ถาม : ผมเป็นคนที่มีปัญหาในการทำงานในด้านความสัมพันธ์กับลูกน้อง
ลูกน้องมักไม่ค่อยทำตามคำสั่ง มักชอบลาออกแบบทิ้งกลางคันบ่อยๆ
มันมีเหตุปัจจัยอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องกรรมเก่าหรือเปล่า? แล้วจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
ในเรื่องเกี่ยวกับการมีลูกน้องไม่ดีหรือว่าบริวารไม่ดี
ทางพุทธศาสนาก็ให้ความสำคัญไว้ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการที่เราไม่เคยเฉลี่ยบุญให้ผู้อื่น
เรื่องเกี่ยวกับบริวารนะ
อันนี้พูดคลุมก่อนนะเดี๋ยวค่อยวกกลับเข้ามาที่ตัวโจทย์นะครับ
คำว่าบริวารดี หมายความว่าเป็นผู้ที่มีความเมตตา มีความกรุณา มีความต้องการ มีความปรารถนาที่จะเฉลี่ยบุญให้ผู้อื่นหรือว่ามีความยินดีในบุญ ในความเจริญในความเป็นกุศลของผู้อื่น คือ คำว่ายินดีในบุญของผู้อื่นมันเหมารวมหมดเลย กินความได้ครอบคลุมทั้งในเรื่องของการเห็นคนอื่นได้ดีแล้วส่งเสริม กับการที่เห็นคนอื่นยังไม่ได้ดีแล้วเราก็ไปช่วยช้อนขึ้นมา หรือไม่ก็เรามีดีอยู่เราก็ไปเฉลี่ยให้คนอื่น ยกตัวอย่างเช่น ที่คนไทยมักเข้าใจผิดกัน ก็คือว่ามาบอกบุญด้วยการที่ว่า เราไปทำบุญอะไรมา ก็มาบอกว่าช่วยกันอนุโมทนาแล้วกันนะ เสร็จแล้วไม่เล่าอะไรเลย ไม่พูดถึง ไม่จาระไน ไม่บรรยายบรรยากาศงานบุญอะไรทั้งสิ้น คนฟังเขาก็ฟังแล้วแห้งแล้ง อย่างนั้นไม่ได้เรียกว่าเป็นการเฉลี่ยบุญ
คำว่าบริวารดี หมายความว่าเป็นผู้ที่มีความเมตตา มีความกรุณา มีความต้องการ มีความปรารถนาที่จะเฉลี่ยบุญให้ผู้อื่นหรือว่ามีความยินดีในบุญ ในความเจริญในความเป็นกุศลของผู้อื่น คือ คำว่ายินดีในบุญของผู้อื่นมันเหมารวมหมดเลย กินความได้ครอบคลุมทั้งในเรื่องของการเห็นคนอื่นได้ดีแล้วส่งเสริม กับการที่เห็นคนอื่นยังไม่ได้ดีแล้วเราก็ไปช่วยช้อนขึ้นมา หรือไม่ก็เรามีดีอยู่เราก็ไปเฉลี่ยให้คนอื่น ยกตัวอย่างเช่น ที่คนไทยมักเข้าใจผิดกัน ก็คือว่ามาบอกบุญด้วยการที่ว่า เราไปทำบุญอะไรมา ก็มาบอกว่าช่วยกันอนุโมทนาแล้วกันนะ เสร็จแล้วไม่เล่าอะไรเลย ไม่พูดถึง ไม่จาระไน ไม่บรรยายบรรยากาศงานบุญอะไรทั้งสิ้น คนฟังเขาก็ฟังแล้วแห้งแล้ง อย่างนั้นไม่ได้เรียกว่าเป็นการเฉลี่ยบุญ
แต่ถ้าหากว่าเรามาพูดให้ฟัง เล่าให้ฟังเกิดอะไรขึ้น
