ดังตฤณวิสัชนา
ณ
ณัฐชญาคลินิก
ครั้งที่
๙
๑๔
กันยายน ๒๕๕๖
คำถามที่
๕
ผู้ถาม
: สวัสดีอาจารย์ตุลย์นะคะ
ก็ตอนนี้คนที่พยายามจะเจริญสติมือใหม่อยู่นะคะ
ก็ในชีวิตประจำวันนี่เท่าที่สังเกตตัวเองก็คือ
จะมีสติแล้วก็รู้ลักษณะของจิตใจของเราในช่วงเวลาที่ จะเป็นอย่างเช่น ทุกข์ สุข
ตกใจ กลัว โกรธ หรืออะไรอย่างนี้นะคะ แต่ว่าจริงๆแล้วนี่ในชีวิตประจำวันเรา
เราจะมีช่วงเวลาที่มันนิ่งๆ ทำงานแล้วต้องโฟกัสค่อนข้างเยอะกว่า
แล้วก็รวมจนถึงตอนใกล้จะนอนอย่างนี้น่ะค่ะ
ก็อยากจะขอคำแนะนำจากอาจารย์ตุลย์นิดหนึ่งว่า
เราจะมีวิธีที่จะมีสติตามดูให้ได้อย่างไรให้มากขึ้นในชีวิตประจำวันน่ะค่ะ
ก่อนอื่นเลิกตั้งเป้าไว้แบบนี้นะ
คนส่วนใหญ่นี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศฆราวาสนี่
ขืนไปตั้งเป้าว่าเราจะเจริญสติเป็นหลัก
มันจะกลายเป็นไปบังคับตัวเองให้ทำงานสองอย่างพร้อมกัน แล้วมันหนักทั้งคู่
ทั้งทางโลกและทางธรรม
เป้าที่ถูกต้องคือเราจะทำเท่าที่จะทำได้
เราให้มันค่อยๆเจริญขึ้น เห็นมันเจริญขึ้นวันต่อวัน เดือนต่อเดือน ปีต่อปี
ด้วยความรู้สึกไม่มีอาการรอ ไม่มีอาการคาดหวัง
คืออย่างถ้าบวชเป็นพระบวชเป็นชีเลยนี่ มันจะมีเวลาเต็มที่ ถ้าวัตรปฏิบัติดีๆนะ
ว่าตกลงกันตั้งแต่วันบวชว่านี่ที่บวชเข้ามาไม่ได้หวังอะไรอย่างอื่นนะ
มาทำมรรคผลนิพพานให้แจ้งอย่างเดียว หน้าที่มีอย่างเดียว หน้าที่หลักที่เป็น Priority ที่เป็น Major จริงๆนี่มันคือการพยายามทำมรรคผลนิพพานให้แจ้ง
เพราะฉะนั้นตามลักษณะท่าทาง ลักษณะการทำงานแบบพระที่แท้จริงนี่
ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมา พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้คือการนั่งสมาธิสลับกับการเดินจงกรม เดิน
นั่ง พอเดินเสร็จมานั่ง มานั่งเสร็จก็กลับไปเดินใหม่
พระบางรูปที่พระพุทธเจ้าท่านยกย่องว่าขยัน ท่านเดินจงกรม
นั่งสมาธิสลับกันวันละเกือบ 20 ชั่วโมง เกือบ 20 ชั่วโมงนะ คือคำนวณเอาจากที่ท่านพูดถึงยาม ยามต้น ยามปลาย
ยามกลางอะไรต่อมิอะไรนี่นะ มันเกือบ 20 ชั่วโมง ทำงานหนักมาก
แต่หนักแบบพระ คือทำงานในแบบที่ว่าจิตใจจะไม่ไปข้องเกี่ยวกับสิ่งยั่วยวน
หรือว่าสิ่งที่มันจะมารบกวนให้เราไข้วเขว
ฉะนั้นการเจริญสติของพวกท่านมันจะอยู่ในขอบเขตกายใจอยู่ตลอดเวลา
ทั้งเดินทั้งนั่งสลับกัน คือไม่ได้มาเดินจงกรมกันในแบบสักแต่เดินนะ ท่านเจริญสติจริงๆ
รู้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น ภายในขอบเขตการเคลื่นไหวของร่างกายนี้
แล้วก็เกิดความเคลื่นไหวทางใจแบบไหนขึ้นในแต่ละขณะ
