ดังตฤณ : ก็ต้องทำความรู้สึกนะครับ อย่างถ้าเราให้อาหารมันเนี่ย เราก็เห็นนะครับ อยู่ในอิริยาบถนี้
ถ้ายื่นให้แล้วรู้ว่า ผู้ให้ ผู้เลี้ยงดู
เป็นคนละสภาวะกับสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการเลี้ยงดูนะครับ
พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างหนึ่ง เวลาที่เราดูลมหายใจของตัวเองเป็น
ท่านให้ดูลมหายใจของคนอื่น เวลาที่เรารู้ว่า ลมหายใจแต่ละระลอกมันสุข หรือมันทุกข์
มันอึดอัด หรือมันสบาย ท่านก็ให้ดูด้วยว่า ของคนอื่นที่กำลังหายใจอยู่นี่มันอึดอัด
หรือว่าสบาย มันเป็นสุข หรือมันเป็นทุกข์ เนี่ยท่านสอนให้ดูอย่างนี้นะ
อันนี้ก็เหมือนกัน เวลาที่เราจะทำความรับรู้ว่า
อันนี้คืออนัตตาภายใน แล้วเห็นบุคคลอื่น หรือว่าสัตว์อื่นเป็นอนัตตาภายนอก ท่านก็ให้ดูอย่างนี้ว่า เออมัน(สัตว์เลี้ยง)กำลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เวลาที่มันวิ่งมาดิ๊กๆๆ หางกระดิกเนี่ย
เป็นสัญญาณว่า มันกำลังดีใจว่าจะได้เข้ามาเล่นกับเจ้านาย มาหาเจ้านาย เราก็เห็นอาการ เออเนี่ยที่มันสั่นดิ๊กๆๆเนี่ย มันมากับความสุข
มันมากับความตื่นเต้น มันมากับความยินดี
พอเราเห็นว่า เออเนี่ยนั่นเป็นความยินดีภายนอก
ส่วนเรารู้สึกเฉยๆ รู้สึกแค่ดีใจ เราดีใจน้อยกว่ามัน หรือว่าดีใจเท่ากับมัน
หรือว่าดีใจมากกว่ามัน เนี่ยอย่างนี้ก็เป็นการแบ่งแยกด้วยสติ
มีสติแบบที่เราจะรู้ชัดว่า ทั้งฝั่งเราแล้วก็ฝั่งเขา
มันสักแต่เป็นอนัตตาชั่วคราวด้วยกันทั้งคู่
ทั้งคู่ยังไง? ของมันเนี่ย สั่นหางดิ๊กๆๆแป๊บเดียวเดี๋ยวมันก็หยุด
แล้วมันก็เหม่อไปทางอื่น มันเล่นกับเราแป๊บนึง แล้วมันก็มองไปทางอื่น เนี่ยไอ้อาการที่ดีใจดิ๊กๆๆเนี่ยหายไป
ส่วนไอ้ความรู้สึกของเราเนี่ย ที่แหมดีใจจัง ได้มากอดหมาที่เรารัก
มันเกิดขึ้นแป๊บนึง แล้วพออยู่กับมันไปสักพัก ก็อยากไปทำอย่างอื่น ความรู้สึกดีใจ
ความรู้สึกยินดี ความรู้สึกเป็นสุข ที่ได้อยู่กับสัตว์เลี้ยงแสนรัก มันเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วมันก็หายไป
อันนี้แหละ ก็คือการเจริญสติในขณะที่เรากำลังพิศวาสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือว่าสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งได้ นะครับ
ผู้ถอดคำ ครอบครัว กิติวิริยกุล
วันที่ไลฟ์ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ (รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน)
คำถาม ควรตั้งจิตในการเลี้ยงสัตว์อย่างไรครับ เพื่อไม่ให้จิตผูกพันจนไปก่อร่าง
เป็นสัตว์เสียเอง?
ระยะเวลาคลิป ๒.๕๙ นาที
รับชมทางยูทูป https://www.youtube.com/watch?v=3rVq6nY2qAk&feature=youtu.be
*** IG ***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น