ถาม : ตอนนี้เริ่มฝึกเจริญสติ ตอนที่นั่งสมาธิรู้สึกได้เลยว่าฟุ้ง พยายามดูลมหายใจก็เหมือนมันก็ฟุ้งจนสุดท้ายต้องออกจากสมาธิค่ะ พยายามเดินสติระหว่างวัน ก็เหมือนกับได้เป็นบางครั้ง
แต่หลักๆเลยรู้สึกว่าตัวเองฟุ้งมาก ฟุ้งจนบางทีจับไม่ได้ว่า ณ เวลาเราหายใจเข้า เรารู้สึกยังไง
อึดอัดไหมหรือไม่อึดอัด แต่ที่ว่านั่งสมาธิแล้วฟุ้งจนต้องออกจากสมาธิ
มันเอากลับเข้ามาดูลมหายใจกับพุทโธๆไม่ได้ค่ะ
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/Pbxzib165hc
ดังตฤณวิสัชนา Live #๖ ทางเฟสบุ๊ก
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ดังตฤณ:
ดังตฤณวิสัชนา Live #๖ ทางเฟสบุ๊ก
๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙
ดังตฤณ:
ก่อนนั่งสมาธิเนี่ย
น้องเคยสวดมนต์บ้างไหม
ผู้ถาม : ก็กราบพระ อรหังฯเสร็จแล้วก็นั่งสมาธิเลยค่ะ
ดังตฤณ:
ถ้าฟุ้งมากๆเนี่ยนะ อยากแนะนำให้สร้างความรู้สึกสบาย
สร้างความรู้สึกอบอุ่น สร้างความรู้สึกศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นมาในจิตของเราก่อน
ซึ่งไม่มีอะไรดีไปกว่าสวดมนต์ อิติปิโสฯ สัก ๓ จบ หรือ ๗ จบนะครับ
คือพวกเรานะ อยู่ในยุคที่มันมีเหตุปัจจัยกดดันให้ฟุ้งซ่านมากที่สุดเลย มากที่สุดกว่ายุคไหนสมัยไหน แค่ตื่นเช้าขึ้นมาเราก็ต้องคิดแล้วว่าจะต้องไปทำงาน จะต้องไปรถติด จะต้องไปรบกับคน หรือถ้าหากไม่มีอะไรเลย ก็นึกว่าเดี๋ยววันนี้จะดูหนังเรื่องอะไรดี จะดูคลิปไหนดี มันมีอะไรต่อมิอะไรมาปั่นหัวของพวกเรา ให้มีความปั่นป่วน ยากที่จะรู้จักรสชาติความสงบกับใครเค้า กับคนยุคไหนเค้า อย่างพอไปเที่ยวทะเลไปเที่ยวภูเขาเนี่ย เกิดความรู้สึก..แหม..มันแตกต่าง ชีวิตไม่เหมือนเดิม นั่นก็เพราะว่าเรามองไปที่ไกลๆ มองไม่เห็นอะไรที่มาล่อลวงให้ใจเนี่ยไปหลงยึด หรือหลงเกิดราคะโทสะ มันก็เกิดความสบายอกสบายใจ ซึ่งมันแตกต่างจากชีวิตประจำวันทั่วไปที่ผ่านมาทุกวัน ที่มันรู้สึกถึงความวุ่นวายความยุ่งเหยิง มองไปทางไหนก็มีแต่เครื่องล่อ ถ้าไม่ราคะก็โทสะ มีอยู่ ๒อย่างนะ คนในเมืองเนี่ย แล้วก็โมหะเนี่ยมีกันหนาแน่นอยู่แล้ว เรื่องของอัตตา เรื่องของความหลงคิด สำคัญอะไรผิดๆทั้งหลาย ในโลกยุคปัจจุบันมันเหมือนกับมีเครื่องขยาย แล้วเป็นเครื่องขยายที่มีกำลังสูงมากด้วย ขยายราคะ ขยายโทสะ ขยายโมหะ
เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าหากนั่งหลับตา แล้วเราเกิดความรู้สึกว่า โอ้โห..มันเต็มไปด้วยพายุ มันเต็มไปด้วยฝุ่น มันเต็มไปด้วยธุลี มันเต็มไปด้วยผง ที่ทำให้จิตสกปรก ทำให้จิตว้าวุ่น จิตว้าวุ่นไม่ใช่เรื่องผิดเรื่องบาปหรอก แต่จิตว้าวุ่นเนี่ยมันเป็นฐานให้คิดไม่ดีได้มากมาย แล้วยิ่งคิดไม่ดีมากขึ้นเท่าไร หน้าที่ของกรรมดำหรือว่ากรรมไม่ดีเนี่ย ที่คิดไม่ดีเนี่ย มันก็ยิ่งไปปรุงแต่งจิตให้เกิดความโกลาหลอลหม่านหนักหน่วงขึ้นไปอีก มันย้อนไปย้อนมา พอคิดไม่ดีมันก็ไปเสพสิ่งไม่ดี พอเสพสิ่งไม่ดีมากๆมันก็ว้าวุ่น พอว้าวุ่นมากๆ ก็คิดไปเสพสิ่งไม่ดีอีก มันวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้
