ถาม : ถ้ามีคนคนนึงเคยรับรู้เรื่องการตัดสินใจทำแท้งของคนที่เรารู้จัก
แล้วก็ไม่ได้ยับยั้ง แถมยังเฝ้ารอจนกระทั่งเค้าทำแท้งเสร็จ แล้วก็พากลับบ้าน
ต่อมาคนที่เค้ารับรู้เรื่องนี้ก็ต้องสูญเสียหลานคนแรกไปค่ะ
เธอแท้งหลานไปในขณะที่ยังท้องได้ ๒ เดือน
ก็เลยทำให้คนที่รับรู้เรื่องการทำแท้งคนนี้ต้องเสียใจ แล้วก็ปวดร้าวหัวใจมาก
เธอก็ร้องไห้ตลอดเวลาเลยอ่ะคะ เธอก็คิดว่าคงเป็นเพราะกรรมที่เธอมีส่วนเข้าไปในการทำแท้งครั้งนั้น
ก็เลยจะขอเรียนถามคุณดังตฤณว่า การที่เธอสูญเสียหลานไป
เป็นกรรมจากการที่เธอมีส่วนในการรับรู้การทำแท้งในครั้งนี้ใช่หรือไม่? และถ้าใช่
ทางแก้ของเธอควรจะทำอย่างไรดี ถึงจะได้หมดกรรมนั้นไป
เพราะเธอก็กลัวที่จะสูญเสียหลานคนต่อๆไปอีกอ่ะค่ะ?
ดังตฤณ:
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก เวลาที่กรรมจะให้ผล ไม่ใช่ทำปุ๊บแล้วให้ผลได้ปั๊บ มันอาจจะทำให้เหตุการณ์ที่ผ่านมา ที่มันใกล้ๆกันอาจจะทำให้ใจเราเชื่อมโยง คือไปนึกถึงว่า จะเป็นเพราะเราทำอย่างนั้นอย่างนี้ไว้รึเปล่า
ถ้าหากว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มีผลกระทบกับจิตใจคุณอย่างแรง หรือว่ามีผลมีอิทธิพลกับชีวิตคุณอย่างใหญ่หลวง
ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นผลของกรรมจากอดีตชาติ ไม่ใช่ผลของกรรมในปัจจุบัน
คือก่อนอื่นให้เข้าใจอย่างนี้ว่า คำว่า วิบากกรรม
หรือว่าผลของกรรมที่ทำไว้ในกาลก่อน ไม่ใช่อะไรที่ว่าเราทำปุ๊บแล้วมันจะเห็นผลปั๊บ
เป็นสิ่งที่จะต้องรอเวลากันนิดนึง ไม่ว่าจะทำดีหรือทำชั่วก็ตาม
คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การที่เราทำอะไรลงไปแล้วตามผล ตามหลักของกฎแห่งกรรมเนี่ย
จะต้องให้ผลทันที ถ้าไม่ให้ผลทันทีหรือทันใจเนี่ย ก็แปลว่ากฎแห่งกรรมไม่มีจริง
หรือว่ากรรมวิบากเป็นแค่เรื่องหลอกเด็กเป็นนิทานหลอกเด็กขู่ให้กลัวเพื่อที่
จะได้มีกำลังใจทำดีกัน แล้วก็ไม่มีความกล้าที่จะทำชั่ว
แต่จริงๆแล้ว
เรื่องของผลแห่งกรรมวิบาก ผลแห่งกรรม หรือ ว่าวิบาก พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่าเป็นเรื่อง อจินไตย
คือว่าไม่สามารถคะเน หรือ ไม่สามารถคำนวณ แม้กระทั่งว่าอย่างในกรณีนี้
เราไปคะเนเอาว่าคงเป็นเพราะเคยไปสนับสนุนแบบอ้อมๆ คือไม่ได้สนับสนุนโดยตรง แต่ว่าการไปนั่งเป็นเพื่อน หรือ การไปส่งอะไรต่างๆเนี่ย มันน่าจะเป็นการก่อกรรมอย่างนึง
ไม่ใช่นะครับ คือ มันเป็นไปไม่ได้นะ ที่เราเพิ่งไปส่ง แล้วก็จะมีผลอะไรกับลูกกับหลาน
มันมีอยู่หลายข้อเลยที่อาจจะเป็นความเข้าใจผิดพลาดนะครับ คือเรื่องของการให้ผล
เวลาในการให้ผลของกรรมด้วย สิ่งที่เราทำไป เค้าเรียกว่า เป็น กตัตตากรรม คือ
เราไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเช่นนั้น ไม่ได้มีความยินดี ไม่ได้เป็นฝ่ายริเริ่ม
ไม่ได้เป็นฝ่ายสนับสนุน แต่ทำไปด้วยความตกกระไดพลอยโจน หรือ
เรื่องที่ทำไปตามหน้าที่ หรือ ตามที่เค้าขอมา มันจะเป็นกรรมที่มีกำลังอ่อน
เป็นการใช้กำลังใจที่อ่อน แล้วเวลาที่มันให้ผล มันจะให้ผลน้อย ไม่ใช่ให้ผลใหญ่
สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นความบังเอิญที่ว่า เราจะต้องเสียใจ แล้วก็ไปมีใจเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เพิ่งทำไปกับผลที่มันเกิดขึ้นนะครับ
________________
คลิกที่คำถามเพื่ออ่านต่อ :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น