วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ภาวนาแล้วชีวิตเป็นสุข ต้องเจริญสติระหว่างวันอย่างไร?

รับฟังทางยูทูบ https://youtu.be/WczrNjNaEeI
ดังตฤณวิสัชนา ๒๕๕๖ การเจริญสติในชีวิตประจำวัน
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ณัฐชญาคลินิก

ถาม : ของผม ฝึกตามที่หนังสือพี่สอนหลายๆอย่าง แล้วก็เจริญสติปัฏฐานตาม

ความสงสัยมันน้อยลงเยอะนะ แต่ก่อนเนี่ยความสงสัยเราเนี่ยเต็มหัวเลย แต่ตอนนี้มันเหมือนเบาบางลง มันสบายขึ้น

ถาม : ก็มาให้พี่แนะนำต่อครับ ว่าน่าจะปรับอะไรเพิ่มขึ้น

ตอนนี้จิตมันสว่างขึ้นกว่าเดิมเยอะ มันเหมือนกับ แต่ก่อนนี่มีหลายเรื่องที่มันวนอยู่ในหัว ตอนนี้เราจะรู้สึกว่า เรื่องที่วนอยู่ในหัวเนี่ยมันน้อยลง พอมันน้อยลง มันจะสังเกตโดยความเป็นคลื่นรบกวนได้ง่ายขึ้น 

แต่ก่อนเนี่ยพอมันวนอยู่ตลอดเวลาเราไม่รู้จะดูยังไง นึกออกไหม มันไม่มีช่องว่างมันไม่มีตัวเว้นวรรคให้ดู แต่ตอนนี้บางทีมันเกิดความรู้สึกเหมือน เอ้อ สบาย สบายใจขึ้นมา คล้ายๆอารมณ์ดี อารมณ์ดีมากขึ้น ตัวเนี้ยที่จะเป็นตัวตั้ง เราอารมณ์ดี เรามีความสว่าง มันจะสามารถเห็นว่า เวลาที่เกิดความหงุดหงิดแบบเก่าๆ เกิดความรู้สึกไม่พอใจ เพราะของเรา แต่ก่อนมันจะหงุดหงิดอยู่ในใจบ่อย มันมีความไม่พอใจ ค่อนข้างจะเป็นคนที่ไม่พอใจอะไรได้ง่ายๆ 

ทีนี้ตอนนี้ เนื่องจากเรามีความพอใจ ในข้างใน ความรู้สึก มันสบายใจมากขึ้น ตัวความรู้สึกพอใจมันก็เกิดมากขึ้นตามไปด้วย เข้าใจไหม 

แต่ก่อนมันไม่รู้จะเอาอะไรเป็นหลัก เป็นที่พึ่งให้ตัวเองรู้สึกดี มันก็เลยเหมือนกับว่าอะไรนิดอะไรหน่อยกระทบกระทั่งเนี่ย มันจะหงุดหงิดง่าย มันจะไม่พอใจได้ง่ายๆ แต่ตอนนี้พอมันมีความสุขเป็นตัวตั้งอยู่ข้างใน มีความสุขอ่อนๆอยู่เกือบตลอดเวลา มันก็เหมือนกับว่าโลกนี้น่าพอใจมากขึ้น เพราะมันมีจุดที่เรารู้สึกถึงความน่าพอใจ หรือก็คือใจของเราเอง ตัวนี้แหละเป็นตัวตั้งที่เราสามารถใช้สังเกตได้ 

คือเวลาที่เราพอใจมันจะแปรผันไปตามความสุขทางใจ อย่างถ้าสุขมากก็พอใจมาก ถ้าสุขน้อยก็พอใจน้อย ไม่มีความสุข วันไหนไม่มีความสุข รู้สึกแห้งแล้ง มันก็เหมือนกับงงๆ กลับไปอยู่กับความหงุดหงิดนิดๆอะไรนิดอะไรหน่อยได้อีก เนี่ยตัวที่สามารถที่จะเห็นได้ถึงความแตกต่างตรงนี้เนี่ย มันก็ใช้เป็นเครื่องมือภาวนาได้เหมือนกันเพราะว่าตอนนี้มันเป็นจุดที่เราสามารถสังเกตเห็นได้บ่อย 

