วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

คอร์สอานาปานสติ เพื่อเป็นพุทธบูชา วันที่ ๑

พุทธพจน์ที่ใช้ในการบรรยาย อานาปานสติสูตร

https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/06/blog-post.html

 

ดนตรีจูนจิต (เพลง กราบพระพุทธา ประพันธ์ โดย คุณดังตฤณ)

https://www.youtube.com/watch?v=P8I5eoYta1U

 

เกริ่นนำ

https://www.youtube.com/watch?v=kc24le0jN6A

 

ทำสมาธิร่วมกัน โดยใช้ ))เสียงสติ((

https://www.youtube.com/watch?v=pff6uwWxKEM

 

ปิดตา จาระไนองค์ฌาน

https://www.youtube.com/watch?v=UzResBiu_qk

https://www.youtube.com/watch?v=u_LZADYhEYg&t=16s

 

อานาปานสติสูตร

https://www.youtube.com/watch?v=0DW9bEyg8Nw

 

รวมฟีดแบก หลังทำสมาธิร่วมกัน (ยังไม่ได้ถอดคำ)

https://www.youtube.com/watch?v=5uaw7Wszn2k


*******************************************

บทถอดคำรวม

 

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน(พิเศษ) ปฏิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชา

คอร์สอานาปานสติ วันที่ ๑

วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔

ถอดคำ : เอ้

_________________________________

 

เกริ่นนำ

ดังตฤณ : สวัสดีครับทุกท่าน พบกับรายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน

 

คืนนี้พิเศษ จะเป็นห้าคืนต่อเนื่องกันนะครับ ที่เราจะมาร่วมคอร์สอานาปานสติ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ต่อเนื่องกันห้าคืน

 

แล้วก็เป็นคืนนี้ที่เราเริ่มจากวันวิสาขบูชานะครับ

 

คืนวันวิสาขบูชา เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ในวันนี้ วันเดียวกันนะครับ

 

คือจะบอกว่าเป็นวันคล้ายวันเกิดก็ได้ หรือจะบอกว่า เป็นวันสวรรคต ดับขันธปรินิพพานของพระองค์ก็ได้ หรือจะบอกว่า เป็นวันสำคัญของโลก เป็นวันตื่นรู้ของโลก

 

วิสาขบูชา คือ วันตื่นรู้ของมหาบุรุษองค์หนึ่ง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นจุดเริ่มต้นของความตื่นรู้ของโลกด้วย เพราะว่ามหาบุรุษพระองค์นั้น ไม่ได้เอาตัวรอดเพียงลำพังพระองค์เดียว แต่พระองค์มาเพื่อที่จะขนสัตว์ออกจากสังสารวัฏอันกันดาร เต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยความไม่รู้ เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนนะครับ

 

สำหรับคอร์สอานาปานสติ มีขึ้น จุดประสงค์เลยก็เพื่อที่จะให้เข้าใจกัน จากประสบการณ์ตรงนะครับ

 

อานาปานสติ ไม่ใช่การเอาแต่ดูลมหายใจ แต่เป็นการอาศัยลมหายใจมาช่วย ให้รู้ความจริงเกี่ยวกับกายใจของเรา

 

เมื่อเห็นความจริงเกี่ยวกับกายใจนี้ ความรู้สึกในตัวตนจะเหลือศูนย์

 

อันนี้แหละ ที่คาดหวังว่าคอร์สนี้จะทำให้เราเข้าใจตรงกัน ตรงกับที่พระพุทธเจ้าท่านได้ประทานอานาปานสติสูตรไว้นะครับ

 

และเพื่อจะเห็นความจริงเกี่ยวกับกายใจ เราจะใช้จิตคิดๆ นึกๆ แบบนี้ไม่ได้ จิตคิดๆ นึกๆ แบบนี้ จะเข้าข้างตัวเอง และพร้อมจะตัดสินว่า กายใจ เป็นเรา เป็นของเรา กายใจโน้นเป็นของคนอื่น เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร เป็นศัตรู หรือคนรัก อันนี้คือใช้จิตแบบคิดๆ นึกๆ ในการตัดสิน

 

แต่ถ้าหากว่า เราอาศัยอานาปานสติ มาทำให้จิตมีภาวะที่ไม่คิด หรือคิดน้อยที่สุด เหลือแต่รู้ตามจริง ที่บริสุทธิ์อยู่ อันนี้มีสิทธิ์ครับ ที่กายใจจะรายงานสภาพของมันตามจริงออกมา ว่าไม่มีอะไรเที่ยงสักอย่างเดียว ไม่มีสักวินาทีเดียว ที่อะไรๆ ในภาวะที่อยู่ในขอบเขตกายใจนี้ จะคงรูปคงร่างเหมือนเดิม

 

