ผู้ร่วมรายการ : ผมเริ่มจากไม่เชื่อเลย ปัจจุบันผมเป็นอินเวสเตอร์ เป็นนักลงทุน มีพี่ๆในวงการนักลงทุนด้วยกันหลายท่านเก่งมาก แล้วก็ผมสงสัยว่าหลักการที่ผมไม่เข้าใจโลจิกตรงนี้มันเป็นของจริงได้ยังไง พี่ๆก็แนะนำว่าลองดูก่อนวันละ ๕ นาที ๑๐ นาที มันเป็นจุดเริ่มต้นเลย
ดังตฤณ : ที่ผ่านมามีประสบการณ์ทางธรรมอะไรอยากจะแชร์ให้เห็นว่าตรงนี้แหละเป็นจุดที่เรารู้สึกถึงแก่นธรรมจริงๆในกายในใจนี้
ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ
ผู้ร่วมรายการ
: ผมมีโอกาสได้ไปปฏิบัตินอกสถานที่เป็นเวลา
๘ วัน ๗ คืน แล้วได้มีประสบการณ์บางอย่างที่ทำให้เราเชื่อและศรัทธา จากที่เมื่อก่อนมีคำถามเยอะมาก
ตอนหลังก็ศรัทธาเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์เลย
ในช่วงที่ผ่านมาช่วงที่พีคๆเลยก็ปฏิบัติมาวันละ
๑ ชั่วโมง เคยนั่งสมาธิยาวๆวันละประมาณหนึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่งสองชั่วโมง
มันจะมีเวทนาหนักมาที่ท่อนขา ความเมื่อยล้า แต่พอบางขณะที่รู้สึกเหมือนลอยขึ้นไป เวทนาตัวนั้นมันก็หายไปเป็นปลิดทิ้ง
หรือตอนที่ลืมตาขึ้นมาปุ๊บมันก็เหมือนกับหายไปเลย
ก็เลยรู้สึกว่าของพวกนี้เป็นของที่ไม่แน่นอน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา
คำถามคือ
ผมอยากจะพัฒนาตัวเอง อยากจะขอคำแนะนำอยากให้อินทรีย์ทั้ง ๕ มันสมบูรณ์ขึ้น แต่ช่วงปีที่ผ่านมาเพิ่งมีลูก
เลยให้เวลากับครอบครับให้เวลากับลูกมาก ทำให้เวลาในการปฏิบัติหายไปเยอะ
จากที่เคยปฏิบัติได้ ๑ ชั่วโมงในตอนเช้า ก็เหลือเพียง ๑๕ นาที รู้สึกว่าประสิทธิภาพมันลดลง
เลยอยากได้คำแนะนำครับ
ดังตฤณ : โอเค ก่อนอื่นเลยเราตั้งมุมมองไว้แบบคุณพ่อนะครับ
ที่จะต้องมีภาระเลี้ยงลูกแล้วแน่ๆ อย่างน้อยๆก็ยี่สิบกว่าปี
ด้วยมุมมองแบบคุณพ่อเนี่ยนะครับ
เราตัดคำว่าปฏิบัติวันละชั่วโมง ปฏิบัติวันละสองชั่วโมงทิ้งไป
ให้กลายเป็นว่าปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมง
การปฏิบัติแบบเข้มข้นหนึ่งชั่วโมงสองชั่วโมงช่วงที่ลูกยังแบเบาะอยู่ทำไม่ได้
แต่การปฏิบัติแบบ ๒๔ ชั่วโมงทีละนิดทีละหน่อย แบบค่อยเป็นค่อยไป แบบที่หยอดกระปุก
ไม่ใช่แบบอัดที่เดียวตุ้มทีเดียวทุบทีเดียวเหมือนกับสมัยที่เรายังไม่มีลูก
พอเปลี่ยนมุมมองแบบนี้เราจะสบายใจขึ้นมาได้อย่างคือ
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปฏิบัติเข้มข้น เปลี่ยนมาเป็นปฏิบัติแบบเบาบาง แต่เวลามันเยอะกว่าอีก
