ถาม : ระหว่างที่เราปฏิบัติ
ไม่ว่าจะนั่ง หรือจะเดินเนี่ย ช่วงหลังมีความรู้สึกว่า มันมีแต่ความว่าง
มันเหมือนมันไม่ก้าวหน้า สงสัยว่าทำถูกหรือเปล่า เพราะว่าเป้าหมายชีวิตก็คือต้องการสัมผัสพระนิพพานสักครั้งนึง
กลัวเสียเวลาเปล่า ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/PRaz34rTp8I
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๘
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๑๒ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
ตอนที่รู้สึกว่างเนี่ยนะ คนมักเกิดคำถาม โดยเฉพาะเวลาที่รู้สึกว่ามันไม่มีอะไรให้ดู กลัวว่าเราไปติดอยู่กับความว่างแบบนั้นแล้ว ในที่สุดเนี่ย มันจะเป็นความว่างที่สูญเปล่า ไม่ใช่ความว่างแบบนิพพาน แทนที่ความกลัว นะ ให้มองเป็นความจริงก็แล้วกัน คือ อย่ากลัวความจริง แต่ให้ยอมรับมันเป็นพวกเดียวกับเรา ความจริงเนี่ย มันเหมือนกัลยาณมิตร มันเหมือนมีอะไร ถ้า เอ่อ ผิดพลาด หรือว่าถูกต้อง ก็แล้วแต่เนี่ย มันแสดงออกมา แล้วเรายอมรับมัน ก็คือ เราอยู่ข้างเดียวกับความจริง เป็นพวกเดียวกับความจริงได้นั่นเอง
ดังตฤณ:
ตอนที่รู้สึกว่างเนี่ยนะ คนมักเกิดคำถาม โดยเฉพาะเวลาที่รู้สึกว่ามันไม่มีอะไรให้ดู กลัวว่าเราไปติดอยู่กับความว่างแบบนั้นแล้ว ในที่สุดเนี่ย มันจะเป็นความว่างที่สูญเปล่า ไม่ใช่ความว่างแบบนิพพาน แทนที่ความกลัว นะ ให้มองเป็นความจริงก็แล้วกัน คือ อย่ากลัวความจริง แต่ให้ยอมรับมันเป็นพวกเดียวกับเรา ความจริงเนี่ย มันเหมือนกัลยาณมิตร มันเหมือนมีอะไร ถ้า เอ่อ ผิดพลาด หรือว่าถูกต้อง ก็แล้วแต่เนี่ย มันแสดงออกมา แล้วเรายอมรับมัน ก็คือ เราอยู่ข้างเดียวกับความจริง เป็นพวกเดียวกับความจริงได้นั่นเอง
สิ่งนึงที่เกิดขึ้นในความว่าง
ในแบบที่คุณประสบมา มันคือความว่าง ที่เคลือบอยู่ด้วยความสงสัย เห็นไหม คือความว่างมันมีหลายแบบนะ
มันว่าง ว่างไปเป็นวันๆ ว่างไปนานแค่ไหนก็แล้วแต่ ในที่สุดแล้ว
ถ้าหากว่าเกิดความสงสัยขึ้นมา เอ๊ะ ทำไมมันว่างจัง เอ๊ะทำผิดหรือเปล่า
เอ๊ะว่างแบบนี้เป็นว่างแบบล่อตาล่อใจ ให้เกิดความเข้าไปหลงยึดรึเปล่า
ตอนที่เกิดความสงสัยขึ้นมาเนี่ยนะ มันจะมีอาการ วน วน วน วน
เราสามารถเห็นได้แล้วว่า ความว่าง ไม่ว่างจริง ณ เวลานั้นนะ ที่เกิดความรู้สึกสงบ
ที่เกิดความว่างขึ้นมาเนี่ย แทนการพยายามหาทางให้ถูก เปลี่ยนเป็นการยอมรับความจริงว่า