เราไปทำดีอะไรมาแล้วทำให้เขามีจิตใจที่แช่มชื่น มีจิตใจที่ยินดีตามเราไปด้วย
ไม่ใช่อวดบุญ ไม่ใช่การมารีดไถเพื่อนพ้องน้องพี่ แต่ว่าเป็นการมาทำให้เขาเกิดความชื่นชมเกิดความยินดีในบุญที่เราได้ทำ พลอยทำให้เขาเกิดความรู้สึกอยากจะเอาเป็นแรงบันดาลใจแบบนั้นบ้าง อย่างนี้เรียกว่า 'เฉลี่ยบุญ'
ถ้าหากว่าเขามีกำลังใจขนาดที่ว่าอยากทำแบบเราเลย ร่วมกับเราแล้วเอ่ยปากทำเอง
อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการปลุกกำลังใจของเขาได้เต็มที่แล้ว ๑๐๐
เปอร์เซ็นต์เลยให้ได้บุญเท่ากับเรา
หรือถ้าจะเอาแบบเต็มที่ที่สุด ก็คือว่ามีการสร้างโบสถ์
สร้างศาลาแล้วเรามาเปรยให้ฟัง แต่ไม่ใช่มาบอกนะว่า
เอาซองมายัดใส่มือแล้วบอกให้ทำเท่านั้นเท่านี้อะไรต่างๆ อย่างนี้มันไม่ใช่การเฉลี่ยบุญ
มันเป็นการมาโปรยบาปมา โปรยยาพิษให้เขาเกิดอกุศลจิต เกิดความรู้สึกไม่ดีต่อกันนะ
ว่าถ้ามีการก่อสร้างอะไรต้องเป็นภาระเขาเหรอ
ถ้าหากว่าเขาไม่ยอมทำจะเรียกว่าเป็นคนบาปอะไรแบบนั้น
มันกลายเป็นเรื่องของการยัดเยียดบาปให้ผู้อื่นไป
แต่ความหมายของการ 'เฉลี่ยบุญ' คือ ทำอย่างไรให้เขามีใจยินดีที่จะสร้างบุญเป็นที่พึ่งของตัวเอง
หรือไม่ก็เขากำลังเดือดร้อนแล้วเราไปช่วยให้เขาหายจากความเดือดร้อน
อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเอาบุญเอาความสุขไปให้เขา
ผู้ที่มีบารมีในเรื่องของการเฉลี่ยบุญมากๆก็จะมีลูกน้องที่ดี
ส่วนผู้ที่อาจจะไม่ได้สั่งสมบารมีในทางทำให้ผู้อื่นเป็นสุข
ไปเบียดเบียนผู้อื่นเขาเป็นประจำ หรือว่าไปทำให้ใครต่อใครเขาไม่ได้เจริญในเส้นทางความสุข
เส้นทางของบุญ เส้นทางของกุศล
มันก็จะมีผลให้บริวารอาจจะมีปัญหา หรือว่าบริวารเป็นพิษ หรือว่าทำให้ลักษณะของผู้นำมันไม่เกิด ไม่เปล่งประกาย
ผู้ที่จะมีลักษณะของผู้นำเปล่งประกายออกมาตั้งแต่ไหนแต่ไรเลย
บางคนน่ะสังเกตนะ คือของคุณผู้ถามอาจจะมีประกายของผู้นำอยู่นะ แต่ผมพูดโดยรวมนะว่า ลักษณะที่จะทำให้เกิดคาริสม่าของผู้นำ คือต้องเคยเป็นผู้มีน้ำใจเสียสละมาก่อน แล้วก็มีความริเริ่ม เป็นผู้ริเริ่มในการบุญการกุศล สามารถที่จะพาให้ใครต่อใครเกิดกำลังใจไปในเรื่องของคุณงามความดีได้
อันนี้แหละที่จะก่อให้เกิดคาริสม่าของผู้นำ
ทีนี้เราก็ลองมาพิจารณาคำตอบดู ที่มันเกี่ยวข้องกับโจทย์
