วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

18 คุยกับหมอบี : โดนเบียดเบียนตลอดทั้งที่ไม่เคยเบียดเบียนใคร เพราะกรรมอะไร

ดังตฤณ : ถ้าเรามอง มองอย่างคนไม่รู้ 

เราจะมองอย่างคนที่สำคัญว่า เกิดครั้งเดียวตายหนเดียว

 

คนเราจะเริ่มจดจำ 

ากสิ่งที่ตัวเอง เห็นผ่านรูปกระทบตา

แล้วก็เสียงกระทบหู 

 

เสร็จแล้ว ขวบนี่นะ ที่เคยเห็น เคยได้ยินอะไรมา

จะถูกลบ ด้วยเซลส์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมามากมายมหาศาลเลย

ช่วงตอน 5 ขวบ จะมีเซลส์ใหม่เกิดขึ้น แล้วเป็นเซลส์แบบ

คล้ายๆ มา delete ข้อมูล hard disk เดิมทิ้ง

 

ก็เลยทำให้เรา รู้สึกเป็นจริงเป็นจังว่า 

เราเป็นอย่างไรมาตั้งแต่เกิด 

ถือว่าตัดสินว่า เรามีความเป็นคนอย่างนั้น

 

พอมาเชื่อเรื่องกรรม ก็รู้สึกว่าเราทำกรรมมาแค่นี้ 

ทำแบบที่เห็นๆ ว่า ไม่ได้เบียดเบียนใคร

ไม่ได้คิดกลั่นแกล้งใคร ไม่ได้คิดที่จะไปให้โทษ ให้ร้ายอะไรใคร

 

แต่ทำไม เจอแต่เรื่อง เจอแต่อะไรที่

โดนคนเขาด่าสาดเสียเทเสีย

หรือไม่ก็มาใส่ไคล้ ทำให้เกิดความเสียหาย

หรือว่าทำให้ชื่อเสียงพินาศป่นปี้ 

 

การที่เรารับรู้ตามธรรมชาติ 

ไม่ใช่ความผิดว่า เราเป็นแค่คนดี เราไม่เคยเบียดเบียนใครมา

 

แต่โดยธรรมชาติของสังสารวัฎ การเวียนว่ายตายเกิด

ไม่สามารถที่จะบอกได้ หรือรับประกันให้ตัวเองได้หรอกว่า 

เราเป็นคนใสซื่อ สะอาดบริสุทธิ์ ไม่เคยทำร้ายใคร

เหมือนกับในชีวิตนี้ ทุกครั้ง

 

การเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า

เหมือนโยนขอนไม้ขึ้นไป ก็ไม่รู้ว่าจะตกหัว ตกท้าย

หรือว่าตกกลางตัวขอนไม้ ที่มากระทบพื้น

 

เสี่ยงมากๆ ในแต่ละชาติที่เกิดมานี่นะ

จะเทียบกับโยนลูกเต๋าก็ได้ ไม่มีทางรู้

โยนแบบไม่มีทริคนะ โยนแบบมั่วจริงๆนี่ 

ไม่สามารถบอกได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย

คือกรรมที่ทำมา ในแต่ละชาติที่หลงผิดทำไป

 

หรือแม้แต่ในชาตินี้ บางทีอย่างที่บอก 

คนเรานี่จะถูกลบความจำไปเรื่อยๆ

บางทีเรารู้สึกว่า เราไม่ได้เบียดเบียนใคร 

บางทีเรารู้สึกว่า เราเป็นคนดีมาตลอด 

 

แต่ถ้านึกดูดีๆ เราอาจจะเคยทำกับพ่อแม่

อาจจะเคยทำกับผู้มีพระคุณไว้ ด้วยความเป็นเด็ก

แล้วเรานึกว่าเป็นเด็กไม่นับ ไม่ใช่นะ 

 

