ถาม : เวลาประหม่า
เวลาอยู่ต่อหน้าคนเยอะใจจะเต้นแรง มือไม้สั่น
ควรฝึกอย่างไรให้ใจมันแข็งแรงขึ้น ให้มั่นใจไม่ประหม่า หรือประหม่าน้อยลง ?
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/UDjZlHVqWh8
(ดังตฤณวิสัชนา Live #๕ ทางเฟสบุ๊ก ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙)
ดังตฤณ:
บางทีสาเหตุของความประหม่าของแต่ละคนมันซับซ้อนและก็มีความแตกต่าง เอาแบบที่เราจะลองไปฝึกได้จริงๆ สเต็ปบายสเต็ปเลยก็แล้วกันนะ เวลาเจอผู้คนเยอะๆ จิตของเรามันจะ สำหรับคนที่ประหม่าเก่งๆนะ
มันจะมีอาการแบบว่ามองไปแล้วตาลาย คือพูดง่ายๆว่ามองไปแล้วไปจับอยู่กับกลุ่มก้อนประชนชน ไปจับอยู่กับจำนวนคนนะครับ ไปจับอยู่กับความรู้สึกว่ามีคนกำลังจ้องเข้ามามากๆ อัดแรงสายตา สายตาปะทะใจเราเข้ามามากๆ หรือเกิดความรู้สึกสัมผัสขึ้นมาว่า นี่มันมีความคิด หรือว่าการเพ่งเล็ง กระแสการเพ่งเล็งเข้ามา ด้วยความรู้สึกจะจับผิดหรือว่าจดจ้องจะฟัง ตั้งอกตั้งใจดูว่าเราจะมีท่าทียังไง เราจะมีอะไรผิดเพี้ยนไหม เราจะมีอะไรตลกๆให้เค้าดูไหม หรือว่ามีอะไรน่าล้อเลียนไหม คิดไปต่างๆนานา ในแบบที่ยังไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับกลุ่มอารมณ์แบบนั้น คลื่นอารมณ์แบบนั้น คลื่นอารมณ์ที่จดจ้องเรา
การที่จิตของเรามีความอ่อนไหว มีความอ่อนไหวนะครับที่จะรับสัมผัสอารมณ์แบบนั้น แล้วเกิดความกระเพื่อมรุ่นแรง มันจะกลายเป็นความเคยชินที่ว่า เจอผู้คนมากๆแล้วประหม่าทุกครั้ง ให้สังเกตจิตของตัวเองตัวนี้ให้ออก อาการมือชาเท้าชาอะไรแบบนี้ มันเริ่มขึ้นมาจากจิตก่อน ไม่ใช่เริ่มขึ้นมาจากร่างกาย ถ้าร่างกายของคุณ ..สังเกตเวลาเดินไปตลาดไม่เห็นประหม่าเลย เจอผู้คนเยอะเหมือนกัน เพราะเค้าไม่ได้จ้องมาทางคุณใช่ไหม มันไม่มีอารมณ์แบบว่า เออ มาเพ่งเล็งอยู่ที่เรา ว่าเราจะผิดหรือถูก เราจะพูดแบบไหน เราจะมีปัญญาที่จะนำเสนออะไรบ้าง เดินไปในตลาดมันไม่มีอาการแบบนั้นเพราะไม่มีสายตาจ้องมา แต่มันก็มีอารมณ์คนเหมือนกัน คนแต่ละคนเดินไปในตลาด เดินไปในห้างมันมีอารมณ์หลากหลายเหมือนกันนั่นแหละ
ลองฝึกอย่างนี้ดู ไปในห้างไปในที่ๆมีคนเยอะๆ ที่ๆจะไม่มีสายตาจ้องมาทางเรา แต่มีคนเยอะๆ แล้วยืนมอง ยืนมองให้เห็นให้เห็นรวมๆ ว่าคนจำนวนเยอะๆนั้นอยู่ในสายตา หรืออยู่ในกรอบสายตาของเรา คือไม่ใช่จ้องไปที่คนใดคนหนึ่ง แล้วก็ไม่ใช่มองไปเบลอๆ จนไม่เห็นอะไรเลย ฟังดีๆ นะ เวลาเรามองไปที่กลุ่มคนเยอะๆ มองให้เห็นว่าเค้ามีกลุ่มคนประมาณนี้กี่หัวก็ไม่รู้ กี่สิบก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีประมาณอย่างนี้ แล้วสำรวจใจตัวเองดูว่ามันไม่เห็นรู้สึกประหม่าเลย นั่นเพราะว่าสายตาเค้ามันยังไม่ได้กระแทกเข้ามา ยังไม่ได้มีคลื่นอารมณ์อัดเข้ามา
