ถาม : (00.16.55) พอเราปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมของครูบาอาจารย์ 2-3 ท่าน ท่านจะพูดถึงตอนปลายของการปฏิบัติธรรมแตกต่างกัน
ดังตฤณ : ในเรื่องของสัมมาทิฏฐิ
หรือความเข้าใจที่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า แก่นสารของพุทธศาสนา
คือการหลุดพ้นทางใจ ชนิดไม่กลับกำเริบขึ้นมาอีก นี่คือแก่นสาร
บางคนบอก หัวใจพุทธศาสนาคืออริยสัจ 4
คือมรรคมีองค์แปด คือโน่นนี่นั่น จริงๆ อันนั้นคือหัวข้อธรรม
ไม่ใช่หัวใจของพุทธศาสนา
หัวใจของพุทธศาสนาจริงๆ คือ
ความหลุดพ้นแห่งใจ
ความหลุดพ้นแห่งใจ มีหลักฐานปรากฏต่อตัวเอง
เป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตน เอาไปโชว์คนอื่นไม่ได้
ทีนี้ ถ้าสมมติว่า มีครูบาอาจารย์ที่เราตั้งความเชื่อไว้
ว่าเป็นพระอรหันต์เหมือนกันหมดแหละ พระอรหันต์สิบรูป สิบองค์ อาจพูดไม่เหมือนกันก็ได้ที่ตอนต้น
แต่อาจรู้ตรงกันที่ปลายทาง ว่าหลุดพ้นเหมือนกัน นี่ท่านได้แก่นสารกันแล้ว
ทีนี้เราเอาแก่นสารแบบท่านบ้าง
ทำอย่างไร
ตอนต้นนี่ ให้ตั้งมุมมองไว้ว่า
เอาเบื้องปลายมาโชว์กันไม่ได้ นึกออกไหม ไม่ว่าจะแนวปฏิบัติไหนก็ตาม
แม้แต่พระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐาน 4 ท่านก็สอนได้แค่ต้นทาง ท่านเอาผลลัพธ์ คือปลายทางมาโชว์ตั้งแต่แรกไม่ได้
เพราะฉะนั้น อย่าพยายามที่จะรู้ให้ได้
ว่าอันไหนผิด อันไหนถูกกันแน่ แต่ลองทำ จะกี่สาย จะกี่แนวก็ตาม
แล้วถามตัวเองว่ายิ่งทำไป ยิ่งใกล้เคียงความหลุดพ้นทางใจ ชนิดไม่กลับกำเริบขึ้นอีกหรือเปล่า
ถ้าตอบตัวเองตรงนี้ได้
นี่เราจับที่มันเป็นแก่น ที่เป็นประเด็นทางพุทธที่แท้จริงได้แล้วนะ!
________________
รายการดังตฤณวิสัชนา ณ
ศูนย์เรียนรู้วรการ คลิปที่ 1
วันที่ 11 ตุลาคม 2563
ถอดคำ / เรียบเรียง
:
เอ้
รับชมคลิปเต็ม : https://www.facebook.com/watch/?v=682032666066316
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น