วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

ใจชอบสวดมนต์ แต่ระหว่างสวดลืมกายลืมใจ ทำอย่างไร

ดังตฤณ : เวลาสวดมนต์ที่หลงๆ ลืมๆ

หรือว่า (จิต) ไม่อยู่กับบทสวดนะครับ

ให้มองว่า ตรงนั้น จิตขาดโฟกัส จิตขาดสติไป

 

และวิธีที่จะกระตุ้นให้จิตกลับมามีสติ หรือว่า มีโฟกัส นี่ 

ก็คือ ความสุขที่ได้จากการสวด

 

ถ้าระหว่างสวดมนต์ ไม่มีความสุข สติก็จะอ่อน

แต่เราบอกว่า มีความสุขกับการสวดมนต์มาก

แต่ในระหว่างสวด ลืมกาย ลืมใจ

 

ตรงนี้ อาจจะเป็นเพราะว่า เราเผลอไปอยู่กับ การมีความสุข 

ที่บอกว่าสุขมากนั่นแหละ สุขอย่างเดียวเลยลืม นะครับ

 

จริงๆ แล้ว เจ้าของคำถาม อาจจะมองอย่างนี้

คือ จริงๆ ยังมีความสุขกับการสวดมนต์อยู่

แล้วสติก็อาจจะยังอยู่กับบทสวด

แต่ ลืมกาย ลืมใจ นะครับ

 

เอาอย่างนี้ ทำความเข้าใจอย่างนี้ก่อน 

เราสวดมนต์ไป นี่ เพื่อให้เกิดสมาธิ

ถ้าหากว่า ใจเราดิ่งอยู่กับการสวด แล้วก็มีความสุขจากการสวด

อันนี้ ถือว่า น่าพอใจพอสมควรแล้ว นะครับ

 

ทีนี้ ที่บอกว่า ลืมกาย ลืมใจ 

อาจจะเข้าใจว่า เราควรจะ รู้กาย รู้ใจ พร้อมกันไปด้วยตลอดการสวด

 

อันนั้น เป็นการตั้งโจทย์ที่อาจจะผิด

สำหรับจิตที่ยังไปไม่ถึงสมาธิขั้นสูงพอนะครับ


ถ้าจิตมีสมาธิขั้นสูงพอแล้ว ลักษณะดวงสมาธิตรงนั้น จะรู้หมดเลย 

รู้ครอบทุกอย่าง ทั้งการสวดอย่างละเอียด 

แล้วจะรู้สึกช้าชัดนะ

 

แล้วก็ความรับรู้ทางอิริยาบถทางกาย นี่ ก็จะปรากฏเด่น

ไม่มีอะไรที่ตกหล่น มีความต่อเนื่องยืดยาว 

อันนั้นเป็นเรื่องของจิตที่เป็นสมาธิขั้นสูงแล้ว

 

แต่ถ้า จิต ยังแค่มีความสุข แล้วก็เป็นสมาธิแบบอ่อนๆ 

อาจจะดิ่งไปกับบทสวดอย่างเดียว ก็ไม่เป็นไร

ยังไม่ต้องไปพยายามที่จะ รู้กายรู้ใจ กำกับไปด้วยตลอด

แต่เอาแค่ สังเกตทีละรอบ ก็ได้

 

อย่างถ้าหากว่า เราสวด อิติปิโส อยู่บทเดียวเลย

นี่ จะเห็นง่ายหน่อยนะครับ

แต่ละรอบ เราดูว่าความสุขที่บอกว่า มากนะ

มากขึ้นไปเรื่อยๆ หรือว่าลดระดับลง

หรือว่าคงที่ คงเส้นคงวานะครับ ในทุกรอบ

 

ดูไป เป็นรอบๆ ทีละนิดทีละหน่อย

แค่นั้น ก็เรียกว่า เป็นการเจริญสติ

เห็นเข้ามาในภาวะที่เรียกว่า เวทนา นะครับ

 

เป็น สุขเวทนา บ้าง 

เป็น อทุกขมสุขเวทนา บ้าง

หรือ บางรอบ อาจจะรู้สึกว่า ในหัวฟุ้งซ่านปั่นป่วน 

มีการเกร็งเนื้อเกร็งตัว อย่างนี้ก็กลายเป็น ทุกขเวทนา ขึ้นมานะครับ

 

รู้แค่นิดเดียว ก็ถือว่าเป็นรอยเท้า

เป็นทิศทางที่จะตรงทางต่อไป

 

เพราะว่า ถ้าเราสังเกตรอบละนิด รอบละหน่อย

แล้วเราเห็นจริงๆว่า ตัวความสุขต่างไปได้เรื่อยๆ 

 

อาการทางกาย นี่ เดี๋ยวบางทีก็เกร็ง 

เดี๋ยวบางทีก็ผ่อนคลายได้ยาว

เห็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นี่ 

ในที่สุด จะชัดเจนแจ่มแจ๋วมากขึ้นเรื่อยๆ ตามไปด้วยเช่นกัน

 

เพราะว่า จิตที่เป็นสมาธิ จิตที่มีสติ นี่ 

พอเอาไปใช้ดูอะไร จะเห็นถนัดมากขึ้นๆๆ 

จนกระทั่ง ราวกับว่า เราไม่ได้ตั้งใจดูอะไรเลย

เป็นอัตโนมัติที่จะเห็นทั้งหมด ที่เรียกว่า เห็นทั่วพร้อมไปเองนะครับ

 

สรุปคำตอบ คือ อย่าตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไร

เราถึงมา รู้กาย ควบคู่ไปด้วยตลอดการสวดมนต์

แต่ให้ เริ่มรู้ ทีละนิดทีละหน่อย เท่าที่จะรู้ได้

และสิ่งที่น่ารู้ที่สุด ก็คือ 

ความต่างไปของ สุขเวทนา ในแต่ละรอบ

 

หรือว่าจะดู ความฟุ้งซ่าน ก็ได้

ความฟุ้งซ่านในหัว.. บางรอบก็เยอะ บางรอบก็เบาบาง

อะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นภาวะที่ปรากฏอยู่จริงๆ เราไม่ได้คิดขึ้นเอง

ไม่ได้ไปคาดหวังไว้ล่วงหน้า นะ

 

เอามาดู เพื่อที่จะให้เกิดสติ เจริญขึ้น

มาเห็นความไม่เที่ยงได้หมดเลยนะครับ

__________


หาวิธีฝึกจิตใจให้กับตัวเอง พบว่าใจมีความสุขกับการสวดมนต์มากค่ะ แต่ในระหว่างสวดมนต์ลืมกายลืมใจ จะมีวิธีฝึกหรือแนะนำอย่างไรได้บ้างคะ?

รายการปฎิบัติธรรมที่บ้าน คลับเฮ้าส์

วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๔

ถอดคำ : นกไดโนสคูล

ตรวจทาน : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=2bkryKZEhVk



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น