วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

วิปัสสนานุบาล เหมือนกดสวิตช์หลับ (ใช้ฝ่ามือช่วยให้หลับอย่างมีสติ)

 

ดังตฤณ : หลักง่ายๆ ที่จะช่วยให้หลับสบายอย่างรวดเร็ว คือคุณต้องออกแรงเคลื่อนไหวสักหน่อย ให้เกิดความเพลีย และลืมเรื่องที่วนเวียนรบกวนจิตใจ

อีกทั้งความเคลื่อนไหวนั้น ควรเป็นไปเพื่อส่งเสริมการหายใจยาว ช่วยให้กล้ามเนื้อทั้งตัวผ่อนคลาย จิตใจเปิดแผ่สบายได้อย่างรวดเร็ว



ขอให้นอนหงาย แบมือทั้งสองออก ด้วยความรู้สึกตามจริงว่า การแบมือก็เหมือนอาการทางใจที่ปล่อย ที่วาง ที่ทิ้ง เป็นตรงข้ามกันกับการกำมือ ซึ่งเหมือนอาการทางใจที่ยึด ที่เกาะ ที่หวง



เมื่อถึงเวลาต้องหายใจเข้า ให้งอแขนขึ้นมาช้าๆ จนสุดข้อพับ โดยไม่ให้ไหล่ยก ทำความเชื่อมโยงระหว่างมือกับลม ด้วยการนึกว่า ฝ่ามือเป็นตัวผลักดันลมเข้า



และเมื่อผลักจนสุด ให้นึกว่าฝ่ามือทั้งสอง กั้นลมไว้ในอก ไม่ปล่อยให้ลมออกมาเป็นเวลาครู่หนึ่ง



จากนั้น เมื่อรู้สึกเต็มอั้น จึงค่อยเหยียดแขนกลับลงไป เสมือนใช้ฝ่ามือลากลมหายใจออกอย่างผ่อนคลายช้าๆ จนกว่าจะวางมือคืนที่เดิม กะให้สุดลมพอดีกับหลังมือวางนิ่งสนิทบนเตียง




ที่ตรงนั้น คุณจะรู้สึกคล้ายบัวบาน ที่แผ่รัศมีเมตตาผ่อนคลาย สบายทั้งตัว ไร้ความคิด ไร้อารมณ์ว้าวุ่น ไร้ความอยากรีบร้อนดึงลมหายใจใหม่เข้าตัว

แค่รอเวลาที่ร่างกายจะหิวลมเอง จึงค่อยลากลมหายใจเข้า พร้อมงอศอก ยกมือขึ้นใหม่อีกรอบ

 

เพียงทำไว้ในใจล่วงหน้านิดเดียวว่า คุณจะหลับไปกับการรู้ลม ก็จะตื่นด้วยการรู้ลมเช่นกัน คือตั้งใจว่า พอรู้สึกตัวตื่น จะยังไม่ลืมตา แต่จะนอนหลับตารู้ลมพร้อมยกมือแบบเดียวกับที่ทำก่อนหลับ

 

และเพียงสองสามเช้า ที่ตื่นมาอย่างมีสติ รู้ลมต่อจากช่วงก่อนหลับเช่นนี้ คุณจะรู้สึกถึงจิตก่อนตื่น ที่พร้อมรวมดวงเป็นหนึ่ง

 

และอาจเกิดสมาธิที่มีความวิเวกลึกซึ้งได้ มีผลให้ชีวิตประจำวันสดชื่นขึ้นเรื่อยๆ กับทั้งมีพละ กำลัง พรักพร้อมจะทำสมาธิมากขึ้นด้วย

_______________________

วิปัสสนานุบาล เหมือนกดสวิตช์หลับ

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://vimeo.com/590073702

รวมลิงก์ถอดเสียง ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา (วันที่ 22 สิงหาคม 2564)

ยกระดับอานาปานสติ


01 เกริ่นนำ ยกระดับจากสมถะสู่วิปัสสนา

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/01_25.html

 

