วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ควรวางใจอย่างไรในการทำบุญด้วยเงินจำนวนเล็กน้อย

 

แอดมิน : อยากแบ่งปันประสบการณ์ที่เคยได้รับฟีดแบค เวลาคนที่บริจาคเข้ามาด้วยจำนวนเงินน้อยๆ ค่ะ

 

ดังตฤณ : นี่คือเป็นเจ้าหน้าที่เป็นทีมงานโดยตรงนะ เพราะฉะนั้นประสบการณ์มีมากกว่าผมอีกนะ เชิญเล่าเลยครับ

 

แอดมิน : คือบางทีก็จะมีคนส่งสลิปมาให้ดูในไลน์ (หมายเหตุ : @BuranaBuddha – ไลน์ของมูลนิธิ) ให้เราอนุโมทนาหรือแจ้งว่าได้ร่วมทำบุญกับมูลนิธิ

 

แล้วเท่าที่สังเกตมา หรือได้รับข้อมูลมาเป็นระยะๆ เรื่อยๆ ก็จะส่งมาด้วยจำนวนเงินน้อย แล้วก็จะพิมพ์มา บรรยายมาบอกว่า อยากร่วมบุญมากเลย  แต่ว่ามีเงินแค่นี้ ขอบริจาคเท่านี้ เหมือนกระมิดกระเมี้ยน

 

แต่รู้สึกเลยว่าเขามีความตั้งใจมาก แล้วก็อยากร่วมกับมูลนิธิ แต่อาจจะแบบเขินๆ หรือไม่ก็รู้สึกว่าเขามีกำลังแค่นี้

 

ดังตฤณ : เรื่องนี้เราคุยกันมาตลอดเลยนะ ว่าแบบนี้เราชอบนะ ที่มาน้อย มาทีละน้อยแล้วไม่มีใครเดือดร้อน มีแต่คนได้ความสุขนี่ เราชอบมากเลย

 

แอดมิน : เท่าที่อ่าน รู้สึกเลยว่า ใจเขาเต็มจริงๆ ค่ะ เลยอยากให้พี่ตุลย์ บอกวิธีวางใจ สำหรับคนที่บริจาคด้วยเงินจำนวนน้อย เพราะอาจจะด้วยความที่เขาไม่พร้อม แต่คิดว่าใจเขาเต็มมากเลยค่ะ

 

ดังตฤณ : ที่ผ่านมา ในเมืองไทยเราเนื่องจากว่า คนที่เสียงดัง คนที่เป็น เหมือนกับผู้นำทางความคิดชาวพุทธ เข้าไปใส่ข้อมูลไว้ว่า ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย

 

แล้วคนไทยเรา ก็ติดอยู่กับความรู้สึกแบบนี้มานาน คืออยู่ในความรู้สึกทั่วๆ ไป ที่เป็นคอมมอนเซนส์ของคนส่วนใหญ่อยู่ก่อน คือ ทำมากก็ต้องได้มากสิ ทำน้อยก็สมควรจะได้รับอะไรน้อยๆ

มีความรู้สึกเทียบหน้าเทียบตา เทียบบารมีกันเป็นจำนวนเงิน ก็เลยเหมือนกับวิธีคิด หรือว่าความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ทาน วิปริตผิดเพี้ยนกันไปหมด

 

พระพุทธเจ้าตรัสอย่างชัดเจนนะครับ

แม้กระทั่งว่าเรายืนล้างจานอยู่ แล้วสาดน้ำในจานลงบ่อด้วยความคิดว่า เศษอาหารที่ติดค้างอยู่ที่จานนี่ จงได้แก่สัตว์ที่อยู่ในน้ำ ให้ได้อิ่มหนำสำราญ

แค่นี้ได้บุญแล้ว พระพุทธเจ้าแปลว่า นี้เป็นเหตุ นี้เป็นทางมาแห่งบุญแล้ว

 

แตกต่างกันนะ กับอีกคนที่ล้างจาน ยืนอยู่ด้วยกันเลย แล้วสาดน้ำเฉยๆ ลงบ่อน้ำเหมือนกัน แต่นี่ไม่ได้บุญ เพราะเขาไม่ได้คิดอะไร แค่สาดน้ำเสียลงบ่อน้ำ