จุดประสงค์ของคอร์สนี้ โดยเฉพาะสำหรับค่ำคืนนี้ เราจะรู้ออกมาจากภายใน เห็นว่าอิริยาบถนั่งอยู่ หายใจเข้า หายใจออก แล้วก็มีความคิดฟุ้งซ่านบ้าง สงบจากความคิดบ้าง ปรากฏขึ้นในหัว

 

คอร์สทั้งคอร์ส ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ไปถึงตรงจุดที่เราสามารถเห็นความจริง อันเป็นแก่นสารแท้ๆ เลย

 

เราไม่เคยเห็นนะ ว่า จริงๆ พวกเราทุกคน ขึ้นต้นด้วยการยกตั้ง ด้วยกระดูกสันหลัง ฉาบทาด้วยเลือดเนื้อ มีโครงกระดูกอยู่อย่างนี้ มีลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างนี้ เราไม่เคยเห็น


และพอเห็นขึ้นมาเราก็บอกว่า เป็นภาพน่ากลัว ทั้งๆ ที่ มันเป็นความจริงอยู่ตลอดเวลา

 

รูปร่างหน้าตาแบบที่เราคิด แบบที่เราจินตนาการต่างหาก ที่ไม่มีอยู่จริง ไม่เคยมีใครจินตนาการเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของตัวเองได้ละเอียด และตรงตามจริงเป๊ะๆ มีแต่คร่าวๆ เป็นมโนภาพว่าเราหน้าตาดี หรือไม่ดี เป็นหญิงหรือเป็นชาย รูปร่างหน้าตาแบบนี้ ชื่ออะไรนามสกุลอะไร

 

แต่แท้ๆ แล้วโดยพื้นฐาน โดยมูลฐานเลย ทุกคนเป็นแค่นี้แหละ ยกตั้งด้วยโครงกระดูกนะครับ ฉาบทาด้วยเลือดเนื้อ มีลมหายใจเข้าออก แล้วก็มีไออุ่น มีน้ำเลือดน้ำหนอง ที่มาแออัดยัดทะนานกัน เป็นตับไตไส้พุง

 

สำหรับคอร์สนี้ เราจะมาขึ้นต้นกันแบบง่ายๆ นะครับ คือรู้ลมหายใจก่อน แล้วก็อาศัยเครื่องทุ่นแรงคือ ‘เสียงสติ’ ช่วย

 

เหตุผลที่ต้องใช้หูฟังในคอร์สนี้ก็เพราะว่า

‘เสียงสติ’ เป็นเสียงที่ได้ยินด้วยสมอง ไม่ใช่ได้ยินด้วยแก้วหู  

‘เสียงสติ’ จะผ่านการใช้หูแต่ละข้าง ไปได้ยินคลื่นความถี่ ที่เป็นต่างหากจากกัน แยกเป็นคนละคลื่นความถี่กัน

 

ฉะนั้นมาปนกันด้วยลำโพงไม่ได้นะครับ

 

เรารู้จัก ‘เสียงสติ’ กันมาระยะหนึ่ง เหตุผลที่บางคนฟังแล้วปวดหัว เพราะว่าตอนแรก เราอยู่ในภาวะคิดๆ อยู่ในภาวะฟุ้งซ่าน สมองส่วนหน้าจะทำงานเยอะ แล้วคลื่นเบต้า คลื่นที่ใช้คิด จะก่อตัวขึ้นเยอะ

 

แต่ ‘เสียงสติ’ จะพยายามดึงให้การทำงานของสมองส่วนหน้าน้อยลง หรือแทบจะเข้าสู่จุดยุติ แล้วมีการทำงานที่สมองส่วนหลังแทน โดยคลื่นอัลฟ่า เธต้า หรือ เดลต้า ซึ่งเป็นคลื่นช้า จะเกิดขึ้นเยอะที่สมองส่วนหลัง

 

ฉะนั้นคนที่ฟัง ‘เสียงสติ’ แล้วรู้สึกผ่อนคลาย นั่นคือ คลื่นอัลฟ่า เกิดเยอะ

คนที่ฟัง ‘เสียงสติ’ แล้วเกิดสมาธิ นั่นคือ เธต้า หรือ เดลต้า เกิดขึ้น

 

บางคน ฟังก่อนนอน แล้วรู้สึกว่าหลับสบายถึงเช้า

นี่ก็เป็นเพราะว่า เดลต้า เกิดขึ้น จะอ่อนหรือจะแก่ก็ตาม

 

สำหรับคนที่ปวดหัว ก็เพราะตอนช่วงจะเปลี่ยนผ่าน จากการทำงานเยอะๆ ของสมองส่วนหน้า ไปส่วนหลัง จะมีอาการยื้อ

 

ยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านที่คิดเยอะ หรือรู้สึกระแวง รู้สึกต่อต้านกับ ‘เสียงสติ’ สมองส่วนหน้าก็จะไม่หยุด

