วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ดังตฤณวิสัชนา On Air ครั้งที่ ๑๑๑ / วันที่ ๕ ต.ค. ๕๕

« กลับสู่สารบัญเรียงตามครั้งที่ออกอากาศ

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้วันศุกร์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕ นี่คือรายการดังตฤณวิสัชนา ผมดังตฤณมาตอบคำถามให้คุณเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงทุกคืนวันจันทร์ พุธและศุกร์เวลาสามทุ่มตรงเพื่อจะไถ่ถามเข้ามาในรายการนะครับ ก็เข้าไปที่ http://www.facebook.com/dungtrin

คืนนี้ก็มาพร้อมฝนนะ ฝนตกหนักพอสมควร คิดว่าคงจะทั่วฟ้าแหละเป็นฝนตกทั่วฟ้าเพราะว่ามันมาจาก มันเป็นผลกระทบมาจากพายุนะ เห็นเค้าว่านะ เอ่อก็พวกเราก็โชคดีแล้ว ไม่ใช่ศูนย์กลางพายุนะ อันนี้เป็นเศษ หลายคนคงอาจจะยังไม่ถึงบ้าน



๑) ขอคำชี้แนะด้วยมักจะเกิดความไม่พอใจ โกรธเมื่อเจอกับคนที่มีความคิดต่างจากตัวเองจะคิดว่าความคิดของตัวเองถูกโดยจะตั้งป้อมปิดกั้นความคิดในมุมมองของคนอื่น เถียงอยู่ในใจตลอด ไม่ชอบนิสัยแบบนี้ค่ะ จะฝึกแก้ไขปรับปรุงอย่างไรดี?

ปกติ เอ่อ นะฮะ คนทั่วไปนี่เค้าจะมีความเข้าข้างตัวเองแล้วก็มองไม่เห็นว่าตัวเอง คิดว่าตัวเอง คือไม่มองว่าตัวเองกำลังสำคัญตัวแบบผิดๆอยู่นะ ด้วยการเห็นว่าทุกความคิดของตนเป็นความคิดที่ถูกต้อง คนส่วนใหญ่เนี่ยนะก็จะเข้าข้างตัวเองแล้วก็ไม่ไปพยายามแก้ไข อันนี้ของคุณจิ้มลิ้มนี่ถือว่าเป็นคนพิเศษ โดยกรรมนะ โดยกรรมนะครับแค่คิดว่าไม่ชอบที่ตัวเองเอ่อคอยจะค้านหรือว่าเกิดอัตตาอย่างใหญ่ขึ้นมาเวลาที่มีใครขัดคอเนี่ยนะแล้วก็อยากปรับปรุงแก้ไขนิสัยนี้ นี่ถือว่าเป็นกรรมของคนพิเศษแล้ว อันนี้แหละที่พิเศษจริง ไอ้ประเภทที่ว่าจะเข้าข้างตัวเองตลอดศกแล้วก็ไม่คิดปรับปรุงแก้ไขเลย ไม่คิดที่จะลดความโอหัง อหังการ์ของตัวเองลงเลยเนี่ย อันนี้เป็นคนธรรมดา ที่พูดอย่างนี้ว่าเป็นคนธรรมดาเพราะอะไร เพราะว่าเกือบร้อยทั้งร้อยอ่ะไปถามดูเถอะนะ มันก็อย่างนี้กันทั้งนั้นแหละ คือไม่ใช่ เฉพาะคุณจิ้มลิ้มเนี่ยที่มีความรู้สึกแบบนี้ ไม่ว่าจะชายหรือหญิงนะไม่ชอบให้ใครขัดคอแล้วก็รู้สึกว่าตัวเองเนี่ย ถ้าเชื่ออะไรแล้วสิ่งที่เชื่อนั่นแหละถูกต้อง สิ่งที่เราปักใจนั่นแหละมันประเสริฐสุด มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะไปคัดค้าน เพราะว่าถ้าคัดค้านกันแล้วเนี่ย ขืนเราไปยอมตามที่เค้าคัดค้านมันเท่ากับว่าเรา เอ่อ เหมือนกับยืนอยู่นิ่งๆได้ดีๆเนี่ยแล้วโดนคนขัดขาแล้วก็เป๋ เป๋ไปเนี่ย คนเราไม่ชอบโดนขัดขาให้เป๋ เหมือนไม่ชอบให้ใครมาขัดใจให้เกิดความรู้สึกซวนเซหรือว่าเรรวนขึ้นมานะว่า เอ๊ะ ไอ้ที่เราคิดอยู่ ไอ้ที่เราปักใจเชื่ออยู่เนี่ย ตกลงมันไม่ถูกหรอกหรือ ไม่มีใครชอบ แต่พอเห็นว่าตัวเอง มากเกินไป นะ คือไปยึดแล้วก็ทั้งๆที่บางทีส่วนลึกมันทราบอยู่นะว่าของเราอาจจะผิดก็ได้ ของเราอาจจะไม่ถูกต้องก็ได้ ของเราอาจจะ เอ่อ มีอะไรที่มองไม่เท่าเค้า เห็นไม่เท่าเค้า รู้ไม่เท่าเค้า อะไรแบบนี้ แล้วก็อยากที่จะปรับปรุตัวเองนะให้จิตให้ใจมันมีความถูกความตรงนะ ตรงกะไอ้ลักษณะความเป็นจริงหรือว่าไอ้ลักษณะของเอ่อ ทางเลือกที่ถูกต้องมากกว่า ก็ขอให้มองเป็นอันดับแรกเลยนะว่านี่คือ กรรม นะของคนพิเศษ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆแล้วหาไม่ได้ง่ายๆ กรรมอะไรก็แล้วแต่เนี่ยที่ไม่ได้หากันได้ง่ายๆนั่นคือกรรมของคนพิเศษ ไม่ว่าจะพิเศษในทางดีหรือทางร้ายนะ ส่วนใหญ่ก็จะพิเศษในทางร้ายกัน คือ เอ่อ คิดแบบแหวกแนวนะแต่เสร็จแล้วก็เอาตัวไม่รอดนะจากความทุกข์ ดึงตัวเองไปสู่ความทุกข์ที่แหวกแนวจากคนอื่น ส่วนคนที่นะ จะฉุดตัวเองขึ้นไปหาความสุขนะ ในแบบที่แหวกแนวจากคนอื่นเนี่ย อันนี้เป็นคนพิเศษแบบดี เป็นพิเศษให้แบบที่จะทำให้เกิดความสุขความเจริญนะ ก็ขอให้มองไว้เป็นอันดับแรกเลยว่าสิ่งที่เรากำลังทำเนี่ยมันมีค่า พอเห็นว่านี่คือกรรมพิเศษที่มีค่ามันจะได้มีกำลังใจมากขึ้น คือปกติเนี่ยเราอาจจะแค่รู้สึกว่ามันไม่ดีเลยนะที่เรานิสัยแบบนี้ เสร็จแล้วมองไม่เห็นว่าถ้าเปลี่ยน เปลี่ยนไปแล้วเนี่ยมันจะมีอะไรแตกต่างไป เราก็กำกับคำให้ชัดๆไปเลยว่านี่คือกรรมที่พิเศษนะที่จะทำให้มีความสุขความเจริญมากกว่าคนอื่นนะ อันดับต่อไปก็คือ ขอให้มองนะว่าถ้าเราอยากจะมีความสุขความเจริญเนี่ยมันสังเกตกันที่ไหน เห็นได้ก่อนเลย อันดับแรกเลยนะว่ากันที่ใจ ถ้าหากว่าทำอะไรแล้วมีความสบาย มีความปลอดโปร่ง มีความรู้สึกว่าเรายืนข้างถูก เรายืนข้างความสว่าง ความขาว ความเย็น ถ้าเห็นได้นะ ดูเข้ามาที่ใจแล้วเห็นได้อย่างนี้ว่าเรากำลังยืนอยู่ข้างความสว่าง ข้างความเย็น ข้างความปลอดโปร่ง ข้างความสุข ข้างความเจริญ จิตมันจะฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็รู้สึกว่านี่แหละ เลือกอย่างนี้แหละถูกแล้ว คือไม่ใช่เลือกที่วิธีคิดแต่เลือกที่จิต เลือกที่ใจ ความคิดน่ะมันเปลี่ยนไปได้ เราแก้ใหม่ก็ได้นะ มีข้อมูลใหม่ก็อัพเดทใหม่ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ หรือว่าอาทิตย์หน้าถ้าหากว่ามีใครให้เหตุผลที่ดีกว่าที่เรายึดเราสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดได้ตลอดแต่สิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงได้ยากคือจิตนะ จิตที่มีความรู้สึกว่าเราอยู่กับความถูกต้อง เราอยู่กับความสว่าง เราอยู่กับภาคที่ ภาคของตัวตนที่มันมีอัตตาน้อยลง มันมีอุปาทานน้อยลง มันมีความอึดอัดน้อยลง นี่คนทั่วไปเนี่ยอึดอัดอยู่กับอุปาทานว่าอัตตาเท่านั้นนะที่น่าบูชาที่น่ายกย่อง อัตตาของตนเท่านั้นที่มันเป็นความถูกต้องสูงสุดราวกับว่าอัตตานี่เป็นกฎหมายนะในใจของเราเนี่ย