วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

02 วิธีดูสังโยชน์ : โพลที่ 1

ดังตฤณ : ก่อนอื่นขอความร่วมมือช่วยกันทำโพลนิดหนึ่ง

 

“ขณะเกิดนิมิตลมหายใจเข้าออก ...”

- ใจเงียบ รู้สึกว่านิมิตที่เห็น ไม่ใช่ตัวตน

- ใจเงียบ ยังรู้สึกว่านิมิตที่เห็นเป็นตัวตน

- ใจไม่เงียบ แต่เริ่มรู้สึกว่านิมิตไม่ใช่ตัวตน

- ใจไม่เงียบ และยังรู้สึกว่านิมิตที่เห็น เป็นตัวตน

 

 

ก่อนทำโพล ช่วยดู ฟังให้เข้าใจนิดหนึ่ง ตัวคำถามก็คือว่า เมื่อเกิดนิมิตลมหายใจเข้าออก คุณรู้สึกถึงตัว รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกแล้วนี่

 

(กลุ่มที่ 1 ) ใจคุณเงียบ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีความคิดโฉ่งฉ่างอยู่ในหัว รู้สึกว่านิมิตที่เห็นเป็นของอื่น คือไม่ใช่กายของคุณ ไม่ใช่ใจของคุณ ไม่ใช่ลมหายใจของคุณหรือเปล่านะครับ

 

(กลุ่มที่ 2) หรือว่าเงียบ แต่ยังรู้สึกว่านิมิตที่เห็นเป็นของๆ คุณ นี่คือ ชอยส์ที่สองนะครับ

 

สาม คือ ใจไม่เงียบ แต่เริ่มรู้สึกว่านิมิตเป็นของอื่น

 

สี่ คือ ใจไม่เงียบ แล้วก็ยังรู้สึกว่านิมิตที่เห็น เป็นของๆ ตนเหนียวแน่น

 

คำถาม รวมทั้งชอยส์ ช่วยดูดีๆ สำรวจใจตัวเองดีๆ

 

คำถามก็คือ เวลาที่คุณเป็นสมาธิขึ้นมา รู้ลมหายใจเข้าออก ทำอานาปานสติมาด้วยกัน เจริญมาด้วยกันอย่างนี้ เวลาที่ใจคุณเริ่มเป็นสมาธิ

 

ใจเงียบ หรือใจไม่เงียบ

 

ถ้าใจเงียบ จะไม่รู้สึกโฉ่งฉ่างอยู่ข้างใน จะไม่รู้สึกฟุ้งซ่านอยู่ข้างใน

 

ใจที่เงียบ ยังแบ่งไปได้อีก คือ ความรู้สึก .. พูดง่ายๆ ความรู้สึกภายในจริงๆ เลย เห็นนิมิตลมหายใจ พร้อมทั้งตัวที่มีอาการโป่ง มีอาการยุบนี่ ว่าตัวของคุณ หรือว่าเป็นของอื่น

 

ตัวนี้มีความหมายนะครับ

 

การตอบคำถาม เพื่อที่จะให้คุณทบทวน สำรวจสภาวธรรมของตัวเอง หรือว่าประสบการณ์สมาธิของคุณเอง ซึ่งจะมีผลกับการใช้งานในเชิงวิปัสสนาในคืนนี้

 

ถ้าหากว่าระหว่างวัน ที่ฝึกๆ กันมา คุณรู้สึกว่ากายใจเป็นขันธ์ขึ้นมาเอง ก็อย่าแปลกใจ

 

ตัวคำถามอาจจะไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ สำหรับหลายๆ ท่านที่ยังทำสมาธิไม่ได้นะครับ

 

แต่ถ้าท่านทำสมาธิได้แล้ว ก็น่าจะเข้าใจว่าผมถามถึงอะไร

 

คำว่าใจเงียบ ก็คือในหัวไม่มีความฟุ้งซ่านเข้ามา หรือว่าถ้าเห็นลมหายใจเห็นตัวชัดเจน ก็จะรู้นะว่าอย่างนั้นเรียกว่านิมิต .. นิมิตของลม นิมิตของตัวที่โป่งบ้าง ยุบบ้าง

 

แล้วถ้าหากว่า ใจคุณเงียบในขณะทำสมาธิ รู้สึกว่านิมิตที่เห็นเป็นของอื่น ขอให้ดูเถอะว่า ระหว่างวัน อยู่ๆ คุณจะรู้สึกกายใจ เป็นขันธ์ขึ้นมาเอง

