ถาม : (52.50) ครูบาอาจารย์บอกว่าให้บริกรรมพุทโธ แล้วบอกว่าติดเพ่ง แต่เราไม่เห็นว่าเราติดเพ่ง ก็เลยมาโยนิโสฯ มาดูสภาวะจิต แล้วมาเห็นว่า ความรู้สึกที่จะไปเพ่ง มาจากความอยากดี ไม่ทราบว่า เป็นความเห็นจริงหรือคิดไปเอง
ดังตฤณ :
เดิมเราอาจมีความจริงจังกับชีวิต ความจริงจังของชีวิตแต่ละคน ทำให้เวลาเข้าทางธรรม
จะเกิดความรู้สึกว่าต้องจริงจังกับการปฏิบัติเช่นกัน
ทีนี้เรื่องการเพ่ง
เรื่องของการอะไรนี่ บางทีเกิดจากความเข้าใจว่า เราจะต้องมองอย่างนี้
จะต้องตั้งไว้อย่างนี้ แล้วจิตที่ต้องจริงจังกับชีวิต ก็เลยเอามาทุ่มใส่สิ่งที่เราคิดว่า
จะต้องไปจ้องมัน ทีนี้การบริกรรมพุทโธ อาจแก้หรืออาจไม่แก้ การทุ่มใส่แบบนี้
บางคน
ภาวนาพุทโธ พูดง่ายๆ ใส่น้ำหนักลงไปในการ เพ่งพุท เพ่งโธ เหมือนกัน
ก็เพ่งเหมือนกัน
ทีนี้
เอาอย่างนี้ แทนที่เราจะแก้ด้วยอุบายกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ลองมาสำรวจเอาเนื้อตัวตามจริงเลยแล้วกันว่า
ในแต่ละขณะ เท้าของเรา เกร็งไหม ผ่อนคลาย วางราบกับพื้นสบายๆ ไหม ฝ่ามือกำ เกร็ง
กล้ามเนื้อที่อยู่บนใบหน้า มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ขมวดตึงไหม
สำรวจแบบนี้บ่อยๆ
ฝ่าเท้า ฝ่ามือ ทั่วใบหน้า จะได้เห็นว่ามีอาการเกร็งผิดปกติกว่าที่ควร
เหมือนขี่ช้างจับตั๊กแตนจริงๆไหม ถ้าสำรวจบ่อยๆ แล้วไม่เห็นมีส่วนใดส่วนหนึ่ง
เกร็ง แสดงว่าเราไม่ได้เพ่งแล้ว นี่เป็นวิธีง่ายๆ ที่น่าจะได้ผลจริง
ส่วนการทำความเข้าใจว่า
เราอยากได้อยากดี อยากมีอยากเป็น แล้วทำให้เพ่ง ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ที่ผมเห็นคือ
เป็นคนจริงจังกับชีวิตมาก แล้วถ้าเรื่องไหนไม่ผ่าน เราจะย้ำเข้าไป
ตอกหัวหมุดเข้าไปตรงนั้น ตอกเข้าไปตู้มๆ เหมือนใช้ค้อนตอก เป็นสาเหตุซึ่งน่าจะตรงประเด็นมากกว่า
________________
รายการดังตฤณวิสัชนา ณ
ศูนย์เรียนรู้วรการ คลิปที่ 2
วันที่ 11 ตุลาคม 2563
ถอดคำ / เรียบเรียง
:
เอ้
รับชมคลิปเต็ม : https://www.facebook.com/watch/?v=434789157611672
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น