02 คลิป “วิปัสนานุบาล-เหมือนกดสวิตช์หลับ”

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/02_25.html

 

03 แก่นของอานาปานสติ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/03_25.html

 

04 โพลและคำอธิบายผลโพล

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/04_25.html

 

05 กลุ่ม1 : นิ่งรู้ สายลม สว่างชัด

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/05-1.html

 

06 กลุ่ม2 : นิ่งรู้ สายลม สว่างบ้าง มาๆ ไปๆ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/06-2.html

 

07 กลุ่ม3 นิ่งรู้ แต่ไม่เห็นลมสว่างเลย และ กลุ่ม 4 ไม่นิ่ง ยังฟุ้งซ่านมากกว่ารู้ลม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/07-3-4.html

 

08 สวดอิติปิโสฯร่วมกัน

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=PBeLhP2NCAE

 

09 ข้อสังเกตก่อนเริ่มทำสมาธิ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/09.html

 

10 แอนิเมชัน การทำสมาธิร่วมกัน  (ท่าที่ ๑)

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/010.html

 

11 แอนิเมชัน การทำสมาธิร่วมกัน (ท่าที่ ๒)

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/11.html

 

12 แอนิเมชัน การทำสมาธิร่วมกัน (ท่าที่ ๓)

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/12.html

 

13 รวมฟีดแบคหลังทำสมาธิร่วมกัน

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/13.html

 

คำถามช่วง – ถามตอบ

Q01ก่อนหายใจออก ต้องกลั้นลมไว้ครู่หนึ่งไหม หายใจออกเหมือนไม่มีลม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q01_26.html

 

Q02มือไม่สัมพันธ์กับลม ลมออกหมดก่อนมือถึงต้นขา รู้สึกกังวล

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q02_26.html

 

Q03จิตสว่างวาบ นั่งสมาธิได้ยาวขึ้นหลายชั่วโมง คือดีหรือไม่

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q03_26.html

 

Q04ตอนขยับแขนขึ้นลง ขนลุกซู่ รู้สึกเย็น เกิดจากอะไร

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q04_26.html

 

Q05ต้องพิจารณาอนิจสัญญา หลังทำถึงท่าที่สาม ใช่หรือไม่

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q05_26.html

 

Q06ทำสมาธิแล้วตึงที่ขมับ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q06_26.html

 

Q07ทำสมาธิแล้วง่วงควรนอนไปเลยหรือว่าฝืนทำต่อ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q07_26.html

 

Q08การทำจิตนิ่งและโล่ง ถูกต้องไหม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q08_26.html

 

Q09มักตื่นมาตอนตีสี่ เป็นเพราะทำสมาธิ หรือเรื่องบังเอิญ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q09_26.html

 

Q10นั่งสมาธิ ปีติขนลุก รู้สึกกลัว

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q10_26.html

 

Q11ไม่ภาวนาพุทโธ ใช้คำอื่นแทนได้ไหม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q11_26.html

 

Q12รู้ลมได้ต่อเนื่อง แต่ไม่เคยเห็นนิมิตใดๆ เลย

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q12_26.html

 

Q13นิ่งรู้ลมสบาย แต่วูบหายไป แก้อย่างไร

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q13_26.html

 

Q14นอนหลับแต่รู้สึกตัว เห็นภาพก็ดูไป ถูกต้องไหม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q14_26.html

 

Q15ลิ้นกดฟันหน้าบนหรือเพดานปาก ต้องแก้ไขไหม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q15_26.html

 

Q16เห็นภาพน่ากลัว แต่ไม่กลัว กลับเกิดปีติน้ำตาไหล

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q16_26.html

 

Q17ฟุ้งซ่าน ตามลมแล้วง่วง แก้อย่างไร

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q17_26.html

 

Q18อาการตัวเบา หรือพุ่งไปในอุโมงค์ข้างหน้า คืออะไร

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q18_26.html

 

Q19เห็นมือยกขึ้นลงเอง แต่แวบเดียวก็กลับมาเป็นตัวเรายกมือ

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q19_26.html

 