นึกออกไหม เวลาสุขมากมันจะรู้สึกพอใจมาก โลกนี้น่าพอใจ มันจะเหมือนกับมีความอิ่มออกมา มีความชุ่มชื้นออกมาจากข้างใน คล้ายๆมีน้ำพุอยู่ข้างในกลางใจ แต่เมื่อไหร่ที่เกิดความรู้สึกว่าความสุขตรงนี้มันลดลง มันก็เหมือนความพอใจมันลดระดับตามลงไปด้วย 

ถ้าหากว่าเราสังเกตอยู่ที่อาการทางใจนี้นะ มันจะลดลงไปจนถึงที่สุดเลย ไม่มีความสุขเหลืออยู่เลย มันก็จะเกิดความกระวนกระวาย อยากหาอะไรข้างนอก อยากพึ่งพาอะไรข้างนอก เข้าใจ point นะ เวลาสังเกตใจตัวเอง สังเกตตรงนี้ก็แล้วกัน แต่ดีแล้ว แต่ก่อนมันเคลือบอยู่ในความสงสัยเยอะ

ถาม : ไม่ได้ไปพึ่งพามันเยอะเกินไปใช่ไหมครับ ผมรู้สึกชีวิตผมมันดู depend กับความรู้สึกนี้ค่อนข้างเยอะ พอถ้ามันมีแล้วทุกอย่างมันจะดูดี


ใช่ไง คือ พี่ถึงบอกไงว่าตัวนี้แหละที่มันกำลังเป็นสภาวะที่ปรากฎเด่น คือเราอย่าไปใช้คำว่ามากเกินไป หรือว่าน้อยเกินไป เพราะว่าการที่เราไปนิยามมันว่าอย่างนี้มากเกินไปแล้วนะ อย่างนี้มัน เดี๋ยวจะหลงนะ มันเลยกลายเป็นไม่ยอมรับสภาวะที่มันเกิดขึ้นบ่อยๆ 

สภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆตอนนี้ ก็คือความรู้สึกเป็นสุข ใช่ไหม สุขมากสุขน้อย ขอแค่ว่าเรายอมรับไปตามจริง พอมีความสุขมากขึ้นมา ก็พอใจมาก เหมือนอะไร อะไรมันน่าพอใจไปหมด มันให้ได้หมด มันไม่ถือสาหาความไปหมด แต่ถ้าเกิดไอ้ความสุขมันลดระดับลง ความปรุงแต่งทางใจทางความคิดที่จะไปมีปฏิกิริยากับโลกภายนอกมันก็เปลี่ยนไป เนี่ย มันคือความจริงที่เกิดขึ้น มันคือสภาวะที่กำลังปรากฎอยู่ 

ถ้าหากว่าเรามามัวสงสัยว่า เอ มันจะไปยึดมากเกินไปหรือเปล่า มันก็ไม่ได้สังเกตความจริงน่ะสิ  ถึงความสำคัญตรงนี้ อย่างที่เราคุยกันน่ะว่า สุขมากก็พอใจมาก สุขน้อยก็พอใจน้อย ถ้าเราเห็นมัน ไม่ไปรังเกียจมัน ไม่ไปกังวลอะไรทั้งสิ้นเนี่ย มันก็ได้เห็นความจริง เห็นความแตกต่างระหว่างสุขมากกับสุขน้อย ตัวนี้แหละที่มันจะทำให้เกิดเป็นอนิจจสัญญาขึ้นมา 

คำว่า อนิจจสัญญามันง่ายๆเลย รู้สึกว่ามันต่างไปเรื่อยๆ รู้สึกว่ามันไม่เที่ยงไม่อยู่กับที่ แต่ถ้ามันสุขมากอย่างเดียว ไอ้นี้แหละ ตัวนี้แหละ ที่ผิดปกติแล้ว ที่มันทำให้เราไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง ของอนิจจลักษณะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น