 

ฉะนั้น อุบายที่ดีที่สุดคือ เหมือนกับเราทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เอาแค่สังเกตอย่างเดียว ว่าลมหายใจเกิดขึ้น ยาวหรือสั้นกว่ากัน

 

คำว่ายาวกับคำว่าสั้น ถ้าฟัง ‘เสียงสติ’ .. ถูก ‘เสียงสติ’ จูนให้เข้าสู่ภาวะผ่อนพักแล้ว จะชัดเจนว่าลมหายใจยาวขึ้น เหมือนกับที่หลายๆ คนประสบ ที่คุณเห็นในคอมเมนท์เป็นพันๆ นั่นแหละว่า มีความรู้สึกว่าลมหายใจ ยาวลึกลงไปถึงท้องเลย และหลายๆ คนก็รายงานว่า คล้ายกับมีพลังก่อตัวขึ้น ทำให้ร่างกายคอตั้งหลังตรงเอง อยู่ในจุดที่สมดุลเอง เป็นสมาธิได้เองนะ

 

นี่ก็เรียกว่า เราใช้เครื่องทุ่นแรง เทคโนโลยีทางเสียง มาสนับสนุนให้เกิดภาวะที่พร้อมจะเป็นสมาธิขึ้นมา .. ซึ่งไม่ใช่ที่สุด ไม่ใช่เป้าหมายนะ

 

 ‘เสียงสติ’ จะดีแค่ไหน หรือผลออกมาจะมีความสุขปานใดก็ตาม ยังไม่ได้เข้าสู่เนื้อหาที่เราต้องการกันจริงๆ

 

เนื้อหาที่เราต้องการกันจริงๆ ก็คือวันนี้แหละ ที่เราจะเอาสมาธิ เราจะเอาความมีปีติ ชุ่มฉ่ำ หรือว่า พลังของสมาธิที่เกิดขึ้น มาเป็นเครื่องอาศัย ในการรู้ความจริงเกี่ยวกับกายใจ โดยอาศัยอานาปานสติ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอน

 

เดี๋ยวเราจะมาทำให้เกิดประสบการณ์สมาธิกันก่อน จากนั้นจะมาจาระไนธรรมะ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในอานาปานสติสูตร โดยคราวนี้จะมีประสบการณ์ตรงของเรา เป็นเครื่อง เป็นอุปกรณ์ ที่จะทำความเข้าใจกับพุทธพจน์นะครับ ที่ตรัสไว้ในอานาปานสติสูตร

 

เวลาฟัง ย้ำอีกทีนะครับ ใช้หูฟังสเตอริโอ คุณจะมีอาการรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง หลับหรืออะไรอย่างไร ไม่ต้องไปขืนไว้ ช่วงที่ฟัง อันนี้สำคัญ อย่างที่บอกว่า ยิ่งเรามีความพร้อมที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่การทำงานของสมอง จะผลัดเปลี่ยนจากส่วนหน้า มาส่วนหลัง ยิ่งเกิดขึ้นได้สูง

 

แต่ถ้าหากว่าคุณต่อต้าน หรือพยายามทำความสงบ พยายามจะบริกรรม ไม่ว่าจะเป็นคำไหนๆ ก็ตาม สมองส่วนหน้า จะทำงานไม่หยุด และโอกาสที่จะผ่อนพักเต็มที่ก็ยาก เหมือนกับคุณยื้อกัน พยายามแย่งกันกับตัว ‘เสียงสติ’นะครับ

 

อุบายที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เกิดภาวะผ่อนพักก็คือ คอตั้งหลังตรง ทำเหมือนกับเราไม่ได้อยากได้ ไม่ได้อยากจะรู้อะไรทั้งสิ้น ไม่ได้อยากให้เกิดอะไรขึ้นทั้งสิ้น แค่ทำให้ภาวะร่างกายมีความผ่อนคลาย คอตั้งหลังตรง ฝ่าเท้าฝ่ามือ ใบหน้า สบาย ผ่อนคลาย และสังเกตเอาว่า ลมหายใจ ผ่านเข้าผ่านออก ยาวหรือสั้นอย่างไรนะครับ

 

** สวดมนต์ร่วมกัน **

 

ขึ้นต้นมา เรามาสวดมนต์ อย่างที่นัดแนะกันไว้ในสเตตัส เรามาสวดอิติปิโสฯ กันก่อน เพื่ออะไร เพื่อที่จะให้จิตใจนุ่มนวลลง มีความสว่างขึ้น แล้วพอสวดเสร็จ อย่าเพิ่งลืมตา เดี๋ยวผมจะบอกอะไรให้นะ ว่าเราจะเอาภาวะที่หลังจากสวดมนต์ มาเป็นตัวตั้งในการทำอานาปานสติ แบบที่จะเข้าถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ได้อย่างไรนะครับ

