ดังตฤณ : (คุณดังตฤณทวนคำถาม)
ระหว่างเจริญสติเราเห็นความคิดที่ ๑ ผุดขึ้น มันจะมีความคิดที่ ๒ ผุดขึ้นบอกว่า
“เห็นแล้ว คอยตามดู”
ดังตฤณ : อันนี้เป็นข้อสังเกตของคนที่รู้เห็นความคิดนะครับ
(ทวนคำถามต่อ)
พอตามดูไปเรื่อยจนเห็นความคิดที่ ๑ หายไปจริงๆ อยากทราบว่า ตัวความคิดที่ ๒
นับว่าเป็นความคิดที่เทียบเท่ากับความคิดอื่นๆที่ผุดขึ้น หรือเป็น “ตัวรู้”
หรือเป็น “ตัวสงสัย” กันแน่
ดังตฤณ : เราย้อนกลับมาพูดท็อปปิค(topic)ของคืนนี้ก่อน
บอกว่า ทำไมถึงสมควรทำสมาธิให้ได้ฌาน
พอย้อนพูดไปถึงสิ่งที่มันเป็นของที่มันถูกเป๊ะๆตามธรรมชาติอยู่โดยตัวของมันเองเนี่ย
เราจะย้อนกลับมาเข้าใจคำถามนี้ได้ง่ายขึ้นนะครับ
การได้ถึงฌานเนี่ยนะครับ
ถ้าตามทางวิทยาศาสตร์ก็คือว่า คลื่นสมองย่านช้ามันจะเด่นขึ้นมากว่าย่านอื่นมาก
จนกระทั่งเรามีความรู้สึกว่า ความคิดมันหายไป
เพราะคลื่นสมองย่านช้าที่มันขึ้นมามันมีความสม่ำเสมอ แล้วก็มีความต่อเนื่องที่นาน ช่วงนึงนานมาก
มันอยู่ย่านต่ำมากๆ คือรอบของคลื่นสมองเนี่ย มันแทบจะแบบว่า ๑
วินาทีเนี่ยนะมีแค่ครึ่งรอบ หรือบางแหล่งบอกว่าเคยเจอคนที่ไม่มีแม้แต่รอบเดียวก็มีนะครับ
อันนี้ก็เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
แต่ที่เขายอมรับกันทั่วไปคือ
๑ วินาที มันมีแค่ครึ่งรอบเท่านั้นเอง ไม่เต็มรอบ ต้องรอถึง ๒ วินาที คลื่นสมองถึงจะครบรอบ
เนี่ยที่เป็นคลื่นสมองย่านช้าที่มันเด่นมากๆเนี่ยนะครับ
ทีนี้ในความรับรู้ของเชิงประสบการณ์ของมนุษย์
มันก็จะเหมือนเราหลุดไปอยู่ในอีกมิติหนึ่ง ที่มันไม่มีความคิดเลย
มันว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง ว่างจากความคิดอย่างสิ้นเชิง
ไม่ใช่แค่ว่างจะความฟุ้งซ่านนะครับ แม้แต่ความคิด แม้แต่กระดิกเดียวก็ไม่มีนะครับ
ไม่กระดิกเลย
ทีนี้ตรงความว่างราวกับตัวเองเนี่ย
หลุดจากความเป็นมนุษย์ไป ไปเป็นแค่จิตวิญญาณที่มันไม่มีความเคลื่อนไหวทางเวลา
ไม่มีความรับรู้เกี่ยวกับสถานที่ รู้แต่ว่าไปอยู่ในอีกมิติหนึ่งของจักรวาลที่มันกว้างใหญ่
แล้วก็พ้นไปจากโลกใบนี้ ตรงนั้นมันจะทำให้รู้จักประสบการณ์ไม่คิดอย่างแท้จริง
พอถอยออกมาจากฌาน
แล้วเกิดความคิดขึ้นมา ผุดความคิดขึ้นมา มันจะเด่นชัดมากเลยว่า
ผุดความคิดขึ้นมาระลอกแรกเนี่ยขึ้นมาที่ตอนไหน แล้วระลอกความคิดนั้นเนี่ยถ้าหากว่า
ไม่มีการตรึกนึกตาม ไม่มีการสำคัญมั่นหมายว่าความคิดนั้นคือฉัน ความคิดนั้นระลอกนั้น
มันจะหายไปแบบไร้ร่องรอย ราวกับไม่เคยเกิดขึ้น
มันจะมีแต่ความเงียบความว่างของจิตที่เห็นอยู่รู้อยู่ว่า
นั่นคือการแสดงตัวความไม่เที่ยงทางความคิด เพราะมันตั้งมุมมองไว้ก่อน
ไม่งั้นเนี่ยต่อให้ได้ฌานนะ ออกมาจากฌานก็จะงงๆ “เฮ้ยนี่เราเป็นใคร
ฮึ้ยผุดความคิดขึ้นมานี่ๆมันอะไร”
ทีนี้ถ้าได้มีการตั้งมุมมองไว้ถูกล่วงหน้า แล้วก็มีประสบการณ์บ่อยครั้งพอ มันจะไม่สงสัย
มันจะเห็นว่าความคิดเนี่ย ผุดขึ้นระลอกหนึ่งแล้วก็หายไป นั่นเห็นเป็นสภาวะ
ไม่ใช่เห็นเป็นความคิด ตัวความคิดจะปรากฏเป็นความปรุงแต่งจิตชั่วขณะหนึ่งชั่วคราว โดยไม่มีความคิดตามมาเป็นผู้ดู
ผู้รู้อะไรทั้งสิ้น จิตมันจะว่าง มันจะเงียบ มันจะหายไปเลยจากความมาคิดซ้ำ
ย้อนกลับมา
พอเราซึ่งเป็นผู้เริ่มจะปฏิบัติ แล้วก็มาเฝ้าดูความคิดเอาทั้งๆที่จิตยังไม่เป็นสมาธิเนี่ย
มันก็จะมีคิดซ้อนคิดอะไรแบบนี้ขึ้นมา ขอให้ตั้งมุมมองไว้ง่ายๆว่า
การใช้ความคิดเห็นความคิด มันเป็นปัญญาในระดับ “จินตามยปัญญา”
คือเหมือนกับเกือบจะข้ามมาจากจินตนาการแล้ว แต่ยังไม่ถึงตัว “ภาวนามยปัญญา” ดี
ตัวภาวนามยปัญญา
มันอยู่จุดที่จิตเห็นความคิดได้โดยไม่ต้องคิดซ้อน ตัวนี้เนี่ยคือ ..
