- ถ้าใช้ชีวิตประจำวันต้องโฟกัสกับงานที่ทำ จึงไม่ได้เห็นลมหายใจค่ะต้องจังหวะคลาย หรือพักเบรกจึงจะระลึกได้
ดังตฤณ : นั่นแหละ ที่บอกว่าจริงๆ แล้วการทำโพล
เป็นแค่ให้ได้เห็นว่า มีคนกลุ่มหนึ่ง ที่เขาทำได้ อาจเพราะเหตุปัจจัย ที่เป็นพวก full
time หรือเป็นพวกที่ชำนาญสมาธิมานาน จนกระทั่งว่า
ติดอยู่ในนิสัยของจิต ที่จะเข้าไปรู้ได้ง่ายๆ แล้วก็ตรงที่จริงๆ แล้วพอเราทำได้นี่
ทำงานไปพักหนึ่ง แล้วเกิดสมาธิกับการทำงาน
บางทีก็จะรู้สึกย้อนมารู้สึกถึงลมหายใจได้เอง
แล้วก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นที่จะรู้สึกถึงลมหายใจเป็นแบ็คกราวด์ได้
นี่ก็เป็นความแตกต่างของแต่ละคน
แต่ประเด็นคือเราได้เครื่องช่วยให้ระลึกถึงกายใจ มีการดึงจิตเข้ามา
มีสติอยู่กับกายใจได้เหมือนกัน อาศัยลมหายใจนี้นะครับ
-
ใจน้อมไปทางที่จะต้องการเรียนรู้ธรรมะทั้งวันทั้งคืนครับ
ดังตฤณ : นั่นแหละ ธรรมะมีอยู่สองแบบ ธรรมะแบบอ่าน
กับธรรมะแบบรู้เอาจากกายใจของเราเอง
จากการอ่านฟัง
จากการที่เป็นสุตตมัยปัญญา สดับฟังเอาจากผู้รู้ จะเป็นพระผู้รู้ หรือครูบาอาจารย์ก็ตาม
หรือจะใช้จินตนาการเอา
คือยังคิดๆ อยู่ อยู่ในโหมดคิด
แต่ว่าก็มีความรู้สึกใคร่ที่จะเห็นภาวะของความไม่เที่ยง ของความไม่น่าเอา
แล้วในที่สุดคือ ภาวนามยปัญญา ขั้นนี้ จิตออกจากโหมดคิดแล้ว มาอยู่ในโหมดรู้
แล้วก็ศึกษาเอาจากของจริงในกายใจตัวเอง โดยมีอานาปานสติเป็นเครื่องยึดนะครับ
นี่ก็เป็นสัญญาณบอกอย่างหนึ่งว่า
ขันธ์ 5 พอใจที่จะรู้ตัวเองโดยความเป็นขันธ์ 5 มากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
เป็นสัญญาณบอกชนิดหนึ่งเหมือนกัน
-
เวลาคิดอะไรอยู่ก็รู้ค่ะ เวลาน้อยใจก็รู้ค่ะ
ดังตฤณ : ตรงที่แต่ก่อนไม่รู้ แล้วก็หลงตามมันไป
แล้วก็ยึดตามมันไป เกิดพายุบุแคม ของอารมณ์ตามสิ่งที่มาครอบงำจิต จะปฏิรูปไป
จะกลายเป็นรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ที่เป็นธรรมชาติธรรมดาของผู้เจริญอานาปานสติเป็นนะครับ
-
ทำอยู่ทุกวันค่ะ หากไม่ทำจิตจะฟุ้ง/ฟู เลยไม่อยากกลับไปโหมดนั้นอีก
ดังตฤณ : อย่างน้อยคุณเห็นชัดๆ แล้ว
จะมีโหมดของจิตอยู่จริง โหมดคิดฟุ้ง กับโหมดรู้ โหมดตื่นรู้ มีสติรู้
ถ้าหากว่าใครเข้าถึงโหมดที่มีสติรู้แล้ว
จะหวนกลับไปมองโหมดฟุ้งซ่านว่าเป็นโหมดไร้สาระ แก่นสาร โหมดสูญเปล่าของชีวิต
แล้วก็โหมดที่สิ้นเปลืองเวลาของชีวิต เหมือนคนที่ได้กินน้ำสะอาดแล้ว