Q20ขณะสังเกตลมหายใจ กลืนน้ำลายได้ปกติไหม

อ่านบทถอดคำ : https://dungtrinanswer.blogspot.com/2021/08/q20.html

 

Q20ขณะสังเกตลมหายใจ กลืนน้ำลายได้ปกติไหม

ดังตฤณ : ตามปกติครับ ไม่ต้องไปฝืนให้ผิดธรรมชาติอะไร คือการทำสมาธิแบบล็อคไว้ว่าจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ Fixed ไว้ตายตัว จะไม่เหมาะกับคนหมู่มาก เหมาะกับแค่คนบางคนนะครับ

 

แต่ถ้าหากว่าเราเห็นปัจจัยของตัวเอง เห็นเหตุปัจจัยของตัวเอง แล้วก็แค่มีสติรับรู้ว่า เกิดอะไรขึ้นบ้าง ตัวนี้ ก็เพียงพอแล้ว ที่เราจะเจริญสติต่อแบบพุทธนะครับ

________________________

สามารถกลืนน้ำลายได้ตามปกติมั้ยคะ ในขณะที่สังเกตร่างกายและตามลมไปด้วย?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=cN5wyF0zLso&t=2s

 

Q19เห็นมือยกขึ้นลงเอง แต่แวบเดียวก็กลับมาเป็นตัวเรายกมือ

ดังตฤณ : ความเป็นอัตโนมัติทางกาย เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา เหมือนเราวิ่งมาราธอน ตอนแรกๆ เราก็ตั้งใจวิ่งตามที่ครูฝึกสอนว่า ต้องทรงตัวอย่างนี้ ต้องก้าวขาอย่างนี้ แต่พอเราทรงตัว หรือว่าก้าวขาด้วยความเคยชินไปมากพอ ทุกอย่างก็ออโต้ไพล็อตนะ เหมือนวิ่งไปเอง เป็นร่างกายคล้ายๆ แยกออกเป็นหุ่นยนต์ที่ไม่ต้องรับคำสั่งจากเรา แต่ทำได้เอง เป็นอัตโนมัติเอง

 

เหมือนกัน พวกท่าทางอะไรแบบนี้ ถ้าเราทำซ้ำๆ จนกระทั่งเกิดความเคยชินที่จะไหลไปตามทิศทางเดิม ก็จะเหมือนกับเป็นหุ่นที่ทำให้เราดูนะครับ

 

นี่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างหนึ่งของการทำสมาธิในแบบที่เกิดความเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ นะ

________________________

ช่วงหายใจเข้ายกมือขึ้นประสานตรงหน้าผาก มีช่วงนึงเห็นมือยกขึ้น-ลงเอง แว่บเดียวก็กลับมาเป็นตัวเรายกมือขึ้น-ลงเองค่ะ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป :https://www.youtube.com/watch?v=upoLMNhlzqE&t=1s

 

Q18อาการตัวเบา หรือพุ่งไปในอุโมงค์ข้างหน้า คืออะไร

ดังตฤณ : เป็นอาการของจิต ที่เบานั่นแหละ แต่ว่าเป็นเบาแบบไหล เบาแบบพุ่ง ยังไม่มีน้ำหนักที่จะอยู่กับที่นะครับ

 

ลองฝึกแบบที่ใช้มือไกด์ไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าที่สาม น่าจะช่วยได้

________________________

อาการที่ตัวเบาเหมือนลงลิฟท์ หรือพุ่งไปในอุโมงค์ข้างหน้าคืออะไรคะ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=2Vx9vEbylAo

 

Q17ฟุ้งซ่าน ตามลมแล้วง่วง แก้อย่างไร

ดังตฤณ : สำหรับกรณีของคุณผู้ถาม ขอแนะนำว่าในชีวิตประจำวัน สังเกตตัวเองนะครับว่า เมื่อไหร่ที่ใจของเราไปยึด .. จะมีสองโหมดนะ ใจของเราจะอยู่กับสิ่งที่เป็นสาระ ที่เป็นสิ่งที่ต้องทำเฉพาะหน้า

