ดังตฤณ : ที่เห็นนี่ ก็คือมีเหตุปัจจัยเฉพาะตน ที่คุณเห็นแล้ว เห็นอย่างนั้น ไม่ต้องไปเปรียบเทียบ หรือว่าเทียบเคียงกับใครนะครับ
ดูว่า ด้วยกลไกแบบนี้ของใจเรา
มันถึงเกิดความรู้สึกแบบหนึ่งเข้มข้นขึ้น ด้วยกลไกอีกแบบหนึ่ง
มีความรู้สึกที่เบาบางลง เห็นเป็นเหตุ เห็นเป็นปัจจัยแบบนี้
เรียกว่าเป็นการเห็นขันธ์ 5 เฉพาะตน
เห็นการทำงานของขันธ์ 5 เฉพาะตน
ความตั้งใจในการเจริญสติที่ถูกต้องคือ ทำให้ขันธ์
5 รู้ตัวว่า ตัวเองเป็นขันธ์ 5 เพื่อที่จะให้มันรู้ตัวว่า ตัวเองเป็นขันธ์ 5
ก็คือดูไปอย่างนี้แหละ ดูโดยไม่ต้องไปวิพากย์วิจารณ์ ดูโดยไม่ต้องไปตรึกนึกว่า
ของเราเหมือนกับคนอื่นไหม ของเราเป็นแบบนี้ ไม่ต้องไปถามว่า ทำไม แต่ให้รู้ไปว่า
กลไกการทำงานของขันธ์ 5 แบบของเราเป็นอย่างนี้
แล้วในที่สุด การรู้ขันธ์ 5 เฉพาะตน
ก็จะไปถึงจุดสรุปว่า ที่ผ่านมาเราไม่ได้ให้ตัวใครไปรู้ขันธ์ 5
ขันธ์ 5 รู้ตัวของมันเองว่าเป็นขันธ์ 5 นะ
____________________
ทำไม
"การยินดียินร้ายกับอารมณ์เป็นการหล่อเลี้ยงอารมณ์นั้นให้แข็งแรงมากขึ้น"
ไม่ทราบว่าเป็นเพราะว่าเวลาที่เราไปยินดีกับมัน ความอยาก (ภวตัณหา)
ก็ไปทำให้อารมณ์ดีๆนั้นใหญ่ขึ้น หรือถ้าเราไปยินร้ายกับมัน ความไม่อยาก
(วิภวตัณหา) ก็ไปทำให้อารมณ์ร้ายๆนั้นใหญ่ขึ้นใช่ไหมครับ? ประสบการณ์ส่วนตัวของผมคือเวลาที่เจอความทุกข์แล้วใจไม่ชอบ
ใจจะยิ่งดิ้นรนหาทางออก ผลคือความทุกข์ใจที่หนักขึ้นซ้ำๆ
แต่เวลาที่เจอเรื่องที่ชอบ ผมกลับไม่ค่อยไปนึกถึงเท่าไร
เหมือนความสุขมาทีเดียวแล้วจบไปเลย?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน วิธีดูสังโยชน์
- ช่วงถามตอบ
วันที่ 2 ตุลาคม 2564
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=PXt0ttUovPc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น