อีกคนหนึ่ง สาดน้ำเหมือนกัน แค่คิดว่าจงได้แก่สัตว์ที่อยู่ในน้ำเถิด แค่นี้ได้บุญแล้ว

 

ทีนี้ แค่เรามาทำความเข้าใจจากจุดนี้ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส เกี่ยวกับเรื่องของว่า ได้บุญหรือไม่ได้บุญอยู่ที่ใจ

 

เหมือนกัน เงินแค่ไม่กี่บาทก็จริง แต่ที่ชอบพูดกันมาว่า เงินน้อย ขอโทษออกมาจากใจเลย กลัวเรา (มูลนิธิ) จะรู้สึกว่า เงินแค่นี้ให้มาได้ ยี่สิบบาทอย่าให้เลย ..

ไปนึกถึงประสบการณ์ที่อาจจะเคยเจอมา อาจจะเคยโดนมา

 

พวกเราไม่ใช่แบบนั้นนะ พวกเรานี่ชอบเลย ยิ้มรับเลยว่า ห้าบาท สิบบาทยี่สิบบาทนี่ เป็นเงินที่ไม่มีใครเดือดร้อน เราจะสบายใจมากว่า เงินที่ได้มาก้อนนี้ ส่วนนี้นี่นะ ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ใคร

มีแต่มารวมกัน มาประกอบร่างกัน กับเงินก้อนอื่นๆ ที่เป็นเงินก้อนเล็กๆเหมือนกัน กลายเป็นก้อนใหญ่ขึ้นมา

 

ขอให้ดูคลิปแต่ละคลิปในวันอาทิตย์ ช่วงนี้อาจเน้นเจาะน้ำบาดาลหน่อย แต่บางที ก็มีถวายตู้พระไตรปิฎกบ้าง สร้างพระประธานบ้างอะไรแบบนี้

 

เหล่านี้นี่ ขอให้นึกว่า เป็นเจดีย์ทองคำ ที่สร้างสำเร็จในแต่ละสัปดาห์

 

ถามว่า ใครเป็นเจ้าของเจดีย์

เงิน หรือว่าทองคำ ที่มาประกอบร่างขึ้นเป็นเจดีย์นี่เป็นของใคร

 

ไม่ใช่ของผม ไม่ใช่ของทีมงาน แต่มาจากเงินห้าบาทสิบบาทเยอะๆ ของท่านทั้งหลายนี่แหละ

 

มูลนิธิบูรณพุทธ ทั้งโดยปรัชญานะ พื้นฐานที่เป็นเบสิคที่ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาเป็นมูลนิธิ แล้วก็ทั้งความเป็นจริง ทั้งข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เป็นการประกอบร่างของเงินจำนวนห้าบาทสิบบาท ขึ้นมาเป็นเงินหมื่นเงินแสน

 

ที่ขุดเจาะน้ำบาดาลนี่ บางบ่อหกหมื่น บางบ่อสองแสน บางบ่อสามแสนขึ้นอยู่กับความยากง่ายนะ แล้วขึ้นอยู่กับช่างที่อยู่ประจำพื้นที่ว่าเขาจะขอเท่าไหร่

 

ตรงนี้ ขอให้จำไว้เลย จำไว้ที่นี่ นาทีนี้เลยว่า มาจากเงินห้าบาทสิบบาท จำนวนมาก

 

ผมเห็นตัวเลขมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ เพราะฉะนั้น จะพูดได้เต็มปากเลยนะ หลักร้อย หลักพัน หรือหลักสิบ เป็นส่วนใหญ่

 

เพราะฉะนั้นขอว่า อย่าคิดว่าเงินของคุณเป็นเงินน้อย

 

ขอให้คิดว่า เงินของคุณคืออิฐทองคำ ก้อนหนึ่ง ที่มาร่วมกันกับอิฐทองคำก้อนอื่นๆ ร่วมกันประกอบร่างจนกระทั่งเกิดเจดีย์ทองคำสำเร็จขึ้นมา เป็นเจดีย์มหาทานที่เราทำทานร่วมกันจริงๆ

