ดังตฤณ:
ถ้ามีคำถามขึ้นมาว่าเราปฏิบัติอย่างไรดี ถึงจะถูกกับจริตเรานะ ให้บอกตัวเองเลยว่า
ไอ้ตรงนั้นเราอาจจะพลาดสิ่งที่มันถูกกับจริตเราไปจริงๆ แล้วก็ได้ บางทีเราเจอแล้ว
แต่เราพลาดมันไปเพราะเราไม่เอาจริง เราไม่ต่อเนื่อง
วิธีที่จะรู้ได้ว่าเราถูกกับอะไรกันแน่เนี้ย คือทำมันให้จริง ทำมันให้จริงก่อน
ของน้องคือไม่ใช่ทำไม่จริงนะ
พี่ก็เห็นนะว่ามันก็พยายามนะเพียงแต่ว่าขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
และอย่างเวลาที่เราบริกรรมพุทโธเนี้ย มันเป็นการ..... มันเหมือนคล้ายๆ เราพุทโธๆ
ไป มันมีเมฆหมอกอะไรอย่างอื่นแทรกแซงอยู่ด้วยเราจะรู้สึกท้อ คล้ายๆ
ว่าฝ่าไปกลางสายฝนแล้วมองไม่เห็นทางข้างหน้า นึกออกไหม สภาพเป็นยังไง
มันก็เลยเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจที่เราภาวนาพุทโธมาเนี้ย มันใช่หรือไม่ใช่สำหรับเรา
มันไม่ใช่ทั้งนั้นแหละถ้าหากว่าเต็มไปด้วยคลื่นรบกวน เหมือนฝนตกหนัก
เหมือนมีอะไรซ่าๆ อยู่ตลอดเวลา และก็เวลาที่เราทำไปเนี้ยมันขาดเป้าหมายให้จิตไปจับชัดเจน
เอาอย่างนี้ก็ละกัน อย่างแม้แต่เวลาสวดมนต์เนี้ย
พี่ก็ว่าเราอาจจะสวดแบบเหยาะแหยะไปนิดนึง คำว่าเหยาะแหยะหมายถึงว่าพูดไม่เต็มปากเต็มคำ
คือแบบสวดพึมพำ ลองไปเปลี่ยนใหม่คือเปล่งให้เต็มเสียง อิติปิโสภะคะวา
อะระหังสัมมาสัมพุธโธ ภะคะวา
ให้มีความรู้สึกถึงแก้วเสียงอย่างที่เปล่งออกมา เต็มปากเต็มคำ
แล้วก็คิดอยู่อย่างเดียวเลยว่าที่เราเปล่งออกมาเนี้ย
ไม่ใช่เราเปล่งออกมาตามหน้าที่ แต่เปล่งออกมาเพื่อที่จะให้เรารู้สึกมีความสุขกับการเปล่งเสียง
เอาแก้วเสียงของเราเองเป็นตัวบูชาพุทธคุณ ไม่งั้นมันไม่มีพอยต์ คือเราสวดเนี้ย
เราสวดเหมือนไปอย่างนั้นเอง สวดไปเพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดี
ครูบาอาจารย์บอกว่าสวดแล้วมันจะจุดเริ่มต้นของการทำสมาธิได้อะไรแบบนั้น
หรืออย่างแผ่เมตตาเนี้ย แผ่เท่าไหร่ เท่าไหร่เราก็รู้สึกเหมือนว่ามันไม่แผ่ออกไปสักที
มันเหมือนกับสวดสัพเพ สัตตา มันก็สัพเพ สัตตาอยู่แค่ตรงเนี้ย มันไม่รู้สึกจริงๆ
ว่าความสุขในการแผ่เมตตามันเป็นอย่างไร
ทีนี้เอาใหม่เลย
พอเราเริ่มต้นจากการที่สวดมนต์ให้เต็มเสียง อิติปิโส ภควา อะระหังสัมมา
ไม่อายฟ้าไม่อายดิน เราภูมิใจในแก้วเสียงของเรา
และก็ให้ความภูมิใจในแก้วเสียงของเราที่มันเปล่งออกไปเต็มปากเต็มคำมันค่อยๆ
สร้างความสุขขึ้นมาทีละน้อยๆ เราจะเกิดความรู้สึกว่าเออ
มันก็สามารถมีสมาธิได้แบบหนึ่งเหมือนกัน เพราะว่าตอนที่เราเปล่งคำออกไปเนี้ย
มันมีที่จับ จิตมันมีที่จับที่ชัดเจน ที่แน่นอน ไม่เหมือนกับตอนพุทโธ ตอนพุทโธมันเหมือนกับเสียงมันเลือนๆ
อยู่ในหัว เราต้องฝ่าสายฝนฝ่าไอ้คลื่นรบกวนเยอะแยะ แต่ตอนที่สวดอิติปิโสเนี้ย
เราจะรู้สึกถึงอะไรที่มันปลอดโปร่งขึ้น มันมีที่จับที่หนักแน่นชัดเจนเป็นรูปธรรม
ขออย่างเดียวคำว่าสวดเต็มปากเต็มคำเนี้ย ขอให้เข้าใจจริงๆ
นะว่าเราสวดออกมาเต็มเสียง ไม่ใช่สักแต่สวดออกมาเป็นคำพูดพึมพา ลองสวดให้พี่ฟัง ชมเสียงหน่อยว่าไพเราะแค่ไหน
ผู้ถาม: (สวดอิติปิโส....)