ว่างนั้นมันแสดงความไม่เที่ยงให้ดู แล้วก็ดูมัน และจะสังเกตได้
เนี่ย อย่างของคุณนะ ว่าง
มันมีว่างหลายแบบนะ ว่างในแบบที่แกล้งให้ว่างก็มี คือบางทีตั้งใจว่าง
คือมันจำได้ว่า ว่างเป็นยังไง แค่นึกถึงนิดเดียว มันว่างขึ้นมา
แต่ว่างแบบนั้นเนี่ย ว่างแป๊บนึง แล้วมันจะโยกเยก มันกลายเป็น
กลับมีความว้าวุ่นอะไรขึ้นมาบางอย่าง หรือถ้าหากว่านั่งสมาธิไป
แล้วเกิดความว่างนานๆ สบายนานๆ นะ ในความว่างแบบนั้นเนี่ย บางทีมันจะเหมือน
ยังมีอะไรซ้อนๆ ซ้อนๆอยู่ เป็นอาการนึกนั่นนึกนี่ ที่เวียนมาบ่อยที่สุดคือว่า เอ๊ะ
ว่างแบบนิพพานมันเป็นยังไง คือมันยังอยากเห็นว่างในแบบที่เป็นของแท้ ตัวนั้นหน่ะ
มันมีความอยากผุดขึ้นมาแล้ว แล้วเราไม่เห็น มัวแต่ไปมองความว่าง
แต่ไม่เห็นความอยาก แต่พอพูดไปเนี่ย มันเกิดความรู้สึกรับได้ขึ้นมา เอ้อ
ลืมดูไปจริงๆ ในความว่างนั้นมีอาการกระวนกระวายอยู่ ที่ว่างเนี่ย
มันเป็นแค่ว่างโล่งในหัว มันว่างโล่งในหัวเฉยๆ แต่มันไม่ได้เกิดความรู้สึกว่างออกมาจากรากของความรู้สึก
ถ้าว่างออกมาจากรากของความรู้สึกนะ แม้แต่นิพพานก็ไม่อยากได้ แม้แต่ความรู้สึกว่า
ไอ้นี่ผิดหรือถูกมันก็ไม่เกิดขึ้น อย่างงั้นว่างจริง และถ้าว่างจริง
ต่อให้ว่างเป็นชั่วโมงๆ นะ เราจะไม่แคร์มันเลย แต่แคร์ตอนที่มันเริ่มมีความคิดอะไรปรากฎขึ้นมา
หลังจากว่างไปเป็นชั่วโมงๆ นั่นแหละ
นี่คือหลักการดูความว่างที่ถูกต้อง
แบบที่พระป่า ครูบาอาจารย์ท่านสอนเนี่ยนะ ท่านสอนอย่างนี้ว่าเวลาว่างไปรู้ รู้ต่อ ว่ามันจะว่างไปที่สุดถึงไหน
ผู้ถาม : ระหว่าง
คือมองความว่างนั้นว่า..
ดังตฤณ :
มันจะเปลี่ยนไปให้ดูอย่างไร
ผู้ถาม : มันจะเปลี่ยนเป็นอะไรให้ดูอย่างไร
ดังตฤณ :
ใช่ อย่า อย่าตั้งมุมมองไว้ว่าเรากำลังเห็นความว่างอยู่
แต่ให้ตั้งมุมมองว่า ในความว่างนั้นมีอะไรให้ดูบ้าง เข้าใจไหม คือถ้าเราตั้งมุมมองไว้
เนี่ย..เรากำลังรู้สึกว่างอยู่
มันจะยึดความรักว่างนั้นเป็นตัวตั้ง เสร็จแล้วหลงลืมหมดเลย ว่าอะไรเกิดขึ้น
เนี่ยอาการทางใจเนี่ย มันปรากฎให้ดูง่ายที่สุด ชัดที่สุด ก็ตอนความว่างมันปรากฎน่ะ
แต่พอความว่างปรากฎ เรากลับไปยึดความว่าง ทุกสิ่งทุกอย่าง แทนที่มันจะปรากฎให้เห็นชัด
มันเลยเหมือนกับไม่มีอยู่ ทั้งๆที่มันอยู่ตรงนั้นมาตลอด
ผู้ถาม : อาจารย์จะแนะนำในการปรับปรุง
..คือนอกจากจะสังเกตอย่างเนี้ย และมันมักจะ..
