ดังตฤณ : อย่างเราคุยกันแบบนี้ เราคุยกันด้วยคำพูด ตอนที่คุณฟัง มันก็จะเป็นความเข้าใจ มันเกิดจากการตีความคำพูด ซึ่งเราจะสื่อตรงกันจริง ๆ หรือเปล่า มันไม่มีเครื่องวัดที่ชัดเจน
อย่างบางคน
เข้าใจหลักการทุกอย่างนะ บอกว่า “เนี่ยต้องดูเฉย ๆ ต้องเป็นผู้สังเกต
ไม่ใช่ผู้เล่น แล้วก็ต้องดูมันจนกว่ามันจะหายไป หรือว่าเปลี่ยนสภาวะไป” เข้าใจแม่นยำทุกอย่าง ขึ้นใจนะครับ
แต่พอเอาเข้าจริง เกิดภาวะโกรธ เกิดภาวะหงุดหงิดขึ้นมาปุ๊บ ลืมหมด
เพราะว่าภาวะโกรธ ภาวะหงุดหงิดมันเป็นสภาพอกุศลใช่มั้ย
แล้วก็มาปรุงแต่งให้จิตเกิดอกุศลธรรม มันก็เลยลืมว่า สิ่งที่เป็นกุศล
สิ่งที่เป็นสติ สิ่งที่มันเป็นตรงกันข้ามกับความโกรธ หน้าตามันเป็นยังไง
หรือจะต้องทำยังไงนะครับ
วิธีการเจริญสติมา
๑ ๒ ๓ ..
หายเกลี้ยงเลย เราก็เลยดูผิด ๆ ถูก ๆ อย่างบอกว่าขมวดคิ้ว
เราถือว่าเป็นการเห็นความโกรธได้มั้ย เห็นความไม่เที่ยงได้หรือยัง
อย่างบอกว่าขมวดคิ้วเนี่ย มันเป็นแค่ข้อสังเกตว่าเรากำลังโกรธ หรือบอกว่าจิตใจไม่ปกติ
ผิดปกติขึ้นมาเริ่มหงุดหงิด เนี่ยอันนี้เป็นแค่ข้อสังเกตว่า เรากำลังโกรธอยู่
เสร็จแล้วสิ่งที่ตามหลังมา มันกลายเป็นความสงสัย หรือที่เรียกว่าเป็น วิจิกิจฉา
เป็น นิวรณธรรม ข้อหนึ่งที่ถ่วงให้สติมันไม่เจริญขึ้น
แทนที่มันจะดูต่อมันมาสงสัยแทน มันมาคิดเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรอง ไตร่ตรอง
แล้วก็ตรึกนึกนะครับ
ทีนี้วิธีที่ถูกต้องที่จะเอาชัวร์ได้
เอาไปทำได้แบบแม่น ๆ เลย ก็ลองเปรียบเทียบดูว่า ตอนที่เรารู้ตัวว่าขมวดคิ้ว
หรือว่าจิตใจไม่ปกติขึ้นมา มีอาการร้อนขึ้นมาเนี่ย จำไว้ให้ขึ้นใจว่า
เรากำลังอยู่ในสภาพหายใจเข้า หรือว่าสภาพหายใจออก
ถ้ามันเตือนตัวเองขึ้นมาแบบนี้ได้นะ เนี่ยตอนนี้เรามีหลักแบบที่พระพุทธเจ้าให้ใช้แล้ว
เอาอานาปานสติมาเป็นเครื่องกำกับในการเจริญสติ คือ ดูกาย เวทนา จิต
ธรรมทั้งปวงผ่านศูนย์กลาง คือ อานาปานสติ ไม่ใช่ไปจ้องลมหายใจนะ แต่สังเกตดูว่า
ความโกรธมันเกิดขึ้นที่ลมหายใจไหน
พอคุณสามารถเห็นได้ว่า
ความโกรธมันเกิดขึ้นที่ลมหายใจไหน จะเป็นอาการขมวดคิ้ว หรือว่าจะเป็นอาการร้อน ๆ
เป็นอาการที่มีความรู้สึกกระสับกระส่ายขึ้นมาผิดปกติก็ตาม
คุณมีจุดสังเกตว่ามันเริ่มต้นที่ตรงนี้ จากนั้นสบาย ๆ ปล่อยมัน พอหายใจครั้งต่อมา สังเกตอีกทีว่า
เออแล้วลมหายใจนี้ล่ะมันต่างไปหรือยัง
ถ้าหากว่าคุณตอบถูก
ลมหายใจนี้กับอีกลมหายใจนึงต่างกันอย่างไรภาวะความโกรธ ตรงนั้นคุณได้ชื่อว่า ได้แนวทางที่จะเห็นความโกรธ
หรือว่าโทสะโดยความเป็นของไม่เที่ยงเข้ามาอยู่ในจิตเพียงชั่วคราวได้แล้ว
แต่ถ้าคุณไม่สามารถที่จะตอบตัวเองได้ถูกอย่างชัดเจน
ไม่มีเครื่องวัด คุณจะสงสัยร่ำไป จนกว่าจิตจะพัฒนาขึ้น ซึ่งไม่รู้กี่ปีนะ
คือถ้าจิตมันพัฒนาขึ้นถึงจุดที่มันว่าง มันโล่งอยู่ตลอด แล้วค่อยมีความโกรธ
ความเกลียดแวบผ่านเข้ามาในความโล่งนั้น คุณถึงจะเกิดสติรู้เท่าทันว่า
มันเกิดขึ้นตอนนี้ แล้วมันหายไปตอนนั้น
แต่ระหว่างนี้
ถ้าหากว่ายังไปไม่ถึงตรงนั้น ยังไปไม่ถึงจุดที่จิตมันโล่งว่างตลอดเวลานะครับ
ยังมีกิเลสแบบเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง
ก็อาศัยลมหายใจเป็นเครื่องสังเกตอย่างนี้แหละ โกรธขึ้นมาที่ลมหายใจไหน
แล้วโกรธน้อยลงที่ลมหายใจไหน หรือว่าความโกรธหายไปอย่างสิ้นเชิงที่ลมหายใจใดนะครับ
อันนี้แหละ มันจะมีทิศทางที่ถูกต้องแน่ คือพอคุณสังเกตอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ นะครับ ในที่สุดแม้ไม่อาศัยลมหายใจ บางทีมันก็รู้ขึ้นมาเองเป็นอัตโนมัตินะครับ แต่ถ้าหากว่า ไม่ทิศทางสังเกตที่ถูกต้อง คุณจะวนเวียนอยู่ในโลกความสงสัยไม่เลิก!
๒๒
สิงหาคม ๒๕๖๓
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ตอน หยุดเบื่อด้วยอุเบกขา
คำถาม : การที่รู้ตัวว่า
ตอนนี้กำลังโกรธ บางทีอาจจะจากร่างกายที่เปลี่ยน
เช่น ขมวดคิ้ว หรือเริ่มรู้ว่าจิตไม่ปกติ
เริ่มหงุดหงิด แบบนี้คือการรู้ตัวเฉย ๆ
หรือเป็นปัญญารู้การเกิด-ดับ คะ?
ระยะเวลาคลิป ๕.๓๔
นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=Dr4Y7u_XdHc&list=PLmDLNhxScsWPHpIdf0LAQiQM1j9ZebEMx&index=3
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น