การเดินจงกรม
ถาม : ส่วนมากหนูก็สวดมนต์แล้วก็เดินจงกรมมากกว่า ไม่ค่อยนั่งสมาธิ
อาจารย์มีอะไรแนะนำบ้างไหมคะ
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/qK-0Thr6CXM
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
เอาคำถามดีกว่านะครับ สงสัยยังไง
อย่างเช่นเดินจงกรมแล้ว ไปเห็นอะไรมายังไงบ้าง
ผู้ถาม : จะไม่เห็นอะไรค่ะ ไม่เห็นอะไร
ดังตฤณ:
คือเดินจงกรมเนี่ย คำว่า ‘เห็น’ หมายความว่า
เรารู้สึกถึงเท้ากระทบ หรือว่ารู้สึกถึงอาการเดินโดยมาก
รู้สึกไหมว่าเวลาที่เดินจงกรมเนี่ย เราฟุ้งซ่านหรือว่าสงบมากกว่ากันน่ะครับ
ผู้ถาม : จะสงบมากกว่าฟุ้งซ่านค่ะ
ดังตฤณ:
ตอนที่เดินจงกรมเนี่ย
เรารู้สึกไหมว่ากายมันแสดงความไม่เที่ยงให้เห็น เคยรู้สึกบ้างไหม
ผู้ถาม : ยังไม่ถึงขั้นนั้นค่ะ
ดังตฤณ:
บางทีเนี่ยที่มันไม่เห็นกายแสดงความไม่เที่ยง ไม่ใช่เพราะว่าเราถึงหรือไม่ถึงขั้นไหน บางทีมันเกิดจากมุมมอง เราตั้งมุมมองไว้ยังไงด้วยนะครับ ถ้าหากว่าเราเดินไปเรื่อยๆ แล้วรู้สึกว่าเนี่ยกายมันขยับเดินไป มันมีแต่อาการเดินไปเฉยๆเนี่ย ก็จะเป็นการมีสติอยู่กับท่าเดิน แต่ไม่ใช่มีสติอยู่กับอิริยาบถเดินที่เป็นความหมายของการเจริญสตินะครับ
การเจริญสติที่แท้จริงเนี่ย มาตรวัดง่ายๆคือว่า เมื่อเจริญไปแล้วถึงระดับหนึ่ง สิ่งที่เรากำลังดูอยู่หรือว่าสามารถระลึกได้อยู่ มันแสดงความไม่เที่ยงให้เราเห็นหรือเปล่า หรือว่ามีอาการแสดงความเป็นอนัตตาให้เราดูหรือเปล่า ถ้าเดินๆไปแล้วเรารู้สึกว่ามีแต่ท่าเดิน ยังงั้นเนี่ย มันดีนะไม่ใช่ไม่ดีนะ มันอยู่กับความสงบได้ อย่างน้อยที่สุดมันทำให้เราไม่ฟุ้งซ่าน มันทำให้เรามีเครื่องอยู่ของจิต มีเครื่องอยู่ของสติ แต่ที่จะพัฒนาเป็นวิปัสสนาหรือว่าเห็นตามจริงได้เนี่ย มันต้องเริ่มจากการตั้งข้อสังเกต หรือมีมุมมองที่ชัดเจนว่าเราจะสังเกตกายโดยความเป็นอย่างไร
บางทีเนี่ยที่มันไม่เห็นกายแสดงความไม่เที่ยง ไม่ใช่เพราะว่าเราถึงหรือไม่ถึงขั้นไหน บางทีมันเกิดจากมุมมอง เราตั้งมุมมองไว้ยังไงด้วยนะครับ ถ้าหากว่าเราเดินไปเรื่อยๆ แล้วรู้สึกว่าเนี่ยกายมันขยับเดินไป มันมีแต่อาการเดินไปเฉยๆเนี่ย ก็จะเป็นการมีสติอยู่กับท่าเดิน แต่ไม่ใช่มีสติอยู่กับอิริยาบถเดินที่เป็นความหมายของการเจริญสตินะครับ
การเจริญสติที่แท้จริงเนี่ย มาตรวัดง่ายๆคือว่า เมื่อเจริญไปแล้วถึงระดับหนึ่ง สิ่งที่เรากำลังดูอยู่หรือว่าสามารถระลึกได้อยู่ มันแสดงความไม่เที่ยงให้เราเห็นหรือเปล่า หรือว่ามีอาการแสดงความเป็นอนัตตาให้เราดูหรือเปล่า ถ้าเดินๆไปแล้วเรารู้สึกว่ามีแต่ท่าเดิน ยังงั้นเนี่ย มันดีนะไม่ใช่ไม่ดีนะ มันอยู่กับความสงบได้ อย่างน้อยที่สุดมันทำให้เราไม่ฟุ้งซ่าน มันทำให้เรามีเครื่องอยู่ของจิต มีเครื่องอยู่ของสติ แต่ที่จะพัฒนาเป็นวิปัสสนาหรือว่าเห็นตามจริงได้เนี่ย มันต้องเริ่มจากการตั้งข้อสังเกต หรือมีมุมมองที่ชัดเจนว่าเราจะสังเกตกายโดยความเป็นอย่างไร
