ดังตฤณ : คิดเปรียบเทียบอย่างนี้ก็แล้วกัน สมมติว่าคุณมีเปลวเทียน ไฟบนเทียนของคุณเนี่ยนะครับ ถืออยู่เล่มเดียว แล้วเดินเข้าไปในหมู่คน ๑,๑๐๐ คน ที่มีเทียนเช่นกัน แต่ยังไม่มีไฟ คุณเอาไฟไปต่อให้พวกเขา คุณต่อได้กี่คน?
มันก็ต่อได้ครบ
๑๐๐ ครบ ๑,๐๐๐ คน จนกว่าแท่งเทียนของคุณจะละลายหมดนั่นแหละ ตราบใดที่ใจของคุณยังมีสว่างจากการทำบุญ
มีความรู้สึกว่า เออเนี่ยทำบุญสำเร็จ ช่วยคนได้ ทำให้เขามีความสุขขึ้นได้
ชีวิตสบายขึ้น หลุดพ้นจากความลำบากได้ หรือพระสงฆ์องค์เจ้าได้รับสิ่งของ ที่จะไปทำให้พวกท่านมาสืบศาสนาต่อได้ด้วยการปฏิบัติธรรมเจริญสติ
พอใจมันมีความชุ่มชื่นจากการเห็นผลนั้นแล้ว
ใจที่ชุ่มชื่นนั้นมันยังอยู่อีกนานแค่ไหน ก็นั่นแหละ
ตรงนั้นแหละที่คุณสามารถอุทิศไป หรือเผื่อแผ่ไปเป็นวงกว้างได้ไม่จำกัด
จริง
ๆ แล้วถ้าหลักการอุทิศ เริ่มต้นต้นมาควรจะให้เหมือนกับการแผ่เมตตา คือ
มีการแผ่ออกไปแบบไม่มีประมาณ
คำว่า
ไม่มีประมาณ ง่ายกว่าที่จะจำเพาะเจาะอีก เพราะคุณไม่ต้องนึกถึงหน้าใครเลย
ถ้ากำลังมีความสุขอยู่กับการทำบุญชนิดไหนก็ตาม
แล้วความสุขชนิดนั้นมันทำให้ใจของคุณเหมือนแผ่ผายออกไปแบบไม่จำกัด แบบไม่มีประมาณ
ตรงนั้นแหละที่คุณสามารถอุทิศแบบไม่มีประมาณได้เช่นกันนะครับ
คือพอเรานึกไปว่า
ขอให้ใครก็ตามที่รับรู้อยู่ จะด้วยแก้วหูแบบมนุษย์
หรือว่าแก้วหูอันเป็นทิพย์ก็ตาม
ขอให้ได้โปรดมีใจร่วมยินดีอนุโมทนาในความสุขความสดชื่นในบุญของเราเท่าเทียมกันด้วยเถิด
เท่านี้ก็จะเหมือนกับคุณเอาเทียนเล่มเดียวนะครับ เทียนที่มีไฟเนี่ย เหมือนกับชูไว้
แล้วก็บอก ใครอยากมาได้ไฟ มาเอาเลย เขาก็จะเอาเทียนของเขา ส่วนตัวของเขาจิ้มเข้ามา
แล้วก็ได้ไฟกลับไป
จิต จริง ๆ เปรียบเป็นเทียนไม่ได้นะ
เพราะว่ามันมีความส่องสว่าง มันเป็นฟอง เป็นฟองธรรมชาติที่มีความสุขสว่างอยู่
แล้วถ้าหากว่าจิตดวงอื่น ๆ ได้มารับรู้ถึงความสว่างตรงนั้น
เหมือนกับมารับแสงสว่างตรงนั้น มันก็เหมือนกับเปิดรับ เปิดรับความสว่างเข้าไป
มันก็จะได้กำลัง ก็จะได้บุญตามเราไปด้วย
ส่วนที่ว่าจะได้บุญเหมือนกับเรารึเปล่า
เท่ากับเรารึเปล่า ก็ขึ้นอยู่กับว่า กำลังใจในการอนุโมทนา หรือว่าพลอยยินดีไปกับเรามันจะเต็มที่แค่ไหน
ถ้าเต็มที่เต็มร้อยจริง ๆ เนี่ยเอาเป็นว่า ถ้าสมมติว่ามองเป็นมนุษย์เนี่ยนะ