ตั้งแต่เริ่มรู้ความ ตั้งแต่เริ่มคิดอะไรเองได้ ตั้งใจอะไรเองได้

อย่างผมเห็นเด็กบางคนนะ อายุแค่ขวบกว่าๆ นี่

มีเจตจำนงแบบเดียวกันกับผู้ใหญ่ได้

คือตั้งใจ คิดอะไรยอกย้อนได้ แล้วก็มีความมุ่งมั่นรุนแรง

แบบเดียวกับผู้ใหญ่เลยนะ นั่นน่ะ นับหมด

 

เพราะตัวกรรมนี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า

กรรมคือเจตนา เจตนาคือกรรม

แล้วเจตนา เจตสิก หรือว่าความปรุงแต่งจิต

ที่เกิดจากความเล็งไว้ ว่าจะเอาให้ได้ผลลัพธ์อะไรอย่างหนึ่งกับใคร

เกิดขึ้นเมื่อไรนะ เป็นกรรมหมด

 

จริงๆถ้าเอาตามอภิธรรม จะบอกด้วยซ้ำ

บอกว่าเจตนานี่ เกิดขึ้นกับทุกดวงจิตนะ

เกิดประกอบจิตทั้งหมด

 

แต่เอาแบบที่ว่า เป็นบาปเป็นกรรม

หรือเล็งว่าจะทำร้ายใคร

ตรงที่คุณว่ามีการเบียดเบียน หรือว่ามีการใส่ไคล้

หรืออะไรก็แล้วแต่นี่นะ 

 

ตรงนั้นถ้าทบทวนอยู่ดีๆ

แม้ช่วงต้นชีวิต ที่เราไม่ได้ตั้งใจว่า จะเป็นคนเลวจะเบียดเบียนใคร

บางทีเราก็เผลอทำร้ายผู้มีพระคุณได้

 

นี่แค่ตัวอย่าง ว่าเรานึกไม่ถึง หรือมองไม่เห็น

ว่าเคยเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นแล้วจริงๆ

 

ถ้าเราทบทวนดูดีๆ เออ ก็เคยทำ ไม่ใช่ไม่เคย

 

ผมเองนี่ พอมารู้หลักการเจริญสติ แล้วก็จดจำอะไรได้

บางทีอยู่ในสมาธินะ ผุดขึ้นมาเป็นระลอกๆเลย

เหมือนที่เขาว่า นิมิตคนใกล้ตาย

ที่นึกว่าฝังลืมไปแล้ว นึกว่าไม่เคยมีอยู่ในชีวิต กลับมาหมด 

และนี่แหละ คือความเสี่ยงในการเวียนว่ายตายเกิด

 

เรานึกว่าเราไม่ได้ทำ 

เพราะเท่าที่เราจำได้เราไม่ได้ทำ แต่ทำไมเราถึงโดน 

ที่โดนนี่ คือส่วนที่จำไม่ได้นั่นแหละ

 

และนั่นคือโทษที่ร้ายแรงที่สุดของสังสารวัฏนะ

 

ตอนทำนี่ ไม่รู้ว่าจะได้จะไปตกกับตัวตนในชาตินี้ หรือชาติหน้า

แต่ตอนได้รับผล เราจะงง 

 

เป็นสังสารสัตว์หนึ่ง ที่มีความงง ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

จะให้เชื่ออย่างไร พระเจ้าเหรอ หรือว่ากรรม นึกไม่ออกจริงๆ

 

ตรงนี้แหละที่สังสารวัฎเขาปิดกั้นไว้ ไม่ให้เราเชื่อ

อย่าเข้าใจว่าสังสารวัฎ จะมีความยุติธรรม

ว่าทำอะไรไปแล้วต้องให้เห็นผลทันที

หรือว่าทำอะไรไปแล้วนี่ต้องเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น ตามใจชอบ

ที่เรานึกว่าจะเป็น .. ไม่ใช่

 