พระพุทธเจ้าสอนเดินจงกรม ท่านให้ดูว่า อิริยาบถเดินมันไม่เที่ยง มันมีความแปรปรวน ทีนี้เราจะดูความไม่เที่ยงหรือดูความแปรปรวนของอิริยาบถเดินได้อย่างไร ก็ง่ายๆเลย เริ่มต้นขึ้นมาเนี่ย แทนที่เราจะไปกำหนดถึงท่าเดิน เราแค่รับรู้ตามจริงว่าสัมผัสกระทบที่เท้าเนี่ย มันเกิดขึ้นอย่างไร แป๊ะๆๆไป เราจะรู้สึกได้ว่าสัมผัสกระทบมันเป็นของจริง มันไม่ใช่สิ่งที่เราจินตนาการ หรือว่านึกขึ้นมา ว่าเนี่ยมันกำลังมีความรู้สึกอยู่อย่างไร มันส่งความรู้สึกขึ้นมาถึงใจเราว่า แป๊ะๆๆไป
ทีนี้การที่เรามีสติสังเกตอยู่ว่าฝ่าเท้ากำลังกระทบๆๆไปเนี่ย มันสามารถที่จะตรวจ มันสามารถที่จะสำรวจได้ว่า ขณะนี้ ขณะหนึ่งๆเนี่ยมันยังมีความรู้สึกถึงฝ่าเท้ากระทบอยู่หรือเปล่า ถ้าใจเราตั้งไว้ตั้งแต่แรกว่า เราจะรู้สึกถึงเท้ากระทบ พอเท้ามันหายไปจากใจ นั่นแปลว่าสติมันขาดละ สติมันขาดไปจากที่เรากำหนดไว้ตอนแรก นึกออกใช่ไหม อันเนี่ยคือเรียกว่าเรามีจุดสังเกต ว่าสติมันอยู่หรือไปแล้ว ถ้าหายไปจากใจนั่นแสดงว่าใจเริ่มเหม่อ เริ่มวอกแวกออกไปจากลู่จากทาง แต่ถ้าหากว่าเรายังรู้สึกถึงเท้ากระทบ ที่มันรู้สึกว่าฝ่าเท้ามันสัมผัสกับพื้นแข็งๆข้างล่าง ให้ความรู้สึกอย่างไรอยู่ นั่นแสดงว่าสติมันยังไม่ไปไหน นี่หลักง่ายๆ เราก็จะเอามาประมวลให้เห็นความไม่เที่ยงได้เช่นกัน คือทุกครั้งที่เราเริ่มเหม่อไป เท้าหายไปจากใจ เราบอกตัวเองแค่ว่า เออเนี่ยเท้าหายไปจากใจแล้วนะ สติมันแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นแล้ว นี่เรียกว่าเห็นความไม่เที่ยงในระหว่างเดินจงกรมแล้ว
หรือบางครั้งเราเดินไป เรายังรู้สึกถึงเท้ากระทบอยู่เลยนะ กระทบๆๆไป แต่ว่าเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา เรารู้สึกถึงความไม่สงบทางใจ แต่พอเรายังรู้อยู่เห็นอยู่ถึงเท้ากระทบ แป๊ะๆๆไป เราก็เปรียบเทียบได้ว่า ตอนแรกที่เรารู้สึกถึงความฟุ้งซ่านที่มันโผล่ขึ้นมาในหัวเนี่ย มันอยู่ที่ก้าวไหน แล้วก้าวๆๆต่อไป แป๊ะๆๆต่อไปเนี่ย คลื่นความฟุ้งซ่านมันค่อยๆคลายตัวออกมาหรือเปล่า นี่ก็เป็นการเห็นความไม่เที่ยงเช่นกัน
