วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

07 คุบกับหมอบี : จิตที่สุขแบบปีติกับสุขธรรมดา อุทิศบุญให้ผลต่างกันไหม

 

หมอบี : คำถามคือ จิตที่มีความซาบซ่าน กับจิตที่เป็นปกติ ใช่ไหมครับ

 

ผมว่ามีทั้งเหตุและปัจจัย ซึ่งอาจเปรียบเทียบสองกรณีนี้ ไม่ได้เต็มที่นัก

 

เนื่องจากว่า เราต้องดูว่าเหตุที่มาของอารมณ์ความรู้สึกนั้น

เหตุคืออะไร แล้วปัจจัยที่ส่งผลทำให้มีความรู้สึกอย่างนั้น คืออะไร

 

ดังตฤณ : เขาน่าจะหมายความว่า ได้ไปถึงบุคคลที่อุทิศไปให้ อาจจะอย่างนั้นมากกว่าไหม คือได้รับมากกว่าหรือน้อยกว่าอะไรแบบนั้น

 

หมอบี : ครับเข้าใจว่าน่าจะอย่างนั้น อธิบายลึกไปหน่อย

 

แต่คือว่า ถ้าเกิดเหตุเราเยอะ คล้ายเหมือนกับว่าเรามีเยอะ

ผมเปรียบเทียบเฉยๆนะ ว่าสมมติว่า ต้นเหตุของมันคือว่า เราทำบุญไว้เยอะประมาณนี้นะครับ

เพราะฉะนั้น ปัจจัยที่เกิดอารมณ์ความรู้สึกซาบซ่าน รู้สึกอิ่ม รู้สึกปีติมากๆ นี่ ด้วยความที่ต้นเยอะ แล้วมีเครื่องมือทำให้ออกไปเยอะ ก็อาจเยอะได้

 

ในขณะเดียวกัน สมมติว่า ต้น ไม่ได้เยอะ ต้นน้อย แต่ว่าความรู้สึกเต็มเปี่ยมนี่ส่งไป ก็อาจจะส่งได้ แรง เร็ว แต่ว่าต้นน้อย ก็อาจน้อยได้

 

ฉะนั้นอาจไม่ได้เกี่ยวกับวิธีการมากนัก

 

อาจจะขึ้นอยู่กับว่า ต้นหรือว่าเหตุของใจนี่ สงบ บริสุทธิ์ มีปัญญา รู้เห็นตามความเป็นจริงมากน้อยขนาดไหน

 

ผมว่าอันนี้อาจจะสำคัญกว่าว่า จะส่งไปเป็นแบบไหน

 

ดังตฤณ : ปีติ หรือไม่ปีติใช่ไหม

 

คือพูดง่ายๆว่า มีเหตุปัจจัยที่ประกอบบุญนั้น ทำให้กำลังของบุญ มีความใหญ่

 

ยกตัวอย่างเช่น อย่างบางคนนี่ เหมือนกับสามารถปั้นพระพุทธรูปได้

ปั้นออกมาได้สวยงามเลย แต่ปั้นไปสิบองค์ บางองค์อาจจะปีติ บางองค์อาจจะเฉยๆ มีความสุขเป็นแบบสุขแบบมีอุเบกขา สุขแบบนิ่งๆว่างๆ ไม่ได้ปลื้มอะไรมากมาย

 

แต่กำลังบุญก็คือได้พระพุทธรูปที่ งดงามเท่ากัน อย่างนี้พี่เข้าใจถูกไหม หมอบีจะสื่ออย่างนี้ใช่ไหม 

 

เพราะฉะนั้น ตัวเหตุปัจจัยของความเป็นบุญ ที่จะให้น้ำหนัก หรือว่าให้พลังที่จะไปถึงผู้รับ บางที วัดกันง่ายๆเลย เอาคนที่ยังมีชีวิตอยู่นี่

 

บอกว่า วันนี้นะ เล่าให้ฟังละเอียดเลย ไปสร้างพระมา องค์พระมีความงดงาม ทำให้เกิดความรู้สึกมองมาแต่ไกล แล้วรู้สึกราวกับว่าเห็นสวรรค์อะไรอย่างนี้

 

บรรยายไปๆ แล้วเกิดความว่า คนฟังนี่มีใจอนุโมทนาตาม โดยที่ไม่ได้แกล้งนะ อันนั้นคือเขาได้บุญอันเกิดจากการที่ กำลังใจของเรา ใหญ่พอ จะบรรยายหรือพรรณนาให้ละเอียดและเห็นภาพ

 

ยิ่งเห็นภาพชัดขึ้นเท่าไหร่ ใจเขายิ่งถูกปรุงแต่งให้เป็นบุญมากขึ้นเท่านั้น

ตรงนี้คือน่าจะยกตัวอย่างตามที่หมอบีบอกไว้

 

หมอบี : ขอเสริมได้ไหมครับ

 

ด้วยความที่ผู้ถาม มีใจที่เป็นความสะอาดบริสุทธิ์ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว โดยธรรมชาติ ชอบแต่เรื่องราวดีๆ ชอบเรื่องอะไรที่ทำให้เกิดรอยยิ้มในชีวิตได้ ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี ดีกว่าคิดไม่ดี

 

แต่ว่าถ้า เพิ่มอีกนิดหนึ่งด้วยการที่ไม่ไปยึด ไม่ไปอะไรกับเรื่องราวที่ดีจนเกินไป คือไม่ยึดดีเกิน ไปไม่ติดดีเกินไป มองให้เป็นเรื่องกลางๆ ไม่ติดกับความสุขหรือแสวงหาความสุขมากจนเกินไป ทำให้เป็นอุเบกขาจิตได้นี่จะเป็น ดีมากเลยครับ

___________________

การอุทิศบุญในขณะจิตรู้สึกมีปีติ(ซาบซ่าน) กับจิตปกติสุขธรรมดา ให้ผลต่างกันอย่างไรไหม

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน รู้จักขันธ์ ๕ จากสมาธิจิต

- ช่วง คุยกับหมอบี

วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=DHCyif4moAM

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น