ถาม : ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา
ผมปฏิบัติโดยไม่มีรูปแบบ ใช้ชีวิตประจำวันในการปฏิบัติ พยายามจะหาผัสสะต่าง ๆ
ให้มากระทบ แล้วรู้สึกกับมันไปเรื่อย ๆ ไม่รู้ว่าที่ทำมาถูกหรือผิด
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/v3h189KUasQ
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
ลองสังเกตอย่างนี้ก็แล้วกัน
ภาวะที่มันปรากฏบ่อย ๆ บางทีมันไม่มีรายละเอียดเยอะแยะหรอก แต่จะมีให้เรารู้สึกได้ง่าย
ๆ แค่ว่า ตอนนี้กำลังรู้สึกสบาย สบายใจ โล่งใจอยู่หรือเปล่า อย่างนี้คือสบายจำไว้นะ
บางทีเนี่ย แม้กระทั่งเราพยายามที่จะปฏิบัติตามที่น้องพูดมาว่าไม่มีรูปแบบ บางทีมันเกิดความรู้สึกเหมือนกับทึบ
ๆ เข้าใจไหม เปรียบเทียบแล้วมันจะแตกต่างจากตอนนี้ อย่างตอนนี้เรียกว่าโล่ง
เรียกว่าสบาย แต่บางทีเราพยายามที่จะทำอะไรอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าจะศึกษาเข้ามาในกายในใจ โดยความเป็นผัสสะกระทบ แล้วก็เออมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
แต่พอใส่ความพยายามเข้าไปปุ๊บ มันจะคล้าย ๆ กับตอนที่เราทำงาน ตอนที่เราทำงานเราจะเป็นคนแบบค่อนข้างจะคอนเซ็นเทรด
(concentrate - จดจ่อ) มาก ๆ คือเหมือนกับล็อค
จิตมันล็อคอยู่กับโฟกัส เข้าใจใช่ไหม คำว่าล็อคอยู่กับโฟกัส
มันจะรู้สึกเหมือนกับจริงจัง มันจะรู้สึกเหมือนกับมีอะไรที่เป็นความตึงๆ เคร่ง ๆ
อยู่ ซึ่งมันแตกต่างกับตอนที่รู้สึกสบาย รู้สึกปลอดโปร่ง
ลองไปสังเกตแค่ตรงนี้ก่อน
คือยังไม่ต้องเป็นนิยามก็ได้ ว่านี่เรียกว่าเป็นโมหะ เป็นความฟุ้งซ่าน หรือเป็นอะไรยังไง
เราเอาแค่ภาวะที่มันปรากฏแตกต่างที่มันเกิดขึ้นบ่อย ๆ อย่างนี้คือโล่ง
ตอนที่มันเคร่ง ๆ ขึ้นมามันรู้สึกว่าไม่โล่ง เป็นอีกภาวะหนึ่ง เนี่ย สองภาวะนี้เกิดบ่อย
ถ้าเกิดบ่อยแล้วเราเห็น เปรียบเทียบโดยความเป็นของเปรียบเทียบ จะรู้สึกว่าสติของเรามาอยู่กับเนื้อกับตัวจริง
ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ ตอนแรกจะเหมือนกับไม่ได้ทำอะไรมาก เหมือนกับเราเสียความฉลาดไป มันเห็นอะไรแค่สองตัว
เดี๋ยวโปร่งบ้าง เดี๋ยวทึบตัน แต่ภาวะสองภาวะที่เราเห็นเปรียบเทียบไปเรื่อย ๆ บ่อย
ๆ อย่างนี้แหละ จะทำให้สติมาอยู่กับเนื้อกับตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งมันมีคุณภาพมากขึ้นกว่านี้