ระหว่างที่เราเดินจงกรม ถ้าหากว่าเกิดความเห็นอาการไม่เที่ยงต่างๆทั้งหลายเหล่านี้บ่อยเข้าๆ มันกลายเป็นการสั่งสมความรู้ กลายเป็นความสามารถที่จะเห็นตามจริง ว่าทั้งหลายทั้งปวงที่ปรากฎแสดงอยู่ภายในขอบเขตของกายของใจเนี่ย มันกำลังฟ้องความไม่เที่ยงอยู่ เริ่มตั้งแต่แรกเนี่ย คือฟ้องสัมผัสก่อน สัมผัสเนี่ยเรายังไม่ไปรู้ไปเห็นไปเกิดปัญญาอะไรมาก แต่มันเกิดที่ตั้งของข้อสังเกต ว่าเนี่ยเรากำลังจับสติอยู่ที่ตรงนี้ เนี่ยถ้าข้อสังเกตตรงนั้นมันหายไปจากใจ แสดงว่าสติขาด ที่ผ่านมาคือที่คุณเดินจงกรมเนี่ย คือมันได้ความสงบ เพราะว่าเราตั้งใจที่จะเดินให้สงบ เข้าใจไหม
ผู้ถาม : อ๋อ..มันคือความตั้งใจของเรา
ดังตฤณ:
คือเราตั้งใจอยู่กับการเดิน
แล้วมันก็เกิดความสงบอยู่กับการเดิน
ความสงบนั้นมันเกิดจากการที่เราอยู่กับการเดินตามความตั้งใจ
แต่จริงๆแล้วถ้าหากเราสามารถที่จะมีจุดสังเกตอย่างที่ผมว่าเนี่ย คือเท้ากระทบเนี่ย
เราจะรู้ว่าความสงบนั้นแสดงความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา มันไม่ได้สงบอย่างเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ
มันมีความฟุ้งซ่านแวบเข้ามาบ้าง มันมีอาการที่เหม่อออกไปหาเรื่องอื่นบ้าง
ส่วนเหล่านี้เนี่ยมันจะไม่เข้ามาสู่ใจเรา ถ้าเราไม่ตั้งจุดสังเกตไว้ก่อน
แล้วการเดินจงกรมเราจะได้แต่ความสงบ พูดง่ายๆว่าได้แต่สมถะ ไม่ได้วิปัสสนา
ตัววิปัสสนาคือการเห็นตามจริงว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
สิ่งนั้นย่อมดับลงเป็นธรรมดา ด้วยอาการยอมรับ ยอมรับตามจริงนะ
ลองสังเกต ตอนคุณเดินจงกรมน่ะ กว่าที่มันจะนิ่งมาได้ขนาดนี้ มันต้องเดินมาหลายรอบ หลายร้อยหลายพันรอบ แล้วบางทีเนี่ย มันไม่อยากยอมรับตอนที่เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา หรือว่าเดินครั้งไหนแล้วไม่สงบ มันไม่อยากยอมรับ มันอยากปฏิเสธ จะเกิดความรู้สึกกระวนกระวายขึ้นมา อยากกลับไปสงบอีก ลักษณะของความกระวนกระวายตรงนั้นฟ้องความอยาก ตรงความอยากนั่นแหละ สะท้อนว่าเรายังไม่ได้เห็นตามจริง ไม่ได้พร้อมที่จะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น
การเจริญวิปัสสนาหรือว่าการเจริญสติที่ถูกต้องเนี่ย จะต้องมีทั้งความสามารถในการยอมรับอะไรที่ดีๆ แล้วก็อะไรที่เสียๆที่แย่ๆด้วยนะครับ ลองสังเกตในชีวิตประจำวันเราน่ะ เราจะรู้สึกสดชื่นหรือว่ามีความสุขต่อเมื่อใจมันสบาย ต่อเมื่อไม่มีเรื่องรบกวนจิตใจ แต่ถ้าเมื่อไรเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา มันจะรู้สึกไม่มีความสุขละ แต่ถ้าหากว่าเราเจริญสติอยู่ด้วยมุมมองที่ยอมรับทุกภาวะ โดยเอามาเปรียบเทียบ อย่างเวลาเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา เราเห็นด้วยอาการยอมรับตามจริง ว่ามันเนี่ยฟุ้งซ่านละ ตอนเนี่ยโกรธละ ตอนเนี่ยขัดเคืองละ นะครับ เห็นว่าเป็นภาวะหนึ่งที่ปรากฎขึ้นมาชั่วคราว เปรียบเทียบกับภาวะที่มันมีความสุข ที่มีความสงบอกสงบใจ มันเป็นคนละเรื่องกัน ถ้าเห็นอยู่อย่างนี้เนี่ย มันก็ค่อยๆเกิดปัญญาขึ้นมาว่า สภาวะทั้งหลายไม่ว่าเราจะพอใจหรือไม่พอใจ ไม่ว่าจะน่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ มันกำลังแสดงความไม่เที่ยงให้ดูทั้งสิ้น แต่คนปกติเนี่ย พอมีความสุขมันรู้สึกขอยึดไว้ อยากให้มันอยู่นานๆ หรือว่าอยากสร้างให้มันเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้าเกิดความทุกข์ขึ้นมา ปฏิเสธหมด เข้าใจพ้อยท์ (point) นะ
ลองสังเกต ตอนคุณเดินจงกรมน่ะ กว่าที่มันจะนิ่งมาได้ขนาดนี้ มันต้องเดินมาหลายรอบ หลายร้อยหลายพันรอบ แล้วบางทีเนี่ย มันไม่อยากยอมรับตอนที่เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา หรือว่าเดินครั้งไหนแล้วไม่สงบ มันไม่อยากยอมรับ มันอยากปฏิเสธ จะเกิดความรู้สึกกระวนกระวายขึ้นมา อยากกลับไปสงบอีก ลักษณะของความกระวนกระวายตรงนั้นฟ้องความอยาก ตรงความอยากนั่นแหละ สะท้อนว่าเรายังไม่ได้เห็นตามจริง ไม่ได้พร้อมที่จะยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น
การเจริญวิปัสสนาหรือว่าการเจริญสติที่ถูกต้องเนี่ย จะต้องมีทั้งความสามารถในการยอมรับอะไรที่ดีๆ แล้วก็อะไรที่เสียๆที่แย่ๆด้วยนะครับ ลองสังเกตในชีวิตประจำวันเราน่ะ เราจะรู้สึกสดชื่นหรือว่ามีความสุขต่อเมื่อใจมันสบาย ต่อเมื่อไม่มีเรื่องรบกวนจิตใจ แต่ถ้าเมื่อไรเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา มันจะรู้สึกไม่มีความสุขละ แต่ถ้าหากว่าเราเจริญสติอยู่ด้วยมุมมองที่ยอมรับทุกภาวะ โดยเอามาเปรียบเทียบ อย่างเวลาเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา เราเห็นด้วยอาการยอมรับตามจริง ว่ามันเนี่ยฟุ้งซ่านละ ตอนเนี่ยโกรธละ ตอนเนี่ยขัดเคืองละ นะครับ เห็นว่าเป็นภาวะหนึ่งที่ปรากฎขึ้นมาชั่วคราว เปรียบเทียบกับภาวะที่มันมีความสุข ที่มีความสงบอกสงบใจ มันเป็นคนละเรื่องกัน ถ้าเห็นอยู่อย่างนี้เนี่ย มันก็ค่อยๆเกิดปัญญาขึ้นมาว่า สภาวะทั้งหลายไม่ว่าเราจะพอใจหรือไม่พอใจ ไม่ว่าจะน่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ มันกำลังแสดงความไม่เที่ยงให้ดูทั้งสิ้น แต่คนปกติเนี่ย พอมีความสุขมันรู้สึกขอยึดไว้ อยากให้มันอยู่นานๆ หรือว่าอยากสร้างให้มันเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ถ้าเกิดความทุกข์ขึ้นมา ปฏิเสธหมด เข้าใจพ้อยท์ (point) นะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น