เป็นขันธ์ 5 เหมือนกับเป็นรูปนาม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน รู้สึกขึ้นมาเอง

 

แล้วก็หลังจากฝึกวันนี้นะครับ ท่านที่อยู่กลุ่มแรก ที่ตอบกลุ่มแรก

จะเริ่มรู้สึกถึงปฏิกิริยาทางใจ แล้วก็ทราบว่าแรงแค่ไหนนะ

ปฏิกิริยานี่มีแรงแค่ไหน ถึงมีอัตตาแบบดิบๆ เกิดขึ้น

แล้วก็แผ่วแค่ไหนอัตตาถึงเหมือนหายไป

 

ถ้ากลุ่มแรกเดินจงกรมด้วยนะครับ ก็จะยิ่งก้าวหน้า

แล้วก็ระหว่างวันคุณจะยิ่งเห็นว่ากายใจเป็นรูปนาม ถี่บ่อยขึ้นเรื่อยๆ

 

คือเห็นขึ้นมาเอง รู้สึกขึ้นมาเอง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจอะไรทั้งสิ้น

 

กลุ่มที่สอง ที่บอกว่าใจเงียบแล้ว บางทีเหมือนกับในหัวไม่มีความฟุ้งซ่าน

แต่ว่าเวลาที่รู้สึกถึงลมหายใจ รู้สึกถึงร่างกาย

ที่พองออกมาบ้าง ยุบลงไปบ้าง ยังเป็นตัวเป็นตนอยู่

ยังเป็นของๆ คุณอยู่แบบนี้

 

คืนนี้คุณจะได้ทราบนะครับว่า

คุณอาจเห็นปฏิกิริยาทางใจ โดยการเป็นสังโยชน์

คือมีอาการยึด มีอาการรู้สึกถึงอะไรที่เป็นตัวเป็นตนบ้าง

แต่บางทีก็รู้สึกว่า นั่นสักแต่เป็นการยึด

ไม่รู้สึกว่าอาการยึด เป็นของจริง เป็นแค่อาการชั่วคราวของใจ

 

แต่คุณจะไม่แน่ใจว่าคุณเห็นจริงๆ หรือเปล่าเพราะว่าสติยังไม่คมพอ

 

การเดินจงกรมสำหรับกลุ่มที่สองนี้ อาจจะช่วยยกระดับ

ทำไปเรื่อยๆ ใจจะเงียบลงๆ นะในระหว่างวัน

แล้วก็รู้สึกขึ้นมาว่า สภาพทางกายสภาพทางใจ ในอิริยาบถปัจจุบันนี้

เป็นของอื่นเป็นของแปลกปลอม ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ตัวคุณ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ

 

พูดไว้เป็นความเข้าใจ เป็นภาพคร่าวๆ ก่อนนะ

 

ส่วนกลุ่มที่สาม บอกว่าใจไม่เงียบ ยังฟุ้งซ่านอยู่ ยังโฉ่งฉ่างอยู่ในหัว แต่บางที บางจังหวะ เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ลมหายใจ หรือว่า ตัวที่โป่งที่พอง บางทีเป็นของอื่น ไม่ใช่ตัวของตน เป็นวูบๆ ขึ้นมา

 

ซึ่งถ้าหากว่าคุณตอบกลุ่มที่สาม ในระหว่างวัน ขอให้สังเกตว่า ที่จะเห็นว่า อาการยึดของใจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แล้วหายไปเมื่อไหร่

อย่างนี้ต้องอาศัยอาการคิดๆ นึกๆ แบบที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการมาช่วย

 

คือคุณจะรู้สึกขึ้นมาเป็นบางครั้งบางคราวว่า กายนี้ใจนี้ เป็นรูปเป็นนาม

แต่ต้องอาศัยการนึกคิดประกอบ

จะไม่เหมือนกับสองกลุ่มแรก ที่รู้เข้าไปได้ตรงๆ

 

และจากการฝึกคืนนี้ คุณจะเริ่มเห็นคุณค่านะครับ

แล้วก็ความจำเป็นของการฝึกสมาธิขึ้นมาจริงๆ จังๆ

 

ผมจะพูดถึงสภาพหรือว่าประสบการณ์ของสมาธิ ที่ละเอียดขึ้นนะครับสำหรับคืนนี้ เพื่อที่จะได้เห็นว่า

 

