ถาม : ควรช่วยคนทั้งที่รู้ว่าเขาจะอกตัญญูไหม
รับฟังทางยูทูบ :
https://youtu.be/Uyy6HZLFaJg
เสวนาดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๘ | คำถามที่ ๒.๑
๑๒ ก.ย. ๒๕๕๖
ดังตฤณ:
เสวนาดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๘ | คำถามที่ ๒.๑
๑๒ ก.ย. ๒๕๕๖
ดังตฤณ:
คือ ถ้าเรามีความรู้สึกระแวง
หรือว่าหวาดๆอยู่นะ เราเวท (ชั่งน้ำหนัก
/weight) เอาจากความรู้สึก ไม่ใช่ความรู้สึกที่มากระทบเราอย่างเดียว
แต่ด้วยความรู้สึกตรงนี้ด้วยว่ามันมีแรงดันที่จะ มีความกรุณา มีความอยากจะช่วยคนแค่ไหน
แทนที่เราจะสังเกตจากภายนอกมาว่า เอ๊ะ นี่มันมีความร้อนๆมา แข็งๆมานะ แล้วจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเนี่ย เราเคยเจอคนอกตัญญูมาก่อนเราจะรู้สึกได้ว่า เนี่ย กระแสแบบเนี้ย ช่วยไปก็เท่านั้นแหล่ะ เหมือนกับหว่านพืชลงไปบนนาที่มันดินไม่ดี ยังไงมันก็ไม่งอกเงยขึ้นมา เราจะรู้สึกอย่างเดียวถึงฝั่งเค้าว่า ไอ้เนี่ย ช่วยไปสูญเปล่า
แต่ถ้าหากว่า เราย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง และรู้สึก..เอ๊ะตรงเนี้ยจะได้ผลหรือไม่ได้ผล แต่เรานึกอยากช่วย คือมันจะเห็นอีกมิตินึง ไม่ใช่มิติที่เข้ามาอย่างเดียว แต่มิติภายในของเราด้วยนะว่า ตรงนี้มีความเย็นแค่ไหน มีความรู้สึกว่ามีความพร้อมจะกรุณา มีความพร้อมจะเมตตา แม้กระทั่งคนที่ท่าทางจะไม่เอาไหนหรือเปล่า และสังเกตอย่างนี้เนี่ยมันจะเห็น เห็นขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งว่า บางทีรู้ๆอยู่ ช่วยไปไม่มีอะไรขึ้นมาหรอกนะ เค้าอาจจะมาทำร้ายเราด้วยซ้ำ แต่ว่าเราก็ช่วย เพราะว่าเค้ามาขอ
เหมือนกับพระพุทธเจ้า ท่านเจอหน้าพระเทวทัต ท่านก็รู้แล้ว เนี่ยคู่เวร เคยตามเบียดเบียนท่านมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แต่ท่านก็บวชให้ แล้วท่านก็สอนจนสำเร็จอภิญญา ปีกกล้าขาแข็งปุ๊บ เอาเลย จะมาแข่งกับท่าน จะมาเป็นพระศาสดาแทนท่าน ด้วยการตั้งกฎอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องกินมังสวิรัติ ต้องเข้มงวด ต้องเคร่งครัด อย่างนั้นอย่างนี้ ไปสร้างข้อดีขึ้นมาเป็นภาพลักษณ์ ทำให้ภิกษุจำนวนนึงหลงเชื่อ ว่าพระเทวทัตน่าจะเคร่งกว่า น่าจะเป็นไปได้จริงมากว่า เป็นของจริงมากกว่า อะไรอย่างเนี้ย นะ นี่ มัน คือ เรื่องของเรื่องเนี่ย พระพุทธเจ้านะ ท่านไม่ได้ดูตรงที่ว่า ผลข้างหน้ามันจะเกิดอะไรขึ้น แต่ท่านช่วยเพราะท่านตั้งใจไว้แล้วว่าจะช่วยแบบไม่เลือกหน้า ใครมาเนี่ย ท่านก็เมตตาหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านรู้ว่า ถ้าเข้ามาเนี่ยนะ ยังไงก็ต้องเคยมีสายใย เคยมีความผูกพันกันไว้ก่อน ถ้าหากว่าสายใยผูกพันในอดีต มันจะเป็นเวร มันจะเป็นภัยต่อกันจริง อย่างน้อยที่สุดได้ช่วยกัน ได้ทำอะไรดีๆ ให้เนี่ย มันก็ล้าง ล้างเวร ละลายเวรให้ความมืดเนี่ย มันสว่างขึ้นบ้างก็ยังดี เนี่ย ด้วยเจตนาแบบนี้แหละ ที่จะ เรียกว่า พรหมวิหารสี่ ที่จะทำให้เราเนี่ยไม่ใช่พร้อมจะช่วยคนอย่างเดียว แต่พร้อมจะอภัยได้ด้วย คือมาฝึก มาใช้เวรด้วย มาฝึกที่จะอภัยด้วย มาฝึกที่จะช่วยคนอื่นด้วยนะ ตรงนั้น เราจะรู้สึกว่า สิ่งที่ได้เป็นผลลัพธ์สุดท้าย ไม่ว่าช่วยใครแค่ไหนนะ ตอนก่อนตายเราจะรู้สึกเลยว่า มันได้ช่วยตัวเองนั่นแหละ ช่วยให้จิตของตัวเองปราศจากเวร ปราศจากภัย