 

มีคนในเฟสบุ๊คบอกว่าปลดล็อกเรื่องทำบุญเลยค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

 

จริงๆ พูดเป็นระยะๆ นะเพราะว่ามีท่านที่บริจาคหน้าใหม่ เข้ามาเรื่อยๆ แล้วก็รู้สึกอย่างนี้จริงๆ ตะขิดตะขวงใจ รู้สึกเขินๆ รู้สึกอาย จริงๆ ห้าบาทสิบบาทให้มาเฉยๆ นี่ก็ไม่มีใครรู้นะ แต่ว่าต้องขอออกตัวหน่อย อย่างพวกที่เขาเป็นเหมือนกับประตูรับนี่นะ เป็นตู้รับนี่ พวกนี้จะรู้ แล้วก็ได้รับคำถามหรือว่าได้ฟีดแบ็คเป็นประจำนะว่าความรู้สึกทางใจเป็นอย่างไรนะวันนี้มาเคลียร์ให้โล่งกันไปเลย

 

แอดมิน 2 : ขออนุญาตพูดในฐานะของผู้บริจาค ทั้งที่เคยเป็นเจ้าภาพ แล้วก็เคยบริจาคเงินก้อนเล็กๆ นะคะ

 

คือจะบอกว่าไม่ได้แกล้งโลกสวย หรือว่าอย่างไร แต่ความสุขจากการเป็นผู้ให้ก้อนใหญ่ กับการเป็นผู้ให้ก้อนเล็กนี่ ถ้าเทียบปริมาณจะไม่ต่างกันเลย จะเท่าจริงๆ เพียงแต่ว่าเป็นคนละแบบ

 

อย่างการที่เป็นเจ้าภาพในการทำบุญอะไรนี่ ก็คือเราจะรู้สึกว่าเราทำให้ที่เขาไม่มี สำเร็จ อย่างเช่นขุดเจาะน้ำบาดาลเรารู้สึกว่าเราเป็นกำลังหลักที่ทำให้วัดที่เขาไม่มี น้ำบาดาลไม่มีน้ำใช้ แล้วอีกจุดก็คือว่าเหมือนเราได้เป็นคนเปิดประตูให้กับคนที่บริจาคก้อนเล็กๆ ได้แบบเดินเข้ามาด้วยกัน เป็นบุญสามัคคีที่ทำด้วยกันอันนี้ก็เป็นความสุขของคนที่เป็นเจ้าภาพหลัก อนึ่งค่ะ

 

ส่วนการที่เป็นผู้บริจาครายย่อยไปนี้ พูดตามตรงเลยว่าเลียนแบบผู้บริจาคที่บริจาคครั้งละห้าบาทสิบบาทเพราะว่าอยากรู้ว่า ทำไมขยันทำแบบห้าบาทสิบบาทจะได้ความรู้สึกเป็นอย่างไร พอเห็นคนทำหลายๆคน ก็เลยไหนลองทำดูบ้าง แล้วก็ตั้งเป้าเอาไว้ว่าทุกวัน ทำมาได้ประมาณจะเดือนหนึ่งแล้วค่ะ ทุกวันจะบริจาคเงินก้อนเล็กๆ ซึ่งความรู้สึกในใจที่บอกว่า ไม่ต่างกับการเป็นเจ้าภาพหลัก ก็คือว่า เหมือนกับว่าเรามีความสุขใจในทุกๆ วัน เรามองไปที่กองบุญไหนนี่ เราก็รู้สึกว่ากองบุญก้อนนั้น มีเงินก้อนน้อยของเรานี่แปะอยู่ เรามีส่วน

 

