ถาม : ประมาณเกือบสองปีที่แล้ว
พี่ตุลย์บอกว่า สติก็พอมีแต่มันเห็นอะไรไม่ชัด เห็นอะไรเบลอๆ
กลับไปก็พยายามแปะป้ายแล้วก็สังเกตสภาวะ ก็เริ่มเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ
รับฟังทางยูทูบ : https://youtu.be/ZglLF3aPTQM
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๕
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส
๖ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
ดังตฤณ:
เห็นใช่ไหมว่า ตอนที่เบลอกับตอนที่มันเริ่มชัดขึ้น
มันต่างกันยังไง
ผู้ถาม : ต่างครับ รู้สึกว่ามันเกี่ยวกับการตั้งมุมมอง พอทำความเข้าใจมันปุ๊บก็จะเห็นชัด
ถ้ามันไม่เข้าใจก็จะเกิดสภาวะงงๆ เบลอๆ ขึ้นมา
ดังตฤณ:
ใช่ เพราะว่าวิธีคิดของเราเนี่ย
เหมือนกับว่าเราเอาแค่พอผ่าน วิธีคิดทางโลกน่ะนะ เราเอาแค่พอให้มันผ่านๆ ไป
คือไม่จำเป็นต้องชัดเจน ไม่จำเป็นต้องให้ถึงที่สุด ยังไงก็ได้ จิตมันเลยคอยจะอยู่กับความรู้สึกที่ว่า
ตรงเนี้ย แค่นี้ก็พอ ผ่านๆ ไป
ผู้ถาม
: ขอถามสภาวะเมื่อกี้ครับ
คือผมสับสนนิดหนึ่ง อย่างเช่น ตอนแรกเวลาจะตั้งสติก็จะจับที่ฐานอิริยาบถ แล้วก็เริ่มทำความรู้สึกตัว
คราวนี้พอทำความรู้สึกตัวไปเรื่อยๆ พอความรู้สึกในอิริยาบถมันหายไป พวกลมหายใจหรือว่าความฟุ้งซ่าน พอรู้ขึ้นมาเนี่ยต้องย้อนกลับไปดูหรือว่า...
ดังตฤณ:
เอาเฉพาะที่มันรู้สึกถึงความฟุ้งซ่านขึ้นมา
มันจะแตกต่างจากตอนที่เรารู้ความฟุ้งซ่านทั่วไป อย่างเมื่อกี้เนี้ยตอนที่น้องทำตามที่พี่ไกด์ไปเนี่ยนะ
มันจะมีบางช่วงที่รู้สึกชัดขึ้นมา เหมือนกับใสๆ เหมือนกับโปร่งๆ
แต่บางช่วงมันก็มัวๆ หม่นๆ เหมือนกับมีเมฆหมอกอะไรมาบังๆ นึกออกใช่ไหม ตัวที่เหมือนมีเมฆหมอกอะไรมาบังๆ
เนี่ยนะ แปะป้ายมันไว้เลยว่า นั่นน่ะคือ โมหะ มันคือกลุ่มก้อนโมหะ
ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรามันจะมีแบบนี้เข้ามาอยู่เรื่อยๆ แต่เราจะไม่สังเกตเห็น ถ้าหากว่าไม่มีความปลอดโปร่งมาเป็นตัวเปรียบเทียบ
แต่อย่างเมื่อกี้มันมีความปลอดโปร่ง มันมีความชัด มีความใสขึ้นมาเป็นขณะๆ เป็นห้วงๆ
แล้วพอมันมัวมนลงไป มันมีความรู้สึกเหมือนกับมีโมหะมาปกคลุม เราก็จะสามารถแยกออกว่าตอนเนี้ยเริ่มมีโมหะมาปกคลุมแล้ว
เช่นกันเวลาเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมา
เราจะรู้สึกว่าจิตเปลี่ยนสภาพจากอาการใสๆ อาการที่มันมีความสว่าง กลายไปเป็นคล้ายๆ
เมื่อกี้เนี้ยที่ผุดขึ้นมาวูบนึงน่ะ เหมือนกับมีคลื่นรบกวน
เหมือนกับมีอะไรบางอย่างโผล่ขึ้นมา เวลาเราดู
อย่าไปพยายามที่จะล็อคท่านั่งไว้ว่าจะต้องติดอยู่กับท่านั่งไว้ก่อน
ถ้าความฟุ้งซ่านมันขึ้นมาเนี่ย ปกติมันจะดึงใจเราออกจากอิริยาบถอยู่แล้ว พูดง่ายๆ ความหมายของความฟุ้งซ่าน
คือ มันมาดึงเราออกไปจากความรับรู้ทางกายอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องไปขืนมัน ความฟุ้งซ่านเนี่ยเรารู้สึกถึงมันได้
