ดังตฤณ : วิตักกะ หรือ วิตก อาการของใจจะเล็งอยู่ว่าลมหายใจกำลังเข้า หรือ ออก จะมีอาการนึกอยู่ จะมีอาการตรึกนึกอยู่นิดๆ ว่า เอ๊ะ ตอนนี้เข้าอยู่นะ นี่ออกอยู่นะ
หรืออาการทางกายเวลาเคลื่อนไหวไป ขยับไป จะต้องมีการเลือกอยู่ว่าเราจะขยับให้ดี
ขยับให้ช้าพอดี อย่างนี้ คืออาการนึกอยู่
แต่วิจาระ จะเกิดขึ้นหลังจากที่จิตแปรสภาพ
หรือปฏิรูปจากอาการที่แส่ส่ายได้ ตอนที่จิตแส่ส่ายได้
จะรู้สึกว่าจิตแยกเป็นเสี่ยงๆ พอไปทางซ้ายที ก็รู้สึกว่า แยกไปทางเสี่ยงนี้ ..
เสี่ยงซ้าย
พอแยกไปทางขวา ก็รู้สึกว่าไปทางนี้ .. เสี่ยงขวา
แยกเป็นเสี่ยงๆ บางทีไปข้างบน
บางทีกระจายอะไรแบบนี้ อย่างนั้น คืออุปมาอุปไมยว่า จิตแตกเป็นเสี่ยงๆ
คนปกติทั่วไปจะอย่างนั้น
แต่ทีนี้ พอเกิดวิจาระอันเกิดจากการที่เรามารู้สึกถึงลมหายใจช้า
ชัดอย่างดีไปต่อเนื่องนี้ จิตจะไม่ไปไหน จะไม่แยกไป จะมารวมลงอยู่ที่เดียว
รู้สึกเหมือนกับมีภาวะอีกภาวะหนึ่ง ที่ไม่เอาแล้ว ความแส่ส่าย มีแต่ความพอใจ
มีแต่ความรู้สึกว่าอิ่มใจที่จะตั้งอยู่ดวงเดียว
แล้วอาการที่จิตเหลืออยู่ดวงเดียวนั้น
ก็สามารถรู้แนบเข้าไปแจ่มชัดกับลมหายใจว่า ลมหายใจนี้ กำลังปรากฏเด่น
แล้วจิตเป็นผู้รู้ จิตจะตั้งเด่นในฐานะของผู้รู้ลมหายใจเดียว ไม่วอกแวกไปทางอื่น
ไม่คิดอะไรอย่างอื่น
นี่คือคีย์ของวิตักกะ และวิจาระ
วิตักกะ ทำหน้าที่นึก .. นึกอย่างดี
นึกอย่างนุ่มนวล ส่วนใหญ่ เวลาเราศึกษากันในเชิงวิชาการ วิตักกะคืออะไร
คือการตรึกนึกถึงอะไรอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้มีการแบ่งแยกว่า วิตักกะ นี้
การตรึกนึกถึงอะไรอย่างหนึ่งนี่ มีความหยาบ หรือว่าประณีต มีความแข็งกระด้าง
หรือมีความนิ่มนวล อ่อนโยน อ่อนควร
ต่อเมื่อเราฝึกที่จะหายใจช้า แล้วก็รู้ชัดได้
ตรงนี้ เริ่มเห็นว่าวิตักกะ มีหลายแบบ
แบบหยาบๆ ก็มี ประณีตก็มี แบบที่กระด้างก็มี
แบบที่นิ่มนวลก็มี
แล้วตอนที่จะเกิดวิจาระ
คือขั้นต่อมาที่จิตเหลืออยู่ดวงเดียว ซึ่งประสบการณ์ตรงนั้น จริงๆ
คุณก็เคยรู้มาแล้ว ตอนที่โล่งว่าง รู้สึกถึงลมหายใจอย่างเดียว ตอนที่คุณโล่งว่าง
ตอนฟังเสียงสติอย่างนี้ เคยมีมาแล้ว ที่รู้สึกได้
แค่เราเข้าใจเท่านั้นแหละว่า
พอถึงตรงจุดที่มีวิจาระ ถ้าวิจาระนั้นเกิดขึ้นเองอย่างต่อเนื่องเป็นอัตโนมัติ
มีความคงเส้นคงวา เราสามารถน้อมมาใช้ในงานวิปัสสนาได้
คือเห็นว่ากายก็ส่วนหนึ่ง ลมหายใจส่วนหนึ่ง
สุขก็ส่วนหนึ่ง โล่งว่างส่วนหนึ่ง .. สุขแบบโล่งว่างก็ส่วนหนึ่ง
แล้วความคิดที่อาจจรเข้ามาก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
ตรงนี้แหละที่เราเคยคุยกันไปนะ
วิจาระ มีความหมายต่อเมื่อเราเข้าใจว่า
เราจะเอาจิตที่เป็นหนึ่งแล้ว มาใช้แยกรูปแยกนาม เห็นกายใจเป็นขันธ์ห้าได้อย่างไรนะครับ
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
ช่วง ถามตอบ
วันที่
13 พฤศจิกายน 2564
ถอดคำ
: เอ้
รับชมคลิป
: https://www.youtube.com/watch?v=QcJtwMtUazA
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น