อย่างบอกว่าวัดนี้ขาดสุขา พอสร้างสุขาเสร็จ เราก็รู้สึกว่าเงินของเราก็มีประโยชน์ในการสร้างสุขาที่นี่ หรือว่าเด็กคนนี้ เด็กยากจนกลุ่มนี้ก็ไม่มีกินเราก็รู้สึกว่า เราก็ได้ช่วยทำให้คนกลุ่มนี้ก็มีกินเหมือนกันนะ คือมองไปทางไหนนี่ถึงแม้ว่าจะเป็นเงินก้อนเล็กๆแต่ได้ความกว้าง มองไปทางไหนก็เป็นความชื่นตาชื่นใจ เรารู้สึกว่าเรามีส่วนร่วมไปด้วยหมดเลย ก็เลยกลายเป็นความอบอุ่นในอีกรูปแบบหนึ่ง

 

อันนี้เป็นการแชร์ความรู้สึกตรง เลยนะอันนี้ก็ผมก็เพิ่งทราบพร้อมๆ กับทุกท่านนะคะเพราะทีมงานก็ไม่เคยเล่าให้ฟังว่าเค้าทำทุกวันเป็นเงินก้อนเล็กๆมาด้วยการอยากจะรู้ว่าคนที่เขาทำกันอย่างนี้ รู้สึกอย่างไร นะเพิ่งได้ทราบเดี๋ยวนี้เหมือนกัน

 

อันนี้ต้องขอบคุณผู้บริจาครายย่อยจริงๆ เพราะทำตามคอยอีกครั้งในที่อยากจะแชร์มากเป็นเพื่อจะเป็นเทคนิคนะคะก็คือว่าคือคิดอย่างนี้สมมติว่าตั้งเป้าไว้ว่าปีนี้อยากจะมีเงินทำบุญ ตัวเลขแบบกลมๆ สมมติสามพันบาทแต่ก็คิดว่าเราสามารถที่จะเจียดออกมาได้ว่าเงินก้อนน้อยๆ อย่างเช่นว่าสามร้อยหกสิบห้าบาทนี่ เราจะเอามาทำบุญทุกวันวันละหนึ่งบาท

 

แล้วก็ที่เหลืออีกสองพันกว่าบาทนี่เก็บเอาไว้ทำบุญเฉพาะกิจ เช่นว่าอันไหนอยากจะลงเงินก้อนใหญ่อะไรแบบนี้ เราก็จะจัดสรรไป

แล้วถ้าทำแบบนี้ เวลาเราทำบุญวันละบาทหนึ่งหรืออะไรอย่างนี้ ก็ทำไปด้วยความรู้สึกว่า นี่เป็นเป้าหมายย่อยของเป้าหมายหลักได้

 

ดังตฤณ : คือได้เป้า .. อันนี้ก็สำคัญนะ พอเราตั้งเป้าว่าจะทำบุญ ด้วยขอบเขตเงินก็นเล็กๆ ก่อนแล้วทำสำเร็จ ก็เหมือนกับทำงานใหญ่ ได้ประสบความสำเร็จเช่นกันแนะ

 

เพราะอะไรเพราะว่าเรื่องบุญนะ จริงๆ แล้วว่าไปนี่ เรื่องของการทำให้เกิดความสม่ำเสมอ หรือทำให้ได้เป้านี้บางทีสำคัญกว่าเรื่องของตัวเลข เพราะอะไรเพราะใจของเรานี่จะได้ต่อเนื่อง ใจนะจำไว้นะยิ่งมีความต่อเนื่องไปสู่เป้าหมายบุญได้สม่ำเสมอได้ต่อเนื่องมากขึ้นเท่าไหร่ ความใหญ่ของใจนั้นจะยิ่งเพิ่มขึ้น

 

ยิ่งเราทำต่อเนื่องนี่ ใจยิ่งขยาย ความขยายไปของใจนั่นแหละคือความรู้สึกที่ย้อนกลับมา ผลลัพธ์นี่รู้สึกเหมือนกับ มีความสุขมากขึ้นทุกวัน

อันนี้ก็เป็นเพราะว่าใจเราขยายนั่นเอง

_________________

ควรวางใจอย่างไรในการทำบุญด้วยเงินจำนวนเล็กน้อย?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน คลับเฮาส์

วันที่ 10 เมษายน 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=fDStGNgIYyg

 

** IG **

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น