 

กับอีกอย่าง คือ บางทีเรื่องไม่เป็นเรื่อง เรื่องไม่เป็นสาระ แล้วเรายังปล่อยให้มาเป็นแมลงหวี่แมลงวันตอมหัว ตรงนี้จุดสังเกต สังเกตให้ออกว่า เริ่มมีอาการแบบนี้เมื่อไหร่นะครับ

 

คล้ายกับมีแมลงหวี่ แมลงวันตอมหัว แล้วเรายอมให้ตอมต่อ

 

ก็มีสติ รู้ให้ทัน แล้วก็ฝึกที่จะเห็นแมลงหวี่ แมลงวันเหล่านั้น แสดงความไม่เที่ยงให้ดู

 

พูดง่ายๆ ว่า ฝึกสติ ฝึกสมาธิ กันระหว่างวันเลย

 

จากนั้น พอกลับมานั่งสมาธิอีกทีหนึ่ง คุณจะพบว่ากำลังของสติ กำลังของสมาธิ เวลาเริ่มฟุ้งซ่าน จะยังรักษาตัวอยู่ได้ แล้วก็ไม่ง่วง ไม่สัปหงก

 

________________________

ตอนเริ่มฟุ้งซ่าน พอตามลมไปซักพักแล้วชอบง่วง สัปหงก มีทางแก้ไหมคะ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป :https://www.youtube.com/watch?v=T-vVEcvWZGo&t=2s

 

Q16เห็นภาพน่ากลัว แต่ไม่กลัว กลับเกิดปีติน้ำตาไหล

ดังตฤณ : นิมิตมีอยู่สองแบบ เห็นชัดแจ่มแจ๋ว ราวกับว่าจับต้องได้ กับนิมิตแบบที่ปรากฏขึ้นรางๆ

 

ไม่ว่าจะเป็นนิมิตแบบใดก็ตาม เราสังเกตเข้ามาที่ปฏิกิริยาทางใจ อย่างที่คุณบอกมาว่า ไม่รู้สึกกลัว แต่เกิดปีติขึ้น .. นี่คือ มีสติรู้เข้ามาที่ปฏิกิริยาทางใจแล้ว

 

พอเห็น แล้วก็เน้นเข้ามาที่ปฏิกิริยาทางใจให้มากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ปีติ หรือไม่ปีติ กลัวหรือไม่กลัว อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสนใจเลยว่า นิมิตจะแสดงอะไร อยากแสดงอะไรก็แสดงไป

 

________________________

เห็นใบหน้าที่น่ากลัว ตาโบ๋ ปากอ้ากว้าง ใบหน้าบิดเบี้ยว และแหลกเหลวไป ไม่รู้สึกกลัวแต่เกิดปีติขึ้นขนลุกซ่านน้ำตาไหลครับ(เห็นแบบนี้บ่อยในช่วงหลังที่ทำสมาธิตามแบบอาจารย์ครับ)?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป :

https://www.youtube.com/watch?v=5pornQywwLE

 

Q15ลิ้นกดฟันหน้าบนหรือเพดานปาก ต้องแก้ไขไหม

ดังตฤณ : เป็นความเกร็งเนื้อเกร็งตัวโดยความเคยชินนะครับ

 

วิธีง่ายๆ ก็พอเราจับได้ไล่ทันว่า เริ่มเกิดอาการกดขึ้นมา สำรวจดูฝ่าเท้า เกร็งไหม ฝ่ามือเกร็งไหม

 

ถ้าหากว่ามีความรู้เนื้อรู้ตัวว่า ฝ่าเท้าของเราเกร็ง แล้วผ่อนคลาย ฝ่ามือกำ แล้วผ่อนคลาย คุณจะพบว่า ทั้งตัว จะรู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย

 

