วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

Q05ต้องพิจารณาอนิจจสัญญา หลังทำถึงท่าที่สาม ใช่หรือไม่

ดังตฤณ : อนิจจสัญญา เกิดขึ้นในจิตธรรมดาๆ คิดนึกก็ได้ บอกว่าเห็นคนตายบ่อยๆ คนรอบตัว ที่อายุมากมาด้วยกันตายไปทีละคนสองคน

 

หรือว่า ถ้าเราอายุยังน้อยอยู่ เวลามีใครตายที แล้วเราพิจารณาที ก็จะรู้สึกว่า ชีวิตไม่เที่ยงได้ นี่ก็เป็นอนิจจสัญญาแบบคิดๆ

 

แต่ถ้าหากเป็นอนิจจสัญญาแบบที่จะถอดถอนอุปาทาน หรือว่าทำให้กิเลสกระเทาะร่อนหลุดออกไปจริงๆ ต้องนำมาด้วยสมาธิก่อน ก็คืออย่างที่เห็น

 

ทำท่าหนึ่ง ท่าสอง ไปจนกระทั่งเกิด วิตักกะ วิจาระ มีปีติ มีสุข เกิดขึ้นเต็ม ตอนนั้นจิตจะพร้อมตั้งมั่น แล้วพอจิตตั้งมั่น เราเห็นว่าลมหายใจสักแต่เข้า สักแต่ออก เป็นธาตุลม ไม่ใช่ตัวตน ก็จะเห็นชัดนะครับ

 

แล้วความเห็นชัด จะช่วยให้ความรู้สึกว่ามีตัวเราอยู่แน่ๆ มีตัวเราที่เที่ยง จะค่อยๆ เบาบางลงๆ

 

ยิ่งสมาธิเราดีเท่าไหร่ จะยิ่งเบาบางลงมากขึ้นเท่านั้น

 

พูดง่ายๆ ถ้าจะเอาดีทางการเจริญสติ ให้เกิดสมาธิก่อนที่จะพิจารณา แบบนี้จะไปของมันได้เรื่อยๆ

 

แต่ในขณะเดียวกันก็อาจคิดๆ ด้วยก็ได้ในระหว่างวัน ว่าอะไรๆ ก็ไม่เที่ยง อะไรๆ ก็ไม่เห็นจะคงสภาพเดิมไว้ได้ ตัวนี้ก็จะมีส่วนของฐาน ส่วนของความเข้าใจ ที่จะเกื้อกูลตอนที่จิตรวมลงเป็นสมาธิแล้วเช่นกัน

________________________

มาไม่ทันช่วงแรก มาถึงตอนที่เริ่มสวดมนต์พอดี พอ อ.ชี้ให้เห็นถึงอนิจจสัญญา ก็มองเห็นได้ตามนั้น แต่ก็ยังเห็นว่ามีอัตตากระโดดไปมา แต่การพิจารณาอนิจจสัญญา ให้ทำหลังจากทำท่าแรกถึงท่าที่ สาม แล้วถึงพิจารณาใช่มั้ยคะ?

 

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป :

https://www.youtube.com/watch?v=KntFJwmx06Q 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น