พวกเราที่มาคิดเจริญสติกันหรือว่าอยากนั่งสมาธิกัน ถือว่าเป็นชนหมู่น้อยแล้ว ชนกลุ่มน้อยที่แตกต่างจากชาวโลกเค้า ที่วันๆมันไม่มีตัวเลือกอื่น มันไม่มีทางเลือกไหน นอกจากจะดำดิ่งเข้าไปสู่ความโกลาหล เข้าไปอยู่ที่ใจกลางพายุ ทีนี้พอมาเริ่มต้นอยากจะทำสมาธิกันเนี่ย มันเหมือนไม่มีทุนไม่มีกำลัง มีแต่ความยุ่งเหยิง แล้วก็อย่างที่น้องบอกเนี่ยนะว่า พยายามที่จะดูลมหายใจแล้ว มันก็ไม่มีแรงไม่มีกำลัง มันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าสู้ไม่ไหว
แล้วทำยังไงเราจะสู้ได้ ก็ต้องใช้เครื่องมือใช้เครื่องทุ่นแรงกันบ้าง ไม่ใช่ว่าจะต้องรบแบบดาหน้าเข้าสู้ หักด้ามพร้าด้วยเข่าอย่างเดียว เราค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆปีนป่ายกำแพงหรือว่าค่อยๆเดินอ้อม หรือไม่ก็ค่อยๆเจาะ ค่อยๆทะลวงกำแพง มันมีวิธี ขอให้เราคิดแบบที่จะมีกลยุทธเถอะ ทุกปัญหามันแก้ได้
ปัญหาของเราก็คือ ทำยังไงความฟุ้งซ่านมันจะเบาบางลงมากพอที่จะไปสังเกตดูลมหายใจได้ วิธีเบื้องต้นที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำกันมาช้านานก็คือ ให้สวดมนต์แผ่เมตตาก่อนที่จะนั่งสมาธิ ปัญหาก็คือว่า พวกเราสวดมนต์กันไม่ค่อยเป็น สวดมนต์งึมงำๆ อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา ใจเนี่ยมันไม่ได้ไปกับบทสวด ใจมันไม่ได้ปลื้ม ใจมันไม่ได้เกิดความอิ่ม ไม่ได้เกิดปีติ ไม่ได้เกิดความสุข ไม่ได้เกิดความเบากันเลย การที่เราไม่เกิดปีติไม่เกิดความเบา ไม่เกิดความรู้สึกเลื่อมใส ไม่เกิดการคิดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันสะท้อนให้เห็นว่าเราสวดมนต์แบบสูญเปล่า สวดไปอย่างนั้นแหละ บางคนไม่ใช่แค่สูญเปล่า ถูกบังคับให้สวดมนต์แล้วเกิดความรู้สึกอึดอัด เกิดความรู้สึกฝืนใจ เกิดความรู้สึกเหมือนกับต้องเข้ามาสำรวม ราวกับโดนมัดมือมัดเท้า หรือถูกพันธนาการ ถูกจองจำในชั่วขณะหนึ่ง แบบนั้นเนี่ยขอให้เลิก
การสวดมนต์ที่จะได้ผล การสวดมนต์ที่จะเกื้อกูลให้ใจของเราสงบลงได้บ้าง มันต้องสวดแล้วเกิดความรู้สึกว่ามีความสุขที่จะสวด แล้ววิธีที่เราจะสวดได้อย่างมีความสุข เอาง่ายๆเลยเนี่ย ใจของเราต้องโฟกัส ต้องมีภาพที่ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาภาพนึง จะลืมตามองพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ตรงหน้าก็ได้ หรือว่าถ้าไม่มีพระพุทธรูปอยู่ในห้องหอพักอะไรแบบนี้แคบๆเนี่ย เราสามารถที่จะหลับตา แล้วก็นึกถึงองค์พระที่เราเกิดความเลื่อมใส เกิดความศรัทธาปสาทะ คือคิดไม่ต้องคิดให้ชัดมากนะ เอาแค่แผ่วๆ เอาแค่ให้จำได้น่ะว่าเห็นองค์พระปฏิมาแล้วเกิดความรู้สึกมีความสุข มีความรู้สึกว่าท่านเป็นที่พึ่ง องค์ท่านเนี่ยเป็นความสว่างไสวของชีวิต คือนึกถึงให้ได้แค่นั้น แล้วสวดเต็มปากเต็มคำ