โลกของเรา จักรวาลของเราเนี่ยเหมือนกับอัตตาของเราเนี่ยเป็นประธานใหญ่ในการบัญญัติกฎหมาย กฎกติกาธรรมชาติ ถ้าเชื่ออะไรแล้วต้อง เอ่อ สิ่งนั้นต้องถูกต้องเสมอเนี่ย มันถึงได้เกิดศาสนาต่างๆ เกิดลัทธิต่างๆกันขึ้นมาไงว่าโอ๊ยไม่มีหรอกนรกสวรรค์ โอ๊ยไม่มีหรอกไอ้กรรม ผลของกรรมอะไรต่างๆเนี่ย พอไปยึดเข้าแล้วเนี่ย โดยไม่ต้องอาศัยเหตุผล อาศัยหลักฐานอะไรเลยนะ จะมีความปักใจเชื่อ เชื่อว่ามันจะต้องถูกต้องนะ เหตุผลอะไรไม่ต้องไปสนใจแล้วพอเห็นใครเค้ามีความเชื่อต่างไป เค้าเลื่อมใส เค้าเชื่อเรื่องผลของกรรม เค้าเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ เค้าเชื่อเรื่อง ก็ไปดูถูกไปด่าว่าเค้าเนี่ย ลักษณะอย่างนี้เนี่ยเป็นลักษณะของความอึดอัดที่เกิดจากอัตตาที่มันใหญ่เกินที่มันมาเบียดบังปัญญาหมด ที่มันคิดมันรู้สึกว่าอัตตาของเราเนี่ยคือศาสดาพอมองอย่างนี้นะสรุปง่ายๆว่าข้อสองเนี่ยนะก็คือเห็นว่าจิตใจนะที่มันมีเหตุมีผลแล้วก็ยอมรับฟัง อะไรที่มันอยู่ข้างความสว่างข้างความถูกต้องเนี่ยเป็นจิตที่มีความปลอดโปร่ง เป็นจิตที่มีความสว่าง เป็นจิตที่มีความพร้อมที่จะสุข พร้อมที่จะเจริญนะครับแล้วก็สามารถจะรับอะไรใหม่ๆเข้ามาสร้างความเติบโตทางวิญญาณให้ตัวเองได้ พอมองถึงผลประโยชน์ไปทุกครั้งนะสิ่งที่เกิดขึ้นเนี่ยมันจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่าเราเป็นคนอ่อนโยนลงมีความหัวอ่อนให้กับความถูกต้องแล้วก็มีความแข็งขืนให้กับความผิดความบาป คือไม่ใช่ว่าเราไปยอมตามเหตุผลของทุกคน ถ้าหากว่าเรามีจุดยืนของพุทธศาสนาแล้ว ความถูกต้องหมายถึงการไม่เบียดเบียนกัน การอยู่ในกรอบของศีล การที่มีน้ำใจให้ เสียสละให้เป็นทาน ถ้าหากว่าเราสามารถที่จะเอาไอ้ตัวนี้เป็นความดื้อนะ ดื้อที่จะดีนะเราก็จะรู้สึกว่าไอ้ความดื้อนี้ไม่ใช่ความดื้อที่ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง ตรงข้ามถ้าหากว่าเรายึดมั่นถือมั่นนะใน เอ่อ ศรัทธา กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นะที่จะ เอ่อดำเนินตามรอยบาทพระศาสดานะครับที่ท่านจะมีน้ำใจเสียสละ เราก็มีน้ำใจเสียสละบ้าง ที่ท่านรักษาศีลเราก็รักษาศีลบ้าง อย่างนี้เนี่ยนะเป็นความยึดในแบบที่จะทำให้วางในที่สุดนะ เพราะอะไร เพราะว่าเมื่อมีน้ำใจให้ทานเมื่อรักษาศีลได้สะอาดแล้วเราก็จะมีกำลัง มีความสามารถที่จะเจริญสติ เห็นตามจริงว่ากายใจนี้มันไม่เที่ยงมันไม่ใช่ตัวตน อันนี้พูดเลยไปถึงที่สุดของพระพุทธศาสนาเลยนะครับ ถ้าหากว่าเรามองได้ว่าเลิกดื้อซะได้มันจะสามารถเปิดประตูต้อนรับอะไรใหม่ๆ อะไรดีๆ อะไรที่มันสว่างเข้ามาไม่มีที่สิ้นสุดนะ ไปสุดทางจริงๆก็ตรงอรหัตตผลนั่นแหละ นะครับ



๒) ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ สิ่งที่ควรได้ทำหรือทำให้ได้ในทางธรรมคืออะไรครับ?

