพุทธ
ว่าเบื้องต้น
ที่ใจของเราจะมีกำลังได้
: ต้องอาศัยบุญ
: ต้องอาศัยความสว่าง
: ต้องอาศัยความเป็นกุศล
ไม่ใช่อาศัยบาป
หรือ
อาศัยแต่ความตั้งหน้าตั้งตา
‘ทำความเพียร’ อย่างเดียวนะครับ
!
• เพราะว่าตั้งหน้าตั้งตาทำความเพียรอย่างเดียว
บางทีมันแห้งแล้ง
จิตใจที่แห้งแล้ง
มันไม่มีความชุ่มชื่นมากพอที่จะนิ่ง
พอไม่มีความชุ่มชื่นมากพอที่จะนิ่ง
มันก็กวัดแกว่ง
มันก็กระสับกระส่ายไม่เป็นสมาธิ
• ถ้าตีโจทย์เป็นจิตมันจะมองได้ง่ายๆอย่างนี้
ถ้าหากว่าเรามองเห็นประโยชน์ของบุญของกุศล
ว่าเป็นตัวหล่อเลี้ยงเป็นความชุ่มชื่นให้กับจิต
เป็นตัวทำให้เกิดความระงับความกระสับกระส่าย
ใจไม่วอกแวกไปไหนได้
แล้วก็จะเห็นนะครับว่าร่างกายก็จะตอบสนอง
เป็น ‘ความมีกำลัง’ ที่จะเป็นเครื่องตั้งของ ‘สมาธิจิต’
: ได้ต่อๆไป
: ได้นาน ต่อเนื่อง
: ไม่ล้มลุกคลุกคลานเสียก่อน
เป็น ‘ความมีกำลัง’ ที่จะเป็นเครื่องตั้งของ ‘สมาธิจิต’
: ได้ต่อๆไป
: ได้นาน ต่อเนื่อง
: ไม่ล้มลุกคลุกคลานเสียก่อน
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
• เมื่อทำความเข้าใจโดยภาพรวมแบบนี้
แล้วถามว่าบุญอันเป็นเครื่องตั้งน่ะ
จะให้ทำอะไรล่ะ ?
• ทำอะไรก็ได้ที่เป็นสิ่งที่เราพอใจที่จะทำ
อย่างเช่น
จะใส่บาตรพระ
ง่ายๆ เลย
หรือว่าจะสวดมนต์
หรือว่าจะออกไปเลี้ยงเด็กกำพร้า
เลี้ยงคนชราที่ลูกหลานทอดทิ้ง
หรือว่าจะไปปล่อยนก
ปล่อยปลา
ไปวัด
ไปไหว้ครูบาอาจารย์อะไรที่ไหนก็แล้วแต่นะครับ
• อะไรก็แล้วแต่ที่เรารู้อยู่แก่ใจว่าทำแล้วเกิดความชุ่มชื่น
ทำแล้วเกิดความปีติ
ทำแล้วเกิดความสบายใจ
อันนั้นแหละ ‘เครื่องตั้งของสมาธิ’ !
• สำคัญก็คือว่า
ความชุ่มชื่นที่เราจะเอามาหล่อเลี้ยงจิตใจนั้น
: ต้องมีความต่อเนื่อง
: ต้องไหลมาเทมาเหมือนกับสายน้ำที่มันไม่หยุด !
• ถ้าหากว่าเราทำแค่ครั้งสองครั้ง
อย่างนั้น..ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นการทำบุญ
เพื่อที่จะอุดหนุนให้จิตนี่เกิดความตั้งมั่นเป็นสมาธิขึ้นมา
• เราต้องเลือกบุญอะไรบางอย่างที่มันมีความแน่นอน
มันเกิดขึ้นซ้ำๆ
ซ้ำๆ ทุกวันได้ยิ่งดี
และก็เห็นจะไม่มีอะไรเกินไปกว่าการสวดมนต์
เพราะว่าบางคนอ้างว่ายังทำสมาธิไม่เก่ง
แต่ว่าเรื่องสวดมนต์นี่เป็นของง่าย
เป็นของที่ทำได้กันทั้งนั้น
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
• ปัญหาก็คือหลายคนสวดแล้ว
รู้สึกว่าจิตใจไม่ได้ชุ่มชื่น
ไม่ได้อินไปกับบทสวด
นั่นก็เป็นเพราะว่า
: สวดน้อยเกินไป หรือ
: ไม่ก็สวดแบบตั้งใจมากเกินไป หรือ
: ไม่ก็สวดแบบปล่อยใจฟุ้งซ่านซัดส่าย
• ทำอย่างไรถึงจะเป็นสมาธิขึ้นมาได้นะ
?
วิธีอุบายง่ายๆ
ก็คือ
ตั้งใจไว้เลยว่าจะสวดสักประมาณ
๗ จบ
• เจ็ดจบนี่นะ
แต่ละจบนี่
ให้สังเกตดูเข้ามาที่อาการทางกายทางใจ
รอบแรก :
มีอาการกระสับกระส่ายแค่ไหน?
มีความฟุ้งซ่านแค่ไหน?
..มันต้องฟุ้งซ่านแน่ๆ
มันต้องกระสับกระส่ายแน่ๆ
มันต้องมีความรู้สึกฝืนหรือไม่อยากทำให้สำเร็จ
ไม่อยากต่อให้ครบเจ็ดจบแน่ๆ
แต่พอขึ้นรอบสอง :
เราสังเกตความแตกต่างไป
ร่างกายกับจิตใจนี่มีความสงบลงไหม
?
มีความระงับอาการกวัดแกว่งลงบ้างไหม?
ถ้าหากว่ายังไม่ระงับ
ก็ไม่ต้องไปบังคับให้มันระงับ
แต่ยอมรับตามจริงไปว่ารอบสองก็ยังไม่ระงับอยู่ดี
แต่พอขึ้นรอบสามหรือรอบสี่
:
มันต้องมีแน่ๆ
ความแตกต่างไป
อาการทางใจไม่ว่าจะเป็นความชุ่มชื่น
ไม่ว่าจะเป็นความสว่าง
ไม่ว่าจะเป็นความโล่ง
ไม่ว่าจะเป็นความสงบระงับของอาการฟุ้งซ่าน
ใดๆก็แล้วแต่ที่มันเปลี่ยนแปลงไป
นั่นแหละ
ตรงนั้นให้จำไว้ว่า
เออ
รอบนี้นะมันแตกต่างจากรอบก่อนๆ แล้ว
ถ้าหากเราสามารถที่จะเห็นได้ทั้งเจ็ดจบ
ว่าแต่ละจบจิตมันไม่เหมือนเดิมเลยสักจบเดียว
นี่เรียกว่าเป็นการ
‘เห็นความไม่เที่ยง’ ของ ‘อาการทางใจ’ผ่านการสวดมนต์แล้ว
• แล้วเกิดอะไรขึ้น
?
มันจะได้ทั้ง ‘มีความปีติ’ นะ
เออ
เราเห็นอะไรบางอย่างที่แตกต่างไป
ทั้ง ‘ความฟุ้งซ่านที่มันลดระดับลง’ นะครับ
• มันทำให้เกิดกำลังใจตั้งแต่ตอนนั้นแล้วว่า
จิตของเรามีความสามารถที่จะลดความฟุ้งซ่านลงได้
มีความสามารถที่จะมุ่งมั่นแน่วแน่เอาให้ครบ
๗ จบอย่างมีความสุขได้
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
• แล้วถ้าหากว่ากำลังบุญของเรามีความแน่นหนามากพอ
ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าหากว่าทำสำเร็จ
สวดมนต์ได้ ๗
จบทุกวัน ไปสัก ๑ เดือนหรือ ๒เดือน
เราจะมีความรู้สึกมั่นใจในตัวเองขึ้นมา
ว่าเราทำได้
เราทำสำเร็จ
และเราไม่ใช่คนที่เบี้ยวกับตัวเองอีกต่อไป
!
เราสามารถทำบุญอะไรบางอย่าง
ที่มันเป็นหลัก
ที่มันเป็นเครื่องตั้ง
ที่จะเป็นคนมีความคงเส้นคงวากับตัวเอง
รักษาสัตย์กับตัวเองได้
รักษาสัจจะกับตัวเองได้
• เมื่อมีความมั่นใจในบุญที่ทำแล้ว
ต่อไปพอจะทำอะไร
ตั้งใจอะไร
จิตมันจะเริ่มพุ่งตรงไปข้างหน้า
มันจะไม่มีอาการกระจัดกระจายซัดส่ายเหมือนอย่างที่ผ่านมา
.. .. .. .. .. ..
.. .. .. ..
• เราจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเลย
อาการของจิตที่มีความซัดส่ายนี่นะ
มันจะวนๆ วนๆ
อยู่รอบๆ ตัวเองนี่แหละไม่ไปไหน
แล้วคิด
มันก็คิดแบบกลับไปกลับมา ย้อนไปย้อนมา
อุตส่าห์ก้าวไปหนึ่งสองสาม
แล้วย้อนกลับมาก้าวที่สองใหม่
ย้อนกลับมาก้าวที่หนึ่งใหม่
• แต่ถ้าหากว่ามีความชุ่มชื่น
มีความโปร่งโล่ง
มีความรู้สึกชัดเจนว่าเราจะทำอะไรจริงๆ
จิตใจนี่มันจะเหมือนกับเปิด
เหมือนกับฟ้าเปิด
เหมือนกับทุ่งโล่งที่ไม่มีพายุซัด
เราสามารถที่จะเดินอย่างสบายๆ
ไปทีละก้าวได้
แล้วเราก็ไม่รีบร้อน
ไม่ได้เร่งว่าเมื่อไหร่จะถึงสักที
ในขณะเดียวกันเราก็ไม่อุทธรณ์
เราก็ไม่สงสารตัวเองว่า
เออ
ทำไมเราจะต้องมาลำบากลำบนแบบนี้
เพราะว่ามีความชุ่มชื่นอยู่
มีความปีติหล่อเลี้ยงใจอยู่
ว่าเรากำลังทำสิ่งก่อให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจ
• ไม่ว่าจะทางโลก
ทางธรรมนะ
เราจะเห็นคุณประโยชน์ของงานเสมอนะครับ
ถ้าหากว่างานนั้นทำให้จิตใจของเรามีปีติ
มีความอิ่มใจ
มีความอยากจะอยู่กับก้าวปัจจุบันได้นะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น