ดังตฤณ : ในแง่ของการที่กลั้นหายใจเก่ง หรือว่าหายใจได้ลึกขึ้น อะไรแบบนี้ ก็ช่วยได้ เหมือนกับคนเล่นโยคะ เหมือนกับคนเล่นยิมนาสติก เหมือนกับใครก็ตามที่ฝึกควบคุมลมหายใจ แม้แต่ร้องเพลง ก็มีการคอนโทรลให้ลมหายใจ ใช้งานลมหายใจตามสั่งได้
มีประโยชน์ทั้งนั้นแหละ
แต่ถ้าความสามารถในการหายใจ จะยาวจะสั้นแค่ไหนก็ตาม จะไม่มีประโยชน์ทันทีถ้าปราศจากความเข้าใจ
อันเป็นสัมมาทิฏฐิ ว่าเราจะรู้ลมหายใจโดยความเป็นของไม่เที่ยงอย่างไร
ขึ้นต้นมา เราต้องมีความเข้าใจนะ
ว่าเราจะรู้ลมหายใจไปจนกว่ากายจะสงบระงับ เป็นกายวิเวก
พอกายวิเวกเกิด ก็มีปีติ มีความสุขขึ้นมา มีปีติ
มีความสุข ก็มีอำนาจที่จะระงับความคิดฟุ้งซ่านได้
ตัวนี้ ที่เป็นอานาปานสติของจริง
จะโยงกันกับความเข้าใจเรื่องของการเห็นตัวเวทนา มีความเชื่อมโยงกับการเห็นสภาวะทางใจ
ฟุ้งซ่านไม่ฟุ้งซ่าน จิตตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นนะครับ
อย่างอานาปานสติสูตร แก่นก็คือ รู้กาย
มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก แล้วก็รู้เวทนา ว่ามีปีติอยู่ขณะกำลังหายใจเข้า
กำลังหายใจออก มีสุข ขณะหายใจเข้า หายใจออกอยู่
แล้วตรงนั้นก็จะสามารถรู้ได้เองว่า
สามารถระงับความฟุ้งซ่านได้
แล้วถ้าหากว่าระงับความฟุ้งซ่านได้
ก็มีความสามารถที่จะรู้ว่าจิตกำลังร่าเริงอยู่ เราจะตั้งจิตให้มั่น
ในขณะที่กำลังหายใจออก ในขณะที่กำลังหายใจเข้า
หายใจออก จิตตั้งมั่น หายใจเข้า จิตตั้งมั่น
สังเกตควบคู่กันกับลมหายใจเข้าออก
ซึ่งจะไปเก่งดำน้ำ หรือว่าจะไปเก่งการควบคุมลมหายใจมาจากการฝึกชนิดใดๆ ก็ตาม
ถ้าปราศจากความเข้าใจเหล่านี้ ก็ไม่เป็นอานาปานสติแล้วนะครับ
ถ้าคนที่ฝึกดำน้ำจะช่วยเรื่องการฝึกอานาปานสติไหมคะ?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน มโนภาพตัวตน
vs. นิมิตสังขารขันธ์
ช่วง คำถาม - คำตอบ
วันที่ 18 กันยายน 2564
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=7BI3P_6gVug
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น