จิตเนี่ยถ้าหากว่า อยู่เฉยๆนะ แค่ว่าไม่ได้ตั้งไว้ว่าจะเอายังไงกับคนข้างนอก มันมีแนวโน้มอยากจะเบียดเบียนแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราตั้งไว้ อยากจะช่วย อยากจะช่วย แล้วก็เกิดความคิดว่า แม้กระทั่งคนที่จะมาทำให้เราเดือดร้อน ถ้าช่วยได้สักนิดสักหน่อย มันก็จะได้เป็นการล้างเวรล้างภัย ในอดีตที่เคยๆ ทำกันไว้ เนี่ย คิดแบบเนี้ย จิตมันก็เต็มขึ้นมา ด้วยอารมณ์ของเมตตา อารมณ์ของกรุณา ในแบบพรหมวิหารจริงๆนะ ส่วนจะเป็นอุเบกขา ไม่เป็นอุเบกขามันขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถมองเห็นตามจริงได้แค่ไหน เอ่อนี่ ฝั่งเรา ฝั่งเค้า ทำกันมาอย่างนี้ นะ แรงเค้า แรงเรา อันไหนมันมีน้ำหนักมากกว่ากัน แล้วทำใจจากสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง ตรงนั้นแหละ ที่จะเกิดอุเบกขาในแบบที่หนักแน่นขึ้นมา แล้วจิตเนี่ยจะมีความตั้งมั่น อารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในความรู้สึกเมตตาอยากช่วยคนอื่น แล้วก็พร้อมที่จะเป็นอุเบกขาได้ มันเป็นความตั้งมั่นแบบพรหม ต่อให้เราไม่ฝึกสมาธิ ต่อให้เราทำสมาธิแบบหลับตาไม่เป็นนะ แต่ถ้าจิตแบบนั้นมีความตั้งมั่นแล้วเนี่ย ตอนตายมันจะมีความหนักแน่นพอ ที่จะได้เข้าถึงฌานสมาบัติ ฌานในแบบที่เรียกว่า อัปมัญญาสมาบัติ คือจิตมีความแผ่ออกไป มีความเมตตา มีความกรุณา แล้วก็มีความอุเบกขานะ
แทนที่เราจะสังเกตจากภายนอกมาว่า เอ๊ะ นี่มันมีความร้อนๆมา แข็งๆมานะ แล้วจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเนี่ย เราเคยเจอคนอกตัญญูมาก่อนเราจะรู้สึกได้ว่า เนี่ย กระแสแบบเนี้ย ช่วยไปก็เท่านั้นแหล่ะ เหมือนกับหว่านพืชลงไปบนนาที่มันดินไม่ดี ยังไงมันก็ไม่งอกเงยขึ้นมา เราจะรู้สึกอย่างเดียวถึงฝั่งเค้าว่า ไอ้เนี่ย ช่วยไปสูญเปล่า
แต่ถ้าหากว่า เราย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง และรู้สึก..เอ๊ะตรงเนี้ยจะได้ผลหรือไม่ได้ผล แต่เรานึกอยากช่วย คือมันจะเห็นอีกมิตินึง ไม่ใช่มิติที่เข้ามาอย่างเดียว แต่มิติภายในของเราด้วยนะว่า ตรงนี้มีความเย็นแค่ไหน มีความรู้สึกว่ามีความพร้อมจะกรุณา มีความพร้อมจะเมตตา แม้กระทั่งคนที่ท่าทางจะไม่เอาไหนหรือเปล่า และสังเกตอย่างนี้เนี่ยมันจะเห็น เห็นขึ้นมาอีกอย่างหนึ่งว่า บางทีรู้ๆอยู่ ช่วยไปไม่มีอะไรขึ้นมาหรอกนะ เค้าอาจจะมาทำร้ายเราด้วยซ้ำ แต่ว่าเราก็ช่วย เพราะว่าเค้ามาขอ