อันนี้ก็ต้องมองนะว่าพระศาสดาของศาสนาพุทธเนี่ยตั้งพุทธศาสนา สถาปนาพุทธศาสนาเนี่ยขึ้นมาด้วยจุดประสงค์อะไรนะครับ ถ้าหากว่ามองกันที่ความเป็นพุทธนะแล้วได้คำตอบชัดเจน อันนั้นแหละก็จะเป็นคำตอบให้กับโจทย์ข้อนี้เช่นกัน เพราะอะไร เพราะว่าพุทธศาสนาไม่ได้พูดเรื่องจะทำอัตตาให้มันดีที่สุดแต่ตรงข้ามเลยจะทำอัตตาให้มันหายไปได้อย่างไร เพราะว่าถ้าอัตตาหายไปได้นะไอ้สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นตามหลังต่อมาเป็นเงาตามตัวก็คือความเป็นอิสระจากต้นเหตุแห่งทุกข์ ต้นเหตุแห่งทุกข์ทางพุทธศาสนาเนี่ย พระศาสดาเราค้นพบว่ามันเป็นอาการที่ใจมันพุ่งๆออกไป มันทยานออกไปยึด มันมีลักษณะที่กระวนกระวาย มันมีลักษณะที่รุ่มร้อนนะ ด้วยเหตุคือ มีความอยากโน่นอยากนี่ อยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากมี อยากดี อยากเป็น ลักษณะของความอยากทั้งหลายเนี่ยที่มันเกิดขึ้นแก่พวกเราทุกเมื่อเชื่อวันแม้กระทั่งแม้ในขณะนี้ ในวันนี้เนี่ยนะ มันก็ไม่ได้หายไปไหน ไม่ว่า คือเราๆท่านๆเนี่ยยังเวียนว่ายกันอยู่ในวงจร วัฏฏะของความอยาก ไอ้นี่แหละที่มันเป็นต้นเหตุของความกระวนกระวายทางใจ ต้นเหตุของความรุ่มร้อนทางใจซึ่งพระพุทธเจ้าเนี่ยนะท่านอุบัติขึ้นมาและค้นพบว่าถ้าหากสามารถดับความกระวนกระวายอันเกิดจากอยากทั้งปวงนี้ได้จิตจะเข้าสู่ความสงบในแบบที่ไม่กลับกำเริบขึ้นมาอีกได้ นี่ตรงนี้ถ้าไม่มีการค้นพบไม่มีการรับรองยืนยันจากบุคคลระดับศาสดาแล้วเนี่ยก็จะไม่มีใครในโลกเลยที่มั่นใจว่ามีภาวะอย่างนั้นได้จริง แล้วถ้าหากว่าไม่มีคนทำตาม ไม่มีคนพิสูจน์จนเห็นผลก็จะไม่มีการสืบทอดคำยืนยันที่จะตกทอดจากรุ่นถึงรุ่นไปได้ นอกจากนั้นก็จะต้องมีคนพบเห็นบุคคลอันเป็นหลักฐานของพระพุทธศาสนา สามารถที่จะอยู่ใกล้ชิดกับพวกท่านแล้วรู้ว่าเอ่อดีจริง เย็นจริงแล้วก็รู้สึกว่าพวกท่านไม่มีทุกข์จริงๆมันก็จะเกิดแรงบันดาลใจ ที่นี้ถ้าหากว่า เอ่อเราไม่มีแรงบันดาลใจที่จะให้ทำตามแบบนั้นเราก็ยังเป็นคนธรรมดาที่ตั้งคำถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่สุดที่ควรทำที่พึงมีในฐานะของมนุษย์ถ้าหากว่ามองว่านี่ไม่ใช่แค่ชาติเดียว นี่ไม่ใช่แค่เกิดหนเดียวตายหนเดียวแต่เป็นการอยู่ในระหว่างการเดินทางที่ไม่มีต้นไม่มีปลายอยู่ในระหว่างการเดินทางเวียนว่ายตายเกิดเป็นอนันตชาติ อะไรล่ะที่จะถือว่าคุ้มกับการเกิดมามากที่สุด ไอ้ตรงนี้ถ้าหากว่าเรามานั่งหาคำตอบกันจากคนร้อยคนเราก็จะได้ร้อยคำตอบแต่ถ้าหากว่าไปหาคำตอบจากพระอรหันต์ท่าน ท่านก็จะบอกว่าหาให้เจอว่าอะไรคือต้นเหตุของความกระวนกระวาย อะไรคือต้นเหตุของความทุกข์ ถ้าหากว่าดับต้นเหตุของความกระวนกระวาย ดับต้นเหตุของความทุกข์ความร้อนได้แล้วมันก็จะพลอยตัดภพตัดชาติไม่ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้อีโหน่อีเหน่ไปด้วยนะ เอาเป็นข้อสรุปก็คือ เรามาถามพระศาสดากันก็แล้วกันคิดอย่างนี้นะว่าถ้าพระศาสดาท่านยังอยู่แล้วไปตั้งคำถามนี้แล้วท่านจะตอบว่าอย่างไร อันนี้มั่นใจได้เลยว่าพระพุทธเจ้านะครับจะตรัสตอบว่าขอให้ค้นให้พบเถิดว่าอะไรคือต้นเหตุของความทุกข์ อะไรคือต้นเหตุของภพชาติแล้วพยายามดับสิ่งนั้นซะ นี่แหละที่มันควรทำให้ได้ ควรจะศึกษาให้เข้าใจกระจ่าง นะครับ



คำถามของคุณโมนานะ อ่า ไม่ใช่คำถามนะก็ขอขอบคุณเช่นกันนะครับกับกำลังใจ



๓) ถ้าอยู่ๆความคิดสมน้ำหน้าก็ผุดขึ้นมาในหัวทั้งๆที่เราไม่ได้ตั้งใจจะคิดอย่างนี้ถือว่าเป็นกรรมทางความคิดมั้ย?

อ่านี่ผมจะบอกอย่างละเอียดเลยว่ากลไกของกรรมนะ กลไกของความคิดมันเกิดขึ้นได้อย่างไรนะครับ เอ่อสิ่งที่เรามักจะรู้สึกกันก็คือ ไอ้ความคิดแบบนี้อยู่ๆมันเกิดขึ้น เราไม่ได้ตั้งใจนะ ไอ้ลักษณะของความคิดแบบนั้นเนี่ยยังไงมันก็เป็นความรู้สึก ให้ความรู้สึกว่าเป็นความคิดของเราอยู่ดี เพราะอะไร ต้องมองแบบนักเจริญสตินะอย่ามองแบบคนที่ไม่รู้อะไรเลย มองอย่างนักเจริญสติจะเห็นว่าความคิดเป็นสิ่งกระทบที่เกิดขึ้นนอกจิตนอกใจนะ ไม่ใช่สิ่งเดียวกับใจนะ หลายคน ไม่ใช่หลายคน ทุกคนนะที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะสำคัญผิดคิดว่าความคิดเนี่ยมันก็คือจิต มันก็คือใจแล้วจิตใจเนี่ยมันก็คือตัวเรา เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าความคิดใดเกิดขึ้น เราต้องรับผิดชอบ นี่มันเกิดอุปาทานขึ้นมาแล้วเนี่ยว่าความคิดเป็นเราเนี่ยเพราะฉะนั้นเราก็ต้องรับผิดเป็นผู้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น นี้ถ้ามองในมุมของนักเจริญสติจะเห็นว่าใจอยู่ส่วนใจความคิดอยู่ส่วนความคิดยังไม่เกี่ยวข้องกันนะ คือพอเราสั่งสมประสบการณ์มา สั่งสมประสบการณ์อะไรมามากๆเนี่ย ประสบการณ์เหล่านั้นมันจะวนเวียนในรูปของไอ้ความเป็นไปได้ที่จะกลับมาย้อนกลับมาผุดขึ้นในหัว