ทีนี้ลองไปสังเกตเปรียบเทียบดู เมื่อไหร่ที่เราต้องขึ้นพูด ต่อหน้าผู้คน ผมเดาว่าน่าจะเป็นที่ประชุม หรือว่าน่าจะเป็นห้องเรียน หรือว่าอะไรสักอย่างที่มีคนมากๆมองดูมาที่ตัวเราคนเดียว ให้สังเกตทันทีที่เรารู้สึกว่ามีอารมณ์ของทุกคนปะทะเข้ามานะ หูตามันจะเริ่มเบลอ มันจะเริ่มขาดโฟกัส ให้ลองปรับโฟกัสตรงนั้นดู เวลามองไปที่ผู้คน มองเป็นจำนวนคนเหมือนๆกับตอนที่เราไปดูอยู่ในห้าง ตอนที่เค้าไม่ได้เล็งสายตามาทางเรา คนเหมือนกัน กลุ่มคนเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีอารมณ์เดียวมาที่เราแตกต่างกันแค่ตรงนี้
จากนั้นเนี่ยให้มองที่ปฏิกิริยาทางใจของเรานะครับ พอเราเห็นภาพผู้คน ปฏิกิริยาทางใจของเรามันมีอาการอึดอัดมันมีอาการประหม่า สั่นไปสั่นมา มันมีอาการโยกไหวคิดอะไรไม่ออก ให้ดูไป ดูไปด้วยอาการรับรู้ ไม่ใช่ดูไปด้วยความพยายามว่าจงหายประหม่า จงเลิกประหม่า ไม่ใช่ดูด้วยอาการแบบนี้นะ ถ้าดูด้วยอาการว่าจงหายประหม่า จงหายประหม่า มันยิ่งประหม่าหนักเข้าไปอีก ไปกดดันตัวเอง อย่างที่ผมบอกไว้ตอนต้นว่านะครับว่า ยิ่งเราอยากให้อะไรหายไปเท่าไหร่ เรายิ่งมีความกระวนกระวายเกี่ยวกับเรื่องนั้นหนักขึ้น เพราะว่าความอยากเนี่ยเป็นต้นเหตุของความทุกข์ ความอยากเป็นต้นเหตุของความกระวนกระวายทางใจ
พอเราไม่อยาก เราเห็นความประหม่า เรายังเห็นอาการสั่นอยู่นะ แต่เราบอกตัวเองว่า ที่เราสั่นอยู่เนี่ยเป็นเพราะว่าเราไม่รู้จะพูดอะไร เราไม่แน่ใจว่าจะทำอะไร ลองคิดดูเดี๋ยวนั้น คิดนะ คิดดูเดี๋ยวนั้นว่า มีอะไรที่เราจะสามารถหยิบยื่นให้เค้าได้ง่ายที่สุด ได้เร็วที่สุดและทำได้จริงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น บอกว่า สวัสดีครับ ด้วยความรู้สึกที่มันเป็นมิตร แค่ความรู้สึกเป็นมิตรนะ เนี่ยเรียกว่าการให้แล้ว
แต่ถ้าเราไปเหมือนกับตั้งใจว่า จะสวัสดียังไงให้มันดูเท่ ให้มันดูน่าประทับใจ หรือว่าเค้าเห็นแล้วเนี่ยเค้ามีความอยากจะฟังเราต่อ อะไรแบบนั้น ด้วยความอยากชนิดนั้นมันจะทำให้เราทำอะไรไม่ถูก มันจะยิ่งทำให้เรานึกภาพตัวเองไม่ออก ว่าภาพที่ดูดีที่สุดมันเป็นภาพแบบไหน
