ถาม : (01.23.43) ตั้งใจจะสวดมนต์นั่งสมาธิ ตอนเจ็ดโมง พอถึงเวลาไม่ได้ทำ ก็ตั้งใจจะทำสองทุ่ม แต่ไม่ได้ทำอีก เป็นแบบนี้มาตลอด มีวิธีแก้ไขอย่างไร
ดังตฤณ : ก่อนอื่นเราต้องเห็นว่า
การเจริญสติ การภาวนา หรือการจะทำบุญอะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ข้อบังคับของชีวิต ไม่เหมือนการงาน
อย่างการงานนี่ มีคนเอาแส้คอยเฆี่ยนเราอยู่ มีไม้เรียวคอยดีเราอยู่่
เพราะฉะนั้นเรารู้สึกว่าอันนี้ต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเราอดตาย
แต่เจริญสตินี่ ไม่สำคัญ จิตวิญญาณไม่ได้ถูกทำลายไป
ไม่ขาด ไม่ใจขาดไปนะ ถ้าหากว่าเราไม่ได้ทำตามที่ตั้งใจไว้
เพราะฉะนั้นคนเรานี่ พอตั้งใจว่าจะทำบุญทำทาน
หรือว่าเจริญสติ ปฏิบัติธรรมภาวนานี่นะ มักทำกันโดยพื้นฐานของความรู้สึกว่า ไม่ต้องทำก็ได้
เข้าใจใช่ไหม แต่ถ้าทำนี่จะดีขึ้น ชีวิตจะดีขึ้น อันนี้ข้อแรก
ข้อสอง อยากให้พิจารณาอย่างนี้ว่า เรื่องของบุญกุศล
ถ้าหากตั้งใจแล้วไม่ทำ จะมีผลปรุงแต่งให้จิตนี่อ่อนแอลงเรื่อยๆ อันนี้คือคีย์เวิร์ดที่สำคัญมากนะ
อย่างที่ได้รับคำถามเป็นประจำ บอกว่าตั้งใจถือศีลแปด
เสร็จแล้วทำไม่สำเร็จครับ ไปแพ้เอาเรื่องกาเมฯ หรือไม่ก็ไปแพ้เอาเรื่องว่า
อดพูดเล่นไม่ได้ อดโกหกไม่ได้อะไรอย่างนี้นะ ก็เลยเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า
ทำไมรู้สึกผิดร้ายแรงขึ้นกว่าปกติ นั่นเพราะว่าเราตั้งความหวังไว้สูง เราตั้งจิตไว้จะเอาบุญขั้นสูง
แต่ทำไม่ได้ ก็เลยตกแป้กกลับมา
ยิ่งตั้งขึ้นสูงเท่าไหร่นะ เวลาตก จะตกหนักขึ้นเท่านั้น
นี่ คือธรรมชาติ แล้วอย่างของเรานี่ เราบอกตั้งใจจะสวดมนต์ ตั้งใจจะปฏิบัติธรรม
ตั้งใจจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิอะไรก็แล้วแต่ นั่นเป็นของสูง
สูงกว่าการถือศีลแปดอีก แต่คนน่ะ ไม่นึกนะ นึกว่าแค่ตั้งใจทำสมาธิ แต่ตอนนั้น
ถูกผีตัวไหนรบกวนก็ไม่่่่่่่่่่่่่่่่่่่ทราบ เหมือนมาคอยมาดึงแขนดึงขา ไม่ให้ทำ
ใจมันไม่อยาก
อธิบายไม่ถูกเลยนะ ความไม่อยากแบบนั้น
มันมากมายมหาศาลขนาดไหน แต่เรารู้กันนะ ว่าเวลาที่เกิดความรู้สึกว่า
พอถึงเวลาแล้วไม่อยากทำนี่ จะรุนแรงมาก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะสะสมมา
เป็นความอ่อนแอทางจิตวิญญาณ
ยิ่งคุณตั้งใจทำบุญ
ยิ่งคุณตั้งใจขึ้นสูงมากขึ้นเท่าไหร่ แล้วไม่ทำ แต่ละครั้ง ก็คือการเพิ่มความอ่อนแอให้จิตวิญญาณของตัวเอง
เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องทำคือ ไปรื้อความเข้าใจข้อแรกใหม่เลย ...