แบบนั้นเรียกว่าการเจริญสติเต็มพิกัด แบบนั้นนี่มันหวังผลได้
ว่าสติจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ บางคนถึงบรรลุธรรมภายในเจ็ดวัน บางคนภายในเจ็ดเดือน
บางคนภายในเจ็ดปี เป็นเพราะว่าท่านได้ทำกันเต็มที่ ไม่มีสิ่งรบกวนภายนอก
เข้ามาทำให้ไขว้เขว แต่ของเรานี่ ดูอย่างง่ายๆนะ พอเหมือนกับเราต้อง
นี่เป็นหมอหรือเปล่านี่
ผู้ถาม
: ไม่ใช่ค่ะ ทำธุรกิจส่วนตัวค่ะ
นี่คนเมื่อกี้บอกเป็นหมอใช่ไหม
มาด้วยกันใช่ไหม แต่ไม่ใช่หมอนะ คือเหมือนกับเราต้องพยายามที่จะทำอะไรให้ถูกต้อง
ทำอะไรให้มันตรงกับเวลาอะไรทำนองนี้ คือจิตของเรามันจะออกแนวนั้น ออกแนวแบบว่า เออ! ทำให้เป๊ะ ทำให้เสร็จ ทำให้ดี แล้วก็เหมือนกับถ้าไม่เสร็จ
หรือว่าไม่ดีตามที่เราตั้งใจนี่ จิตของเรามันจะไม่หยุดฟุ้งซ่าน มันคล้ายๆกับจะมีอาการฝืนตัวเองอยู่ตลอดเวลา
เข้าใจไหม อาการฝืนตรงนั้นมันมีลักษณะหนาแน่นของอารมณ์ๆหนึ่ง คือความปั่นป่วน
ความยุ่งเหยิงทางใจที่มันไม่หยุดคิด
ทีนี้เราไปมองว่า
อารมณ์แบบนั้นนี่มันไม่ใช่สติ มันเป็นสิ่งที่ โดยคำนิยามนี่ว่าเราสติอ่อน
แล้วก็เผลอนาน แต่ที่ถูกก็คือว่าในฐานะของฆราวาสมันต้องมีความยุ่งเหยิงแบบนั้นเป็นธรรมดา
นี่คือมุมมองที่ถูกต้องแล้วนะ เริ่มเข้าสู่มุมมองที่ถูกต้อง
แล้วไอ้ความยุ่งเหยิงนั้น
เมื่อเกิดขึ้นเราสามารถสังเกตได้เรื่อยๆว่ามันไม่เท่าเดิม ในโอกาส
ในจังหวะที่มันเหมาะสม ในเวลาที่เราไม่ต้องไปหันหน้าเข้าไปหางาน
ในเวลาที่เราเปลี่ยนอิริยาบถไปเข้าห้องน้ำ ไปเข้าห้องครัว
ไปดื่มนั่นดื่มนี่อะไรอย่างนี้ ไปพักผ่อน
เราสามารถสังเกตได้ว่านี่มันหนาแน่นมาแค่ไหนแล้ว หายใจทีก็สังเกตที
หายใจอีกทีแล้วดูว่ามันแตกต่างไปไหม นี่เรียกว่าเจริญสติแบบฆราวาส มันไม่ใช่ไปเจริญสติในลักษณะของความคาดหวังว่าสติของเราจะต่อเนื่องเป็นพืด
เห็นไหมนี่คือมุมมองที่ถูกต้องซึ่งปฏิบัติได้จริง
แล้วก็มันจะก้าวหน้าโดยวัดจากอาการที่ว่าเราสามารถยอมรับตามจริงว่าอารมณ์ฟุ้งซ่าน
อารมณ์ที่มันปั่นป่วนนั่นมันกำลังแสดงความไม่เที่ยงให้ดูอยู่เป็นทีละลมหายใจ
ในจังหวะที่เรามีเวลาดู นี่ตรงนี้คือมันจะหมดความรู้สึกอยากที่มันผิดทาง
หมดความคาดหวังที่มันเป็นไปไม่ได้ พอหมดความคาดหวังที่มันเป็นไปไม่ได้ปุ๊บ
มันกลายเป็นการปฏิบัติจริงแล้วก็กลายเป็นการรู้จริง
กลายเป็นการรู้สึกว่ายอมรับได้แค่นี้พอแล้ว แล้วเวลาที่สติเจริญขึ้นนี่มันไม่ใช่แค่ว่าเราเห็นแล้วก็ยอมรับได้เป็นขณะๆว่าฟุ้งซ่านมากฟุ้งซ่านน้อย
มันจะเจริญขึ้นในแบบที่ว่าจิตใจของเรานี่ไม่ไปหมกมุ่น
บางที่ของเรายังหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตกค้าง หรือว่า
ไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัวหรือว่าเรื่องหน้าที่การงาน พอหมกมุ่น นึกออกไหม
มันจะรู้สึกเจริญสติไม่ออก มันไม่รู้ว่าสติอยู่ตรงไหนแล้ว
แต่เมื่อเรามีความสามารถยอมรับมความไม่เที่ยงของอาการฟุ้งซ่านได้
มันจะเหมือนใจห่างออกมาจากอาการฟุ้งซ่าน
เหมือนกับไอ้อาการหมกมุ่นทั้งหลายนี่เป็นแค่ของหลอกๆ
เหมือนแค่การปรุงแต่งจิตที่มันผุดขึ้นมา มันมาหลอกใจเรามันมาล่อใจเรา
ตอนนี้มันไม่เหมือนอย่างนั้น มันเหมือนเป็นตัวเรา
เหมือนกับอาการหมกมุ่นนั่นแหละเป็นตัวเราเองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
หลีกอะไรคนทั้งโลกนี่ยังหลีกเลี่ยงได้ หนีได้
แต่หลีกเลี่ยงตัวเราเองนี่มันเป็นไปไม่ได้เลย
ทีนี้พอแต่ก่อนเรามองว่าความหมกมุ่นนั้นเป็นตัวเรา
มันก็หมกมุ่นอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็หาทางออกไม่เจอ
แต่เมื่อมีความสามารถในการยอมรับตามจริงเป็นขณะๆว่าฟุ้งซ่านมากฟุ้งซ่านน้อย
แต่ละลมหายใจไม่เท่ากัน ในที่สุดพอเริ่มเกิดอาการหมกมุ่น
ความหมกมุ่นก่อตัวขึ้นมานี่เราจะรู้สึก คือรู้สึกเองไม่ใช่บังคับให้รู้สึกนะ
ไม่ใช่ไปตั้งใจมองให้มันเป็นอย่างนั้นนะ
จะรู้สึกขึ้นมาเองว่าอาการหมกมุ่นมันก่อตัวขึ้นมา จากความไม่มีอะไรเลย
คือจิตมันไปประหวัดนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ไปตรึกนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมา เสร็จแล้วความหมกมุ่นนั้นมันก็ก่อตัว
ทำให้ใจเราเป็นทุกข์ บางทีมันอารมณ์แบบว่า พูดกันไม่รู้เรื่องไม่จบหละ
อะไรแบบนี้นะ
แล้วบางที
คือของเราจะเป็นพวกที่ว่ามีความรู้สึกว่าตัวเองมีเหตุผลแล้ว
คือไม่ใช่แบบผู้หญิงที่ใช้แต่อารมณ์อะไรทำนองนี้
แล้วข้ออ้างตรงนี้มันจะมีแรงดันให้เรารู้สึกว่า ไม่ได้ ต้องพูดให้จบ ต้องคุยกันให้รู้เรื่อง
แล้วฉันจะพยายามทำความเข้าใจ แต่จริงๆแล้วข้างในมันยังแบบเดียวกับคนทั่วไป
ที่พอหมกมุ่นแล้วมันพร้อมที่จะทำความเข้าใจก็จริง
แต่อีกอารมณ์หนึ่งนี่มันมีอารมณ์ไม่ยอมอยู่ข้างในลึกๆ พอจะนึกออกไหม
บางทีเราเข้าใจแล้วมันหมือนจบนะ แต่บางทีไอ้ความไม่พอใจ ยังไม่ได้อย่างใจนี่มันก็ยังคาอยู่
ทีนี้ถ้ามองโดยอาการที่ว่าไปนี่
แล้วเรารู้สึกว่าอารมณ์ฟุ้งซ่านจริงๆแล้วมันมีให้ดูว่าไม่เที่ยง ทุกอย่างจะต่างไป
สมมติว่าพูดจบ เจรจาจบไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัวหรือว่าเรื่องทางธุรกิจนี่นะ
มันจะไม่มีความคาใจเหลืออยู่แต่ไม่ใช่ไปตั้งใจให้มันไม่คาใจนะ มันไม่คาใจเอง
เข้าใจพ้อยท์นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น