สมาธิ สติของเรามันเกิดจากการเป็นคนจริงจัง
จริงจังกับงาน จริงจังกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เป็นคนที่เหมือนกับตั้งอกตั้งใจสูง
แต่ไม่ใช่สมาธิที่เกิดจากการปล่อย ทีนี้ถ้าหากว่าเราแค่สังเกตสองภาวะที่แตกต่างกัน
บางทีมันโล่งเลย บางทีทึบ ๆ ตัน ๆ เหมือนมีก้อน ๆ ที่เป็นกำแพงก่อตัวขึ้นมาข้างใน เราเห็นอย่างนี้
สองภาวะนี้ไม่เหมือนกัน แล้วปรากฏอยู่บ่อย ๆ มันก็กลายเป็นสติที่รู้สึกขึ้นมาว่า
ที่มันปรากฏสู่ใจของเราเนี่ย มันคือการแสดงตัวของสภาวะไม่เที่ยง ตอนแรก ๆ จะไม่ได้เห็นถึงความไม่เที่ยงระหว่างสองภาวะนี้นะ
คือไม่เห็นรอยต่อ ว่าเปลี่ยนไปเมื่อไหร่ แต่พอเปรียบเทียบไปเรื่อย ๆ เหมือนกับถามตัวเอง
ตอนนี้ทึบหรือว่าโปร่ง ตอนนี้โล่งหรือว่าตัน ๆ อยู่ เห็นไปเรื่อย ๆ
เปรียบเทียบไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเห็นว่าตอนที่โล่งเป็นจิตที่เปิด คือจะรู้สึกถึงกระแสจิตได้ชัดขึ้น
ทุกวันนี้เหมือนกับเห็นเป็นความคิดมากกว่า
คือเวลาเข้ามาข้างในเนี่ย มันเห็นเป็นกระทบ
แล้วก็เห็นเป็นปฏิกิริยาทางความคิดอะไรทำนองนั้น แต่ถ้าดูอย่างที่พี่ว่าไปเรื่อย ๆ
จะเห็นเป็นจิตเลยนะ ว่าจิตมันเปิดโล่ง คือรู้สึกถึงความเป็นจิต ว่าเป็นธาตุรู้
อย่างตอนที่เรารู้สึกสว่าง อย่างตอนที่เรารู้สึกว่าง ๆ โล่ง ๆ นั่นแหละ อันนั้นคือสภาพหนึ่งของจิต
จริง ๆ แล้วมันโล่งได้มากกว่านั้นนะ ด้วยกำลังแบบนี้ แต่เนื่องจากว่ามันยังไม่เปิดเต็มที่
ถ้าเปิดเต็มที่จะเห็นเลยว่ามีความกว้างได้มากกว่านี้
แล้วเวลาที่ทึบขึ้นมาเราก็จะเห็นเป็นจิตเหมือนกัน เป็นการปรุงแต่งของจิตที่ล็อคตัวเองไว้
ไม่เปิดออก เข้าใจใช่ไหม ตอนแรกเราเห็นแค่ว่าทึบกับโล่ง เราเห็นอยู่แค่นี้ แต่พอเห็นไปเรื่อย
ๆ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ซ้ำไปซ้ำมา เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นรอบ มันเห็นเป็นอาการของจิตได้เอง
มันมีความเข้าใจอยู่แล้วว่าที่ทึบที่โล่ง คือการแสดงตัวอย่างหนึ่งของจิต ไม่ใช่อะไรอย่างอื่น
ตัวนี้ที่จะทำให้เข้าถึงจิตจริง ๆ แล้วก็พัฒนาต่อไปได้
ผู้ถาม : มันหมายถึงความไม่เที่ยงของจิตใช่ไหม
ดังตฤณ:
ใช่
ผู้ถาม : มันเกิดแล้วก็ดับไป
เกิดขึ้น ดับไป
ดังตฤณ:
คืออย่าเพิ่งไปท่องตรงนั้น อย่าเพิ่งไปเอาตรงเกิดดับ