ขอแนะนำเลยบทสวดที่จะทำให้เมตตารินออกมา ทำให้เมตตาแผ่ผายออกมาโดยอัตโนมัติ คือบทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก ซึ่งก็มีอยู่แล้วคืออิติปิโส ไม่ต้องไปหาที่ไหน บทนี้เนี่ยศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลกเลย เพราะว่าเป็นพุทธพจน์ พระพุทธเจ้าตรัสถึงคุณวิเศษของ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งมีมาช้านาน ไม่ใช่ว่าตรัสเพื่อชมตัวเองนะ แต่ตรัสถึงคุณวิเศษของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ว่าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แล้วก็สามารถที่จะมาก่อตั้งศาสนา สอนทั้งมนุษย์ สอนทั้งเทวดา สอนทั้งพรหม ให้เปลี่ยนคนจากที่หลงผิดให้กลายเป็นเข้าใจอย่างถูกต้องได้ เปลี่ยนคนไม่เข้าใจทางสว่างให้เข้าใจทางสว่างได้ เปลี่ยนคนที่ไม่เข้าใจไม่รู้จักทางนิพพาน ให้เข้าใจและรู้จักทางนิพพานได้ แล้วก็สรรเสริญคุณวิเศษของพระธรรมที่พระองค์ค้นพบ รวมทั้งอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระองค์
คือพอเราได้จาระไนคุณวิเศษ คุณสมบัติที่ดีงามที่ประเสริฐของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ไป ด้วยใจที่มีความเลื่อมใส มีศรัทธาปสาทะเนี่ยนะ มันจะค่อยๆเกิดความสว่างขึ้นมา และความสว่างความเบาที่เกิดจากการสวดเต็มปากเต็มคำ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา มันจะปรุงแต่งให้จิตเกิดความสงบ เกิดความเบา เกิดความสว่าง เกิดความรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับจิตตัวเอง ที่เกิดขึ้นกำกับจิตตัวเอง
พอรู้สึกถึงความสว่างความเบาของจิต เราจะเห็นเลย เห็นประจักษ์กับตัวเองว่า คลื่นความฟุ้งซ่านเนี่ย มันปฏิรูปไป มันเบาบางลง มันแผ่วลง จากเดิมที่เข้มข้นหนาแน่นมาก หมุนติ้วๆๆเป็นพายุทอร์นาโดเนี่ย มันเหมือนกับจะกลายเป็นสายลมอ่อนๆ
จากนั้นถ้าหากว่าเราไม่รีบร้อน ไม่ไปเร่งรัด ไม่ไปคาดหวังผล เริ่มต้นตั้งต้นจากการที่เราดูก่อนว่า สภาวะทางกายของเรามีความพร้อมที่จะอยู่นิ่งๆได้ไหม ปกติเนี่ยร่างกายของคนไม่พร้อมที่จะอยู่นิ่งนะ มันจะมีแต่ภาวะกดดันให้กวัดแกว่ง กดดันให้รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่าน อยากหันซ้ายหันขวา ภาวะแบบนั้นเป็นภาวะยังไง สะท้อนให้เห็นได้จากกล้ามเนื้อของเรานี่แหละ ถ้ามันมีความกำ ถ้ามันมีความเกร็งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่เท้า ที่ฝ่ามือ หรือที่ใบหน้า ภาวะแบบนั้นแหละไม่พร้อมที่จะนิ่ง แต่พร้อมที่จะกวัดแกว่ง พร้อมที่จะเคลื่อนไหว นั่นแหละคือสภาพที่เราจะไม่สามารถใช้กายเป็นฐานตั้งของสมาธิที่สว่างที่เบาที่สงบได้
เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะต้องทำหลังจากสวดมนต์เสร็จ สำรวจดูว่า เท้าเราอยู่กับพื้นสบายๆไหม ถ้าแบอยู่กับพื้นสบายๆเนี่ย เราก็จะเกิดความรู้สึกว่า เอ้อ..มันเบาตัวขึ้นมานิดนึง แล้วฝ่ามือเนี่ยนะ ถ้าหากว่าแบแล้วมันไม่สบาย แสดงว่ากล้ามเนื้อมันกำมันเกร็งอยู่ แล้วใบหน้านะ ถ้ามันมีอาการขมวดของหัวคิ้ว ถ้ามันมีอาการตึงที่ขมับเนี่ย แสดงว่ามันยังไม่พร้อมที่จะอยู่นิ่งๆ ความเครียดความกดดันทางกาย มันจะสร้างความอึดอัดแบบหนึ่งขึ้นมาที่ทำให้จิตไม่ยอมสงบ มันมีแต่จะฟุ้งๆๆขึ้นไป
