คำถาม : สำหรับนักเรียนวัยมัธยมฯ ควรเลือกทางโลกหรือทางธรรมก่อนดี? แล้วถ้าอยากทำควบคู่กันไป ควรปฏิบัติอย่างไร?
รับฟังไฟล์เสียงได้ที่ : youtu.be/RacpWs9IhdY
ดังตฤณ : สำหรับวัยมัธยมฯ นี่เป็นช่วงแรกเลยที่ผมสนใจพุทธศาสนา แล้วผมก็ถูกถามบ่อยมากว่า เริ่มต้นสนใจพุทธศาสนาจากอะไร เมื่อไหร่นะครับ ผมก็ตอบคำเดิมว่า ที่ผมเริ่มต้นสนใจ ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญ ไม่ใช่เพราะอยากที่จะเห็นตัวเองสูงกว่าผู้อื่น เหนือกว่าผู้อื่น ไม่ใช่เพราะเหตุผลอะไรอื่นทั้งสิ้น แต่ว่าชีวิตมันมีความทุกข์ แล้วก็ได้ข่าวว่าพุทธศาสนามีคำตอบสำหรับคนเป็นทุกข์ได้
การที่เราจะไปเอาคำตอบจากพุทธศาสนานี่ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเรียนมัธยมฯ ให้จบซะก่อน ไม่จำเป็นที่เราจะต้องขึ้นมหาวิทยาลัยเสียก่อน ไม่จำเป็นต้องทำงาน ไม่จำเป็นจะต้องแก่เสียก่อน ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่บอกคำตอบในพุทธศาสนาให้ว่า ‘พ้นทุกข์ ต้องทำอย่างไร’ ตั้งแต่ก่อนเราสิบขวบ เราก็สามารถที่จะรู้จักพุทธศาสนาได้ตั้งแต่ก่อนสิบขวบ
รับฟังไฟล์เสียงได้ที่ : youtu.be/RacpWs9IhdY
ดังตฤณ : สำหรับวัยมัธยมฯ นี่เป็นช่วงแรกเลยที่ผมสนใจพุทธศาสนา แล้วผมก็ถูกถามบ่อยมากว่า เริ่มต้นสนใจพุทธศาสนาจากอะไร เมื่อไหร่นะครับ ผมก็ตอบคำเดิมว่า ที่ผมเริ่มต้นสนใจ ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญ ไม่ใช่เพราะอยากที่จะเห็นตัวเองสูงกว่าผู้อื่น เหนือกว่าผู้อื่น ไม่ใช่เพราะเหตุผลอะไรอื่นทั้งสิ้น แต่ว่าชีวิตมันมีความทุกข์ แล้วก็ได้ข่าวว่าพุทธศาสนามีคำตอบสำหรับคนเป็นทุกข์ได้
การที่เราจะไปเอาคำตอบจากพุทธศาสนานี่ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเรียนมัธยมฯ ให้จบซะก่อน ไม่จำเป็นที่เราจะต้องขึ้นมหาวิทยาลัยเสียก่อน ไม่จำเป็นต้องทำงาน ไม่จำเป็นจะต้องแก่เสียก่อน ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่บอกคำตอบในพุทธศาสนาให้ว่า ‘พ้นทุกข์ ต้องทำอย่างไร’ ตั้งแต่ก่อนเราสิบขวบ เราก็สามารถที่จะรู้จักพุทธศาสนาได้ตั้งแต่ก่อนสิบขวบ
วัยและเพศนี่ไม่ใช่ข้อจำกัด ไม่ใช่กำแพงกีดขวางนะครับ ถ้าหากว่าเราอยู่มัธยมฯ แล้วเราได้คำตอบของพุทธศาสนาแล้วว่า ศาสนาพุทธบอกว่าวิธีที่จะพ้นทุกข์คือ ‘ดูกายใจ โดยความเป็นของไม่เที่ยง’ แล้วเราสามารถเข้าใจคำตอบนั้นอย่างขึ้นใจนะ แล้วก็สามารถที่จะเอามาสังเกตระหว่างที่ว่างจากการเรียน มีช่วงไหนว่างจากการเรียนบ้าง ผมจะยกตัวอย่างให้ ถ้ายังค้นหาไม่เจอนะ
ตื่นนอนขึ้นมานี่ ช่วงนั้นไม่ต้องทำอะไร มันสามารถเห็นได้ว่า เพิ่งตื่นขึ้นจากฝัน
ตื่นนอนขึ้นมานี่ ช่วงนั้นไม่ต้องทำอะไร มันสามารถเห็นได้ว่า เพิ่งตื่นขึ้นจากฝัน
ออกมาจากความฝันนี่มีความฟุ้งซ่านตกค้างออกมาแค่ไหน?