เอาแค่สองจุดนี้ อย่างพวกลิ้น พวกอะไรก็จะผ่อนคลายตาม ต้องทำบ่อยๆ นะ จนกระทั่งเกิดความเคยชิน ที่จะอยู่ในสภาพของกายผ่อนคลาย ผ่อนพักนะครับ เริ่มมาจากฝ่าเท้า ไล่มาถึงฝ่ามือนี่แหละ

 

แล้วส่วนอื่นๆ ก็จะผ่อนพักตามไปด้วย

________________________

ลิ้นมักจะกดช่วงฟันหน้าบน หรือเพดานปากครับ เพราะอะไรต้องแก้ไขไหมครับ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=YwJrG3UXHnI

 

Q14นอนหลับแต่รู้สึกตัว เห็นภาพก็ดูไป ถูกต้องไหม

ดังตฤณ : ถูก แต่ถูกในแง่ไหนด้วยนะครับ คือถ้าหากว่าเรารู้ แล้วฝึกที่จะวางเฉยกับสิ่งที่ผ่านมาผ่านไปแบบนี้ ในแง่ที่ เราเห็นความปรุงแต่งจิตโดยความเป็นของไม่เที่ยง

________________________

นอนหลับแต่รู้สึกตัว เห็นภาพเหมือนที่มันเล่นเร็วมากๆ นอนดูมันไป ถูกไหมครับ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=2ZNC1Oax6Uc

 

Q13นิ่งรู้ลมสบาย แต่วูบหายไป แก้อย่างไร

ดังตฤณ : ในกรณีที่คุณทำเอง แล้วก็อยู่คนเดียว แนะนำให้ลุกขึ้นมาเดินจงกรม

 

เดินจงกรมนี่ก็คือ ใช้ห้องของคุณนี่แหละ เอาแค่ 8 ก้าว หรือ 5 ก้าวก็ยังได้เลย ขอแค่รู้วิธี ขอแค่เห็นหลักการที่ถูกต้องนะครับ ก็คือว่า รู้เท้ากระทบไปเรื่อยๆ พอใจจะแวบไปไหน ก็กลับมารู้เท้ากระทบต่อไป สติจะดีขึ้น เมื่อกลับมานั่งดูลมใหม่ จะรู้ได้ชัด และรู้ว่าตัวเองมีกำลังมากขึ้นนะ

________________________

ถ้า นิ่งรู้ลมสบายไปสักระยะ แล้วหายไปเลยครับ(แก้ไม่หาย) รู้สึกอีกทีหัวจะทิ่มแล้วครับ (หลับแน่เลย)ทำไงดีครับ แก้ยังไง ผมเจออะไร?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=-jwtNSS3CPQ

 

Q12รู้ลมได้ต่อเนื่อง แต่ไม่เคยเห็นนิมิตใดๆ เลย

ดังตฤณ : ตอนที่บอกว่า รู้ลมต่อเนื่องได้เป็นชั่วโมงนี่นะ นั่นก็คือนิมิตแล้ว

 

ถ้าใจไม่เกิดนิมิตลม ก็จะไม่มีทางอยู่ได้เป็นชั่วโมงหรอกนะครับ ขอให้ทำความเข้าใจใหม่

 

นิมิต ไม่ใช่หมายถึงภาพอย่างเดียว เอาแค่ .. อย่างเราเห็น และรู้สึกถึงลมหายใจเข้า รู้สึกลมหายใจออก เป็นระลอกอย่างชัดเจน ตัวนี้ก็เป็นนิมิตแล้ว เพียงแต่เป็นนิมิตแบบเลือนราง อ่อนๆ

 

ถ้าหากว่าจะเป็นนิมิตลมแบบกสิณลมเลย จะเห็นชัดแจ่มแจ๋วแบบกลุ่มแรก 8% นั่นคือ เกิดนิมิตเต็มแล้วนะ เห็นลมหายใจมาพร้อมกับแสงสว่าง ซึ่งไม่ใช่ว่าเราจะต้องทำให้ถึงขั้นนั้น แล้วถึงจะได้มรรคผลนะ

 

เอาแค่ว่าเรารู้สึกถึงลมหายใจได้ ก็โอเคแล้ว ที่จะเห็นลมหายใจไม่เที่ยงนะครับ

 