ก็จะรู้สึกไม่อยากเสียท้องให้กับน้ำที่สกปรก ที่เจืออยู่ด้วยกลิ่นเน่าเหม็น
-
วันนี้หลักการที่ให้เอาไปทำดีมากครับ เดี๋ยวฟังซ้ำหลายๆรอบเลย
ดังตฤณ : เรื่องภายใน บางทีต้องฟังซ้ำ ต้องทบทวน
คล้ายกับเราทำความเข้าใจกับโลกภายในว่ามีลมหายใจ มีสภาพของจิต มีสภาพของอารมณ์
ตอนแรกๆ
ก็จะยาก แต่พอทบทวนไปบ่อยๆ ทบทวนไปจนเข้าใจ เราจะรู้สึกว่าขึ้นใจ แล้วก็เห็นว่า
ความอยากในตัวตน สามารถสงบลงได้ เมื่อขันธ์ 5 เริ่มรู้ตัวว่าเป็นขันธ์ 5 จริงๆ
แล้วพอได้ทิศทางอย่างชัดเจน ก็เอาไปทำต่อได้ เอาไปต่อยอดได้เป็นภาวะปัจจุบัน
ไม่ใช่ว่าเราจะต้องจำเอาเทคนิคตรงนี้
ไประลึกอยู่ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ไม่ใช่นะ แต่เอาเป็นตัวตั้ง
เป็นทิศทางที่จะให้เข้าใจว่า เวลาเราดูเข้ามาในกายใจ
จะให้เห็นด้วยความรู้สึกประมาณไหน
ถ้าอย่างเกิดความรู้สึกอยากได้มรรคผลขึ้นมา
จะแตกต่างอย่างชัดเจนทันที จะมีข้อเปรียบเทียบ แบบว่าขาวกับดำเลยนะ
อย่างแจ่มแจ้งชัดเจนเลยว่า แบบนี้ไม่ใช่แล้ว จิตแบบนี้ เป็นจิตเพื่อตัวตนแล้ว
จิตเพื่อที่จะส่งเสริมอัตตา หรืออุปาทาน ให้หนาแน่นขึ้น
ตัวเราจะได้มรรคผล
ตัวฉันจะได้ไม่น้อยหน้า ตัวฉันจะได้ไล่ทันคนอื่นเขาเสียที อะไรแบบนี้
จะเป็นโหมดของจิตแบบฟุ้งซ่าน โหมดของจิตแบบมีตัวตนผู้ปฏิบัติ
โหมดที่จะทำให้ภวตัณหาเจริญงอกเงยขึ้นมา
แต่ถ้าหากว่าเราได้ทิศได้ทาง
สงบจากตัวตน มีแต่ขันธ์ เห็นขันธ์ แบบนี้พอเราได้รู้จักแล้ว แล้วก็ทบทวนบ่อยๆ
เวลาเกิดขึ้นจริง เวลาลงสนามจริง ก็จะได้เห็นว่า อ้อ
ตอนนี้เราอยู่ในโหมดขันธ์เห็นขันธ์
ไม่ใช่โหมดตัวตนอยากให้ขันธ์บรรลุธรรมอะไรขึ้นมา
นี่แหละ
คือ point ของคืนนี้นะครับ
-
เย็นฉ่ำกว่าเดิมเลยค่ะ จากเดิมความปีติได้แค่จมูกและคอ วันนี้รู้สึกไปถึงในอกเลยค่ะนิ่งมากขึ้น
ลมหายใจไม่กระตุกค่อยๆเข้าค่อยๆออก เข้าใจข้นธ์มากขึ้น
แต่ยังรู้สึกว่าตัวเรายังเป็นคนมองเห็นข้นธ์ห้าที่คุณตุลย์อธิบายอยู่ค่ะโดยรวมแล้วดีขึ้นมากเลยค่ะ
สาธุค่ะ
ดังตฤณ : ที่ดีขึ้นมาก
หมายความว่าเขยิบไปในทิศทางที่จะให้กายใจนี่ เป็นขันธ์เห็นขันธ์ด้วย
อย่างเวลาเราอยู่ในทิศทางเดียวกันแบบนี้
แล้วมีความรู้สึกว่า มีคนกลุ่มหนึ่ง เห็นไปอย่างนั้นได้จริงๆ ไม่ได้เอาหน้าตา
เอาใครมาหลอกลวงกัน ก็เกิดการย้อนมามองเห็นตัวเองว่า ตัวเองอยู่ตรงไหน
แล้วก็กำลังเขยิบไปในทิศทางแบบใด
แต่ละครั้งที่ทำโพลกัน