สรุปง่ายๆ จำไว้นะพอเห็นอาการประหม่าของตัวเอง อย่าพยายามไปกดดันให้ตัวเองหายประหม่า แต่ให้คิดว่าเราจะให้ความรู้สึกดีๆหรือว่าให้ความรู้ดีๆอะไรกับคนฟังได้จริงๆ คือขอให้นึกให้ชัด ขอให้นึกด้วยใจที่รู้สึกมีความเบา ชิวๆ เบาๆ สบายๆนะ อย่างคำที่ดีที่สุดก็คือ สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ด้วยความสุข ด้วยความอยากจะนำเอาไอ้ความรู้สึกดีๆจากใจของเราเนี่ยไปสู่ใจของคนฟังนะครับ ด้วยการที่จิตของเรามีความเป็นกุศล มีความอยากจะให้คนอื่นรู้สึกดีตาม อันนั้นเป็นการแผ่เมตตาแล้วชนิดหนึ่ง
บางคนเนี่ยเข้าใจว่าการแผ่เมตตาหมายถึง การพยายามมานั่งท่อง สัพเพ สัตตา อเวรา โหนตุ อะไรแบบนี้ จริงๆแล้วที่ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง อาจจะไม่มีความสุข ไม่มีเมตตาแผ่ออกมาแม้แต่นิดเดียว นกแก้วนกขุนทองมันแผ่เมตตาไม่เป็น เราก็อย่าไปแผ่เมตตาแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ให้แผ่เมตตาในแบบที่ว่าเรานึกถึงคำ ที่เราพูดได้ดีที่สุด เช่นคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ หรือคำทักทายในแบบที่จะทำให้เค้ารู้สึกว่า เราเป็นมิตร เป็นกันเองกับเค้า หรือถ้าคิดอะไรไม่ออกเลย ให้มองว่าตอนนั้น ณ เวลานั้น เรารู้อะไรดีที่สุด ชัดเจนที่สุด พูดได้ง่ายที่สุด นึกถึงคำนั้นก่อนเลย โพล่งขึ้นมาก่อนเลยเป็นประโยคแรก ให้รู้สึกว่าเรากำลังให้ประโยชน์อะไรกับคนฟังอยู่ เนี่ยตัวนี้เป็นการแผ่เมตตาแล้ว
การแผ่เมตตาจำไว้นะ เริ่มต้นขึ้นมาใจของเราต้องมีดีอะไรบางอย่าง มันถึงจะแผ่ได้ มีดีเนี่ย บางทีมันเป็นแค่ความรู้สึกอ่อนโยนก็ได้ รู้สึกอ่อนโยนพอที่จะพูดคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ แค่นี้มันเป็นจุดเริ่มต้นเป็นประตูที่จะทำให้เราสามารถพูดต่อได้ หายประหม่าได้ ก้าวต่อก้าวที่เราพูดด้วยความรู้สึกเมตตา ก้าวต่อก้าวที่ความรู้สึกของเรามันมั่นคงขึ้นนะ มันจะทำให้เรากลายเป็นคนพูดอย่างมีความมั่นใจ ไม่ใช่พูดไปแล้วติด เออๆ อ่าๆ ติดอ่าง ยิ่งติดอ่างมากเท่าไหร่ ยิ่งประหม่ามากขึ้นเท่านั้น
คำพูดของเรามันเป็นนายของจิต คือเดิมทีจิตมันเป็นนายของคำพูด แต่เมื่อไหร่ที่เรา ฝึกที่จะพูดอะไรออกไปในแบบที่มีความมั่นใจ ในแบบที่จะมีความเชื่อมั่น ในแบบที่จะมีความเมตตา หรือหยิบยื่นประโยชน์ให้คนอื่น ยิ่งมากขึ้นเท่าไหร่จิตจะยิ่งมีความเป็นอย่างนั้น จะยิ่งมีความสว่าง ยิ่งมีความเมตตา ยิ่งมีความมั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ
(ดังตฤณวิสัชนา Live #๕ ทางเฟสบุ๊ก ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙)
ดังตฤณ:
