ดังตฤณ : เนื่องจากว่าเป็นการสรุปคำถามมาเป็นลายลักษณ์อักษร ผมไม่สามารถสัมภาษณ์ผู้ถามโดยตรงได้ว่า นิมิตที่เห็นนั้นเป็นนิมิตอย่างไร ไม่รู้ว่าคำว่านิมิตเดียวกันนี่ เราพูดตรงกันหรือเปล่านะ ว่าเราหมายถึงสิ่งเดียวกัน
แต่ผมบอกไว้อย่างหนึ่งนะ ถ้าหากว่าปฏิบัติธรรมแล้วขี้ลืมนี่
สะท้อนนะว่านิมิตของคุณ ไม่ได้ทำให้เกิดสติ
คุณจำไว้เป็นสัญญาณบอกได้อย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้นิมิต
ประเภทที่จะมาปรุงแต่งให้จิตนิ่ง ยิ่งนิมิตนิ่ง จิตยิ่งนิ่ง แล้วก็ยิ่งมีสติรู้ว่านิมิตนั้นนี่แสดงความไม่เที่ยง
เรียกว่าเป็น นิมิตแสดงอนิจลักษณะนี่นะ ตัวของจิต ตัวของสติ จะคมขึ้นเรื่อยๆ
ขนาดที่ว่าลืมตาถอยออกมาจากสมาธิแล้ว ก็ยังมีความรู้สึกว่า ลืมตาแล้วนิมิตนั้นยังอยู่
ติดอยู่ในใจ
ซึ่งพอมีจิตที่ตั้งมั่น มีจิตที่ไม่วอกแวกง่าย แล้วก็อาศัยอิริยาบถปัจจุบัน
ลมหายใจปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของนิมิตที่แท้ แบบพุทธนี่นะ จะติดตัวไปไหนต่อไหน
คุณจะเคลื่อนไหว คุณจะเดินจะนอน ก็จะมีนิมิตนั้นติดอยู่ในจิตตลอดเวลา
อันนี้เอาแบบที่เริ่มตั้งมั่นแล้ว เป็นสมาธิจริงๆแล้วนี่นะ
เวลาที่คุณไปรู้ไปเห็นอะไรมา คุณจะรู้ด้วยโฟกัสที่คม ที่แม่นยำที่ชัดเจน ความจำของคุณจะดีขึ้นเรื่อยๆ
จะไม่เป็นคนขี้ลืมนะ ถ้าสมาธิตั้งมั่นจริงๆ นะครับ
____________________
คำถาม : ตอนดูนิมิต จะพยายามมองและจบนิมิตนั้น
โดยไม่ใส่ใจรายละเอียดเลย จนนิมิตใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ อันนี้ถูกต้องไหมครับ
สังเกตตัวเองว่าเป็นคนขี้ลืมมากขึ้นด้วยครับ?
รายการปฏิบัติธรรมที่บ้าน ตอน หาชุดหมีให้ (พี่)
หมอ อีกครั้ง
วันที่ 17 เมษายน 2564
ถอดคำ : เอ้
รับชมคลิป : https://www.youtube.com/watch?v=Ayqq1oM6ab4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น