อย่างนี้ก็ได้บุญเยอะเพราะว่าเราผ่านอุปสรรคมาด้วยกัน ตั้งใจจะทำอะไรดีๆ ร่วมกัน
แล้วมีอุปสรรคขัดขวางนะครับ (พูดถึงกรณีพูดแล้วเสียงไมค์ไม่ดัง) เราผ่านมันไปได้
ใจก็เข้มแข็งขึ้น
ทำความเข้าใจใหม่เลย ที่นึกว่าตั้งใจจะทำบุญทำกุศลแล้วไม่ทำก็ได้
ไม่เป็นไร ... เป็น เป็นหนัก อาจหนักยิ่งกว่าคุณไปเบี้ยวงานให้เจ้านายหมั่นไส้
อาจหนักกว่าออกจากงานเอาดื้อๆ แล้วไม่มีเงินกินข้าว อาจหนักกว่านั้นก็ได้ เพราะอะไร
เพราะว่าเวลาที่บุญบาปให้ผล จิตวิญญาณที่เข้มแข็งหรืออ่อนแอให้ผล จะให้ผลเป็นภพใหม่ชาติใหม่
ซึ่งมีตัวอย่างทีเซอร์ในชาตินี้แหละ
เห็นไหม ตอนที่เราตั้งใจทำอะไรดีๆ จะชอบมีความรู้สึก
โอย เหมือนต่อสู้กับตัวเองอยู่ข้างใน แล้วเราสู้ไม่ไหว เหมือนมันเป็นยักษ์ แล้วเราเป็นเด็กน้อย
นั่นแหละคือตัวเราที่สะสมมาจากความอ่อนแออันเกิดจากการผิดสัจจะกับตัวเอง
ฉะนั้น ตรงนี้ทำควาามเข้าใจใหม่
ข้อแรกเลยนะ มีผล แล้วมีผลมากกว่าที่คุณคิด
คราวนี้ พอคุณตั้งใจอะไรใหม่นี่
คุณจะเริ่มระวัง อย่างผมนี่ อันนี้ยกตัวอย่างเลย คือแต่ก่อนนี่ แบบพูดอย่างนี้
คือเวลาสัญญาอะไร บอกเดี๋ยวผมจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ คือมั่นใจมากว่าจะทำได้ ... ลืม
ว่ามันยากแค่ไหน หรือว่าเราทำได้หรือเปล่า เสร็จแล้วพอทำไม่ได้นี่ รู้เลยนะ
มีคนเบี้ยวแบบว่า ช่วงนั้น เจอคนเบี้ยวเยอะมาก เจอคนผิดสัญญา เจออะไรต่อมิอะไร
รวมทั้งใจเราเองก็อ่อนแอลง
ทีนี้ก่อนตั้งใจอะไรต่อมานี่
ถ้าจะพูดต่อหน้าคนมากๆ นี่ มีสติ แบบยิ่งยวดเลยนะ ว่า นี่ทำได้หรือเปล่า
ถ้าทำไม่ได้ อย่ารับปาก แต่ถ้าทำได้แน่ๆ ชัวร์ว่าจะทำได้ ค่อยพูด
อันนี้เล่าประสบการณ์ส่วนตัวเลยนะ
นี่ก็เหมือนกัน เวลาตั้งใจจะทำสมาธิ เวลาตั้งใจจะทำบุญ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่น
ถามใจตัวเองก่อนว่ามีเหตุปัจจัยให้ทำสำเร็จได้ไหม ณ เวลานั้น
แล้วถ้าหากว่า เราปักใจไปแล้วว่าจะทำ ณ
เวลานั้น ณ เวลานี้ ต่อให้ฟ้าถล่มดินทลาย ในเวลานั้น ก็ต้องยอมแลก เอาชีวิตเข้าแลก
เพราะมันสำคัญกว่าชีวิตเราอีกนะ