เวลามันเยอะกว่าตอนปฏิบัติแบบเข้มข้นที่เรากักไว้แค่ชั่วโมง สองชั่วโมง เรามาปฏิบัติตลอด ๒๔ ชั่วโมงแบบเบาบาง จริงๆอาจจะได้มากกว่าก็ได้
วิธีที่จะปฏิบัติแบบนิดๆหน่อยๆ ทีละนิดทีละหน่อยแบบหยอดกระปุกก็คือว่า
อย่าคาดหวังว่าเราจะปฏิบัติไปเพื่อให้เกิดสมาธิ หรือเพื่อให้เกิดการเห็นอะไรดีๆอย่างที่เคยเกิดประสบการณ์ มีเบา มีอะไรเป็นนุ่น แต่คาดหวังว่าใจของเราจะมีสติอยู่เรื่อยๆเข้ามาในขอบเขตของกายใจนี้
ในขอบเขตของความเป็นคุณพ่อที่จะต้องเลี้ยงลูกอ่อนนะครับ
เลี้ยงลูกอ่อนเนี่ยนะ
คือมันจุกจิก มันเต็มไปด้วยการต้องทำตามการเรียกร้องของลูก ซึ่งยังไม่รู้ประสีประสาราวกับเป็นข้าทาส
หรือว่าเป็นลูกหนี้ที่ติดหนี้มาแต่ปางไหนนะครับ ก็สามารถดูได้เรื่อยๆตอนลูกร้อง
พอเสียงลูกร้องเนี่ย มันกระทบหู มันเกิดความรู้สึกยังไง เออ ภาวะจำยอมแบบคุณพ่อที่ต้องไปประคบประหงมลูก
หรือว่าภาวะเต็มใจ เสียงร้องคือเสียงเตือนว่าต้องทำงานแล้วนะ มือไม้มันขยับทันที
หรือว่าเสียงลูกร้องตอนกลางดึก โอ้ยง่วงมันไม่อยากตื่น เนี่ยมันมีความรู้สึกว่าจิตของเรามันมีความต่อต้าน หรือว่ามีความขี้เกียจ หรือว่ามีความรู้สึกที่เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลนะครับ
ยอมรับไปตามจริงในแต่ละครั้งที่เราเจอแรงกระทบ หรือว่าสิ่งที่มาจากความเป็นลูกนะครับ
จะอึฉี่หรืออะไรก็แล้วแต่เนี่ยนะครับ
พอเราตั้งเป้าไว้ว่า
อุปกรณ์การฝึกของเราไม่ใช่การมาอยู่ในห้องพระ การอยู่ในห้องพระแล้วก็นั่งสมาธิ ในห้องพระของเราเนี่ย
อันนั้นคือแบบเข้มข้น
แต่ปฏิบัติแบบที่มันจะเบาบางก็คือดูทีละครั้งดูทีละหนนะครับว่า ปฏิกิริยาทางใจของเราเนี่ยเป็นทุกข์หรือเป็นสุข แล้วเทียบเท่ากับลมหายใจนะว่า แต่ละครั้งเนี่ยลมหายใจสั้น หรือลมหายใจยาว เทียบไปอย่างนี้เรื่อยๆเนี่ย มันจะได้พื้นที่การปฏิบัติกลับคืนมา แล้วไม่ใช่แค่ชั่วโมงสองชั่วโมง แต่เป็นตลอด ๒๔ ชั่วโมงเลยทีเดียวนะครับ
-----------------------------------------------------
๒๐
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
Clubhouse
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน
คำถาม : มีครอบครัว ต้องดูแลลูก ทำอย่างไรให้สามารถปฏิบัติธรรมได้เหมือนก่อน?
ระยะเวลาคลิป ๘.๑๗ นาที
รับชมทางยูทูบ https://www.youtube.com/watch?v=jLMugPE-C9E&list=PLmDLNhxScsWO7ZAuqr-FC25dor6ETZhM-&index=28&t=14s
ผู้ถอดคำ แพร์รีส แพร์รีส
** IG **
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น