บางทีสาเหตุของความประหม่าของแต่ละคนมันซับซ้อนและก็มีความแตกต่าง เอาแบบที่เราจะลองไปฝึกได้จริงๆ สเต็ปบายสเต็ปเลยก็แล้วกันนะ เวลาเจอผู้คนเยอะๆ จิตของเรามันจะ สำหรับคนที่ประหม่าเก่งๆนะ
มันจะมีอาการแบบว่ามองไปแล้วตาลาย คือพูดง่ายๆว่ามองไปแล้วไปจับอยู่กับกลุ่มก้อนประชนชน ไปจับอยู่กับจำนวนคนนะครับ ไปจับอยู่กับความรู้สึกว่ามีคนกำลังจ้องเข้ามามากๆ อัดแรงสายตา สายตาปะทะใจเราเข้ามามากๆ หรือเกิดความรู้สึกสัมผัสขึ้นมาว่า นี่มันมีความคิด หรือว่าการเพ่งเล็ง กระแสการเพ่งเล็งเข้ามา ด้วยความรู้สึกจะจับผิดหรือว่าจดจ้องจะฟัง ตั้งอกตั้งใจดูว่าเราจะมีท่าทียังไง เราจะมีอะไรผิดเพี้ยนไหม เราจะมีอะไรตลกๆให้เค้าดูไหม หรือว่ามีอะไรน่าล้อเลียนไหม คิดไปต่างๆนานา ในแบบที่ยังไม่แข็งแรงพอที่จะรองรับกลุ่มอารมณ์แบบนั้น คลื่นอารมณ์แบบนั้น คลื่นอารมณ์ที่จดจ้องเรา
การที่จิตของเรามีความอ่อนไหว มีความอ่อนไหวนะครับที่จะรับสัมผัสอารมณ์แบบนั้น แล้วเกิดความกระเพื่อมรุ่นแรง มันจะกลายเป็นความเคยชินที่ว่า เจอผู้คนมากๆแล้วประหม่าทุกครั้ง ให้สังเกตจิตของตัวเองตัวนี้ให้ออก อาการมือชาเท้าชาอะไรแบบนี้ มันเริ่มขึ้นมาจากจิตก่อน ไม่ใช่เริ่มขึ้นมาจากร่างกาย ถ้าร่างกายของคุณ ..สังเกตเวลาเดินไปตลาดไม่เห็นประหม่าเลย เจอผู้คนเยอะเหมือนกัน เพราะเค้าไม่ได้จ้องมาทางคุณใช่ไหม มันไม่มีอารมณ์แบบว่า เออ มาเพ่งเล็งอยู่ที่เรา ว่าเราจะผิดหรือถูก เราจะพูดแบบไหน เราจะมีปัญญาที่จะนำเสนออะไรบ้าง เดินไปในตลาดมันไม่มีอาการแบบนั้นเพราะไม่มีสายตาจ้องมา แต่มันก็มีอารมณ์คนเหมือนกัน คนแต่ละคนเดินไปในตลาด เดินไปในห้างมันมีอารมณ์หลากหลายเหมือนกันนั่นแหละ
ลองฝึกอย่างนี้ดู ไปในห้างไปในที่ๆมีคนเยอะๆ ที่ๆจะไม่มีสายตาจ้องมาทางเรา แต่มีคนเยอะๆ แล้วยืนมอง ยืนมองให้เห็นให้เห็นรวมๆ ว่าคนจำนวนเยอะๆนั้นอยู่ในสายตา หรืออยู่ในกรอบสายตาของเรา คือไม่ใช่จ้องไปที่คนใดคนหนึ่ง แล้วก็ไม่ใช่มองไปเบลอๆ จนไม่เห็นอะไรเลย ฟังดีๆ นะ เวลาเรามองไปที่กลุ่มคนเยอะๆ มองให้เห็นว่าเค้ามีกลุ่มคนประมาณนี้กี่หัวก็ไม่รู้ กี่สิบก็ไม่รู้ รู้แต่ว่ามีประมาณอย่างนี้ แล้วสำรวจใจตัวเองดูว่ามันไม่เห็นรู้สึกประหม่าเลย นั่นเพราะว่าสายตาเค้ามันยังไม่ได้กระแทกเข้ามา ยังไม่ได้มีคลื่นอารมณ์อัดเข้ามา
ทีนี้ลองไปสังเกตเปรียบเทียบดู เมื่อไหร่ที่เราต้องขึ้นพูด ต่อหน้าผู้คน ผมเดาว่าน่าจะเป็นที่ประชุม หรือว่าน่าจะเป็นห้องเรียน หรือว่าอะไรสักอย่างที่มีคนมากๆมองดูมาที่ตัวเราคนเดียว ให้สังเกตทันทีที่เรารู้สึกว่ามีอารมณ์ของทุกคนปะทะเข้ามานะ หูตามันจะเริ่มเบลอ มันจะเริ่มขาดโฟกัส ให้ลองปรับโฟกัสตรงนั้นดู เวลามองไปที่ผู้คน มองเป็นจำนวนคนเหมือนๆกับตอนที่เราไปดูอยู่ในห้าง ตอนที่เค้าไม่ได้เล็งสายตามาทางเรา คนเหมือนกัน กลุ่มคนเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีอารมณ์เดียวมาที่เราแตกต่างกันแค่ตรงนี้
