วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

Q07ขอคำอธิบายเรื่องสังขารขันธ์ กรณีจิตไปแนบกับแกนบางอย่างที่มั่นคง

ดังตฤณ : ตรงที่รู้สึกว่า นิ่งๆ นั่นก็คือ สังขารขันธ์

ตรงที่รู้สึกว่า เราตั้งใจแนบเข้าไปกับลมหายใจ ตรงนั้นก็คือสังขารขันธ์

ตรงที่ลมหายใจนิ่งไป นั้นคือการหยุดชั่วคราวของ รูปขันธ์

 

ลมหายใจคือส่วนของ รูปขันธ์

ความตั้งใจคือส่วนของ นามขันธ์

 

เรารู้อยู่อย่างนี้ อย่าไปพะวง อย่าไปแคร์ว่ามันหยุดหรือไม่หยุด เอาเป็นแค่เราแยกแยะถูกว่าตอนที่เราตั้งใจให้เป็นอย่างไร อันนี้คือเรื่องของนามขันธ์

 

ตอนที่ลมหายใจเป็นอย่างไรของมันเอง อันนี้เป็นเรื่องของรูปขันธ์ ซึ่งไม่เที่ยงด้วยกันทั้งคู่

 

อย่างตอนที่เหมือนลมหายใจหยุด เราไม่ได้ตั้งใจให้มันหยุด เป็นเรื่องของรูปขันธ์ที่จะปรุงแต่งตัวเองของมันไป คงเข้าใจนะ

 

เราดูอย่างนี้ ให้อธิบายตัวเองได้ว่า กำลังปรากฏอะไรเด่น ระหว่างส่วนที่เป็นรูป หรือส่วนที่เป็นนาม

 

พอมีสติรู้ชัด ไม่สงสัย ก็จะได้เคลียร์แล้วไปต่อได้

 

ไปต่ออย่างไร ก็คือมีสติรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เกิดขึ้นแค่ไหนก็ตาม เกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม ในที่สุด มันจะไม่เหมือนเดิม เหมือนอย่างที่ลมหายใจมี เดี๋ยวบางทีมันก็หยุด หรือพอลมหายใจหยุด อย่างตอนนี้ ณ ขณะนี้ที่คุณกำลังฟังคำอธิบายอยู่ มันก็มาแล้ว

 

นี่แหละ ที่เรียกว่ารูปขันธ์ไม่เที่ยง พอเห็นไปเรื่อยๆ อย่างนี้ เราจะละความยึดติดของรูปขันธ์ได้

 

หรือ เจตนาที่จะดู เป็นวิตักกะ เป็นวิจาระ อย่างนี้ เราก็สามารถจะเห็นได้ว่ามันไม่เที่ยงเช่นกัน เราไม่สามารถรักษาวิตักกะ และวิจาระในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ได้ตลอดไป เดี๋ยวมันก็ต้องหายไป เสื่อมลงเป็นธรรมดานะครับ

____________________

หากจิตแนบไปกับลมหายใจ แล้วลมหายใจหายไปเลย และกายไม่หายใจด้วย จากนั้นจิตแนบไปกับแกนอะไรบางอย่างที่มั่นคงอยู่อย่างนั้น รบกวนอาจารย์เมตตาอธิบายเรื่องสังขารขันธ์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจด้วยค่ะ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน มโนภาพตัวตน vs. นิมิตสังขารขันธ์

ช่วง คำถาม - คำตอบ

วันที่ 18 กันยายน 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=ulNFknNedt0

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น