ทีนี้พอเราสำรวจแล้วว่า ทั้งฝ่าเท้า ฝ่ามือ และทั่วทั้งใบหน้า มันมีความสงบความเบาความผ่อนคลายเนี่ย เราก็แค่..ดูไปเฉยๆ นึกไปว่าตอนนี้เนี่ยภาวะทางกายมันอยากได้ลมเข้าหรือมันอยากได้ลมออก หรือว่ามันอยากจะหยุดลมหายใจอยู่เฉยๆ ตอนหยุดลมหายใจอยู่เฉยๆแล้วร่างกายไม่มีความกวัดแกว่ง มันมีแต่ความสงบความว่างความเบาเนี่ย มันใกล้เคียงกับสมาธินะ มันมีความเบา มันมีความสบาย มันมีความรู้สึกว่า เออ..โลกนี้ไม่วุ่นวาย มันมีแต่ภาวะเบาๆ ภาวะที่มันสว่าง มันมีภาวะที่กว้างๆอยู่ ลักษณะของจิตแบบนี้เนี่ยมันพร้อมที่จะเกิดสมาธิ โดยไม่ต้องไปฝืน โดยไม่ต้องไปเกร็ง โดยไม่ต้องพยายาม
อาการเร่งนั่นแหละ อาการกระวนกระวาย อาการอันเกิดจากความอยาก ไม่ใช่อาการอันเป็นธรรมชาติ ถ้าหากว่าเรามีแต่อาการอยากๆๆ แล้วก็ไปเร่งๆๆ มันก็ขมวดแน่นขึ้นมาอีก ร่างกายก็เกร็งขึ้นมาอีก มันก็ไม่สบายขึ้นมาอีก พอเราสามารถที่จะหายใจอย่างเป็นธรรมชาติได้ นั่นคือร่างกายอยากได้ลมหายใจแบบไหน เราให้ลมหายใจแบบนั้น ไม่เข้าก็ออก ไม่ออกก็หยุด มีอยู่แค่ ๓ภาวะ ไม่มีทางเพี้ยนหรอกถ้าหากว่าเราดูอยู่เฉยๆ
พอเรารู้อยู่เฉยๆแบบนี้เนี่ย มันอาจจะมีอาการตระเวน อยากไปเที่ยวนั่น อยากไปเที่ยวนี้ อยากจะส่งไปถึงคนโน้น อยากจะส่งไปถึงคนนี้ ก็ให้มันส่งไป อย่าไปพยายามกดไว้ว่าจงอย่าไป จงอยู่ที่นี่เท่านั้น แบบนั้นน่ะจิตมันไม่ยอมหรอก กิเลสมันไม่ยอมหรอกนะ แต่ถ้าหากว่ามันแว่บออกไปแล้วเราแค่รู้ รู้ว่านี่มันแว่บออกไปที่ลมหายใจนี้ มันมีความฟุ้งซ่านหนาแน่นขึ้นมาแค่ไหน มันคิดถึงใคร แล้วเกิดความยุ่งยากใจ คิดถึงใครแล้วเกิดความเจ็บปวดเจ็บจี๊ด คิดถึงใครแล้วเรารู้สึกอยากไปหา อาการคิดแบบนั้น อาการอยากแบบนั้นที่เกิดขึ้น ณ ลมหายใจใด เราสังเกตได้เรายอมรับไปตามจริง แล้วสังเกตต่อมาว่า ลมหายใจที่ถัดมา มันเกิดความรู้สึกทุเลาเบาบางลงไหม มันเกิดความรู้สึกว่าแผ่วลงไหม หรือว่าเข้มข้นขึ้นอีก
ความอยากความฟุ้งซ่านความวุ่นวายทั้งหลายของจิตเนี่ย มันมีอยู่แค่นี้ มันก่อตัววุ่นวายเข้มข้นขึ้นมา แล้วมันก็ค่อยๆทุเลาเบาบาง กลายเป็นสงบชั่วคราวขึ้นมา มีอยู่แค่นี้แหละ สังเกตไปเรื่อยๆ ถ้าหากเรามีเบสิกที่ดี เราจะต่อยอดไปถึงไหนก็ได้ แต่ถ้าหากเบสิกไม่ดี ไม่มีความเข้าใจขั้นพื้นฐาน แล้วเราไปพยายามต่อยอด จะคว้าจะเอาความสงบทันทีมาใส่ตัวให้ได้เนี่ย จะกลายเป็นล้มเหลวปีแล้วปีเล่า ไม่ว่าจะทำสมาธิไปนานขนาดไหนนะครับ ไม่ว่าจะปลีกตัวไปเข้าถ้ำ ขึ้นดอย เข้าป่าเข้าดงอะไรเนี่ย มันก็ไม่สำเร็จ เพราะว่าสมาธิไม่ได้เกิดที่สถานปฏิบัติธรรม ไม่ได้เกิดในป่า แต่เกิดขึ้นที่ร่างกายนี้ ที่ตั้งของสมาธิอยู่ที่ร่างกายนี้ ไม่ได้อยู่ในป่าในเขา ไม่ใช่อยู่ที่สถานปฏิบัติธรรม ถ้าหากว่าเราเตรียมความพร้อมทางกายทางใจไว้ดีพอ แล้วมีเป้าหมายมีมุมมองที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของการทำสมาธิ เราจะทำได้เสมอ ทุกครั้ง คือแม้ว่าจะไม่ได้ความสงบครั้งไหน แต่ครั้งนั้นขอให้มั่นใจว่าเราจะได้สติ เห็นความถูกต้องที่น่าเห็น