มันคือชีวิตที่เป็นปัจจุบัน
แล้วก็อนาคตของเรา ไม่ใช่แค่ห้านาทีนั้น ที่เราผิดสัจจะกับตัวเอง แต่เป็นผลของกรรมที่เราจะต้องไปเสวยอีก
ไม่รู้นานแค่ไหน แล้วบางทีไม่รู้กี่ชาติด้วย เพราะบางคนนี่ อย่างวันนี้ถ้าไม่คุยกันนี่นะ
แล้วเราทำอย่างนี้ไปอีกเรื่อยๆ จนตาย ชาติหน้าทำอะไรไม่สำเร็จ แล้วลองคิดดูว่า ชีวิตที่ทำอะไรไม่สำเร็จทั้งชาติ
นี่ให้ความรู้สึกทรมานแค่ไหน ให้ความรู้สึกแย่กับตัวเองเแค่ไหน
พอเรามองว่าเป็นเรื่องสำคัญ
เราต้องทำให้ได้ ทีนี้ถ้าพอถึงเวลาเอาจริง เรารู้สึกว่า โหด เป็นภาระหนัก เราต้องต่อสู้
จนเราไม่มีความสุขเลยกับการภาวนา การสวดมนต์ หรือการทำบุญครั้งนั้น
ก็ให้ลดระดับความคาดหวังหรือความตั้งใจลง
อย่างเช่น บอกว่าจะนั่งสมาธิให้ได้ครึ่งชั่วโมงอะไรอย่างนี้
ลองเอาลงมาเหลือห้านาทีพอ ขอให้ทำห้านาที จะสงบ ไม่สงบ ไม่สำคัญ ตั้งเป้าใหม่ บอกว่าเป็นห้านาทีที่เราได้เห็นอนิจจัง
ก็พอแล้ว อนิจจังคืออะไร บางทีฟุ้งซ่านหนัก บางทีฟุ้งซ่านเบา แค่นี้ได้แล้ว
ได้ตามความตั้งใจแล้ว ได้ตามสัจจะแล้ว แล้วเป็นสัจจะที่จะทำให้เกิดพุทธิปัญญาด้วย
คือไม่ต้องได้ความสงบ แต่ได้ปัญญา
เห็นความไม่เที่บง บางลมหายใจมีความฟุ้งซ่านหนัก บางลมหายใจมีความฟุ้งซ่านน้อย
นี่ตรงนี้นะ
สรุปนะ ถ้าจะตั้งใจอะไรที่เป็นบุญ
ทำให้ได้นะ แล้วก่อนที่จะตั้งใจ ดูตัวเองให้ดีๆ ว่าเกินตัวหรือเปล่า
มีเหตุปัจจัยพร้อมที่จะทำหรือเปล่า
ข้อสอง ถ้าหากว่ารู้สึกทำบุญไปแล้ว
หรือว่าทำสมาธิปฏิบัติธรรมไป แล้วมีความทุกข์ มีความอึดอัด
นั่นแสดงว่าเราตั้งเป้าไว้ผิด หรือเกินตัว
เปลี่ยนเป้าใหม่ให้กลายเป็นเป้าหมายแบบพุทธ
ทุกครั้งที่คุณนั่งสมาธิ แล้วตั้งใจจะเห็นความไม่เที่ยงของความฟุ้งซ่าน
นั่นคือทุกครั้งที่คุณได้พุทธิปัญญาแน่นอน
ไม่ใช่ว่านั่งสมาธิเสียเที่ยวแน่นอน นะ!
________________
รายการดังตฤณวิสัชนา ณ
ศูนย์เรียนรู้วรการ คลิปที่ 1
วันที่ 11 ตุลาคม 2563
ถอดคำ / เรียบเรียง
:
เอ้
รับชมคลิปเต็ม : https://www.facebook.com/watch/?v=682032666066316
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น