วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

ควรฝึกขณิกสมาธิไหม

 ดังตฤณ : สมาธิเป็นสิ่งที่ควรฝึก และสมาธิมีหลายระดับ 

มีทั้งขณิกสมาธิ คือ เป็นสมาธิขึ้นมาชั่วคราว

อุปจารสมาธิ คือ เฉียดฌาน

และก็ถึงขั้นฌาน คืออัปปนาสมาธิ จิตใหญ่ จิตเป็นมหัคคตะ

 

คำว่าขณิกสมาธิ จิตเป็นสมาธิชั่วคราว ก็มีได้พิสดารหลายแบบอีก

ส่วนใหญ่ คนเข้าใจกันว่า

ขณิกสมาธิ คือสมาธิอ่อนๆ สมาธิแป๊บเดียว 

แต่จริงๆ แล้ว ขณิกสมาธินี่

แม้แต่ครูบาอาจารย์ อย่างเช่นหลวงปู่มั่น ท่านก็กล่าวถึงไว้

โดยความเป็นของดีว่า ท่านพักสงบอยู่ในขณิกสมาธิ

 

หมายความว่า ท่านทำอะไรอยู่นี่

ท่านก็หลบมาอยู่กับ ภาวะขณิกสมาธิ ชั่วคราว

เพื่อที่จะเป็นการพักผ่อน

เพื่อที่จะเป็นการให้จิต ได้กลับเข้าที่เข้าทาง

และพร้อมที่จะเจริญวิปัสสนาต่อ  

 

อย่างนี้เรียกว่าเป็นขณิกสมาธิ 

ซึ่งขณิกสมาธิของแต่ละคน ก็ขึ้นอยู่กับใครฝึกสมาธิแบบไหน

ถ้าฝึกสมาธิมาแบบบริกรรมพุทโธอย่างเดียว

ขณิกสมาธิ อาจหมายถึงการที่ จิตของเราไม่วอกแวกเลย 

พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไม่คิดถึงเรื่องอะไรเลย นอกจากพุทโธ

ได้ 1 นาที อย่างนี้เรียกว่าขณิกสมาธิ  

 

หรือถ้าเราฝึกมาตามแนว

เห็นลมหายใจเข้าออก โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เห็นว่ามันเข้ามันออกอยู่ตลอดเวลา ไม่วอกแวกไปไหนเลย

1 นาทีนี่ก็เรียกว่า ขณิกสมาธิ  

 

แต่ถ้าหากว่า ขณิกสมาธิของเรา เริ่มดิ่ง เริ่มเพลิน

จิตรวมเข้ามาในลักษณะ ผนึกเข้ามาอยู่ตรงศูนย์กลางความว่าง

แล้วก็ขยายแผ่ออกไป เป็นการขยายแผ่ออกไปแบบไม่มีจำกัด

 

แบบนี้ก็เริ่มพัฒนาจากขณิกสมาธิ เป็นอุปจารสมาธิ

ต้องทำความเข้าใจกับนิยามของคำ ให้ถูกต้องชัดเจนนะครับ

 

เราควรฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม

ควรได้ฝึกทั้งนั้นแหละ เพื่อที่จะเอาจิตที่เป็นสมาธิ มาเจริญวิปัสสนาต่อ

 

แต่ที่จะเป็นสมาธิชั่วคราว อย่างที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ 

หรือว่าเป็นสมาธิชั้นดี ประณีต มีความสุข วิเวก กว้างใหญ่

เป็นอุปจารสมาธิ แบบนี้ ก็เป็นพัฒนาการของมัน

อันนี้ทำความเข้าใจนะครับ

______________

รายการปฎิบัติธรรมที่บ้าน คลับเฮ้าส์

วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๔

ถอดคำ : เมี่ยง

ตรวจทาน : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=0FizRxyRxvo

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น