วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

รู้ทันอาการฟุ้งซ่านก่อนกู่ไม่กลับ

ผู้ถาม : ช่วงหลังๆ สภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้อกับการเจริญสติ ก็เลยสติไม่ค่อยดีครับ
รับฟังทางยูทูบ :  https://youtu.be/Sf0Hw_0jQ-g
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ ครั้งที่ ๔
การเจริญสติในชีวิตประจำวันแบบฆราวาส 
๕ กันยายน ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก
 



ดังตฤณ :
ก็เห็นเราฟุ้งซ่านน้อยลง กว่าสมัยก่อนตั้งเยอะไม่ใช่เหรอ คือถ้าเทียบกันเป็นปีๆน่ะ นี่จิตมันนุ่มนวลลงมากนะ แต่ก่อนมันจิตแข็ง คือคลื่นสมองเรามันหมุนจี๋อยู่ตลอดเวลา แต่ตอนนี้มันมีช่วงที่มันสโลว์ดาวน์ (Slow down) มาเยอะ

ผู้ถาม : ครับผม แต่มันก็ยังร้อนๆอยู่ มันจะมีในช่วงที่เราขาดสติแบบรุนแรง แล้วก็มีช่วงที่มีสติ เหมือนกับเป็นคนละคน

ดังตฤณ :
เหมือนกับไม่ใช่อย่างนี้ใช่ไหม ไม่ได้นุ่นนวลแบบนี้

ผู้ถาม : ครับผม

ดังตฤณ : 
อันนั้นมันเป็นอาการหมกมุ่นแบบเก่า ๆ เป็นนิสัยของจิตแบบเก่า ๆ

ผู้ถาม : ครับ ค่อนข้างน่าสนุกพอสมควรนะครับ แต่มันก็ไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่กับนิสัยเดิมๆ แต่ว่าพอเห็นแล้วมันก็เหมือนเดิมครับผม

ดังตฤณ :
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คือถ้า.. ถ้ามองเห็นนะ ว่าเมื่อไหร่ที่ อย่างตอนนี้ คำว่านุ่มนวล เข้าใจใช่ไหม รู้สึกว่ามันนุ่มกว่าปกติใช่ไหม

ผู้ถาม : ครับผม

ดังตฤณ :
แล้วพอมันมีอาการอาการแกว่ง มีอาการที่ข้างในมันดิ้นพล่านขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็ให้รู้ทันว่ามันแตกต่างไปจากความนุ่มนวลตรงนี้อย่างไร สำคัญอยู่ว่าเราอาจจะต้องเจริญสติ หรือจะฝึกสมาธิอะไรก็แล้วแต่เป็นตัวตั้ง เพื่อที่จะให้เกิดตัวตั้งแบบนี้ เป็นตัวเปรียบเทียบ เป็นเรฟเฟอเรนซ์ (reference) ไว้ก่อน ว่าเออ เนี่ย จิตพร้อมจะมีสติ จิตนิ่งพร้อมจะมาสมาธิ ณ บางจุดแบบนี้ แล้วพอมันเริ่มแกว่ง หรือเริ่มกระโดดออกไป หรือแตกต่างออกไปจากตัวนี้เนี่ย มันจะได้เห็นเป็นภาวะปรุงแต่ง

เพราะไม่งั้นคนเราเนี่ย ถ้าฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มันไม่มีทางจะรู้สึกว่า เกิดความปรุงแต่งขึ้นมาเมื่อไหร่ เกิดภาวะพิเศษอะไรขึ้นมา เมื่อไหร่ นาทีไหน แต่ด้วยการที่มีตัวตั้งแบบนี้ มันพร้อมที่จะเห็นว่า มันโอเวอร์ขึ้นมาเมื่อไหร่ มันแตกต่างไปจากตรงนี้เมื่อไหร่ เราสามารถแปะป้ายขึ้นมาได้ทันทีว่า นี่เกิดความปรุงแต่งอย่างแรงขึ้นมาแล้ว และด้วยการเห็นอย่างนี้เนี่ยนะ มันจะกลับมาหาความนุ่มนวลทันที เข้าใจใช่ไหม

คือเริ่มต้น ตั้งต้นจากความนุ่มนวลก่อน แล้วเมื่อเห็นอาการเตลิด เมื่อเห็นอาการที่มันมีความฟุ้งซ่านอย่างแรงขึ้นมา มันจะรู้สึกเลย เนี่ยที่เรียกว่าการปรุงแต่งของจิต เป็นการปรุงแต่งทางใจ ที่มันปรากฏให้เห็นได้ชัด อะไรก็แล้วแต่ ที่ปรากฏให้เห็นชัด อะไรอย่างนั้น มันจะแสดงความไม่เที่ยงอย่างรวดเร็ว แล้วมันจะตกกลับมาอยู่ในภาวะนี้

แต่ถ้าเราปล่อยใจ คือไม่มีการฝึกสมาธิเลย ไม่มีการเจริญสติเลย แล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แล้วก็หลงไปกับสิ่งยั่วให้เกิดการเตลิดเนี่ย มันจะเตลิดแบบกู่ไม่กลับ เนี่ยอันนี้ เราแค่เข้าใจพอยต์ เพราะว่าถ้ามันได้มาง่ายขนาดนี้ ไม่น่ายากนะ มันไม่น่ายากที่จะเห็น

ผู้ถาม : ช่วงที่ทำสมาธิเนี่ย บางทีใส่เหตุปัจจัยไปเหมือนกัน แต่ว่าผลที่ได้กลับมามันไม่เหมือนกัน บางทีคือสมาธิได้มามาก จนกระทั่งตั้งมั่น แต่ว่าบางทีมันไม่ได้อะไรเลย

ดังตฤณ :
ตรงไม่ได้อะไรเลย อย่าบอกตัวเองว่านี่สูญเปล่า แต่ให้บอกตัวเองว่าเราได้มาเห็นถึงความไม่แน่นอนในการทำสมาธิแต่ละครั้ง   เหตุปัจจัยเราใส่มาแค่นี้ แล้วมันมาสุดทางที่ตรงนี้ มันไม่ได้ตามกำหนด แต่ได้การสะสมความพยายามที่จะเจริญสมาธิ พอเราเห็นว่า ตัวนั้นแหละ ที่เรียกว่าเป็นบารมีทางความเพียรนะครับ เรายังเพียรอยู่ไม่หยุด เนี่ยเรียกว่าได้แล้ว ได้บารมีเพิ่มอย่างน้อยนิดนึง

คือมันดูเหมือนกับไม่มาก แล้ว เหมือนไม่ปรากฏเป็นอะไรเลยที่จับต้องได้ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน สิ่งที่จับต้องได้ก็คือ ความรู้สึกว่าเรายังอยู่ในลู่ อยู่ในทาง ไม่ได้ออกนอกทางไปไหน ตรงนี้มันจะกลายเป็นกำลังใจ ว่าเรากำลังทำอะไรดี ๆ อยู่ ที่มันเป็นประโยชน์ ไม่ได้หายไปไหน จากทางที่มันเป็นประโยชน์นะ

ผู้ถาม : ครับผม ขอบคุณครับ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น