วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แบบไหนถึงเรียกอุเบกขาของจริง

ถาม : พอดีว่าหนูได้ครูบาอาจารย์ค่ะ หนูถามว่า หนูจะช่วยคนได้ไหมคะ อะไรอย่างเงี้ย เพราะว่าหนูมีความรู้สึกว่าอุเบกขาเนี่ย หนูไม่ค่อยเข้าใจ แล้วหลวงพ่อก็เลยบอกว่า วันนึงมันจะมาเอง เมื่อเราเจอมาหลายๆ เคส  
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/T_5ANTc39ks
เสวนาดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๘
| คำถามที่ ๒.
๑๒ ก.ย. ๒๕๕๖


ดังตฤณ: 
ใช่ ใช่ ถูกต้อง อุเบกขาบางทีเนี่ยมันไม่ใช่แกล้งทำเอา แต่มันต้องเจอแล้วก็เกิดความเข้าใจ คือมีการมองเห็นนะว่าโลกนี้มันเป็นยังไงอยู่ แล้วก็จากประสบการณ์นั้นแหละ ที่เราผ่านความรู้สึกเป็นทุกข์มาได้ ที่เหลือมันจะเป็นอุเบกขาของจริง

ผู้ถาม :: ใช่ค่ะ แต่ว่าเรื่องของเรื่องก็คือว่า นิสัยหนูเหมือนมันรั้น รั้นนิดนึงว่า สิ่งที่เห็นน่ะ คือไม่เชื่อ คิดว่าเปลี่ยน (นิสัยคน) ได้

ดังตฤณ: 
ไม่เป็นไร คือ คือตรงที่เรารู้สึกอยากเปลี่ยนให้โลกนี้ดีขึ้นเนี่ย เป็นความตั้งใจที่ดี มัน มันไม่ใช่ว่า โอ๊ย ถ้าเราไปฝืนกับความเป็นจริงที่มันกำลังเป็นอยู่ในนิสัยคนอื่น หรือสันดานของคนอื่น อะไรแบบเนี้ยนะ มันจะเป็นการสูญเปล่า เสียแรงเปล่า จริงๆ แล้วมันเป็นการได้พยายามทำสิ่งที่มันไม่ดี ให้กลายเป็นสิ่งที่ดี เปลี่ยนสิ่งที่ร้ายให้กลายเป็นดีขึ้น เป็นความพยายามที่เป็นกุศล ไม่ใช่เป็นความพยายามที่สูญเปล่านะ

ดูตรงใจ ดูตรงเจตนา อยากจะเอาชนะความชั่วร้าย อยากจะเอาชนะความไม่ยุติธรรม ถือว่าเป็นกุศล ไม่ใช่อกุศลนะ ส่วนที่ว่าเราพยายามไปแล้วมันจะประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความสำเร็จ อันนี้ต่างหาก ที่จะมาวัดใจว่า เราสามารถเป็นอุเบกขาได้แค่ไหน

คำว่าอุเบกขาไม่ใช่ดูดาย หรือว่าปล่อยให้คนชั่วกลายเป็นคนชั่วไปอย่างนั้น แต่ อุเบกขาหมายถึงว่า เราพยายามทำทุกอย่างเต็มที่แล้ว แต่มันเหลือวิสัย มันเป็นไปไม่ได้ ตรงนั้น เราค่อยเกิดความรู้สึกว่าเนี่ย มันสุดๆ ได้เท่านี้นะ แล้วก็ค่อยพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม หมายความว่าแรงดันของกรรมของเค้าเนี่ย มันมากเกินกำลังของเราที่จะไปเอาชนะได้ เพราะว่าคือ ตอนที่เรายังไม่พยายามเนี่ย มันเหมือนกับปล่อยให้เค้าชั่วไป มันมีแรงดันของความชั่วเค้าอยู่เท่าไหร่ ก็ เอ่อ มีอยู่แค่นั้น ไม่สามารถที่จะเอาอะไรไปทัดทาน แต่เมื่อไหร่เรามีความพยายาม เรามีความตั้งใจ แล้วใช้วันเวลาที่ผ่านไปเนี่ย เอาแรงของเราเอากำลังของเราตรงนั้น ไปต้าน หรือว่า ไปพยายามเปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้น นี่ตรงนี้มันเกิด แรง แรงอีกแรงนึง ที่มาสู้กัน คือเหมือนกับเอาน้ำไปดับไฟ เอาความเย็นไปดับความร้อน แทนที่ความร้อนนะ ถ้าหากว่ามันสำเร็จก็แปลว่ากำลังของเรา กำลังความเย็นของเรามัน มันเอาชนะได้ แต่ถ้าหากว่าในที่สุดแล้ว ความชั่วร้ายของเค้าไม่ได้แตกต่างไปเลย ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลยนะ เราก็แค่รับรู้ตามจริงว่านั่นน่ะ กำลังของเราถึงที่สุดแล้ว ไม่สามารถเอาชนะกำลังของเค้าได้ ตรงนั้นค่อยอุเบกขา

คำว่าอุเบกขาหมายถึงเราเข้าใจด้วยอาการยอมรับ ไม่ใช่ไม่ได้ทำอะไรเลยนะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น