คือพวกเรานะ อยู่ในยุคที่มันมีเหตุปัจจัยกดดันให้ฟุ้งซ่านมากที่สุดเลย มากที่สุดกว่ายุคไหนสมัยไหน แค่ตื่นเช้าขึ้นมาเราก็ต้องคิดแล้วว่าจะต้องไปทำงาน จะต้องไปรถติด จะต้องไปรบกับคน หรือถ้าหากไม่มีอะไรเลย ก็นึกว่าเดี๋ยววันนี้จะดูหนังเรื่องอะไรดี จะดูคลิปไหนดี มันมีอะไรต่อมิอะไรมาปั่นหัวของพวกเรา ให้มีความปั่นป่วน ยากที่จะรู้จักรสชาติความสงบกับใครเค้า กับคนยุคไหนเค้า อย่างพอไปเที่ยวทะเลไปเที่ยวภูเขาเนี่ย เกิดความรู้สึก..แหม..มันแตกต่าง ชีวิตไม่เหมือนเดิม นั่นก็เพราะว่าเรามองไปที่ไกลๆ มองไม่เห็นอะไรที่มาล่อลวงให้ใจเนี่ยไปหลงยึด หรือหลงเกิดราคะโทสะ มันก็เกิดความสบายอกสบายใจ ซึ่งมันแตกต่างจากชีวิตประจำวันทั่วไปที่ผ่านมาทุกวัน ที่มันรู้สึกถึงความวุ่นวายความยุ่งเหยิง มองไปทางไหนก็มีแต่เครื่องล่อ ถ้าไม่ราคะก็โทสะ มีอยู่ ๒อย่างนะ คนในเมืองเนี่ย แล้วก็โมหะเนี่ยมีกันหนาแน่นอยู่แล้ว เรื่องของอัตตา เรื่องของความหลงคิด สำคัญอะไรผิดๆทั้งหลาย ในโลกยุคปัจจุบันมันเหมือนกับมีเครื่องขยาย แล้วเป็นเครื่องขยายที่มีกำลังสูงมากด้วย ขยายราคะ ขยายโทสะ ขยายโมหะ
เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจถ้าหากนั่งหลับตา แล้วเราเกิดความรู้สึกว่า โอ้โห..มันเต็มไปด้วยพายุ มันเต็มไปด้วยฝุ่น มันเต็มไปด้วยธุลี มันเต็มไปด้วยผง ที่ทำให้จิตสกปรก ทำให้จิตว้าวุ่น จิตว้าวุ่นไม่ใช่เรื่องผิดเรื่องบาปหรอก แต่จิตว้าวุ่นเนี่ยมันเป็นฐานให้คิดไม่ดีได้มากมาย แล้วยิ่งคิดไม่ดีมากขึ้นเท่าไร หน้าที่ของกรรมดำหรือว่ากรรมไม่ดีเนี่ย ที่คิดไม่ดีเนี่ย มันก็ยิ่งไปปรุงแต่งจิตให้เกิดความโกลาหลอลหม่านหนักหน่วงขึ้นไปอีก มันย้อนไปย้อนมา พอคิดไม่ดีมันก็ไปเสพสิ่งไม่ดี พอเสพสิ่งไม่ดีมากๆมันก็ว้าวุ่น พอว้าวุ่นมากๆ ก็คิดไปเสพสิ่งไม่ดีอีก มันวนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้
พวกเราที่มาคิดเจริญสติกันหรือว่าอยากนั่งสมาธิกัน ถือว่าเป็นชนหมู่น้อยแล้ว ชนกลุ่มน้อยที่แตกต่างจากชาวโลกเค้า ที่วันๆมันไม่มีตัวเลือกอื่น มันไม่มีทางเลือกไหน นอกจากจะดำดิ่งเข้าไปสู่ความโกลาหล เข้าไปอยู่ที่ใจกลางพายุ ทีนี้พอมาเริ่มต้นอยากจะทำสมาธิกันเนี่ย มันเหมือนไม่มีทุนไม่มีกำลัง มีแต่ความยุ่งเหยิง แล้วก็อย่างที่น้องบอกเนี่ยนะว่า พยายามที่จะดูลมหายใจแล้ว มันก็ไม่มีแรงไม่มีกำลัง มันมีความรู้สึกเหมือนกับว่าสู้ไม่ไหว
แล้วทำยังไงเราจะสู้ได้ ก็ต้องใช้เครื่องมือใช้เครื่องทุ่นแรงกันบ้าง ไม่ใช่ว่าจะต้องรบแบบดาหน้าเข้าสู้ หักด้ามพร้าด้วยเข่าอย่างเดียว เราค่อยๆเป็นค่อยๆไป ค่อยๆปีนป่ายกำแพงหรือว่าค่อยๆเดินอ้อม หรือไม่ก็ค่อยๆเจาะ ค่อยๆทะลวงกำแพง มันมีวิธี ขอให้เราคิดแบบที่จะมีกลยุทธเถอะ ทุกปัญหามันแก้ได้