เนี่ยเดี๋ยวยกมาอีกทีนึงให้ดูภาพชัดๆ (ขึ้นแอนิเมชั่นฝึกรู้ลมหายใจเข้า-ออก)
ถ้าคุณทำสมาธิจนกระทั่งลมหายใจปรากฏชัดได้ก่อน
แล้วค่อยเอาฐานของจิตที่มีความสามารถเห็นลมหายใจแบบนี้ไปสังเกตว่า
ความคิดผุดขึ้นที่ลมหายใจไหน ความคิดหายไปที่ลมหายใจไหน
หรือความคิดมันกระจุกเป็นกลุ่มหนาแน่นขึ้นมาที่ลมหายใจไหน
แล้วเบาบางลงที่ลมหายใจใด
ตรงนี้เนี่ยมันจะมีฐานที่ตั้งในการเห็นความคิดอย่างชัดเจนกระจ่าง แล้วจะไม่มีการคิดซ้อน
ไม่มีการคิดซ้ำ ไม่มีการคิดตามหลัง มันจะเห็นแบบที่เรียกว่าเป็น “ภาวนามยปัญญา”
จริงๆ คือรู้สึกว่าพอเห็นไปอย่างนี้เรื่อยๆเนี่ย พอผุดความคิดขึ้นมา
คุณจะรู้สึกว่าเราเป็นผู้คิด มันจะเหมือนกับจิตเนี่ย แยกไปเป็นต่างหากจากตัวตน
แล้วก็เข้ามาดูว่า ความคิดทีมันผุดขึ้นทีละระรอก ทีละระรอกนั่นน่ะ
มันแค่สักแต่เป็นภาวะปรุงแต่งจิตชั่วคราว มันจะเห็นอย่างนั้นเลยนะครับ
สรุปคือ
เราไม่ต้องไปนิยามก็ได้ว่าเป็นเทียบเท่ากับความคิดอื่นๆมั้ย หรือว่าเป็นความสงสัย หรือเปล่า
คือโจทย์ข้อนี้มันยืนยันอยู่แล้วว่าเป็นความสงสัยนะครับ
จะเอาคำตอบว่าตรงที่เราคิดเนี่ยตกลงมันใช่ตัวภาวนาที่บริสุทธิ์หรือเปล่านะครับ
เอาเป็นขั้นเป็นตอนคือ ทำอย่างนี้ไปก็ได้ รู้อย่างนี้ไปก็ได้
คือเหมือนคิดซ้อนคิดเนี่ย อย่างน้อยมันได้ทิศทาง มันค่อยๆเชพ (shape)ความรู้ความเห็น
หรือว่าสัมมาทิฏฐิให้ค่อยๆบริบูรณ์ขึ้น
ทีนี้พอสัมมาทิฏฐิมันมีความชัดเจนแล้วว่า
เราจะดูความไม่เที่ยง แล้วพอมาประจวบเข้ากับจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ
ทีนี้มันก็จะเหมือนกับมีความพร้อมบริบูรณ์เต็มที่นะครับ
คือจิตเนี่ยพอดูคิดซ้อนคิดอยู่อย่างนี้ แล้วเกิดสัมมาสมาธิขึ้นมา ตัวสมาธิ ณ
บัดนั้น มันจะจำแนกเอง มันจะรู้เองว่า ที่ผุดขึ้นมาแต่ละระลอกๆเนี่ย มันสักแต่เป็นสภาวะปรุงแต่งจิต
ไม่ใช่ความคิดของเรานะครับ!
---------------------------------------------
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
วันที่ไลฟ์ ๘
สิงหาคม ๒๕๖๓ (รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน)
คำถาม ระหว่างเจริญสติ
เราเห็นความคิดที่ ๑ ผุดขึ้น มันจะมีความคิดที่ ๒
ผุดขึ้นบอกว่า “ เห็นแล้วคอยตามดู
” พอตามดูไปเรื่อยๆ
อยากทราบว่าความคิดที่
๒ นับว่าเป็นความคิดเทียบเท่ากับ
ความคิดอื่นๆที่ผุดขึ้น
หรือเป็นตัวรู้คะ หรือว่าเป็น “ความสงสัย” ?
ระยะเวลาคลิป ๘.๓๗ นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=JDk-5DXWREs&list=PLmDLNhxScsWPHpIdf0LAQiQM1j9ZebEMx&index=5&t=0s
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น