ถ้าเกิดเราต้องการให้ใครเขาทำตามคำสั่ง หรือว่ามีความรับผิดชอบกับงาน
อย่างหนึ่งที่มันอาจจะต้องมาสร้างกันใหม่ คงไม่พูดถึงเรื่องของของเก่า
ก็คือว่าทำอย่างไรเราจะทำให้ลูกน้องหรือว่าผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดจิตสำนึก
ซึ่งต้องยอมรับตามจริงนะว่าคนในยุคนี้ เรื่องของจิตสำนึกหรือว่าสามัญสำนึกมันค่อนข้างจะน้อย
ลดน้อยถอยห่างไป มีแต่เจ้านาย มีแต่หัวหน้ามาบ่น เล่าสู่กันฟังนะว่าทำไมเด็กจบใหม่สมัยนี้ หรือแม้กระทั่งคนที่ทำงานมาเก่าๆ
มันมีความรับผิดชอบน้อยลงกันทุกที
จะเอาตัวรอดกันอย่างเดียว จะโยนโทษให้คนอื่นท่าเดียว
แล้วก็มีแต่ว่าภาระมาพยายามปัดให้คนอื่น พยายามที่จะส่งต่อให้คนอื่น ไม่ขวนขวาย
ไม่เอาใจใส่ ขาดความรู้สึกว่าตัวเองต้องไปรับผิดชอบกับสิ่งที่ต้องทำ
มันมีแต่คนบอกว่าขอรับประโยชน์ แต่ไม่มีคนที่จะยกมือขึ้นมาส่งเสียงบอกว่าผมขอทำประโยชน์
ดิฉันขอเป็นประโยชน์กับองค์กร มันไม่ค่อยมีอะไรแบบนี้
ทำอย่างไรถึงจะสร้างจิตสำนึกขึ้นมาได้นะ
ตรงนี้ก็ต้องในเรื่องของการคัดคนเข้างาน มันต้องเริ่มตั้งแต่ตรงนั้นเลย เพราะว่าพูดกันตรงๆคือ จิตสำนึกสร้างไม่ได้นะ
มันเป็นอะไรที่เราไปบังคับไปเค้นคอคนอื่นเขาไม่ได้
ถ้าหากว่าเราไม่ใช่ฝ่ายที่คัดคน
ที่จะดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็คือเป็นตัวอย่าง เป็นผู้นำในทางดี
ในทางที่มีความรับผิดชอบ ในทางที่เข้มแข็ง ขวนขวาย กระตือรือร้น
จนกระทั่งคนอื่นเห็น ลูกน้องเห็น แล้วเกิดแรงบันดาลใจ มีพลังบันดาลใจที่จะเอาดีตาม
อันนี้เป็นที่สุดที่จะแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด ครอบคลุมที่สุด
ถ้าหากว่าเราเป็นแรงบันดาลใจก็แล้ว เราขยันให้เขาดูก็แล้ว รับผิดชอบให้เขาดูก็แล้ว
เขาไม่สามารถที่จะรับอะไรอย่างนั้นได้
อันนี้ก็ต้องยอมรับตามจริงไปว่ามันเป็นกรรมของแต่ละคน มันช่วยไม่ได้จริงๆนะ
แล้วก็ในส่วนของเราเองเพื่อที่จะให้ในกาลต่อไปมีลูกน้องที่ดีกว่านี้นะ
ก็คงต้องทำอย่างที่คุยกันไว้ อย่างที่ว่ากันไว้ตั้งแต่เริ่ม นั่นคือ
หมั่นเฉลี่ยบุญ แล้วก็มีความเป็นผู้ริเริ่ม แล้วก็สามารถจะเป็นแรงบันดาลใจกระตุ้นให้คนอื่นอยากเอาดีบนเส้นทางสว่าง
บนเส้นทางที่เป็นกุศลตามเรานะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น