ดังตฤณ :
พอ พอใช้คำว่าปรับปรุงปุ๊บ เนี้ยนะ ตัวเนี้ย
ผู้ถาม : ตัวอยาก
ดังตฤณ :
มันเริ่ม มันเริ่ม นี่ เห็นไหม เห็นไหม
ผู้ถาม : ค่ะ
ดังตฤณ :
คือมีความรู้สึกขึ้นมา ยึดขึ้นมาแล้วว่า
เราจะต้องก้าวหน้าขึ้น ด้วยวิธีการอะไรอย่างนึง อุบายอะไรอย่างนึง ไปบริกรรม
หรือว่าไปใช้เทคนิคอะไรบางอย่าง แต่ที่ผมพูดไปทั้งหมดก็คือว่า เมื่อเกิดความว่างขึ้นมา
อย่าไปตั้งมุมมองดูอยู่ว่าเรา
กำลังว่าง แต่ให้ตั้งมุมมองว่า
ในความว่างนั้น มีอะไรให้ดูบ้าง
อย่างของผมนะ เอา ยก ยกเคสของผมเองเลย
ผมจะดูว่า เออ เนี่ยว่างเนี่ย เรามีความพอใจที่จะเห็นหรือเปล่า ว่าลมหายใจ
ผ่านเข้าผ่านออก ผ่านเข้าผ่านออก ถ้าเห็นความพอใจที่รู้อยู่ว่าลม
แค่ผ่านเข้าผ่านออก จบตรงนั้นเลยนะ เพราะอะไร เพราะมันมีอนิจสัญญา คุ้นแล้ว
ว่าเนี่ย ที่ผ่านเข้าผ่านออก ผ่านเข้าผ่านออกเนี่ย มันกำลังแสดงความไม่เที่ยงอยู่
มีความพอใจแค่เห็นความไม่เที่ยงของลมหายใจแสดงอยู่ตลอดเวลาแค่นั้นนะ
จิตมันพัฒนาของมันขึ้นไปเอง คือมันสะสมอนิจสัญญาแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ
มันปรากฎชัดขึ้นเรื่อยๆ คือไม่ใช่เฉพาะตอนที่เราหลับตา แต่ตอนที่ลืมตาออกมาอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วเนี่ย
มันปรากฎเหมือนกะลืมตาอย่างเงี้ยเห็นเป็นสาย อยู่ตลอดเวลา ว่ามันผ่านเข้าผ่านออก
ผ่านเข้าผ่านออก และใจที่มันรู้สึกถึงความไม่เที่ยงของลมหายใจเนี่ย
ผมรู้อยู่ออกมาจากจิตเลยนะ ว่ามันพร้อมจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยความเป็นของไม่เที่ยงเช่นกัน
พูดง่ายๆ พอมันแม่น ว่าจะเอาที่ตรงไหนแล้วเนี่ย มันจะไม่มีความสงสัยต่อ
มันจะมีแค่ความพอใจ ที่มาถึงจุดที่ โอเค จิตมีสภาพพร้อมรู้
จิตมีสภาพพร้อมที่จะยอมรับ ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นต่อหน้าต่อตา
ของคุณเนี่ย คือ อย่างเงี้ยนะ
เวลาที่นั่งสมาธิไป ทุกครั้งเนี่ยขอให้สังเกต ว่า เราจะมีความ เอ่อ ร่ำร้องอยู่ลึกๆ
คือ หาหนทางที่ถูกต้อง คือเชื่อครูบาอาจารย์แล้วนะ ไม่ใช่ไม่เชื่อ หรือว่าไปพยายามแสวงหาอะไรที่นอกเหนือไปกว่านี้
หรือว่า ยิ่งไปกว่านั้น เชื่อพระพุทธเจ้า เชื่ออะไรหมดแล้วนะ ไม่ได้ต้องการที่จะออกนอกทาง
แต่มันมีอาการเรียกร้องอยู่ว่า เอ๊ เราทำมายังไม่ครบหรือเปล่า หรือมีกรรมฐาน
หรือมีอุบายวิธีอะไร ที่จะทำให้เราลัดตรง เข้าถึงการบรรลุมรรคผลได้หรือเปล่า ทุกครั้ง
ที่จะปฏิบัติ มันมีอาการร่ำร้องขึ้นมาแบบนี้ เห็นไหมขึ้นต้นมา มันไม่ได้ว่าง
มันมีอะไรวุ่นอยู่ เนี่ย พอ พอเริ่มเห็นอย่างเนี้ย เห็นไหม
คราวนี้มันเริ่มว่างจริงแล้ว มันเริ่มพอใจ พอเข้ามาที่ใจ ใจที่มันพอเนี่ย
มันมีหน้าตาแบบนี้
ผู้ถาม : มันจะเห็นความอยากทุกครั้งที่เริ่มต้นจริงๆ
