ดังตฤณ : ผมไม่ค่อยเข้าใจคำถามนี้นะ อาจหมายความว่า ดีเกินไป หรือว่าดีเกินกว่าที่จะรับได้ หรือว่ากลัวจะติดดีอะไรแบบนี้
ผมขอตีความเป็นแบบนี้นะ ว่ากลัวจะติดดี
เราแค่มองว่า ตรงนั้นเป็นสังขารขันธ์ชนิดหนึ่ง
อย่ามองว่าเป็นอะไรที่เราทนไม่ได้ หรือเป็นอะไรที่แย่
เป็นอะไรที่เราต้องผ่านไปให้ได้
ทุกภาวะที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าคุณจะรู้สึกทนได้หรือทนไม่ได้ก็แล้วแต่ ล้วนแล้วแต่เป็นสังขารขันธ์ทั้งสิ้น
เมื่อเรามองเป็นสังขารขันธ์ จะเกิดข้อสังเกตที่แตกต่างไปจากเดิม
จะยึดว่ากลัวจังที่จะต้องเป็นแบบนี้ กลัวจะต้องเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ
จะเปลี่ยนใหม่ มองว่าถ้าเป็นสังขารขันธ์
แปลว่าเดี๋ยวจะต้องแสดงความไม่เที่ยงให้ดู ฉันจะดูไปอย่างนี้แหละ
ว่าแกจะแสดงความไม่เหมือนเดิมให้ฉันดูเมื่อไหร่
เห็นไหม แค่เราทำไว้ในใจต่างไป
มีความแยบคายในการมอง ในที่สุดแล้ว การปฏิบัติของเรา จะเข้าวิถีทางเดิม
จากที่กำลังจะเป๋ๆ ออกนอกทาง จะเข้าลู่เข้าทางเดิม
คือเห็นว่าที่เกิดขึ้น แค่สังขารขันธ์
เกิดขึ้นแสดงความไม่เที่ยงเท่านั้น
______________________
วันนี้ทำตาม ภาพรวมค่อนข้างรู้สึกดีนะครับ
แต่มีข้อสงสัยว่า หากเกิดความรู้สึกประเภท “ทนดีไม่ไหว”
เราควรแก้ปัญหานี้อย่างไรดีครับ?
รายการปฏบัติธรรมที่บ้าน ตอน ให้ขันธ์ 5
รู้ตัวว่าเป็นขันธ์ 5
ช่วงถาม-ตอบ
วันที่ 11 กันยายน 2564
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป :https://www.youtube.com/watch?v=qli4a-qNK5E
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น