เขาต้องมีความเต็มใจที่จะมาทำแบบเดียวกับเราทีเดียว เกิดกำลังใจ
เกิดแรงบันดาลใจจะมาทำแบบเดียวกับเราบ้าง อย่างนั้นเรียกว่า รับบุญเต็มขั้น ๑๐๐
เปอร์เซ็นต์ แต่นอกนั้นก็จะลดส่วน ทอนกำลังลงมา อย่างเช่น บอกว่า เอออนุโมทนานะ
แล้วมีใจมีความสุขขึ้นมาด้วยวูบหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า ได้บุญมาส่วนหนึ่งเล็ก ๆ
แต่คนเนี่ย
ประเภทที่บอกว่า โอเคอนุโมทนา แต่ใจไม่ได้รู้สึกอะไรด้วยเลย ไม่มองเห็นภาพเลยว่าเราทำบุญอะไรไป
นี่ก็ไม่ได้อะไรเลยนะ ได้แต่พูดให้รักษาความรู้สึกกันเฉย ๆ นะครับ
คือบางคน
นอกจากไม่ได้อนุโมทนาแล้วยังคิดอีกว่า “เอ๊ะไอ้นี่ทำไมงมงาย ทำไมโง่อย่างนี้นะ
ไปเชื่ออะไรเรื่องบุญเรื่องบาปเรื่องอะไรมันไม่มี” มันกลายเป็นว่าได้รับส่วนบาปมาอีก
เพราะฉะนั้น
คนที่จะอุทิศส่วนกุศล หรือว่าจะเผื่อแผ่บุญ เผื่อแผ่ความสว่างออกจากใจของเรา
ควรจะมีความฉลาดด้วยนะ ฝึกจากการที่เราคุยกับมนุษย์ด้วยกันนี่แหละ
อย่าแค่ว่า
“วันนี้ไปทำบุญมานะจ๊ะ ขอให้อนุโมทนาด้วย”
แบบนี้นอกจากเขาจะรู้สึกว่าไม่ได้สดชื่นตาม เขายังรู้สึกเกิดความฝืด เกิดความฝืน
แล้วก็เกิดอคติ เกิดความคิดไม่ดี ด่าขึ้นมานะว่า “บ้ารึเปล่า”
ของมันมองไม่เห็นน่ะว่ามันมาเผื่อแผ่กันได้ตรงไหน
แม้แต่ความรู้สึก ก็ยังรู้สึกตามไม่ได้ มันก็มองไม่ออกจริง ๆ อ่านเกมไม่ออกนะว่า
การที่เราจะมาอุทิศบุญอุทิศกุศลเนี่ย มันจะเกิดขึ้นจริงได้ยังไงนะครับ
แต่ถ้าอย่างน้อยเราเล่า
แล้วก็ทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่า สิ่งที่เราทำไปมันได้ประโยชน์ ยกตัวอย่างนะ
อย่างไปทำบุญที่วัด พระรูปนั้นรูปนี้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างไร สอนการเจริญสติ
สอนธรรมะยังไงแบบไหนมา พอคนฟังเขาเกิดความรู้สึก เออพระรูปนี้ดีแฮะ
แค่นี้มันเป็นทุนแล้ว มันเป็นฐานแล้ว
พอเราบอกว่าวันนี้เราไปทำบุญมา
เอาอุปกรณ์เอาปัจจัยสี่ไปให้ เอาหยูกยาไปถวายท่าน มันจะเกิดความรู้สึกสดชื่นตามขึ้นมาด้วย
ราวกับว่าเขาตามเราไปทำนะครับ เนี่ยเป็นเพราะว่าจิตมันไปจูง
มันจูงเข้าลู่เข้าทางบุญกุศลกันได้ ด้วยการทำให้เห็นภาพ ทำให้รู้เรื่อง
ทำให้นึกภาพออก
ทีนี้อย่างเวลาเราอุทิศบุญอุทิศกุศล
จะตามความเชื่อ เจ้ากรรมนายเวร หรือว่าผู้ล่วงลับไปแล้วอะไรก็แล้วแต่