แต่ถ้าบอกว่าสังเกตตัวเอง ใช้คำบริกรรมแล้วเข้าสมาธิได้ง่าย แล้วคำบริกรรมหายไป เหลือแต่รู้ อย่างนี้ก็โอเค ในกรณีของคุณ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ เป็นเทคนิคเป็นอุบาย เป็นท่าไม้ตายของเรา ที่จะเข้ามารู้สึกถึงลมหายใจนะครับจะใช้คำบริกรรมก็ไม่ว่าอะไร

 

ประเด็นคือว่า เมื่อเหลือแต่ลมหายใจ ให้เกิดความเคยชินที่จะเห็นว่า ลมหายใจไม่เที่ยง แล้วก็เข้าออกอยู่ในท่านั่ง คอตั้งหลังตรงนี้

 

เพราะถ้าไม่กลับมารู้อิริยาบถนะ จะไปต่อไม่ถูกเลยนะ จะไม่ได้จุดสังเกต จะไม่ได้ที่ตั้งของทุกข์ ไม่ได้ที่ตั้งของจิต ว่ากำลังปรากฏอยู่ในสภาพแบบไหน เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลนะ

 

ท่านั่งคอตั้งหลังตรงนี่ สำคัญนะครับ จะด้วยพุทโธ หรืออะไรก็แล้วแต่ ขอให้มาอยู่กับลมหายใจ แล้วท่านั่งคอตั้งหลังตรงได้ แบบนี้ จะเป็นประตู เป็นจุดเริ่มต้นของคนที่จะเข้าสู่วิปัสสนากันจริงๆ

________________________

ไม่เคยมีนิมิตอะไรในลักษณะของ "การมองเห็น" เลยครับ หากนั่งสมาธินานพอจะนิ่ง รู้ลมต่อเนื่องได้ยาวเป็นชม. แต่ไม่เคยเห็น "ภาพ" อะไร สว่างไปทั่ว ๆ หรือเหมือนเปิดไฟข้างบนหัว วิเคราะห์ตัวเองว่าเป็นคนที่คิดเป็นคำพูดมากกว่าจะคิดเป็นภาพ สังเกตว่าใช้คำบริกรรม แล้วจะเข้าสมาธิง่าย แล้วคำบริกรรมก็จะหายไป เหลือแต่รู้ลมครับ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=Gc_e-mHUaRM&t=1s

 

Q11ไม่ภาวนาพุทโธ ใช้คำอื่นแทนได้ไหม

ดังตฤณ : คือถ้าเอาอานาปานสติจริงๆ ผมไม่สนับสนุนให้ใช้พุทโธประกอบ

 

ถ้าคุณอยากจะภาวนา หรือบริกรรมแบบพุทโธ ตอนว่างๆ อยู่ในระหว่างวัน แล้วรู้สึกว่า ความคิดกระจัดกระจาย กระสับกระส่าย อยากกระโดดไปเรื่องโน้นเรื่องนี้ แล้วคุณเปลี่ยนโหมดความคิดจากแบบสุ่ม ให้มาเป็นแบบแน่นอน เป็นเส้นตรง ด้วยพุทโธนี่ ..

 

พุทโธๆๆ ให้มีคำว่า พุทโธสม่ำเสมอ เหมือนกับเราอ่านหนังสือ เห็นตัวหนังสือ พุทโธ แล้วเกิดเสียงกระซิบขึ้นมาในหัว แค่ไหน เรารักษาไว้แบบนั้น พุทโธๆ ที่มีความสม่ำเสมออย่างนั้น จะทำให้เกิดสมาธิขณะที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

 

แต่ถ้าคุณต้องการทำอานาปานสติ ในแบบที่เห็นรูปเห็นนาม ควรจะรู้ลมอย่างเดียว ให้ลมเป็นพระเอก ไม่ใช่ให้คำบริกรรมเป็นพระเอกนะ

 