ดังตฤณ: ตอนที่สวดอยู่คนเดียวมันสวดแบบนี้หรือเปล่า
ผู้ถาม: จริงๆ
ช่วงหลัง ไม่ค่อยได้สวดมนต์เยอะเท่าไหร่ แต่ตอนแผ่เมตตาจะเป็นอย่างที่พี่ตุลย์บอก
ดังตฤณ: คือตอนที่เราสวด
ไปร่วมสวดกับคนอื่น มันก็เต็มเสียงแหละ เสียงนี้มันเสียงสวดร่วมกับคนอื่น ใช่ไหม
แต่ตอนสวดคนเดียวมันไม่ใช่ เข้าใจพอยต์ของพี่ไหม ทีนี้ถ้าเราสวดคนเดียวเหมือนสวดเต็มปากเต็มคำร่วมกับคนอื่นเนี้ย
แล้วด้วยเจตนาที่ชัดเจนว่าเราจะเอาสมาธิจากตรงนี้
คำว่าเราจะเอาสมาธิจากการที่เราสวดมนต์ไม่ได้หมายความว่าเราจะตั้งใจจะให้เกิดความนิ่ง
ความสงบ ความสบายอะไรขึ้นมา เราตัดทิ้งไปหมดเลย ไอ้ความอยากทั้งปวง เหลือแค่ความอยากอันเดียวคือเปล่งแก้วเสียงออกมาบูชาพระพุทธคุณจริงๆ
ด้วยความเลื่อมใส แล้วก็มีความสุขกับการเปล่งเสียงตรงนั้นเท่านั้น
เราจะเอาแค่ความสุขจากการเปล่งเสียงเท่านั้น
ตรงนี้แหละที่มันจะเกิดสมาธิขึ้นมาจริงๆ เพราะอะไร เพราะธรรมชาติของจิตเนี้ยนะ
ที่มันจะตั้งมั่นขึ้นมาได้ก็เพราะว่า มันจับอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งชัดเจนต่อเนื่องอย่างมีความสุข
แต่ที่ผ่านมาเราภาวนามามันไม่มีความสุขไง มันเหมือนกับต้องพยายามทำนะ ต้องมีสตินะ
ต้องไม่ฟุ้งซ่านนะ ก็จะรู้ตัวว่ามันฟุ้งเยอะ มันอยากจะสงบ มันอยากจะนิ่ง
แต่ไอ้ความอยากจะสงบอยากจะนิ่ง บางทีสังเกตไหม
อยู่ภาวนาไปมันเศร้าขึ้นมาเฉยๆ เพราะมันเกิดการปรุงแต่ง
สะสมมาว่าปัญหาชีวิตมันก็ยังอยู่ตรงนั้น
และเสร็จแล้วเออภาวนาเรากะจะหนีโลกซะหน่อย เข้ามาหาความสุขส่วนตัวบ้าง แต่มันไม่เจอ
ยังไม่เจออยู่ดี มันไม่ชัดเจน มันยังเหมือนกับว่าทนคลื่นรบกวนของตัวเองไม่ได้
ทีนี้พอพยายามภาวนาไปเรื่อยๆ มันเหมือนกับยิ่งสะสมความรู้สึกล้มเหลวที่จะหาความสุข
มันก็เลยกลายเป็นความเศร้า นี่คือเป็นผลว่าทำไม อยู่ๆ ภาวนาแล้วมันเศร้าขึ้นมาเฉยๆ
ตัวนี้จริงๆ ไม่ใช่ว่าเราทำมาผิด หรือว่าเราทำแล้วล้มเหลวนะ
แต่มันเป็นเพราะว่าเราตั้งมุมมองไว้ไม่ถูกเท่านั้นเอง วิธีตั้งมุมมองให้ถูก ก็คือว่าเราจะต้องมี
คืออย่าไปคิดว่ากรรมฐานแบบไหนมันเหมาะกับเรา แต่ต้องคิดว่าทำอะไรเราต้องทำให้จริง
แล้วจับต้องให้ได้ชัดเจน ทำไปเพื่อความสุข
ไม่ใช่ทำไปเพื่อที่จะนึกแต่สักว่าทำไปอย่างนั้น
คำถาม: คือตอนนี้พี่ตุลย์แนะนำให้หนูสวดมนต์แบบเปล่งเสียงออกมา
แล้วเวลานั่งสมาธิก็ภาวนาพุทโธได้เหมือนเดิมใช่ไหมคะ
ดังตฤณ: พอยต์ของพี่ก็คือว่าเราเอาการสวดมนต์เป็นตัวตั้ง
คือในใจเราคิดว่าจะใช้อะไรเป็นเครื่องมือที่จะทำให้จิตของเรามีน้ำหนักมีความชัดเจน
มีความสามารถในการรับรู้ มีคุณภาพที่สูงขึ้น อันนี้คือพอยต์ของพี่
ไม่ใช่ว่าจะให้เราเลิกทำอะไรแบบไหน ที่เคยทำอะไรแบบไหนมาก็แล้วแต่เนี้ย
สามารถทำต่อไปได้ แต่ตัวที่เราจะมาใช้เป็นเครื่องทุนแรง หรือว่าเครื่องที่จะทำให้เราหยัดตัวขึ้นมายืนได้เนี้ย
เอาเรื่องของการสวดมนต์ คือโฟกัสไปที่ตรงนั้น แล้วจะเห็นว่าทุกอย่างมันดีขึ้น
ดีขึ้นหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น