วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

Q17ระหว่างพิจารณาไตรลักษณ์ และ ฝึกสมถสมาธิ ควรให้น้ำหนักอย่างไร

ดังตฤณ : อย่าตั้งโจทย์ไว้ว่า เราจะให้น้ำหนักกับตัวไหนมากกว่ากัน

แต่ให้สังเกตว่า ใจของเรา กำลังพร้อมจะรู้อะไรมากกว่ากัน

 

ถ้าหากว่ายังไม่พร้อมจะรู้อะไรเลย

คุณจำเป็นต้องฝึกให้จิต มีความพร้อมจะรู้เสียก่อน

จากนั้น พอมีความเข้าใจเรื่องวิตักกะ วิจาระ

ถ้าหากว่าวิตักกะ วิจาระเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว

อย่างนั้น ค่อยมีความพร้อมจะเอาไปใช้วิปัสสนา

 

คำแนะนำคือ ควรจะทำควบคู่กันไปเลยในช่วงเริ่มต้น เพื่อที่จะได้เกิดความเคยชิน ไม่อย่างนั้น ส่วนใหญ่พอทำสมถะได้เก่งแล้ว บางคนแช่อยู่อย่างนั้น แล้วก็มีความชินที่จะให้เกิดสุข เกิดความสบาย โดยที่ไม่เคลื่อนไปไหน

 

แล้วพอถึงจุดหนึ่ง คุณจะรู้สึกเหมือนกับว่า

พอติดอยู่กับความนิ่งๆ แบบนี้แล้ว ไม่รู้จะเคลื่อนไปอย่างไร

ตรงนี้อาจสายเกินไปนะ

 

เพราะฉะนั้น เริ่มฝึกควบคู่กันไปตั้งแต่เริ่มต้น

เพราะพอถึงจุดที่คุณทำสมถะได้เก่ง คุณจะไม่มีความหลงเพลินไป

แต่จะมีตัวกระตุ้นเตือนว่า นี่ นิ่งเกินไปแล้ว

เราต้องมารู้เสียหน่อยไหม มีความตื่นเสียหน่อยไหมว่า กำลังเกิดอะไรขึ้น

 

บางคน นั่งอยู่แบบนี้นะ ตอนแรก นั่งอยู่ท่าเดิมเลย

แล้วก็รู้เท่าเดิมเลย ลมหายใจกำลังผ่านเข้าผ่านออก

รู้อยู่ท่านั้น รู้แบบทื่อๆ ว่า ลมหายใจกำลังผ่านเข้าผ่านออก

 

แต่พอมีปัญญาแบบพุทธ บวกเข้ามา

จะรู้ว่าสิ่งที่กำลังผ่านเข้าผ่านออก

.. ด้วยประสบการณ์แบบเดียวกันเป๊ะเลย ..

จะมีความตื่นรู้ขึ้นมาว่า ที่กำลังผ่านเข้าผ่านออกอยู่คือ ธาตุลม

 

มีลักษณะพัดไหว พัดเข้ามาแป๊บหนึ่ง ก็ต้องผ่านออกไป

ตรงนี้แหละที่เป็นความต่าง ระหว่างสมถะกับวิปัสสนานะ

 

ถ้าสมถะได้ วิตักกะ วิจาระเต็มตัวแล้ว

แล้วบวกกับต้นทุนคือสัมมาทิฏฐิ มีปัญญา

พอที่จะเห็นว่าที่กำลังปรากฏชัดเด่นอยู่

เป็นภาวะที่ต้องเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

 

ตัวนี้กลายเป็นวิปัสสนาขึ้นมาทันที

____________________

ระหว่างที่เราไปใช้เวลาเพื่อให้เกิดปัญญาด้วยการพิจารณาสิ่งต่างๆว่าเป็นเพียงไตรลักษณ์กับขันธ์๕ และการฝึกสมาธิระดับสมถญาณควรให้น้ำหนักตัวไหนอย่างไรบ้างครับ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน มโนภาพตัวตน vs. นิมิตสังขารขันธ์

ช่วง คำถาม - คำตอบ

วันที่ 18 กันยายน 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=QrwtzFDCyA0

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น