แล้วมันหายไปหรือแสดงอาการคลายตัวออกไป เนี่ยตัวนี้แหละให้เรากลับมาระลึกว่า เรายังอยู่ในท่านั่งอยู่หรือเปล่า
เรายังอยู่ในความสามารถรับรู้ว่าลมหายใจมีเข้ามีออกอยู่หรือเปล่า ถ้าหากว่าช่วงที่ความฟุ้งซ่านมันเริ่มคลายตัวไป
แล้วเรากลับมาอยู่ที่อิริยาบถปัจจุบัน หายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่เนี่ย มันจะเป็นตัวเปรียบเทียบได้ว่า
ลมหายใจที่แล้วเราฟุ้งซ่าน แต่ลมหายใจนี้เราเริ่มปลอดโปร่งใหม่ มันจะเห็นเป็นภาวะที่เปรียบเทียบกัน
ระหว่างลมหายใจก่อนกับลมหายใจนี้ จิตของเราเปลี่ยนจากฟุ้งซ่าน เป็นสงบ เป็นปลอดโปร่ง
เข้าใจใช่ไหม ถ้าไม่อย่างนั้นเนี่ยเรามัวแต่ไปพะวงว่า จะรู้ความฟุ้งซ่านหรือว่ากลับมารู้อิริยาบถทันทีดี
มันจะกลายเป็นความลังเลสงสัย
แล้วความลังเลสงสัยเนี่ย ลองมองเข้าไปเป็นสภาวะนะ
มันจะเห็นเหมือนคลื่น เหมือนกับม่านหมอก ที่มาบดบังไม่ให้เกิดความก้าวหน้า
นึกออกไหม พอสงสัยว่าจะทำยังไงดี ความสงสัยนั้นเนี่ยมันกลายเป็นอะไรทึบๆ
ขึ้นมาในหัวแล้ว มันกลายเป็นอะไรที่ มันไม่ให้เราเห็นทั้งลมหายใจ
ไม่ให้เราเห็นทั้งความฟุ้งซ่าน เพราะว่าตรงนั้นเนี่ย จิตยึดอยู่กับความสงสัย ความสงสัยเรียกว่าเป็นนิวรณ์หรือเป็นเครื่องขวางสติชนิดหนึ่ง
มีชื่อเรียกว่า วิจิกิจฉา ตัววิจิกิจฉาเมื่อเกิดขึ้นมาและเราไปให้ความร่วมมือกับมัน
มองได้เลยจิตเนี่ยมันจะคล้ายๆ กับมีอาการวกวน มีอาการคล้ายๆ คลื่นแทรกที่เข้ามาบดบังทัศนวิสัยทั้งหมดเลย
เราจะเห็นลมหายใจอยู่ มันกลายเป็นไม่เห็น เราจะมองความฟุ้งซ่านอยู่
มันกลายเป็นไม่เห็นอะไรเลย เห็นแต่เมฆหมอกที่เข้ามาบดบังทัศนวิสัย เข้าใจพ้อยท์นะ
คือพูดง่ายๆ เมื่อกี้เนี่ยเราปักอยู่กับความสงสัย มันเลยเห็นแต่อาการสงสัย แล้วไม่ได้ดูความสงสัยโดยความเป็นของไม่เที่ยง
มันดูความสงสัยโดยการยอมให้มันเป็นกำแพงบดบังทัศนวิสัย
________________
คำถามทั้งหมดของผู้ถามท่านนี้ (แต่ละคำถามมีความเกี่ยวพันกัน)
๑) วิธีสังเกตโมหะ ในขณะภาวนาและในชีวิตประจำวัน http://dungtrinanswer.blogspot.com/2016/05/blog-post_62.html
๒) วิธีดูความสงสัยไม่เที่ยงhttp://dungtrinanswer.blogspot.com/2016/05/blog-post_14.html
๓) เหนื่อยจนสติเบลอ เจริญสติอย่างไร
http://dungtrinanswer.blogspot.com/2016/05/blog-post_18.html
________________
คำถามทั้งหมดของผู้ถามท่านนี้ (แต่ละคำถามมีความเกี่ยวพันกัน)
๑) วิธีสังเกตโมหะ ในขณะภาวนาและในชีวิตประจำวัน http://dungtrinanswer.blogspot.com/2016/05/blog-post_62.html
๒) วิธีดูความสงสัยไม่เที่ยงhttp://dungtrinanswer.blogspot.com/2016/05/blog-post_14.html
๓) เหนื่อยจนสติเบลอ เจริญสติอย่างไร
http://dungtrinanswer.blogspot.com/2016/05/blog-post_18.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น