จิตที่รู้เข้าไปตรงๆ มีความสำคัญขนาดไหน

ที่จะปฏิบัติ ในขณะที่ก้าวหน้าขึ้น

 

แล้วก็กลุ่มที่สี่ ถึงแม้ว่าจะยังมองไม่ออก จะไม่รู้สึกว่าลมหายใจ หรือว่าตัวเรา ร่างกายนี้ จะไม่ใช่ของๆ เราได้อย่างไร ไม่ใช่ตัวเราได้อย่างไร

คุณก็จะยังอาจสงสัยนะครับว่า

ถ้ากายใจไม่ใช่ตัวตน แล้วตกลงเราเป็นใคร

หรือถ้าอะไรๆ เป็นอนัตตา แล้วที่มีอยู่นี้คืออะไร

 

ความยึด หรือว่าสังโยชน์ ที่เหนียวแน่น

จะยังทำให้คุณเกิดความสงสัย ก่อความสงสัยได้ไม่รู้จบ

 

อันนี้แหละ คุณก็จะ .. อย่างน้อย ได้มองเห็นนะครับ

ได้เข้าใจว่าทำไมเราถึงมีความจำเป็น

ต้องเจริญอานาปานาสติ ให้เกิดสมาธิจิตกัน

 

ผลโพล 25% เริ่มรู้สึกว่าใจเงียบด้วย

แล้วก็รู้สึกว่า ลมหายใจกับร่างกาย ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนขึ้นมาบ้างแล้ว

หรือบางทีอาจจะมีสมาธิเห็นได้เป็นปกติ

 

ซึ่งหนึ่งในสี่นี่ เยอะมากนะ

 

คำถามคำตอบสำหรับคืนนี้ อาจทำความเข้าใจยากนิดหนึ่ง

แต่เดี๋ยวพอเราทำสมาธิร่วมกัน น่าจะเข้าใจกันได้ชัดเจนขึ้น

 

ท่านที่บอกว่าใจเงียบบ้างแล้ว แล้วก็ยังรู้สึกว่านิมิตที่เห็น

คือลมหายใจกับร่างกายเป็นตัวเป็นตน เป็นของเราอยู่ กลุ่มนี้เยอะที่สุด

 

กลุ่มที่หนึ่ง กับกลุ่มที่สอง คืนนี้เราจะได้ทำความเข้าใจนามธรรม

หรือว่าสิ่งที่เข้าใจได้ยากนักยากหนาสำหรับคนอื่น

แต่ว่ามีสมาธิ มีอานาปานสติที่เจริญแล้ว คุณจะเห็นนะว่า

สามารถเห็นได้ไม่ยากนัก

 

ส่วนกลุ่มสาม กลุ่มสี่ คุณจะเห็นค่า แล้วก็เข้าใจมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

ว่าทำไมเราถึงต้องทำสมาธิกัน

 

เอาละ มามองแบบคนยังไม่รู้อะไรเลย ว่าจะมองกายมองใจอย่างไร

 

ถ้าคิดๆ เอานี่นะ มีกายมีใจของคุณอยู่อย่างนี้

ถ้าคิดเอา ถ้าไม่พบพระพุทธเจ้า ไม่ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า

คุณจะดูอย่างไรให้หลุดพ้นจากความทุกข์

 

ตรงนี้นะ สมมติตัวเองมาอยู่ตรงนี้ คุณจะรู้สึกได้ว่า

กายนี้ใจนี้นี่ เป็นตัวเป็นตนเพราะอาการยึด เหนียวแน่นเหลือเกิน

ยิ่งกว่าเถาวัลย์ที่พันเกี่ยวเป็นร้อยๆ ชั้น

 

ถ้าสมมติว่าคุณไม่เคยได้ยินธรรมะของพระพุทธเจ้ามาก่อน

มีแต่ความรู้สึกว่ากายนี้ใจนี้ ปรากฏเป็นของจริงอยู่ในโลก

คุณก็จะเหมือนคนอื่นทั้งโลก ที่มองไม่ออกนะว่า

ทำอย่างไรจะเลิกยึดกายยึดใจให้หายทุกข์ได้

 

วิธีแบบของพระพุทธเจ้าท่านให้รู้แบบเจาะจง ลึกไปทีละชั้นนะ

 

(ผลโพล final)


____________________

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน วิธีดูสังโยชน์

- ช่วงโพลที่ 1 ขณะเกิดนิมิตลมหายใจเข้าออก

วันที่ 2 ตุลาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=_Z0qYFPyN7g

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น