ค่ะอาจารย์ และพอปฏิบัติไปสักพัก ก็อยากอีกแล้วอ่ะ ทีนี้จริงๆ
เสียงครูบาอาจารย์เตือนตลอด
ดังตฤณ :
ตัวความอยากเนี่ย ตัวความอยากเนี่ย ดี
ผู้ถาม : ชอบลืมเสมอ
ดังตฤณ :
ไม่ ไม่ใช่ลืม แต่มันไม่เห็น คือ
คือเข้าใจหมด แล้วก็พยายามมาดีหมด แต่ตรงที่เกิดความรู้สึกอยากเนี่ยนะ
มันไม่ได้มองเข้ามา มันไป มันไปยึดแต่มุมมองของความว่าง ยึดแต่มุมมองของอะไรที่ว่า
เอ๊ เรายังไม่ดีพอ คือมันเป็นคนชอบอย่างงี้ด้วยไง ว่า เรายังบกพร่องอยู่หรือเปล่า
เรายังโน่น เรายังนี่อยู่นั่นหรือเปล่าเนี่ยนะ มันมาสงสัยตัวเอง
รึว่ามาเพ่งโทษตัวเอง ซึ่งอย่างน้อยก็ดีกว่าสมัยที่ไปเพ่งโทษคนอื่นนะ
แต่ว่าอาการเพ่งอยู่อย่างนี้ ด้วยอาการอย่างนี้เนี่ย มันไม่ได้เห็นตามจริง
มันเห็นแต่ข้อไม่ดี ข้อยังไม่บริบูรณ์ ข้อยังบกพร่องอยู่ แต่ที่มันดีแล้วกลับมองไม่เห็นนะ
ที่มันว่างของมันอยู่ดีๆเนี่ย
เราไม่ได้เห็นว่ามีอะไรอยู่ในความว่างให้ดูบ้าง เรากลับไป ..เอ้ย ว่างอยู่แค่นี้ ใช้ไม่ได้ นะ
เพราะว่าบางทีอาจจะมี เสียงของครูบาอาจารย์เตือนขึ้นมาว่า ว่างๆไม่ถูกนะ หรือว่า
แค่ว่างเนี่ยมันยังไม่จบนะ มันมีอะไรให้ เสร็จ แล้วเราก็เลยกระวนกระวายขึ้นมา
อุ๊ยเราเจอว่างจริง ๆ ด้วย เสร็จล่ะ ไปไม่ถูกแล้ว
ดูความกระวนกระวายดูความอยาก
ดูอาการเรียกร้อง ลักษณะมันจะมีอย่างนี้นะ ผุดขึ้นมาเป็นอาการคร่ำครวญ
คร่ำครวญอยู่ข้างใน ว่าเนี่ยทำมาหมดแล้วนะ ได้พยายามมาแล้ว ความว่างก็เห็นแล้ว เออ
มันไม่ได้บรรลุอะไรสักที ตรงนั้นนะ มีความรู้สึกยังไงขึ้นมา ยอมรับตามจริง
ไม่ต้องไปว่าตัวเองต่อ แล้วมันจะเกิดความรู้สึกขึ้นมา เออ มันสามารถเห็นได้ง่าย ๆ
แค่นี้เอง แค่ยอมรับ ทำยังไง อาการยอมรับเนี่ย มันจะจุดชนวนติดขึ้นมา
เริ่มจากตอนที่ มีปรากฎการณ์ทางใจเกิดขึ้นบ่อยที่สุด เนี่ย
คืออาการกระวนกระวายนั่นแหละ อยากโน่นอยากนี่นั่นแหละ
เนี่ย แล้วพอใจหยุดอย่างเนี้ยนะ ดูต่อ ว่ามันยังมีอาการต่อไปข้างหน้ามาให้ดูอีกไหม
ถ้าหากว่าเราดูเป็นครั้งๆ ดูเป็นว่าแต่ละลมหายใจเนี่ย รู้สึกอย่างไรอยู่
ถ้ารู้สึกอยาก ถ้ารู้สึกยังไม่หยุด ถ้ารู้สึกยังไม่พอ เดี๋ยวมันจะกลับไปโหยหาอีก
จำไว้เลยนะ ถ้าเคยโหยหามาเนี่ย มันจะกลับไปโหยหาอีก คือให้มองเป็นว่า
แต่ละลมหายใจแตกต่างกันยังไง อารมณ์นี้ ลมหายใจแบบนี้ โหยหายอมรับ
อารมณ์ต่อมาเนี่ย มันจะรู้สึกเหมือนกับไม่มีอะไร มันไม่มีอะไรแป๊บนึง
เดี๋ยวมันกลับมาใหม่ เนี่ย ดูไปอย่างนี้เรื่อยๆ นี่แหละคืออาการทางใจ
ที่มันปรากฎอยู่จริงๆ และมันจะจริงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเราดับขันธ์เข้าปรินิพพาน
ใกล้จะดับขันธ์เข้าปรินิพพานเนี่ย นะ มันก็มีความจริงอยู่แค่เนี้ย คือว่างหรือไม่ว่าง
วุ่นหรือไม่วุ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น