คำบริกรรมเกิดจากสมองส่วนหน้า ส่วนการรู้ลมเกิดจากสมองช่วงครึ่งหลัง

ถ้าหากว่า มาตีกัน สมองส่วนหน้าก็จะคิด สมองครึ่งหลังก็จะรู้ลม .. ก็จะไม่รู้ว่าฝ่ายไหนจะชนะ ฝั่งไหนจะชนะ

 

และในที่สุด ด้วยอาการยื้อกัน จะทำให้คุณเกิดความรู้สึกสับสนว่า ฉันกำลังทำอะไรอยู่ ฉันกำลังโฟกัสอะไรกันแน่

 

ก็เอาอย่างเดียวไป ให้สมองครึ่งหลังทำงานเต็มที่ดีกว่านะครับ

________________________

นิ่งรู้ลม สว่างลงจากข้างบน แล้วก็เงียบไป ก็ตามดูและรู้ลมเอา ไม่แน่ใจว่ามาถูกทางหรือไม่ และถ้าไม่ได้ใช้พุทโธ สามารถภาวนาคำอื่นๆได้ไหมคะ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=Gc_e-mHUaRM&t=1s

 

Q10นั่งสมาธิ ปีติขนลุก รู้สึกกลัวเพราะอะไร

ดังตฤณ : ที่เกิดความกลัว เพราะว่าขนลุกนั่นแหละ

 

ปีติแล้วขนลุกตอนแรกๆ จะรู้สึกดี แต่อาการขนลุกกับอาการกลัว เป็นเกลอกัน เป็นสหายกัน

 

ถ้าขนลุกมากๆ แล้วใจเรายอมตกนิดเดียว ยอมที่จะขาดสตินิดเดียว จะพลิกจากปีติแบบที่จะรู้สึกดี ให้กลายเป็นความกลัวขึ้นมาได้เลย

 

ตรงนี้พระพุทธเจ้า ถึงตรัสแยกแยะจำแนกไว้อย่างชัดเจนนะครับว่า ปีติในองค์ฌานที่แท้จริง ต้องเป็นความชุ่มเย็น เหมือนกับเราเอาทั้งตัว จุ่มลงไปในน้ำ ไม่ใช่ปีติแบบขนลุก

 

นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าจำแนกไว้นะครับ ตอนที่ปีติแบบชุ่มเย็น จะไม่มีความกลัวเกิดขึ้นได้เลย เพราะเหมือนกับอยู่ในน้ำเย็นที่ปลอดภัยที่สุด ที่เซฟที่สุดในจักรวาล กว้างใหญ่ที่สุด เป็นพื้นที่โล่งกว้างใหญ่ที่สุดในโลก

 

อาการขนลุก เป็นเกลอกัน เป็นสหายกันกับความกลัว เพราะเวลาคนกลัวก็ขนลุกขนชัน แต่ทีนี้ จะกลับด้านกัน คือขนลุกขึ้นมาก่อนที่จะกลัวเท่านั้นเอง

 

คนเรานี่ พอรู้สึกว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง แล้วอธิบายไม่ได้ ก็จะกลัวไว้ก่อน แต่พอเรามีปีติ เรามีความสุข ที่เสถียรแล้ว ความกลัวไม่มีทางเกิดเลยนะ

 

________________________

ขณะนั่งสมาธิพิจารณาดูลมหายใจเข้าออกรู้สึกปิติ ขนลุกตลอดเวลา แต่ก็มีบางคราวที่รู้สึกกลัว แต่ก็พยายามจดจ่ออยู่กับลมหายใจไม่วูบไหวไปตามความรู้สึกหรือความฟุ้ง อยากรู้ว่าทำไมถึงกลัวทั้งๆที่ ก่อนนั่งสมาธิอารมณ์ก็ปกติค่ะ แล้วต้องทำอย่างไรคะ?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน จากสมถะสู่วิปัสสนา

- ช่วงตอบคำถาม

วันที่ 22 สิงหาคม 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=R7ToBsFTdPo

https://www.youtube.com/watch?v=A0IdbaTXjV0