ดังตฤณ : อันนี้แน่นอนนะครับ ถ้าพูดถึงเสียงสติ
คือการรับฟังเนี่ย พูดถึงหลักการก่อนว่า เสียงสติมันไม่ใช่เสียงฟังเล่น มันเป็นเสียงที่เข้าหูซ้ายด้วยคลื่นความถี่หนึ่ง
เข้าหูขวาด้วยคลื่นความถี่หนึ่ง
แล้วมันมาหักลบหักล้างกัน
เกิดเป็นเสียงใหม่ ผสมเสียงขึ้นโดยสมอง ซึ่งถ้าหากฟังโดยไม่มีความรำคาญ
แล้วก็มีความเข้าใจว่า จะต้องดูลมหายใจไปด้วย มันก็จะเกิดสมาธิขึ้นมา เพราะว่าผลต่าง ค่าความต่าง ระหว่างหูซ้ายกับหูขวาเนี่ย มันจะกลายเป็นคลื่นสมองในย่านที่เราต้องการ
ทีนี้ถ้าใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ถ้าหากว่า
เราไม่ได้ทำไว้ในใจว่า เราจะฟังไปด้วย แล้วก็ดูลมหายใจไปด้วย
แต่พอได้ยินเสียงในหูปุ๊บ ฮู้วอะไรหวี่ๆๆๆเนี่ย แล้วเกิดความรู้สึกว่ารำคาญจัง เมื่อไหร่เสียงจะหยุด มันก็เกิดความทุกข์ทรมานเกินกว่าที่เสียงสติมันจะเอาชนะ
เสียงสติกำลังมันอ่อนมากเลยนะครับ เราต้องให้ความร่วมมืออย่างมากเลยทีเดียว มันถึงจะเกิดผล ถ้าหากว่าเราไปต่อต้านมันตั้งแต่เริ่มแรก มันสู้ใจเราไม่ได้นะ มันมาทำให้เรารำคาญแล้วเกิดโทสะ ไอ้ตัวโทสะมันจะแรงกว่าสติแน่นอน นะครับ
ผู้ถอดคำ ครอบครัว กิติวิริยกุล
วันที่ไลฟ์ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ (รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน)
คำถาม ที่ละเอียดกว่าความพอใจ-ไม่พอใจในเสียงที่ได้ยิน เป็นเหตุให้เกิด
การปรุงแต่งและเป็นทุกข์ต่อหรือเปล่า?
ระยะเวลาคลิป ๑.๕๔ นาที
รับชมทางยูทูป https://www.youtube.com/watch?v=aWDjgJpZUxI&feature=youtu.be
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น