เราไม่ได้เริ่มต้นจากการตั้งสเปคไว้ว่าเราจะเห็นเกิดดับ
แต่เราตั้งสเปคไว้ว่าเราจะเห็นความต่างระหว่างจิตแบบหนึ่ง กับจิตอีกแบบหนึ่งที่เป็นตรงกันข้ามกัน
เหมือนกับพระพุทธเจ้าสอนสติปัฏฐาน ๔ ท่านไม่ได้ให้เห็นความไม่เที่ยงทันทีนะ
ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่จะให้ดูลมหายใจเนี่ย ท่านให้ดูง่าย ๆ ก่อน ว่าขณะนี้เข้าอยู่หรือออกอยู่
ขณะนี้ยาวอยู่หรือว่าสั้นอยู่ จนกระทั่งจิตเห็นไปเองว่ามันมีความแตกต่างระหว่างสองภาวะตรงกันข้าม
พอสติเห็นอยู่อย่างนั้น รู้อยู่เห็นอยู่ นานๆ เข้า จิตมันแปรตัวเอง พัฒนาตัวเอง
มีคุณภาพมากขึ้น เป็นผู้รู้ ผู้ดูอย่างต่อเนื่อง คงเส้นคงวา
นั่นแหละมันถึงจะเห็นจังหวะของการเปลี่ยนของลมหายใจ
เช่นกันเวลาเราดูเข้ามาถึงเวทนา คือถัดจากกายท่านให้ดูเวทนา
ดูโดยความเป็นสุข ดูโดยความเป็นทุกข์ ดูโดยความเป็นสุขที่ประกอบด้วยอามิส
สุขที่ไม่ประกอบด้วยอามิสอย่างนี้ ท่านให้ดูเฉย ๆ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร
แล้วถึงไล่ขึ้นมาสภาวะของใจมีราคะหรือไม่มีราคะ มีโทสะหรือไม่มีโทสะ
สงบอยู่หรือฟุ้งซ่านอยู่ จนกระทั่งมาถึงอาการปรุงแต่งทางใจที่เรียกว่าสังขารขันธ์
อย่างที่พี่พูดไปเมื่อกี้เนี้ย คือลักษณะการปรุงแต่งของจิตแบบที่เป็นสังขารขันธ์
คือไหน ๆ มันเกิดขึ้นบ่อย ๆ อยู่แล้ว
เราไม่ต้องไปไล่จับคู่ว่าเราควรจะดูตรงไหน เนี่ยพี่ชี้ให้ดูเลยว่าเราดูอยู่แค่นี้
โปร่งกับทึบ ที่มันสว่างโล่ง ๆ กับบางทีมืด ๆ
คือของเรานี่มันไม่ได้มืดด้วยอาการที่เจตนาไม่ดี
หรือว่าคิดชั่วร้าย แต่ว่ามืด ๆ ด้วยอาการที่ใจมันล็อค ล็อคติดอยู่กับงาน ล็อคติดอยู่กับความตั้งใจ
ตั้งอกตั้งใจอ่ะ เพราะเราจะรู้สึกได้ด้วยตัวเองว่าเวลาที่เราปล่อยมันจะสบายแบบนึง
เวลาที่เราตั้งอกตั้งใจมันจะเป็นอีกแบบนึง พอเราสังเกตอยู่แค่ตรงนั้นน่ะ
ความเป็นสังขารขันธ์เนี่ย บ่อยเข้า ๆ มันกลายเป็นความรู้ว่าทั้งหลายทั้งปวงที่เรียกว่าโปร่ง
ที่เรียกว่าโล่ง หรือว่าที่เรียกว่าทึบ มันเป็นแค่อาการชั่วคราวของจิต เข้าใจใช่ไหม
ต่อมาคุณภาพของสติมันจะพัฒนาขึ้น มันจะเห็นกระทั่งว่าตอนที่มันทึบแล้วเปลี่ยนเป็นโล่ง
มันเปลี่ยนตอนไหน มันค่อยไปเห็นทีหลัง คือไม่ใช่ตั้งใจเห็นไว้ก่อน
มันไม่สามารถตั้งใจเห็นได้ เพราะสติมันยังไม่คมพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น