ปัญหาของเราก็คือ ทำยังไงความฟุ้งซ่านมันจะเบาบางลงมากพอที่จะไปสังเกตดูลมหายใจได้ วิธีเบื้องต้นที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำกันมาช้านานก็คือ ให้สวดมนต์แผ่เมตตาก่อนที่จะนั่งสมาธิ ปัญหาก็คือว่า พวกเราสวดมนต์กันไม่ค่อยเป็น สวดมนต์งึมงำๆ อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา ใจเนี่ยมันไม่ได้ไปกับบทสวด ใจมันไม่ได้ปลื้ม ใจมันไม่ได้เกิดความอิ่ม ไม่ได้เกิดปีติ ไม่ได้เกิดความสุข ไม่ได้เกิดความเบากันเลย การที่เราไม่เกิดปีติไม่เกิดความเบา ไม่เกิดความรู้สึกเลื่อมใส ไม่เกิดการคิดถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันสะท้อนให้เห็นว่าเราสวดมนต์แบบสูญเปล่า สวดไปอย่างนั้นแหละ บางคนไม่ใช่แค่สูญเปล่า ถูกบังคับให้สวดมนต์แล้วเกิดความรู้สึกอึดอัด เกิดความรู้สึกฝืนใจ เกิดความรู้สึกเหมือนกับต้องเข้ามาสำรวม ราวกับโดนมัดมือมัดเท้า หรือถูกพันธนาการ ถูกจองจำในชั่วขณะหนึ่ง แบบนั้นเนี่ยขอให้เลิก
การสวดมนต์ที่จะได้ผล การสวดมนต์ที่จะเกื้อกูลให้ใจของเราสงบลงได้บ้าง มันต้องสวดแล้วเกิดความรู้สึกว่ามีความสุขที่จะสวด แล้ววิธีที่เราจะสวดได้อย่างมีความสุข เอาง่ายๆเลยเนี่ย ใจของเราต้องโฟกัส ต้องมีภาพที่ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาภาพนึง จะลืมตามองพระพุทธรูปองค์ที่อยู่ตรงหน้าก็ได้ หรือว่าถ้าไม่มีพระพุทธรูปอยู่ในห้องหอพักอะไรแบบนี้แคบๆเนี่ย เราสามารถที่จะหลับตา แล้วก็นึกถึงองค์พระที่เราเกิดความเลื่อมใส เกิดความศรัทธาปสาทะ คือคิดไม่ต้องคิดให้ชัดมากนะ เอาแค่แผ่วๆ เอาแค่ให้จำได้น่ะว่าเห็นองค์พระปฏิมาแล้วเกิดความรู้สึกมีความสุข มีความรู้สึกว่าท่านเป็นที่พึ่ง องค์ท่านเนี่ยเป็นความสว่างไสวของชีวิต คือนึกถึงให้ได้แค่นั้น แล้วสวดเต็มปากเต็มคำ
ขอแนะนำเลยบทสวดที่จะทำให้เมตตารินออกมา ทำให้เมตตาแผ่ผายออกมาโดยอัตโนมัติ คือบทสวดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก ซึ่งก็มีอยู่แล้วคืออิติปิโส ไม่ต้องไปหาที่ไหน บทนี้เนี่ยศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลกเลย เพราะว่าเป็นพุทธพจน์ พระพุทธเจ้าตรัสถึงคุณวิเศษของ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งมีมาช้านาน ไม่ใช่ว่าตรัสเพื่อชมตัวเองนะ แต่ตรัสถึงคุณวิเศษของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ว่าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง แล้วก็สามารถที่จะมาก่อตั้งศาสนา สอนทั้งมนุษย์ สอนทั้งเทวดา สอนทั้งพรหม ให้เปลี่ยนคนจากที่หลงผิดให้กลายเป็นเข้าใจอย่างถูกต้องได้ เปลี่ยนคนไม่เข้าใจทางสว่างให้เข้าใจทางสว่างได้ เปลี่ยนคนที่ไม่เข้าใจไม่รู้จักทางนิพพาน ให้เข้าใจและรู้จักทางนิพพานได้ แล้วก็สรรเสริญคุณวิเศษของพระธรรมที่พระองค์ค้นพบ รวมทั้งอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระองค์