ไม่มีนะ ที่จะมาประกวดประขันกัน แต่มีให้เพื่อย้อนกลับมาสำรวจดูนะครับ
อย่างเข้าอกเข้าใจ และเห็นภาพรวมว่าตัวเองกำลังอยู่ตรงไหนนะ
นี่ก็เป็นเรื่องน่าอนุโมทนาที่คืบหน้ามาได้นะครับ
-
เห็นว่าจิตว่างไม่มีตัวตน แต่ยังรู้สึกว่าเรามองอยู่ค่ะ
ดังตฤณ : ตรงที่รู้สึกว่าเรามองอยู่
ตรงนั้นเป็นลักษณะของจิตที่ยังไม่เข้าถึงสมาธิที่เป็นอัตโนมัติ
ตรงนี้
ที่เราพูดกันว่า สมาธิแบบพุทธ หรือสัมมาสมาธิเป็นอย่างไร ก็ตรงนี้แหละ
จิตเห็นออกมาจากความรู้สึกว่างจากตัวตน แล้วก็จิตรู้ตัวเองว่า
ตัวเองเป็นวิญญาณขันธ์ ไม่มีใครที่เป็นผู้จ้องมองขันธ์ 5 อยู่
ตรงนี้
อย่างน้อยเรามาถึงช่วงคาบเกี่ยวแล้ว ระหว่างมีตัวตน ผู้ดูอยู่ชัดๆ เลย
อยู่ที่ข้างล่าง มีตัวตนอยู่แน่ๆ ฉันยังมีอยู่แน่ๆ
กับข้างบนเลยที่เขาไปถึงตรงสัมมาสมาธิ ที่จิตมีความเป็นสมาธิ เป็นปกติ
แล้วก็รู้อยู่ว่าตัวเองเป็นวิญญาณขันธ์ ดูขันธ์ 5 อยู่
นี่เราอยู่ตรงกลาง
ระหว่างจุดล่าง กับจุดบน ตอนนี้เราเคลื่อนมาถึงจุดที่มีความสงบ
รู้สึกว่าจิตว่างไม่มีตัวตน แต่ยังมีผู้จ้องดูอยู่ ซึ่งผู้จ้องดูตรงนี้
ก็คือสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าเราเห็นบ่อยๆ ว่านี่คือสังขารขันธ์
คือไม่ไปแคร์ว่ายังมีตัวตนอยู่ แย่จัง ไม่ไปแคร์แบบนั้น แต่แคร์ว่า เราเข้าใจไหม
เราเห็นไหม ว่านั่นคือสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
ถ้าเราเข้าถึง
แล้วก็เข้าใจจริงๆ ว่านั่นคือสังขารขันธ์ .. สังขารขันธ์จะสงบลงโดยตัวของมันเอง
มันจะแสดงความไม่เที่ยงออกมาในรูปของการที่รู้สึกว่า ตัวตนเบาบางลง ผู้จ้องเบาบางลงๆ
จนกระทั่งไม่เหลือผู้จ้องเลย มีแต่จิต ที่เป็นวิญญาณขันธ์
สักแต่เห็นว่ากายใจนี้คือขันธ์ 5
ตัวนี้แหละที่เราต้องการ
-
ปรกติเวลาเจออาการยึดอุปาทานขันธ์ในจิตผู้รู้ จะรู้สึกเหมือนเป็นยางเหนียว
จิตจะมีลักษณ์
"ดึงยางให้ขาด" โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เลยว่าจะดึงให้ขาดเพื่อ
"ตัวเอง" อีกตัวพอเปลี่ยนมุมมองให้มองเป็นอีกขันธ์หนึ่ง
จิตมันย้อนกลับ เลิกดึงตัวตนกลางจิตที่เกิดจากการยึดตัวผู้รู้สลายไป
กลายเป็นความว่างที่ละเอียดปลอดตัวตน
ดังตฤณ : นี่คือแม่นในหลักการด้วย
แล้วพอจิตมีความตั้งมั่น รู้สภาวะจริงๆ ด้วย แล้วก็อธิบายเก่ง นี่ก็จะเป็นประโยชน์กับพระศาสนาต่อไปนะ
-
วันนี้ท่าแรกฟุ้งค่อนข้างมาก จิตก็ไหลเข้าไปตามเรื่องที่คิด พอท่าที่2 ยังมีความคิดจรมาอยู่แต่น้อยลงมาก