จากนั้นเนี่ยให้มองที่ปฏิกิริยาทางใจของเรานะครับ พอเราเห็นภาพผู้คน ปฏิกิริยาทางใจของเรามันมีอาการอึดอัดมันมีอาการประหม่า สั่นไปสั่นมา มันมีอาการโยกไหวคิดอะไรไม่ออก ให้ดูไป ดูไปด้วยอาการรับรู้ ไม่ใช่ดูไปด้วยความพยายามว่าจงหายประหม่า จงเลิกประหม่า ไม่ใช่ดูด้วยอาการแบบนี้นะ ถ้าดูด้วยอาการว่าจงหายประหม่า จงหายประหม่า มันยิ่งประหม่าหนักเข้าไปอีก ไปกดดันตัวเอง อย่างที่ผมบอกไว้ตอนต้นว่านะครับว่า ยิ่งเราอยากให้อะไรหายไปเท่าไหร่ เรายิ่งมีความกระวนกระวายเกี่ยวกับเรื่องนั้นหนักขึ้น เพราะว่าความอยากเนี่ยเป็นต้นเหตุของความทุกข์ ความอยากเป็นต้นเหตุของความกระวนกระวายทางใจ
พอเราไม่อยาก เราเห็นความประหม่า เรายังเห็นอาการสั่นอยู่นะ แต่เราบอกตัวเองว่า ที่เราสั่นอยู่เนี่ยเป็นเพราะว่าเราไม่รู้จะพูดอะไร เราไม่แน่ใจว่าจะทำอะไร ลองคิดดูเดี๋ยวนั้น คิดนะ คิดดูเดี๋ยวนั้นว่า มีอะไรที่เราจะสามารถหยิบยื่นให้เค้าได้ง่ายที่สุด ได้เร็วที่สุดและทำได้จริงที่สุด ยกตัวอย่างเช่น บอกว่า สวัสดีครับ ด้วยความรู้สึกที่มันเป็นมิตร แค่ความรู้สึกเป็นมิตรนะ เนี่ยเรียกว่าการให้แล้ว
แต่ถ้าเราไปเหมือนกับตั้งใจว่า จะสวัสดียังไงให้มันดูเท่ ให้มันดูน่าประทับใจ หรือว่าเค้าเห็นแล้วเนี่ยเค้ามีความอยากจะฟังเราต่อ อะไรแบบนั้น ด้วยความอยากชนิดนั้นมันจะทำให้เราทำอะไรไม่ถูก มันจะยิ่งทำให้เรานึกภาพตัวเองไม่ออก ว่าภาพที่ดูดีที่สุดมันเป็นภาพแบบไหน
สรุปง่ายๆ จำไว้นะพอเห็นอาการประหม่าของตัวเอง อย่าพยายามไปกดดันให้ตัวเองหายประหม่า แต่ให้คิดว่าเราจะให้ความรู้สึกดีๆหรือว่าให้ความรู้ดีๆอะไรกับคนฟังได้จริงๆ คือขอให้นึกให้ชัด ขอให้นึกด้วยใจที่รู้สึกมีความเบา ชิวๆ เบาๆ สบายๆนะ อย่างคำที่ดีที่สุดก็คือ สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ ด้วยความสุข ด้วยความอยากจะนำเอาไอ้ความรู้สึกดีๆจากใจของเราเนี่ยไปสู่ใจของคนฟังนะครับ ด้วยการที่จิตของเรามีความเป็นกุศล มีความอยากจะให้คนอื่นรู้สึกดีตาม อันนั้นเป็นการแผ่เมตตาแล้วชนิดหนึ่ง