ความฝันที่ออกมา หรือว่าการหลับนอนที่เรารู้สึกว่าปราศจากความฝันในคืนที่ผ่านมานี้ ให้ความรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์?
สังเกตง่ายๆเลย ตื่นนอนขึ้นมานี่ มันเป็นชีวิตใหม่แบบเล็กๆ มันเป็นชาติใหม่แบบเล็กๆ เราสามารถสังเกตได้เลยว่า ชีวิตใหม่ของเราแต่ละเช้านั้น เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
ถ้าหากว่าเป็นทุกข์ ก็ให้บอกตัวเองว่า แสดงว่าชาติก่อนแบบเล็กๆที่ผ่านมานี่ ทำไว้ไม่ดี มันทำให้เกิดความฝัน มันทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ทำให้เกิดการนอนไม่เต็มอิ่ม อะไรก็แล้วแต่แหละที่เป็นหลักฐานแสดงในช่วงเช้าว่า ชีวิตใหม่ในเช้าวันนั้น ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่
หรือถ้าหากว่ามีความสุขนะ เราก็บอกตัวเองว่า ชาติก่อนเล็กๆที่ผ่านมา วันก่อน หรือคืนที่ผ่านมานี่ เราทำไว้ดีพอ แล้วการทำไว้ดีพอนั่นน่ะ มีผลให้เราตื่นขึ้นมามีชีวิตใหม่ในเช้าวันนั้นอย่างมีความสุข
ความสุขกับความทุกข์ที่เรามองเห็น ณ ขณะของการตื่นนอน มีความสำคัญแค่ไหน? มันมีความสำคัญกับ ‘ความเข้าใจ’ ของเราว่า ‘อยู่ๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆนะ มันเกิดขึ้นจากการสะสม สะสมไอ้วันก่อน ว่าเรามีมาดีพอแค่ไหน หรือว่าไม่ดีพอแค่ไหน’
ความสุขกับความทุกข์ที่เรามองเห็น ณ ขณะของการตื่นนอน มีความสำคัญแค่ไหน? มันมีความสำคัญกับ ‘ความเข้าใจ’ ของเราว่า ‘อยู่ๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆนะ มันเกิดขึ้นจากการสะสม สะสมไอ้วันก่อน ว่าเรามีมาดีพอแค่ไหน หรือว่าไม่ดีพอแค่ไหน’
จากนั้นให้สังเกตว่า อารมณ์สุข อารมณ์ทุกข์ ที่เกิดขึ้น ณ ขณะตื่นนอนอีกแป๊บหนึ่ง มันก็จะหายไป
หรือถ้าหากว่ายังมีแรงส่งของเก่าอยู่นะ ถ้าหากว่าทำไว้ไม่ดีมากๆนี่ ทำอะไรก็แล้วแต่ จะพูดไม่ดี จะทำไม่ดี หรือว่าผิดพลาด หรือว่ามีความวิตกกังวลอะไรก็แล้วแต่ มันจะมีแรงดันของความทุกข์ ให้มีอายุยืนต่อไป ไม่ใช่แค่ช่วงเช้าที่ตื่นนอนมา แต่ระหว่างวัน ช่วงสาย ช่วงบ่าย บางทีมันแย่ลง แต่ถ้าหากว่าเรามีแรงดันของความสุขมากพอ ทำอะไรดีๆมามากพอ ความสุขความสดชื่นในช่วงเช้านี้ มันก็มีอายุยืนต่อไปเช่นกัน