ถ้าหากว่าเรามีโฟกัสจริง ๆ มีความรู้สึกสดชื่นเบิกบานจริง ๆ
จิตของผู้ที่เขาจะรอรับแสงสว่างอยู่ เขาจะรู้สึกได้
แต่ถ้าหากว่าจิตของเราแห้งแล้ง
เหมือนกับพูดอุทิศไปอย่างนั้นแหละ พูด ๆ ไปขอให้มารับบุญมารับกุศล
แต่ตัวเองยังนึกไม่ออกเลยว่า หน้าตาบุญหน้าตากุศลให้ความรู้สึกอย่างไร
แบบนี้มันได้แบบกะปริบกะปรอย
หรือว่าคนเนี่ย
เนื่องจากไปทำบุญกับพระสงฆ์องค์เจ้า ก็ที่ตั้งของบุญมันก็ใหญ่จริงนะ
แต่ว่าตัวของผู้อุทิศ ผู้กล่าวอุทิศ
มันไม่มีกำลังใจแรงพอที่จะเหมือนกับกระตุ้นให้จิตวิญญาณที่อยู่รอบ ๆ
เขาเกิดความรู้สึกพลอยชื่นใจ พลอยยินดีตามไปได้ด้วยนะครับ
จริง
ๆ แล้วถ้าอยากรู้เรื่องเกี่ยวกับโลกวิญญาณ หรือว่าภาวะยินดี หรือว่าไม่ยินดีในโลกหลังความตายเนี่ยนะครับ
เอาง่าย ๆ เลย เราสามารถบอกบุญให้คนเขาเกิดความชุ่มชื่นตามได้มั้ย
หรือว่าใจของเราเองมันมีความชุ่มชื่นอันเกิดจากการได้แค่รู้สึกว่า วันนี้ไปทำบุญมา
หรือว่ามีความชุ่มชื่นจากการได้รู้ ได้เห็นจริง ๆ รู้แจ้งเห็นจริงว่า
วันนี้เราไปทำประโยชน์อะไรให้ใครมา เขาได้รับประโยชน์อะไรจากเราไปนะครับ
การมีความสามารถจำแนกความต่างของสิ่งที่ละเอียดอ่อนทางใจแบบนี้ได้อย่างชัดเจน จะทำให้คุณพลอยมีความเข้าอกเข้าใจเรื่องโลกวิญญาณหลังความตายตามไปด้วยนะครับ แล้วก็จะเห็นด้วยนะว่า มันไม่ใช่เรื่องเหลวไหลเลย ภาวะทางใจภาวะทางจิตเนี่ย มันมีความซับซ้อนพิสดารแค่ไหนก็ตาม แต่มันสามารถที่จะมีสติรู้ได้ระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่นี่เอง
๒๒
สิงหาคม ๒๕๖๓
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน หยุดเบื่อด้วยอุเบกขา
คำถาม : การที่เราใส่บาตรพระ
1 รูป ถ้าเราต้องการจะอุทิศให้ใคร เช่น เทวดา พ่อ แม่ เจ้ากรรมนายเวรจะจำกัดไหมว่า
ของ ๑ ชิ้น อุทิศให้หลาย ๆ คน บุญนั้นจะถูกแบ่งสัดส่วน ให้เขาได้รับน้อยลงมั้ย คะ ช่วยแนะนำวิธีวิธีที่ควรปฏิบัติขณะทำบุญสักอย่าง
หรือใส่บาตรอุทิศด้วยค่ะ?
ระยะเวลาคลิป ๙.๒๙
นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=ufP5W5fuVaU&list=PLmDLNhxScsWPHpIdf0LAQiQM1j9ZebEMx&index=5
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
** IG **
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น