คือพอเราได้จาระไนคุณวิเศษ คุณสมบัติที่ดีงามที่ประเสริฐของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ไป ด้วยใจที่มีความเลื่อมใส มีศรัทธาปสาทะเนี่ยนะ มันจะค่อยๆเกิดความสว่างขึ้นมา และความสว่างความเบาที่เกิดจากการสวดเต็มปากเต็มคำ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา มันจะปรุงแต่งให้จิตเกิดความสงบ เกิดความเบา เกิดความสว่าง เกิดความรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับจิตตัวเอง ที่เกิดขึ้นกำกับจิตตัวเอง
พอรู้สึกถึงความสว่างความเบาของจิต เราจะเห็นเลย เห็นประจักษ์กับตัวเองว่า คลื่นความฟุ้งซ่านเนี่ย มันปฏิรูปไป มันเบาบางลง มันแผ่วลง จากเดิมที่เข้มข้นหนาแน่นมาก หมุนติ้วๆๆเป็นพายุทอร์นาโดเนี่ย มันเหมือนกับจะกลายเป็นสายลมอ่อนๆ
จากนั้นถ้าหากว่าเราไม่รีบร้อน ไม่ไปเร่งรัด ไม่ไปคาดหวังผล เริ่มต้นตั้งต้นจากการที่เราดูก่อนว่า สภาวะทางกายของเรามีความพร้อมที่จะอยู่นิ่งๆได้ไหม ปกติเนี่ยร่างกายของคนไม่พร้อมที่จะอยู่นิ่งนะ มันจะมีแต่ภาวะกดดันให้กวัดแกว่ง กดดันให้รู้สึกหงุดหงิดงุ่นง่าน อยากหันซ้ายหันขวา ภาวะแบบนั้นเป็นภาวะยังไง สะท้อนให้เห็นได้จากกล้ามเนื้อของเรานี่แหละ ถ้ามันมีความกำ ถ้ามันมีความเกร็งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่เท้า ที่ฝ่ามือ หรือที่ใบหน้า ภาวะแบบนั้นแหละไม่พร้อมที่จะนิ่ง แต่พร้อมที่จะกวัดแกว่ง พร้อมที่จะเคลื่อนไหว นั่นแหละคือสภาพที่เราจะไม่สามารถใช้กายเป็นฐานตั้งของสมาธิที่สว่างที่เบาที่สงบได้
เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะต้องทำหลังจากสวดมนต์เสร็จ สำรวจดูว่า เท้าเราอยู่กับพื้นสบายๆไหม ถ้าแบอยู่กับพื้นสบายๆเนี่ย เราก็จะเกิดความรู้สึกว่า เอ้อ..มันเบาตัวขึ้นมานิดนึง แล้วฝ่ามือเนี่ยนะ ถ้าหากว่าแบแล้วมันไม่สบาย แสดงว่ากล้ามเนื้อมันกำมันเกร็งอยู่ แล้วใบหน้านะ ถ้ามันมีอาการขมวดของหัวคิ้ว ถ้ามันมีอาการตึงที่ขมับเนี่ย แสดงว่ามันยังไม่พร้อมที่จะอยู่นิ่งๆ ความเครียดความกดดันทางกาย มันจะสร้างความอึดอัดแบบหนึ่งขึ้นมาที่ทำให้จิตไม่ยอมสงบ มันมีแต่จะฟุ้งๆๆขึ้นไป
ทีนี้พอเราสำรวจแล้วว่า ทั้งฝ่าเท้า ฝ่ามือ และทั่วทั้งใบหน้า มันมีความสงบความเบาความผ่อนคลายเนี่ย เราก็แค่..ดูไปเฉยๆ นึกไปว่าตอนนี้เนี่ยภาวะทางกายมันอยากได้ลมเข้าหรือมันอยากได้ลมออก หรือว่ามันอยากจะหยุดลมหายใจอยู่เฉยๆ ตอนหยุดลมหายใจอยู่เฉยๆแล้วร่างกายไม่มีความกวัดแกว่ง มันมีแต่ความสงบความว่างความเบาเนี่ย มันใกล้เคียงกับสมาธินะ มันมีความเบา มันมีความสบาย มันมีความรู้สึกว่า เออ..โลกนี้ไม่วุ่นวาย มันมีแต่ภาวะเบาๆ ภาวะที่มันสว่าง มันมีภาวะที่กว้างๆอยู่ ลักษณะของจิตแบบนี้เนี่ยมันพร้อมที่จะเกิดสมาธิ โดยไม่ต้องไปฝืน โดยไม่ต้องไปเกร็ง โดยไม่ต้องพยายาม