 

ใครไม่ถนัดอาจสวดในใจ หรือฟังเสียงสวดไปนะครับ แล้วก็ระลึกตาม ถึงคุณวิเศษ คุณสมบัติของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

 

(ตั้ง นะโม สามจบ และสวดบท อิติปิโสฯ ร่วมกัน)

 

เมื่อเราได้ร่วมกันถวายแก้วเสียงเป็นพุทธบูชา โดยกล่าวถึงความจริงเกี่ยวกับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เราจะมีความสามารถเกิดขึ้นอย่างหนึ่งคือ เราสามารถที่จะระลึกถึงจิต .. พระหฤทัย ของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนวันตรัสรู้ ที่พระองค์ รู้ ตื่น เบิกบาน

 

ภาวะจิตแบบนั้น ก็คือจิตที่มีความสว่างแล้ว มีความแจ้งแล้ว มีความไม่เอาอะไรแล้วกับโลกนี้อีก ไม่เอาอะไรแล้วกับสังสารวัฏ ที่มีการเวียนว่ายตายเกิดแบบไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เพราะว่าได้ทำลายรากฐานที่จะทำให้เกิดการอุบัติ จะไม่มีการอุบัติอีก เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จิตแบบนั้นคือจิตที่วิเวกอย่างสมบูรณ์

 

จิตตวิเวก ก็คือจิตที่มีความไม่เอาอะไร จนเกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่า อุปธิวิเวกนะครับ ก็คือว่าหมดกิเลส ดับกิเลสแล้ว ถึงมรรคถึงผลแล้ว

 

ทีนี้ เราๆ ท่านๆ ยังไปไม่ถึงความสิ้นสุดของกิเลส แต่อย่างน้อย เมื่อสวดมนต์ .. สวดอิติปิโสฯ ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ก็เกิดสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า จิตตวิเวก คือ มันไม่เอาเรื่องที่เป็นกิเลส แบบหยาบๆ จิตมีความพร้อมที่จะนุ่มนวล จิตมีความพร้อมที่จะสงบสุขอยู่กับธรรมะ

 

จิตแบบนี้แหละ เราจะเอามาอาศัยเป็นตัวตั้ง เอามาใช้เป็นบาทฐาน ในการเจริญอานาปานสติ ในคอร์สอานาปานสติ 5 คืนนี้

 

สำหรับ ‘เสียงสติ’ ที่จะเปิดให้ฟังในคอร์สนี้ เพิ่งทำขึ้นเป็นพิเศษจากฟีดแบก ที่ทุกท่านได้ช่วยกันบอกมาว่า ฟัง ‘เสียงสติ’ คืนไลฟ์วันแรกแล้วเป็นอย่างไร คืนที่สอง คืนที่สามเป็นอย่างไร ผมจับจุดถูก .. อันนี้จะไม่รีบเร่งให้เกิดปีติ จะค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลา 17 นาที

 

เดิมจะรวบรัด 8 นาทีแล้วจบ แต่อันนี้ 17 นาที แต่คุณจะรู้สึกว่าไม่นาน ถ้าเป็นสมาธิแล้วมีปีติขึ้นมา

 

‘เสียงสติ’ นี้นะครับ เราฟังแล้วอย่างที่นัดหมายกัน คือ คอตั้งหลังตรง สบายๆ นั่งพิงพนักนี่แหละ ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิกับพื้นให้เมื่อย นั่งเก้าอี้ได้

 

ตัว ‘เสียงสติ’ จะช่วยให้คลื่นย่านช้าของสมอง ถูกผลิตออกมาเยอะ ปรากฏเด่นขึ้นมาเหนือกว่าคลื่นย่านอื่นๆ เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องไปพยายามทำความสงบ

 

ตรงข้าม ถ้าคุณยิ่งพยายามมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งไม่สงบมากขึ้นเท่านั้น เพราะสมองส่วนหน้า จะไม่ยอมหยุดทำงานนะครับ อย่างที่เราบอกกัน อธิบายกันไปแล้วว่า เราต้องการให้สมองส่วนหลังทำงาน

 

เพราะฉะนั้น แค่สังเกตเฉยๆ ว่า ลมหายใจ ถูกปรับให้ยาวขึ้น หรือว่าสั้นลง ในแต่ละขณะ ไม่ต้องใช้คำบริกรรม ไม่ต้องพยายามใดๆ ทั้งสิ้น

 

** ฟังเสียงสติ และเจริญสติร่วมกัน **

 

)) เสียงสติ ((

 

** ปิดตา จาระไนองค์ฌาน **

 

เวลาที่จิตของเรามีความสงบ ก็คือจิตที่มีความไม่กระสับกระส่าย ไม่มีความฟุ้งซ่านห่อหุ้ม ไม่มีความดิ้นรน ที่จะอยากได้อะไร

