ดังตฤณ : คือเวลาที่กำลังฟุ้งจัดๆ
ไม่แนะนำให้คาดหวังว่า เราจะสามารถสงบลงได้ทันที ด้วยการเอาใจไปผูกไว้ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แม้กระทั่งลมหายใจ อย่าใช้ลมหายใจเป็นเครื่องผูก ในขณะที่จิตมันมีแรงดิ้นเหมือนม้าพยศ
แต่ว่ากำลังของเรามีแค่มือมนุษย์ แล้วก็เส้นเชือกบางๆที่มันไม่ได้หนา
ไม่ได้มีความสามารถไปเอาชนะอะไรกับม้าพยศ
ขอให้เปรียบจิตนะครับเป็นม้าพยศ
แล้วตัวคุณเป็นมนุษย์ที่มีความฉลาดกว่าม้าพยศ เราต้องรู้ทางคือไม่ใช่ว่า ..
เราเป็นมนุษย์เนี่ยนะ สิ่งที่เรามีกำลังมากกว่าม้าพยศ ก็คือสติปัญญา หรือว่าวิธีการใช้เหตุผลที่มันเหนือกว่าสัตว์เดรัจฉาน
สัตว์เดรัจฉานเนี่ยมีกำลังมาก
แต่มีความฉลาดน้อย ความฟุ้งซ่านก็เหมือนกัน มันมีกำลังมาก แต่มันก็เป็นของดิบๆอยู่อย่างนั้น
ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของมัน เข้าใจทางลมนะว่า จะจัดการยังไง
ให้มันค่อยๆอ่อนกำลังลงได้ ค่อยๆซาตัวลงได้ อันนี้แหละที่มันถึงปราบได้จริง
ปราบความฟุ้งซ่านที่เหมือนม้าพยศได้จริง
แต่ถ้าหากว่า
เราไม่เข้าใจธรรมชาติของมันนะครับ ไปพยายามใช้กำลังเข้าสู้ดิบๆเลย
เหมือนกับมนุษย์ตัวจ้อยเนี่ย แล้วก็ไปสู้กับม้าพยศที่มีกำลังมากกว่า
อย่างนี้ยังไงก็ไม่มีทางชนะ
วิธีที่จะกำราบจิตที่กำลังฟุ้งซ่านมากๆนะครับ
ทางหนึ่งก็คือ ทำความเข้าใจว่า
ความฟุ้งซ่านไม่ใช่ว่ามันจะมีกำลังแรงได้ต่อเนื่องยาวนานเสมอไป
ในที่สุดมันจะต้องอ่อนกำลังลงเองถึงแม้ว่าเราจะไม่ไปจัดการ ไม่ไปขัดขวาง
ไม่ไปขับไล่ไสส่งอะไรมันทั้งสิ้น
แล้ววิธีที่ดี
ถ้าหากว่าจะใช้ลมหายใจนะ ก็คือให้สังเกตว่า
มันฟุ้งซ่านได้กี่ลมหายใจถึงอ่อนกำลังลง พอตั้งข้อสังเกตไว้อย่างนี้นะครับ
มันต่างไปแค่นิดเดียว ผิดองศาไปแค่นิดเดียว แต่ผลลัพธ์เนี่ย ห่างกันมหาศาลเลยนะครับ
เพราะเราไม่ได้ตั้งใจจะตรึงความฟุ้งซ่านไว้ด้วยลมหายใจ แต่เราจะอาศัยลมหายใจ
จำนวนครั้งของลมหายใจ เป็นเครื่องสังเกตว่า ความฟุ้งซ่านยังเข้มข้นอยู่
หรือว่าอ่อนกำลังลงแล้ว
เมื่ออาศัยจำนวนลมหายใจ
เป็นเครื่องสังเกตความไม่เที่ยงของสิ่งใด สิ่งนั้นจะปรากฏโดยความเป็นของอื่น ที่มันแตกต่างจากลมหายใจนะครับ
แล้วก็ที่เป็นของต่างหากจากจิตด้วย
คือจิตที่มีสติเนี่ย
คือนับไป ตอนนี้ลมหายใจนี้ กำลังฟุ้งยุ่งเหยิงเลย
มันไม่สามารถที่จะมารู้ลมหายใจได้ ก็ไม่เป็นไรรู้แค่นิดเดียว
รู้แค่เนี่ยว่าลมหายใจนี้ เราตั้งต้นที่จะสังเกตว่า ความฟุ้งซ่านในลมหายใจนี้
มันปั่นป่วน มันอลหม่าน มันไม่สามารถคุมจิตได้ติด
เรียกว่านี่เป็นการเห็นจิตที่ฟุ้งซ่านแล้วในลมหายใจนี้ ลมหายใจนี้เป็นลมหายใจแห่งความฟุ้งซ่านอย่างหนัก
เสร็จแล้วปล่อยให้มันฟุ้งซ่านไป ไม่ไปพยายามบังคับอะไรมัน
พอจะต้องมีลมหายครั้งต่อไป
เราค่อยสังเกตอีกทีนึงว่า ลมหายใจนี้เนี่ย
ดูแล้วความฟุ้งซ่านมันเบาบางลงบ้างรึเปล่า หรือว่ายังเท่าเดิม ถ้ายังหนักเท่าเดิม ก็ไม่ต้องไปเสียใจ
เราแค่มีแก่ใจที่สังเกตต่อว่า เออมันยังปั่นป่วน มันยังหนักหน่วงเป็นพายุทอร์นาโดอยู่
เสร็จแล้วดูไปอย่างนี้เรื่อยๆ
พอครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๕ มันจะค่อยๆเกิดความตระหนักว่า
ยิ่งเราอาศัยลมหายใจ เป็นเครื่องสังเกตความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่านมากขึ้นเท่าไหร่
ความฟุ้งซ่านยิ่งปรากฏแสดง โดยความเป็นของไม่ใช่อะไรที่เหมือนเดิมในแต่ละลมหายใจไปเรื่อยๆนะครับ
จนกระทั่งถึงจุดนึงนะ จิตมีความรู้สึกว่า เริ่มมีกำลังของสติมากขึ้น
ตรงนั้นกำลังของความฟุ้งซ่าน มันจะอ่อนลงจนเห็นได้ชัด
นี่เรียกว่าเป็นการอาศัยลมหายใจมาช่วยสังเกตความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่าน
ซึ่งมันจะเป็นไปได้จริงทุกครั้ง
----------------------------------------
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
นที่ไลฟ์ ๕
พฤษภาคม ๒๕๖๓ (รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน)
คำถาม ขณะปฏิบัติ
จิตฟุ้งมากแล้วพยายามเอาจิตไปไว้ที่ลมหายใจ..
แต่หาลมหายใจไม่เจอ ควรเอาจิตไปไว้ที่ไหนดีคะ?
ระยะเวลาคลิป ๖.๕๐ นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=JtADeZuLrbw&list=PLmDLNhxScsWPHpIdf0LAQiQM1j9ZebEMx&index=2** IG **
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น