วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564

นั่งสมาธิ เดินจงกรม รู้สึกปวดสะบัก

ดังตฤณ : ในเรื่องของการปฏิบัตินี่ ผมเองก็มีประสบการณ์ เกี่ยวกับเรื่องปวดโน่นปวดนี่ เเล้วก็ไม่สะดวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพอยิ่งอายุมากขึ้น ก็ใช้วิธีอย่างนี้ อย่างนั่งสมาธินี่ คุณนั่งเก้าอี้ก็ได้ ไม่ได้มีอะไรผิดแปลกแตกต่าง

 

คนจะกลัวนะว่า แต่ถ้าไม่ได้นั่งขัดสมาธิแล้ว เดี๋ยวจะไม่ได้ผล เดี๋ยวจะไม่โน่น เดี๋ยวจะไม่นี่

 

จริงๆแล้ว เราดูกันที่จิต เราดูกันที่สตินะครับ

 

ถ้าหากว่า นั่งท่าไหนหรือกระทั่งนอนแล้วเกิดสติ เกิดความรู้สึกตัวที่จะเห็นกายใจ โดยความเป็นท่านั่ง ยืน เดิน นอน เป็นรูปเป็นนามได้นี่ โอเคหมดนะ

 

ผมอยากนะนำอย่างนี้ก่อน ในเบื้องต้นนะครับว่า คุณอยากปฏิบัติ คุณอยากนั่งสมาธิ คุณอยากเดินจงกรมนี่

 

คำนึงถึงจุดแรกเลย สำคัญที่สุดก็คือจิต และสตินะ

 

ถ้าหากจิตเป็นกุศล จิตมีความพร้อมจะรู้ มีสติที่รู้เข้ามาในกายใจเฉพาะหน้าที่เป็นปัจจุบันได้นี่ แค่นั้นพอนะ

 

การต้องไปนั่งสมาธิ ขัดสมาธินานๆ หรือว่าเดินจงกรมให้เป็นชั่วโมงๆ ไม่จำเป็นนะ เดินนี่จริงๆ แล้วเดินในระหว่างวันก็ได้ เดินตอนที่ชมนกชมไม้เดินไปทำงาน เดินระหว่างโต๊ะทำงานกับห้องน้ำอะไรแบบนี้ ใช้ได้หมดขอแค่ใจของเรา จิตของเรา มีความเต็ม มีความพร้อมที่จะรู้ สะสมไปเรื่อยๆ นี่ก็กลายเป็นความรู้พร้อม รู้ทั่วพร้อมขึ้นมาได้นะ

 

ตรงข้าม ถ้าหากว่าเรานั่งสมาธิหรือว่าเดินจงกรม แบบทนฝืนนะ จนกระทั่งเกิดความปวด ความทรมานชนิดเรื้อรัง

 

นี่อาจจะไปขวางในระยะยาว ผมนะ เจอประสบการณ์โดยตรงมาแล้ว คือเนื่องจากบางทีนี่ ครูบาอาจารย์ท่านอาจนั่งได้ทนแล้วท่านก็บอกว่ามาบอกเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะว่า นั่งแล้วผ่านความเจ็บปวด ผ่านทุกข์เวทนาไปแล้ว เดี๋ยวจะได้ถึงฌาน เดี๋ยวจะโน่นนี่นั่น

 

หลายคนก็เลยลอกเลียนแบบ โดยที่ไม่คำนึงถึงรายละเอียดอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่นสภาพความพร้อมของร่างกายตัวเอง หรือที่สำคัญมากๆ คือท่านั่ง

 

บางคนนั่งผิดๆ นั่งแบบว่าหน้างุ้ม หลังงอนะครับ

แล้วพอหน้างุ้มหลังงอ ที่โหลดภาระหนักก็คือหน้าตักของเราขาของเรานะแล้วก็ทนไปอย่างนั้น เสร็จแล้วนี่กลายเป็นว่าแทบจะเป็นพิการหรืออัมพาตกัน

 

บางคนสรีระไม่เอื้อ แล้วก็เรื่องปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทมีอยู่ก่อนอยู่แล้ว พอไปเจออะไรหนักๆ ทับถมเข้าไปอีกนี่ ในระยะยาวแทนที่จะได้ปฏิบัติดีๆ กลายเป็นเสียเครื่องมือปฏิบัติ คือร่างกาย สภาพของความเป็นมนุษย์แบบนี้ไป

 

อาการครบสามสิบสองดีๆ ดีอยู่แล้ว เสร็จแล้วมาเจอแบบที่ปฏิบัติไม่บันยะบันยัง ในระยะยาวนี่เราเสียเครื่องมือปฏิบัติไปได้เลย

 

ที่นี่ มาพูดเฉพาะคำถามนี้ บอกว่าควรวางใจควรทำอย่างไร เวลาปวดมากๆนะ

 

อันดับแรกนะครับเปลี่ยนท่า อย่าไปฝืนนะ

อันดับสอง สำรวจดู ว่ามีวิธีไหนไหม นั่งสมาธิเดินจงกรมแบบไหนไหม ที่เหมาะกับเรา แบบที่จะทำให้เกิดความสุข เกิดความสบาย

 

วิธีง่ายๆ นะ สำรวจดูว่าฝ่าเท้าฝ่ามือเกร็งขึ้นมาเมื่อไหร่ เราก็ให้คลายลงเมื่อนั้น อันนี้เป็นแบบที่ง่ายที่สุดนะ

 

แล้วก็ อย่างหนึ่งคือ เราตั้งความเข้าใจไว้นะครับว่า ทุกอิริยาบถสามารถเจริญสติได้หมด

 

การที่เราเจาะจงเฉพาะท่านั่งสมาธิหรือว่าการเดินจงกรม ในแบบที่เราเคยชินมานี่ อาจจะไม่ได้เอื้อให้เกิดสติจริงๆ ก็ได้ เพราะว่านะ ผมให้ข้อสังเกตอย่างนี้ เมื่อเกิดสติจริงๆ เมื่อจิตมีความอิ่ม มีความเต็มจริงๆ นี่นะจะมีความสุข จะมีความชุ่มชื่น แล้วร่างกายจะพลอยได้ สารดีๆ อะไรที่จะหลั่งออกมาจากความสุขนั้น

 

ทำให้เกิดความรู้สึกยืดหยุ่นทางกาย นั่งได้นาน เดินได้ทน โดยที่ไม่ได้ฝืนโดยที่ไม่ได้เกร็ง

 

แต่นี่ถ้าหากว่าทุกครั้ง มีอาการฝืน มีอาการเกร็ง มีอาการทรมาน บางทีต้องย้อนกลับมา สำรวจดูว่าวิธีที่เราปฏิบัติอยู่นี่ ถูกทางแล้วหรือยังนะครับ

 

เรื่องของการสำรวจนี่ ต้องพูดกันยาว แต่ว่าพูดกันสั้นๆ ง่ายๆ นะลองสำรวจดูว่ามีวิธีไหน ที่นั่งสมาธิหรือว่าเดินจงกรมแล้ว จะไม่ปวดไม่ทรมาน แล้วมีความอิ่มใจมีความสุข มีความเต็มมากขึ้นมากขึ้นหรือเปล่า

___________________

คำถาม : ขณะเดินและนั่งสมาธิ จะปวดสะบัก ทรมานมาก แต่ก็ปฏิบัติจนครบเวลา พอออกจากสมาธิปวดก็เบาลง?

รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน หาชุดหมีให้ (พี่) หมอ อีกครั้ง

วันที่ 17 เมษายน 2564

ถอดคำ : เอ้

รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=rNwaoED5gmE


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น