 

พื้นฐานของ จิตตวิเวก หรือ จิตที่มีความวิเวก จึงสำคัญต่อสมาธิ โดยประการอย่างนี้

 

คือขึ้นต้นมา พอจิตไม่มีความกระสับกระส่าย ไม่มีความอยากจะกระโดด ก็พร้อมที่จะรู้อะไรก็ได้ที่กำลังปรากฏ อย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่าร่างกายนี้ คอตั้งหลังตรงอยู่ ก็เห็นอิริยาบถนั่ง แบบไม่ไปตัดสิน ไม่ไปอยากได้อะไรเพิ่มเติม

 

แล้วก็ไม่มีความรู้สึกว่า เราเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ .. อิริยาบถนั่งนี้ สักแต่เป็นรูปนั่งปรากฏให้เราดู

 

เรา ในที่นี้ ก็คือจิตที่มีความไม่กระสับกระส่าย ไม่มีความดิ้นรน

 

และเมื่อกายนี้ ที่อยู่ในอิริยาบถนั่ง ถึงเวลาหายใจเข้า เราก็รู้ว่าหายใจเข้า ถึงเวลาหายใจออก เราก็รู้ว่าหายใจออก ตอนที่เรารู้อย่างแจ่มชัดว่า ลมหายใจผ่านเข้า แล้วก็ผ่านออก ไม่ใช่ด้วยความบังเอิญ แต่ด้วยการที่ใจของเราโฟกัสอยู่กับความจริงเกี่ยวกับลมหายใจ

 

การมีใจโฟกัสอยู่กับลมหายใจนั่นแหละ คือองค์ฌานข้อแรก

ที่เรียกว่า วิตก หรือ วิตักกะ

 

ไม่ใช่วิตกกังวลแบบที่เราไทยๆ ใช้กัน แต่เป็น วิตก ในแบบที่มีการ ยกเอาลมหายใจขึ้น มาเป็นตัวตั้งของสมาธิ มาเป็นตัวตรึงจิตให้มีหลัก ไม่ใช่กระโดดไปกระโดดมาแบบสุ่ม

 

จิตตวิเวก ที่มีการโฟกัสลมหายใจแค่สองสามครั้ง ก็จะเกิดความรู้สึกว่า ลมหายใจนั้นปรากฏเด่นชัด ราวกับเป็นสาย บางคนเห็นเป็นสายน้ำตก บางคนเห็นเป็นสายหมอก บางคนเห็นเป็นสายควันที่มีความแจ่มชัด มีลักษณะยาวรีอย่างไร เข้ามาเมื่อไหร่ออกไปเมื่อไหร่ สามารถเห็นได้ชัด

 

โดยความเห็นลมหายใจชัดนั้น ปรากฏพร้อมกับอิริยาบถนั่ง อันเป็นที่ตั้งของลมหายใจนี้แหละ

 

เมื่อเกิดความรู้สึกว่า อิริยาบถนั่ง หายใจเข้าออกอยู่ ปรากฏคล้ายๆ กับมีรูปมีร่าง มีรูปพรรณสัณฐานชัดเจนว่า ตอนหายใจเข้า ท้องพองออก ตอนหายใจออก ท้องยุบลง

 

ถ้าหากว่า มีความคงค้างอยู่ในใจ เป็นภาพที่แจ่มชัดอย่างนี้ นี่เรียกว่าเป็น นิมิต และ นิมิตที่ปรากฏอย่างแจ่มชัดนี้ จิตเห็นแต่ลมหายใจอย่างเดียว ไม่เห็นสิ่งอื่น ไม่คิดถึงสิ่งอื่น เห็นลมหายใจปรากฏพร้อมซึ่งประกอบ คือ อิริยาบถนั่งนี้

 

ตรงนี้เรียกว่า องค์ฌานข้อที่สองปรากฏ เรียกว่า วิจาร

วิจาร ในที่นี้ไม่มี ณ.เณร การันต์นะ เป็นวิจาร สะกดด้วย ร.เรือเฉยๆ

 

วิจาร คือ อาการที่จิตแนบเข้าไปเป็นหนึ่งเดียว เป็นอันหนึ่งอันเดียว เป็นเนื้อเดียวกันกับอารมณ์ที่ยกตั้งขึ้นมา คือลมหายใจนี้

 

เมื่อลมหายใจปรากฏชัด แล้วนิมิตคงค้างไม่ไปไหน แค่ไม่นาน ไม่กี่วินาที ความเป็นจิตตวิเวก ที่เห็นลมหายใจชัดนี้ ก็จะเกิด ปีติ บันดาลปีติขึ้นมา มีความชุ่มฉ่ำ เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเปรียบเทียบนะ ราวกับว่าเราเอาตัวทั้งตัว จุ่มลงในน้ำเย็น