เหมือนกับพระพุทธเจ้า ท่านเจอหน้าพระเทวทัต ท่านก็รู้แล้ว เนี่ยคู่เวร เคยตามเบียดเบียนท่านมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ แต่ท่านก็บวชให้ แล้วท่านก็สอนจนสำเร็จอภิญญา ปีกกล้าขาแข็งปุ๊บ เอาเลย จะมาแข่งกับท่าน จะมาเป็นพระศาสดาแทนท่าน ด้วยการตั้งกฎอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องกินมังสวิรัติ ต้องเข้มงวด ต้องเคร่งครัด อย่างนั้นอย่างนี้ ไปสร้างข้อดีขึ้นมาเป็นภาพลักษณ์ ทำให้ภิกษุจำนวนนึงหลงเชื่อ ว่าพระเทวทัตน่าจะเคร่งกว่า น่าจะเป็นไปได้จริงมากว่า เป็นของจริงมากกว่า อะไรอย่างเนี้ย นะ นี่ มัน คือ เรื่องของเรื่องเนี่ย พระพุทธเจ้านะ ท่านไม่ได้ดูตรงที่ว่า ผลข้างหน้ามันจะเกิดอะไรขึ้น แต่ท่านช่วยเพราะท่านตั้งใจไว้แล้วว่าจะช่วยแบบไม่เลือกหน้า ใครมาเนี่ย ท่านก็เมตตาหมด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านรู้ว่า ถ้าเข้ามาเนี่ยนะ ยังไงก็ต้องเคยมีสายใย เคยมีความผูกพันกันไว้ก่อน ถ้าหากว่าสายใยผูกพันในอดีต มันจะเป็นเวร มันจะเป็นภัยต่อกันจริง อย่างน้อยที่สุดได้ช่วยกัน ได้ทำอะไรดีๆ ให้เนี่ย มันก็ล้าง ล้างเวร ละลายเวรให้ความมืดเนี่ย มันสว่างขึ้นบ้างก็ยังดี เนี่ย ด้วยเจตนาแบบนี้แหละ ที่จะ เรียกว่า พรหมวิหารสี่ ที่จะทำให้เราเนี่ยไม่ใช่พร้อมจะช่วยคนอย่างเดียว แต่พร้อมจะอภัยได้ด้วย คือมาฝึก มาใช้เวรด้วย มาฝึกที่จะอภัยด้วย มาฝึกที่จะช่วยคนอื่นด้วยนะ ตรงนั้น เราจะรู้สึกว่า สิ่งที่ได้เป็นผลลัพธ์สุดท้าย ไม่ว่าช่วยใครแค่ไหนนะ ตอนก่อนตายเราจะรู้สึกเลยว่า มันได้ช่วยตัวเองนั่นแหละ ช่วยให้จิตของตัวเองปราศจากเวร ปราศจากภัย
จิตเนี่ยถ้าหากว่า อยู่เฉยๆนะ แค่ว่าไม่ได้ตั้งไว้ว่าจะเอายังไงกับคนข้างนอก มันมีแนวโน้มอยากจะเบียดเบียนแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราตั้งไว้ อยากจะช่วย อยากจะช่วย แล้วก็เกิดความคิดว่า แม้กระทั่งคนที่จะมาทำให้เราเดือดร้อน ถ้าช่วยได้สักนิดสักหน่อย มันก็จะได้เป็นการล้างเวรล้างภัย ในอดีตที่เคยๆ ทำกันไว้ เนี่ย คิดแบบเนี้ย จิตมันก็เต็มขึ้นมา ด้วยอารมณ์ของเมตตา อารมณ์ของกรุณา ในแบบพรหมวิหารจริงๆนะ ส่วนจะเป็นอุเบกขา ไม่เป็นอุเบกขามันขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถมองเห็นตามจริงได้แค่ไหน เอ่อนี่ ฝั่งเรา ฝั่งเค้า ทำกันมาอย่างนี้ นะ แรงเค้า แรงเรา อันไหนมันมีน้ำหนักมากกว่ากัน แล้วทำใจจากสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริง ตรงนั้นแหละ ที่จะเกิดอุเบกขาในแบบที่หนักแน่นขึ้นมา แล้วจิตเนี่ยจะมีความตั้งมั่น อารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในความรู้สึกเมตตาอยากช่วยคนอื่น แล้วก็พร้อมที่จะเป็นอุเบกขาได้ มันเป็นความตั้งมั่นแบบพรหม ต่อให้เราไม่ฝึกสมาธิ ต่อให้เราทำสมาธิแบบหลับตาไม่เป็นนะ แต่ถ้าจิตแบบนั้นมีความตั้งมั่นแล้วเนี่ย ตอนตายมันจะมีความหนักแน่นพอ ที่จะได้เข้าถึงฌานสมาบัติ ฌานในแบบที่เรียกว่า อัปมัญญาสมาบัติ คือจิตมีความแผ่ออกไป มีความเมตตา มีความกรุณา แล้วก็มีความอุเบกขานะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น