ถ้าสังเกตอยู่อย่างนี้ มันได้อะไร? อย่างน้อยที่สุดได้ ‘ข้อสังเกตจิต’ ว่า ใจของเราในแต่ละวัน มันดีหรือไม่ดีอย่างไร มันมีความรู้สึกว่าเป็นฝ่ายบวกหรือฝ่ายลบยังไง
ถ้าสังเกตอยู่อย่างนี้ มันได้อะไร? อย่างน้อยที่สุดได้ ‘ข้อสังเกตจิต’ ว่า ใจของเราในแต่ละวัน มันดีหรือไม่ดีอย่างไร มันมีความรู้สึกว่าเป็นฝ่ายบวกหรือฝ่ายลบยังไง
ข้อสังเกตตรงนี้นะ เราไม่ต้องเอาไปเบียดบังเวลาเรียนอะไรเลย เราแค่สังเกตไปทุกวันๆๆ เท่านี้มันก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาได้เองเลยว่า ‘จิตของเรานี่ ความรู้สึกของเรา มันไม่เที่ยง’
และจิตของเรา ความรู้สึกของเรานี้ ถ้าหากว่าแบ่งซอยย่อยเข้ามาในแต่ละลมหายใจ แต่ละลมหายใจลองดูซิว่า หายใจเข้าครั้งนี้ ยังมีความสุขอยู่หรือเปล่า หายใจครั้งนี้ ยังมีความทุกข์อยู่หรือเปล่า แค่ถามตัวเองง่ายๆอย่างนี้นะ ‘หายใจแต่ละครั้ง ยังมีความสุขอยู่หรือเปล่า? ยังมีความทุกข์อยู่หรือเปล่า?’ มันจะได้คำตอบขึ้นมาเองว่า แต่ละลมหายใจนี่มีความสุขความทุกข์ไม่เท่ากัน ความสุขมันจะมาในรูปของความรู้สึกสบายกาย สบายใจ ความทุกข์มาในรูปของความอึดอัดกาย อึดอัดใจ และความอึดอัดความสบายที่ถูกสังเกตรู้ความไม่เที่ยงอยู่เรื่อยๆอย่างนี้แหละ มันจะทำให้จิตไม่ไปยึดมั่นถือมั่นกับอะไรต่ออะไรภายนอกตามไปด้วย
ถ้าหากเห็นซะแล้วว่า ทั้งสุขทั้งทุกข์มันเป็นแค่อะไรที่เกิดขึ้นแป๊บหนึ่งด้วยเหตุ แล้วก็ต้องดับลงเป็นธรรมดานะ ทำผ่านเดือนผ่านปีไป แค่ทำเล่นๆนะ ยังไม่ต้องนั่งสมาธิ ยังไม่ต้องเดินจงกรม จิตมันได้คำตอบในชีวิตแล้วว่า ‘อะไรๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น’ นี่แหละแก่นของพุทธนะครับ เริ่มเจริญสติแบบนี้แหละ
﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。
กลับไปหน้าคำถามวันที่ออกอากาศ http://bit.ly/19AOFeF
สารบัญหมวดตามวันที่ออกอากาศ http://bit.ly/11fZM5O
สารบัญหมวด http://bit.ly/14wgP50
﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。﹎。
กลับไปหน้าคำถามวันที่ออกอากาศ http://bit.ly/19AOFeF
สารบัญหมวดตามวันที่ออกอากาศ http://bit.ly/11fZM5O
สารบัญหมวด http://bit.ly/14wgP50
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น