หรือบางคนอาจรู้สึก เย็นซ่าน ราวกับประแป้งเย็น เป็นความเย็นที่ทั่วถึง ไม่ใช่เย็นที่จุดใดจุดหนึ่ง

 

บางคน อาจยังเย็นอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งเฉยๆ อย่างเช่น เย็นที่หน้า เย็นที่แขน หรือเย็นที่ตัว แต่ถ้าหากว่า ปีติเกิดเต็ม จะเย็นทั้งตัว เย็นแบบเหมือนกับเอาตัวทั้งตัว จุ่มลงไปในน้ำเย็น มีความเบา มีความสบาย มีความโปร่ง ไม่ได้มีความลำเอียงแบบฝนตกไม่ทั่วฟ้า ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่เป็นทั้งตัวที่มีความเย็น

 

ในความเย็นอันเกิดจากที่เรียกว่า ปีติ อันเกิดแต่วิเวก ในที่สุด ก็มาเป็นอันเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกันกับ ความสุข

 

ตัวปีติ ก็คือองค์ฌานข้อที่ สาม

ส่วน สุข ก็คือองค์ฌานข้อที่ สี่

 

เมื่อผนึกกัน รวมกำลังกัน .. วิตก วิจาร ปีติ และ สุข .. ก็ทำให้เกิดภาวะอย่างนี้ ที่กำลังเกิดขึ้น มีความนิ่ง มีความรู้ มีความเบา มีสติตื่นอยู่

 

ไม่ใช่ว่านิ่ง เบา เย็น แล้วสติหายไปไหนก็ไม่รู้

 

สติ จะต้องเป็นศูนย์กลางขององค์ฌานทั้งหมด เมื่อมีสติรู้อยู่ว่า วิตก วิจาร ปีติ และ สุขปรากฏขึ้นพร้อมกัน ในอิริยาบถนั่งนี้ เราก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า นี่แหละ ที่เรียกว่า สมาธิ

 

ในสมาธินี้ ถ้าหากจะเกิดความฟุ้งซ่าน หรือว่า ความคิดแวบขึ้นมาในหัว ก็จะเป็น แวบของความฟุ้งซ่านที่แผ่วเบา ไม่รุนแรง ไม่หนาแน่น เกินกว่าที่สติของเราจะรับมือ

 

เวลาที่ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น แค่เรารู้ว่าเป็นภาวะหนึ่ง แผ่วๆ เบาๆ บางๆ ผ่านเข้ามาในหัว ผ่านเข้ามาแล้วหายไป ไม่ใช่ตัวใคร ตัวนี้แหละ ที่เราจะเริ่มเห็นว่า ความคิดไม่ใช่ตัวของเรานะ เป็นแค่ภาวะที่ผ่านเข้ามาในหัวชั่วคราว

 

ถ้าเราไม่ยื้อไว้ ถ้าเราไม่เอามาคิดต่อ ในที่สุดก็แผ่วหายไป เหลือแต่จิตที่มีความตั้งรู้เป็นสมาธิอยู่ เห็นอยู่ว่า กายนี้ ใจนี้ ปรากฏอยู่ในอิริยาบถนั่ง หายใจเข้า หายใจออก มีปีติ และสุขอยู่

 

ลักษณะของ วิตก วิจาร ปีติ สุข

วันนี้เป็นคืนแรก จะให้รู้จักแค่เรื่องของ วิตก วิจาร ปีติ และสุข รวมทั้งความคิดที่อาจยังแผ้วผ่านมาบ้าง

 

ตัว วิตก ก็คือ นึกถึงลมหายใจ อาการของใจ

เรานึกถึง พุ่งเป้าไปที่ลมหายใจ

แล้วลมหายใจนั้นปรากฏชัด เรียก วิจาร

มีนิมิตคงค้าง โดยที่เราไม่ต้องฝืน ไม่ต้องเพ่งนึก

แล้วเกิดจิตตวิเวก ก็บันดาลให้เกิด ปีติ

บันดาลให้เกิด ความสุข ท่วมท้นขึ้นมา

หรือเอ่อขึ้นมาหน่อยๆ ก็ตาม

 

คือไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่ขอแค่ว่า

คุณรู้สึกถึงวิตก วิจาร ปีติ และสุขได้

นั่นแปลว่าเกิดขึ้นในตัวคุณนะครับ

 

แต่ถ้าไม่เกิด ก็บอกว่าไม่เกิดนะ ผมไม่ได้ต้องการว่าเราต้องมี ปีติ สุข กันตั้งแต่ในคืนแรก

 

** บรรยายอานาปานสติสูตร **

 

คราวนี้ผมจะให้ทุกท่านได้เห็นนะครับว่า ประสบการณ์ที่ผ่านไป ได้รับการยืนยันจากพระพุทธเจ้า ในอานาปานสติสูตรอย่างไร

 