ส่วนที่พิจารณาสังขาร ยังไม่เห็นตามค่ะ
ดังตฤณ : อย่างน้อย เราทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า
เรื่องที่คิด หรือว่าอาการที่จิตเข้าไปในสิ่งที่คิด
อย่างนี้เรียกว่าเป็นการปรุงแต่งของจิตชนิดหนึ่ง เป็นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
รู้แค่นี้ก่อน
การรู้แค่นี้
ประกอบกับของจริงที่เราเห็น อย่างเช่น
ใช้คำว่าจิตไหลเข้าไปเกาะอยู่กับเรื่องที่คิด หรือตามเรื่องที่คิด พอเห็นบ่อยๆ
ว่านี่คือสังขารขันธ์ นี่คือการปรุงแต่งจิตชนิดหนึ่ง
ลักษณะของการปรุงแต่งใจให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจความคิด
ในที่สุด
จิตก็เหมือนกับเกิดสมาธิ ตอนเกิดสมาธิเห็นขันธ์ 5 ก็คือจิตว่างโปร่ง สบาย
มีความรู้สึกว่าเหมือนกับไม่มีตัวที่เป็นตัวเดิม ที่เป็นก้อนตันๆ
มีแต่ความปลอดโปร่งของจิตเป็นที่ตั้ง ในการรับรู้
ตัวนี้แหละ
ที่จะค่อยๆ คืบหน้าไป แล้วก็เจริญในทิศทางที่จะให้กายใจนี้ กลายเป็นขันธ์ 5
ที่รู้ตัวว่าเป็นขันธ์ 5 ไม่ใช่มีผู้ใดผู้หนึ่งดูตัวขันธ์ 5 อยู่นะครับ
ของคุณก็เห็นแล้วนะ
ว่าตอนแรกๆ เราอาจรู้สึกได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ตอนนี้ คือเริ่มได้แล้ว
เริ่มอยู่ตัวบ้างแล้วนะ
-
รู้สึกร่างกายกลวงๆ มโนภาพตัวตนเหมือนหายไปครับ
ดังตฤณ : ที่รู้สึกกลวง ขอให้จำไว้นะ
เป็นสภาพหนึ่งของจิต
คุณจะรู้สึกว่าร่างกายหาย
กลายเป็นอากาศว่าง หรือจะรู้สึกว่า ที่เป็นตันๆ อยู่อะไรนี่ กลวงไป มันทะลุทะลวง
หรือกายเป็นแก้ว หรือกายปรากฏเป็นของใส ใจเหมือนกับอากาศว่าง หรืออะไรก็แล้วแต่
นั่นคือลักษณะหนึ่งของการปรุงแต่งจิต เป็นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
ที่ปรุงแต่งใจให้เห็นไปอย่างนั้น รู้สึกไปอย่างนั้น
พอเราไปแปะป้ายไว้นิดหนึ่งว่า
นี่เขาเรียกว่า สังขารขันธ์ ที่กลวงๆ อยู่นี่ เราจะได้มองได้
ว่าสังขารขันธ์ไม่เที่ยง
จะรู้สึกกลวงอยู่นานเป็นวันเป็นเดือนแค่ไหนก็ตาม
เดี๋ยวก็จะรู้สึกตันๆ ขึ้นมาเอง จะได้เห็นว่า สังขารขันธ์ ต่างไปเรื่อยๆ ไม่เที่ยง
______________________
รายการปฏบัติธรรมที่บ้าน ตอน ให้ขันธ์ 5
รู้ตัวว่าเป็นขันธ์ 5
ช่วงรวมฟีดแบคหลังทำโพลครั้งที่ 1
วันที่ 11 กันยายน 2564
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป :
https://www.youtube.com/watch?v=Ak6Pe6OgAWc&t=612s
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น