เอาล่ะ..หลักการง่ายๆเลย
ทำให้จิตเบาด้วยการสวดมนต์นำ
สวดอิติปิโสฯนี่แหละ
จากนั้นมาสำรวจร่างกาย
ว่ามันมีความพร้อมที่จะเข้าสมาธิไหม
ความพร้อมในที่นี้ก็คือ
ดูว่ามันไม่มีความเกร็ง
มันมีแต่ความเบาความสบาย
มันมีแต่ความรู้สึกว่าไม่เกร็งไม่กำไม่ขมวด
แล้วก็ดูไปเรื่อยๆว่า
ร่างกายต้องการลมเข้าหรือลมออก
ถามตัวเองง่ายๆแค่นี้เองนะ
ถ้าต้องการลมเข้า เราก็ลากเข้าสบายๆ
ถ้าไปสุดแล้วและต้องการลมออก
เราก็ผ่อนสบายๆ
แล้วถ้าหากว่ามันหยุด
หยุดหายใจ
ไม่ต้องไปเร่ง
อาการเร่งนั่นแหละ อาการกระวนกระวาย อาการอันเกิดจากความอยาก ไม่ใช่อาการอันเป็นธรรมชาติ ถ้าหากว่าเรามีแต่อาการอยากๆๆ แล้วก็ไปเร่งๆๆ มันก็ขมวดแน่นขึ้นมาอีก ร่างกายก็เกร็งขึ้นมาอีก มันก็ไม่สบายขึ้นมาอีก พอเราสามารถที่จะหายใจอย่างเป็นธรรมชาติได้ นั่นคือร่างกายอยากได้ลมหายใจแบบไหน เราให้ลมหายใจแบบนั้น ไม่เข้าก็ออก ไม่ออกก็หยุด มีอยู่แค่ ๓ภาวะ ไม่มีทางเพี้ยนหรอกถ้าหากว่าเราดูอยู่เฉยๆ
พอเรารู้อยู่เฉยๆแบบนี้เนี่ย มันอาจจะมีอาการตระเวน อยากไปเที่ยวนั่น อยากไปเที่ยวนี้ อยากจะส่งไปถึงคนโน้น อยากจะส่งไปถึงคนนี้ ก็ให้มันส่งไป อย่าไปพยายามกดไว้ว่าจงอย่าไป จงอยู่ที่นี่เท่านั้น แบบนั้นน่ะจิตมันไม่ยอมหรอก กิเลสมันไม่ยอมหรอกนะ แต่ถ้าหากว่ามันแว่บออกไปแล้วเราแค่รู้ รู้ว่านี่มันแว่บออกไปที่ลมหายใจนี้ มันมีความฟุ้งซ่านหนาแน่นขึ้นมาแค่ไหน มันคิดถึงใคร แล้วเกิดความยุ่งยากใจ คิดถึงใครแล้วเกิดความเจ็บปวดเจ็บจี๊ด คิดถึงใครแล้วเรารู้สึกอยากไปหา อาการคิดแบบนั้น อาการอยากแบบนั้นที่เกิดขึ้น ณ ลมหายใจใด เราสังเกตได้เรายอมรับไปตามจริง แล้วสังเกตต่อมาว่า ลมหายใจที่ถัดมา มันเกิดความรู้สึกทุเลาเบาบางลงไหม มันเกิดความรู้สึกว่าแผ่วลงไหม หรือว่าเข้มข้นขึ้นอีก
ความอยากความฟุ้งซ่านความวุ่นวายทั้งหลายของจิตเนี่ย มันมีอยู่แค่นี้ มันก่อตัววุ่นวายเข้มข้นขึ้นมา แล้วมันก็ค่อยๆทุเลาเบาบาง กลายเป็นสงบชั่วคราวขึ้นมา มีอยู่แค่นี้แหละ สังเกตไปเรื่อยๆ ถ้าหากเรามีเบสิกที่ดี เราจะต่อยอดไปถึงไหนก็ได้ แต่ถ้าหากเบสิกไม่ดี ไม่มีความเข้าใจขั้นพื้นฐาน แล้วเราไปพยายามต่อยอด จะคว้าจะเอาความสงบทันทีมาใส่ตัวให้ได้เนี่ย จะกลายเป็นล้มเหลวปีแล้วปีเล่า ไม่ว่าจะทำสมาธิไปนานขนาดไหนนะครับ ไม่ว่าจะปลีกตัวไปเข้าถ้ำ ขึ้นดอย เข้าป่าเข้าดงอะไรเนี่ย มันก็ไม่สำเร็จ เพราะว่าสมาธิไม่ได้เกิดที่สถานปฏิบัติธรรม ไม่ได้เกิดในป่า แต่เกิดขึ้นที่ร่างกายนี้ ที่ตั้งของสมาธิอยู่ที่ร่างกายนี้ ไม่ได้อยู่ในป่าในเขา ไม่ใช่อยู่ที่สถานปฏิบัติธรรม ถ้าหากว่าเราเตรียมความพร้อมทางกายทางใจไว้ดีพอ แล้วมีเป้าหมายมีมุมมองที่ถูกต้องชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของการทำสมาธิ เราจะทำได้เสมอ ทุกครั้ง คือแม้ว่าจะไม่ได้ความสงบครั้งไหน แต่ครั้งนั้นขอให้มั่นใจว่าเราจะได้สติ เห็นความถูกต้องที่น่าเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น