วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน สวดมนต์ลดความฟุ้งซ่าน

ดังตฤณ : วันนี้จะพูดเรื่อง สวดมนต์ลดความฟุ้งซ่าน

 

การสวดมนต์ หากสังเกตดู จะพบว่ามีสองแบบ

สวดแล้ว ลดความฟุ้งซ่านลง กับ สวดแล้ว เพิ่มความฟุ้งซ่านขึ้น

 

เราสามารถเห็นได้ตั้งแต่ขณะสวดเลยนะครับ ว่า สวดๆ ไป มีอารมณ์แบบประมาณว่า ยุ่งเหยิง รำคาญตัวเอง ไม่อยากสวดมนต์ อึดอัด 

 

หรือว่า ยิ่งสวด ยิ่งมีความสุข ยิ่งจิตเบานะ ..จิตใสใจเบา ยิ่งมีความรู้สึกเหมือนกับว่า เมฆหมอกโมหะ หรือ กลุ่มก้อนความฟุ้งซ่าน เบาบางลงเรื่อยๆ 


สังเกตได้จากการใช้เสียงของคุณ ง่ายๆ เลยนะ ถ้าหากว่า เสียงงึมงำ ก็จะฟุ้งซ่านเพิ่ม จะมีอาการเหมือนกับว่า ยิ่งสวด หน้ายิ่งง้ำลง แล้วก็ จิต ยิ่งหมอง แล้วก็ยิ่งมีความอึดอัดนะครับ ทางร่างกาย

 

แต่ถ้าหากว่า สวดถูกต้องนะ เสียงเต็มปากเต็มคำ เปล่งเสียงชัดเจนนะครับ

ด้วยเจตนาถวายแก้วเสียงเป็นพุทธบูชานะครับ จะแตกต่างกัน 

 

ผมยกตัวอย่างนะครับ

ถ้าเสียงงึมงำ จะออกเสียงแนวแบบว่า 

(งึมงำ) อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา.. 

 

จะรู้สึกฝืนใจ หรือไม่ก็ ก้มหน้าก้มตาด้วยอาการที่ว่า ไม่รู้จะสวดไปทำไม

สวดให้เสร็จๆ แล้วก็ขอพรตอนจบ


กับอีกแบบหนึ่ง คือ คอตั้งหลังตรง เชิดคางนิดหนึ่ง แล้วก็เปล่งเสียงออกมาจากความรู้สึกที่ร่างกายอยู่ในโพสิชั่น (position – ท่าทาง) ที่สบายสมดุลนะครับ

 

(เสียงดังชัดเจน) อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

 

นี่ พอสวดไปนะครับ ก็จะได้สิ่งที่เราต้องการจากการสวดมนต์จริงๆ 

คือ จิตใสใจเบา มากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากการที่ ซุ่มเสียงของคุณ จะหนักแน่นและเปล่งเสียงออกมาได้เต็มปากเต็มคำขึ้นเรื่อยๆ

 

อันนี้ เป็นความศักดิ์สิทธิ์จากบทสวดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใครสวด อิติปิโสฯ ด้วยจิตที่มีเมตตา ด้วยอารมณ์ที่อยากสรรเสริญ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์ ที่มาปรุงแต่งแก้วเสียงของคุณให้ใสขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ทำจิตของคุณให้ใส แล้วก็มีสติมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยนะ


ใครอยากจะแก้ความฟุ้งซ่าน ลดความฟุ้งซ่าน หรือว่า ลดเมฆหมอกโมหะ ที่ปกคลุมจิตอยู่ ลองสวดมนต์แบบเต็มปากเต็มคำดู

__________________ 


รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน สวดมนต์ลดความฟุ้งซ่าน คลับเฮ้าส์

วันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๔

ถอดคำ : นกไดโนสคูล

ตรวจทาน : เอ้

ชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=zN4zS2qhiLE


** IG **

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น