สังสารวัฏนะ เวลาเขาจะลงโทษหรือให้รางวัล

จะเป็นไปตามที่ ภาวะมืดหรือสว่าง

น้ำหนักของความมืด น้ำหนักของความสว่าง 

ที่เราทำต้นเหตุไว้นี่ มีแค่ไหน จะให้ผลแค่นั้น 

อย่างยุติธรรมที่สุด

 

หมอบี : นอกจากที่พี่ตุลย์เล่าให้ฟังแล้ว

มีเรื่องเพิ่มเติมว่า เวลาเราคาดหวังอะไรสักอย่าง

เราชอบถูกสอนว่าเราทำดี ต้องได้ดี

เราทำดีกับใครต้องสะท้อน สะท้อนกลับมาทันทีเดี๋ยวนั้น

ซึ่งไม่ใช่

 

คือเราทำดีนี่ คือดีตรงนั้น ก็จบเลย

ไม่ได้หมายความว่า คนคนนั้นจะต้องมาดีตอบ ตรงนี้ไม่ใช่แล้ว

 

ถ้าเราเข้าใจได้ว่า เมื่อเราทำดีกับใครสักคนหนึ่ง

จะดีตรงนั้นและจบตรงนั้นเลย

เหมือนเวลาเราให้อาหารกับสัตว์ตัวหนึ่ง แล้วเขาอิ่มตรงนั้น

คือความดีได้จบตรงนั้นแล้ว

 

ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ เราจะเป็นสุข

 

แต่เมื่อไรก็ตาม เราเข้าใจว่า

เราให้ข้าวกับสุนัขตัวนี้แล้ว เขาจะไม่กัดเรา

ถ้าเราคิดอย่างนี้ แล้วเกิดมันแว้งกัดเรา

เราก็จะรู้สึกว่า อ้าว อุตส่าห์ให้ข้าวแล้วทำไมยังกัดอีก

 

ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ 

 

อยากให้พิจารณาว่า พุทธองค์สอนเรื่องเหตุและปัจจัย

ท่านไม่ได้มองว่า เหตุและผลทุกอย่าง

ต้องเกิดผล ณ เวลานั้น ณ เดี๋ยว ณ ชาตินั้น

อาจจะไม่ใช่อย่างนั้นครับ

 

จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ หรือมีการบิดเบี้ยวของเวลา สถานที่นี่

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือ factor  ทำให้ยังไม่ส่งผลเดี๋ยวนั้น

 

ถ้าเราทำไว้แล้วไม่คาดหวัง ทำดีคือทำดีจบ

ทำชั่วก็เหมือนกัน ทำไมเราไม่ต้องคาดหวังไว้ว่า

ทำชั่ว ปุ๊บ ต้องได้ความชั่วนั้นเดี๋ยวนั้นทันที .. ก็เหมือนกัน

อยากให้จัดการเรื่องความคาดหวังนี่ ใจจะเป็นสุขขึ้นเยอะเลย 

 

ดังตฤณ : คือคำตอบของหมอบี แยกเป็น สองประเด็น

 

ประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องความจริงเกี่ยวกับกรรมและวิบากที่จะให้ผล

กับอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องการทำใจ ตั้งจิตให้ถูกต้อง จะมีความสุขเสมอ

ทำดีแล้ว ให้ดี ให้ผลเป็นความสุข

ไม่ใช่ทำดีแล้วคาดหวังว่าเขาจะต้องดีตอบ

____________________

เกิดจากกรรมอะไร และควรดำเนินชีวิตอย่างไรดี การที่เราไม่เบียดเบียนใคร แต่โดนคนอื่นเบียดเบียนตลอด โดนทั้งการกระทำ คำพูดทำให้เสียหายบ่อยครั้ง ขอคำนะนำด้วยครับ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน รู้จักขันธ์ ๕ จากสมาธิจิต

- ช่วง คุยกับหมอบี

วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=1BreU_MXQhw

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น