เริ่มต้นขึ้นมาโดยสรุปใจความก็คือว่า

พระพุทธเจ้าท่านให้เข้าที่วิเวก

 

ที่วิเวก ในที่นี้ก็เพื่อที่จะให้เกิด กายวิเวก และ จิตตวิเวก นั่นเอง

ถ้าหากว่าเกิดความสงบระงับทางกาย ไม่กระสับกระส่าย แล้วเกิดภาวะทางจิตที่ไม่ดิ้นรน ไม่อยากโน่นอยากนี่ นี่เรียกว่าโอเค

ซึ่ง ‘เสียงสติ’ มาช่วยเราในส่วนนี้ เราไม่ต้องออกจากที่คับแคบ เราไม่ต้องออกจากบ้านเรือนไปปลีกวิเวกในป่า  ‘เสียงสติ’ ช่วยได้

 

พระพุทธเจ้าทรงให้ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า

 

นี่ก็คือที่ผมย้ำนักย้ำหนาว่า คอตั้งหลังตรงสำคัญมากนะครับ พระองค์ให้ดูนะครับ สติ เริ่มต้นที่ตรงนี้ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว

ซึ่ง ‘เสียงสติ’ เวอร์ชันล่าสุด ก็คงช่วยปรับคุณภาพลมหายใจ หรือว่าทางเดินลมหายใจของคุณ ให้ยาวขึ้น อย่างที่ปรากฏนะครับ

 

หรือถ้าหากว่าหายใจสั้น ก็แค่รู้ไปว่าหายใจสั้น ไม่มีความน่าดีใจ ไม่มีความน่าเสียใจ อยู่ในลมหายใจสั้นหรือยาว มีแต่ความพอใจที่มีสติรู้ตามจริงว่า กำลังหายใจสั้น หรือว่าหายใจยาวอยู่นะ

 

พระองค์ตรัสว่า เมื่อรู้ชัดแล้วว่า กำลังหายใจสั้น หรือหายใจยาว ก็ให้สำเนียกอยู่ คือให้ทำความรู้อยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง

 

คือคิดอย่างนี้ว่า เราจะดูลมนั่นแหละ แล้วก็หายใจออก หายใจเข้า คือพูดง่ายๆ ว่า ในขณะแห่งการกำหนดรู้นั้น เราหายใจเข้า หายใจออกไปด้วย

หายใจเข้า หายใจออกอย่างรู้ ไม่ใช่หลง ไม่ใช่ลืม

 

จากนั้น พอมีความสงบ มีปีติ มีสุขเกิดขึ้น อย่างที่เกิดขึ้นเป็นประสบการณ์ของคุณ แล้วมีความคิดแผ้วผ่านเข้ามา

 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้สำเนียกอยู่คือให้รู้สึกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร

 

จิตตสังขารในที่นี้ก็คือ ลักษณะปรุงแต่งทางความคิดนั่นเองนะครับ ไม่ใช่ว่าให้หยุดลมหายใจ อันนี้ชัดเจนนะ

 

ท่านให้กำหนดว่า เราจะระงับความคิด ถ้าหากว่าความคิดแผ้วผ่านเข้ามา เราแค่ดูว่า มันผ่านเข้ามาแล้วผ่านออกไป เราจะไม่คิดต่อ เราจะไม่ตรึกนึกต่อ กำลังของสมาธิ กำลังของปีติและสุข จะทำได้โดยง่ายดาย ณ ขณะที่เรากำลังหายใจเข้า ณ ขณะที่เรากำลังหายใจออกอยู่นั่นเอง เมื่อความคิดแผ้วผ่านเข้ามา เราจะสามารถเห็นมันเหมือนแมลงหวี่ แมลงวัน เหมือนแมลงเม่าบินเข้ากองไฟได้ง่ายๆ ถึงตรงนี้ก็เรียกว่า เป็นสมถะเต็มขั้นแล้ว

 

มักจะมีคนสงสัยว่า อานาปานสติ .. สมถะอยู่ตรงไหน วิปัสสนาอยู่ตรงไหน ..นี่คือสมถะนะ จิตสงบ ปราศจากความคิดนั่นเอง

 

เมื่อทำได้อย่างนี้ เธอได้ชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีความรู้สึกตัว มีสติ และกำจัดความโลภ กำจัดความหลงไปทุกข์ หลงไปเศร้า หลงไปโศกแบบโลกๆ เสียได้

 

แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ว่า เป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้น ในบัดนี้ เธอทั้งหลายจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย

 

พูดง่ายๆ พอมีสมาธิเห็นลมหายใจชัด นี่ขึ้นชื่อว่า.. ได้ชื่อว่าเห็นกายในกายแล้ว

 