บางคนเนี่ยเข้าใจว่าการแผ่เมตตาหมายถึง การพยายามมานั่งท่อง สัพเพ สัตตา อเวรา โหนตุ อะไรแบบนี้ จริงๆแล้วที่ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง อาจจะไม่มีความสุข ไม่มีเมตตาแผ่ออกมาแม้แต่นิดเดียว นกแก้วนกขุนทองมันแผ่เมตตาไม่เป็น เราก็อย่าไปแผ่เมตตาแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ให้แผ่เมตตาในแบบที่ว่าเรานึกถึงคำ ที่เราพูดได้ดีที่สุด เช่นคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ หรือคำทักทายในแบบที่จะทำให้เค้ารู้สึกว่า เราเป็นมิตร เป็นกันเองกับเค้า หรือถ้าคิดอะไรไม่ออกเลย ให้มองว่าตอนนั้น ณ เวลานั้น เรารู้อะไรดีที่สุด ชัดเจนที่สุด พูดได้ง่ายที่สุด นึกถึงคำนั้นก่อนเลย โพล่งขึ้นมาก่อนเลยเป็นประโยคแรก ให้รู้สึกว่าเรากำลังให้ประโยชน์อะไรกับคนฟังอยู่ เนี่ยตัวนี้เป็นการแผ่เมตตาแล้ว
การแผ่เมตตาจำไว้นะ เริ่มต้นขึ้นมาใจของเราต้องมีดีอะไรบางอย่าง มันถึงจะแผ่ได้ มีดีเนี่ย บางทีมันเป็นแค่ความรู้สึกอ่อนโยนก็ได้ รู้สึกอ่อนโยนพอที่จะพูดคำว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ แค่นี้มันเป็นจุดเริ่มต้นเป็นประตูที่จะทำให้เราสามารถพูดต่อได้ หายประหม่าได้ ก้าวต่อก้าวที่เราพูดด้วยความรู้สึกเมตตา ก้าวต่อก้าวที่ความรู้สึกของเรามันมั่นคงขึ้นนะ มันจะทำให้เรากลายเป็นคนพูดอย่างมีความมั่นใจ ไม่ใช่พูดไปแล้วติด เออๆ อ่าๆ ติดอ่าง ยิ่งติดอ่างมากเท่าไหร่ ยิ่งประหม่ามากขึ้นเท่านั้น
คำพูดของเรามันเป็นนายของจิต คือเดิมทีจิตมันเป็นนายของคำพูด แต่เมื่อไหร่ที่เรา ฝึกที่จะพูดอะไรออกไปในแบบที่มีความมั่นใจ ในแบบที่จะมีความเชื่อมั่น ในแบบที่จะมีความเมตตา หรือหยิบยื่นประโยชน์ให้คนอื่น ยิ่งมากขึ้นเท่าไหร่จิตจะยิ่งมีความเป็นอย่างนั้น จะยิ่งมีความสว่าง ยิ่งมีความเมตตา ยิ่งมีความมั่นคงมากขึ้นเรื่อยๆ
สรุปก็คือ วิธีแก้ประหม่า เริ่มต้นขึ้นมา ฝึกที่จะมอง
มองกลุ่มคนให้มีโฟกัสชัดเจนนะครับ
จากนั้นพอเรารู้กลุ่มคนประมาณนี้มันมีอิทธิพลที่จะทำให้เรามีปฏิกิริยาทางใจอย่างไร
ให้ยอมรับไปตามนั้นนะครับ
จากนั้นพอเรารู้ปฏิกิริยาทางใจของตัวเองว่ามีความประหม่าอยู่ ให้ยอมรับไปตามจริง แล้วก็คิดถึงสิ่งที่มันจะทำให้คนฟังหรือคนดูรู้สึกดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ที่เราจะทำได้จริง อย่างเช่น เรามีความรู้สึกอยากจะให้ความสุขด้วยคำว่า สวัสดีครับ
สวัสดีค่ะ แค่นี้มันเป็นการแผ่เมตตาอ่อนๆแล้ว
จากนั้นเราอยากจะหยิบยื่นอะไรที่เป็นประโยชน์ให้กับคนดู คนฟังเราก็ทำไปได้เต็มที่เลย
ด้วยความรู้สึกที่มันดีแล้ว มันนำมาแล้วนั่นแหละ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น