ดังตฤณ : ตรงที่มือไปประกบกันแล้วเรานิ่งอยู่ เป็นจังหวะที่ ตอนวาดมือแล้วไปประกบกันนี่ ผมตั้งใจให้เป็นการตัดตอน
คือคนปกติ เวลาที่หายใจนะ .. เอ้า
คุณลองนึกดูตอนที่คุณไม่ได้วาดมือ จะหายใจฟืดฟาดๆ
โดยที่ธรรมชาติทางกายยังไม่ทันจะเรียกร้องให้หายใจเข้าเลย
พอหายใจกันผิดจังหวะ ไม่มีทางเกิดสมาธิ
เพราะตัวอยากจะรู้ลม ตัวอยากจะกระชากลม มาขวางหมด มาขวางทางสมาธิ
เหมือนก้อนหินขวางทาง
ทีนี้เรามาเอาก้อนหินตรงนี้ออก
ด้วยการที่เราทำท่าไปเลย ให้รู้ไปเลยว่า ช่วงนี้ หายใจเข้าด้วยท้อง แล้วก็ช่วงนี้
หยุดลม คือเอาลมมากั๊กไว้ เป็นช่วงที่เราให้ลมไหลเข้าระลอกสุดท้ายนิดหนึ่ง
แล้วก็มาเก็บไว้ตอนที่มือค้างไว้ แล้วพอลดฝ่ามือลง ให้ระบายลมออก
อย่างนี้มีจังหวะจะโคนของการหายใจในอีกแบบหนึ่ง
ที่ทำให้เกิดสติ รับรู้ และมีความโน้มเอียงที่ร่างกายจะตอบสนอง
โดยการที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และเป็นอัตโนมัติมากขึ้น นี่คือจุดประสงค์นะครับ
ความสงสัย หรือว่าอกุศลจิต
หรืออะไรก็ตาม ถ้าจะเกิด ไม่เป็นไร ณ
จุดที่เราค้างนิ่งอยู่ด้วยความปลอดโปร่งใจจริงๆ นี่
ถ้าหากว่าจะผุดความคิดอะไรขึ้นมาก็ตาม จะเห็นถนัดว่าเป็นของแปลกปลอม แทรกเข้ามา
ในระหว่างความนิ่งสงบ
เห็นเป็นเรื่องดี อย่าเห็นเป็นเรื่องไม่ดีนะครับ
ของแปลกปลอม
ถ้าเข้ามาในจังหวะที่เรามีโอกาสจะเห็นได้ชัด
เห็นได้ถนัด ขอให้มาเถอะ จะได้แสดงความไม่เที่ยงให้เราดูง่ายๆ นะ
เวลานั่งทำสมาธิ และการหายใจตามปกติทั่วไป
ลมหายใจของเราจะเข้าออกสั้นยาวไม่เท่ากัน แต่ถ้าเรากำหนดจิต ให้รู้ลม
และด้วยการวาดมือ ท่าที่สอง จะมีการกลั้นลมหายใจตอนยกมือเหนือหัวก่อนผ่อนลมออก
จนคล้ายกับเรากำหนดลมแต่ละครั้งให้เท่ากัน หรือเรียกสั้นๆ ว่าเพ่ง อย่างนี้
เป็นสังขารขันธ์ที่เกิดจากการปรุงแต่ง มีความสงสัย หรือใจอกุศล หรือเปล่าคะ
ส่วนการฝึกวันนี้ สามารถกำหนดจิต ลม และมีสมาธิดีกว่าทุกๆ ครั้ง
เห็นนิมิตลมและเห็นเป็นซี่โครงกับลมหายใจเข้าออกค่ะ?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน มโนภาพตัวตน
vs. นิมิตสังขารขันธ์
ช่วง คำถาม - คำตอบ
วันที่ 18 กันยายน 2564
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป :https://www.youtube.com/watch?v=5BKfQGHhudQ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น