คำว่ากายในกาย ไม่ใช่ว่าเอากายอื่นมาซ้อนกัน แต่ก็คือเห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของกาย จากหลายๆ ส่วนทั้งหมด แล้วก็การมีสติ การมีความเพียร การมีความรู้สึกว่าใจนิ่ง นั่นแหละ ตัวนี้แหละที่เป็นสมาธิที่พระพุทธเจ้าต้องการ

 

จากนั้น พอจิตมีความวิเวกมากเข้า คุณก็จะรู้สึกได้

อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้สำเนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดปีติหายใจออก เป็นผู้กำหนด ปีติหายใจเข้า

 

พูดง่ายๆ พอรู้สึกถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อย่างมีปีติโดดเด่นขึ้นมา เราก็รู้ไป นี่เรียกว่าเป็นปีติที่เกิดขึ้นในลมหายใจนี้ เรากำลังมีลมหายใจแห่งความมีปีติ

 

จากนั้น ท่านก็ให้กำหนดดูว่า ในปีติอันเยือกเย็นนั้น มีความสุขแฝงอยู่ด้วย ก็ให้รู้ว่ากำลังเป็นสุขอยู่ มีความสุขเกิดขึ้นอยู่ในลมหายใจเข้า ในลมหายใจออก .. ตรงนี้ มาถึงองค์ฌานสี่ข้อแล้วนะครับ

 

ทีนี้ พอเรารู้ไปถึงตรงนี้ มีความสงบเป็นสมถะเต็มขั้นอย่างนี้ เวลาความคิดแผ้วผ่านเข้ามา ก็จะเห็นได้ง่าย

 

อย่างที่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้สำเนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตตสังขาร หายใจออก เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ จิตตสังขารหายใจเข้า

 

คำว่า กายสังขาร พระพุทธเจ้าท่านหมายถึง การระงับความกวัดแกว่งของกาย

คือกายไม่กวัดแกว่ง กายไม่มีความกระสับกระส่าย ส่วน จิตตสังขาร คือความคิด

 

ตอนที่เรามีความสงบนิ่งของอิริยาบถนั่ง ไม่รู้สึกว่า กายอยากกระดุกกระดิก ไม่รู้สึกว่า กายอยากจะลุกขึ้นไปไหน อันนั้นก็คือ กายสังขาร ที่สงบลง ระงับลง อย่างที่สำนวนพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า กายมีความระงับไม่กวัดแกว่ง อันนั้นคือ กายสังขารดับลง ระงับลง

 

ส่วนจิตตสังขาร คือลักษณะที่ความคิดแผ้วผ่านเข้ามา แล้วเราสามารถรู้ได้ เห็นได้ว่ามันเข้ามาที่หัวเมื่อไหร่ ที่ลมหายใจไหน แล้วก็จะเห็นว่าเดี๋ยวก็ผ่านไป หรือกระทั่งมีกำลังของจิต มีกำลังของปีติ และสุขทำให้ตัวความคิดนั้น ระงับดับลงไปได้

 

อันนี้ ก็จะเป็นประสบการณ์ที่หลายๆ ท่านก็คงเห็นนะครับตรงนี้ คือข้ามมาในส่วนของการรู้เวทนา .. ตอนแรกเรารู้กาย รู้ในส่วนของกาย ตอนนี้เรารู้ส่วนของเวทนานะครับ

 

สำหรับวันนี้ก็จะเอาแค่ตรงที่ เราได้มีประสบการณ์ร่วมกันว่า ถ้าหายใจเข้า หายใจออก อย่างรู้ว่าอิริยาบถอันเป็นปัจจุบันเป็นอย่างไร คือพูดง่ายๆ ว่า นั่งคอตั้งหลังตรงเป็นอย่างไร ไม่ลืม จะเกิดความแนบเป็นหนึ่ง ทั้งในส่วนของลมหายใจ แล้วก็เครื่องประกอบ คือกายที่อาศัยนั่งหายใจอยู่นี้นะครับ

 

เมื่อเกิดปีติ และสุข ตรงนั้นจิตเริ่มมีกำลัง จิตเริ่มมีความรู้สึกว่า ความคิดผ่านเข้ามาเมื่อไหร่ ตรงนี้ คือ จิตตสังขาร

 

ส่วนกายสังขารก็คือ ลักษณะทางกาย ที่จะมีความปราณีตขึ้น จะมีความรู้สึกอยู่นิ่งๆ ก็ได้ อยู่เฉยๆ ก็ได้ ไม่เห็นต้องกวัดแกว่ง  

 

กายสังขาร คือความปรุงแต่งทางกาย ส่วนจิตตสังขารก็คือความปรุงแต่งทางจิตนะครับ ซึ่งเฉพาะในอานาปานสติ พระพุทธเจ้าหมายถึงความคิดนั่นเอง ความนึกคิดปรุงแต่งว่าเรากำลังคิด เป็นเรา ของเรา 

** ** ** **

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น