ไอ้ความเป็นไปได้ที่ธรรมชาติมันจะยิงความคิดเข้ามากระทบใจในแต่ละขณะเนี่ย ไอ้ตัวนั้นเนี่ยนะ ท่านถือว่าเป็นอายตนะภายนอกคือความคิด คือความจำ หรือว่าแม้กระทั่งความรู้สึกอยากสมน้ำหน้าใครขึ้นมาแล้วไอ้ความคิดความจำหรือไอ้การปรุงแต่งแบบนั้นเนี่ย ถ้า เดี๋ยวๆ คืออย่างนี้ความจำนะถ้าหากว่ามันผุดขึ้นกระทบใจแล้วเกิดเป็นปฏิกิริยาว่าเฮ้ยอยากสมน้ำหน้าคนๆนึงขึ้นมา อันนั้นเป็น เรียกว่าเป็นความคิดที่เป็นอกุศลคือเกิดความรู้สึกหมั่นไส้เกิดความรู้สึกสมน้ำหน้าอะไรขึ้นมา มันต้องมีอีกความคิดความจำอะไรอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน นำหน้านะ เข้ากระทบใจแล้วเกิดเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีสวนออกไป เกิดเป็นปฏิกิริยาสวนออกไป ไอ้ความรู้สึกแบบนี้เนี่ยมันจะเกิดขึ้นเองลอยๆไม่ได้ถ้าไม่มีความจำนำหน้าขึ้นมากระทบใจขึ้นมาก่อน หรือถ้าหากว่าเราไปมองหน้าใครที่เค้ากำลังเหมือนจะตกทุกข์ได้ยากแล้วจำได้ว่าไอ้คนๆนี้เนี่ยเคยทำให้เรารู้สึกไม่ดีมาก่อน เราไปสมน้ำหน้าเค้าอย่างนี้ก็เท่ากับว่ากลไกของการสมน้ำหน้าก็คือว่า ตาไปกระทบกับรูป แล้วรูปนั้นมันทำให้เรารู้สึกไม่ดีขึ้นมา ไม่ใช่ว่าอยู่ๆไอ้ความสมน้ำหน้าเนี่ยมันจะเกิดขึ้นเองได้ ถ้าหากว่าความรู้สึกสมน้ำหน้ามันเกิดขึ้นแล้วมีตัวๆนึงนะที่เรียกว่าสติมาทำความรับรู้และเกิดความระลึกขึ้นมาได้ว่าอย่างนี้เป็นอกุศล อย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีแล้วเปลี่ยนใหม่จิตมันเกิดการปรุงแต่งใหม่เป็นความรู้สึกที่ว่าเราไม่ควรจะไปสมน้ำหน้า ไอ้นี่เป็นความคิดที่เป็นกุศลแล้วนะ ทั้งหมดทั้งปวงเนี่ยไม่มีตัวเราอยู่เลยนะ ทั้งหมดทั้งปวงเนี่ยเป็นแค่สภาวธรรมที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุและมีผลถ้าหากว่าเราสามารถเห็นเหตุและเห็นผลได้ว่าที่มาที่ไปของความรู้สึกสมน้ำหน้าเนี่ยมันมีมาได้อย่างไรนะเราจะเข้าใจ เข้าใจอย่างขาด เข้าใจแบบคนที่อ่านออกทะลุว่าไม่มีตัวตนให้ต้องรับผิดชอบอย่างนี้จะอยู่เหนือบุญเหนือบาป นี้ถ้ามองจากมุมนี้นะว่าเพราะเหตุมันเป็นอกุศลจึงเกิดผลเป็นอกุศล เพราะเหตุเป็นกุศลผลจึงเป็นกุศลตามนะ ไม่มีตัวตนอยู่ในทั้งอกุศลและกุศลนั้น เราก็จะเอ่อสามารถที่จะมองย้อนกลับไปแล้วให้คำตอบตัวเองได้ว่าความคิดสมน้ำหน้าที่มันผุดขึ้นแวบเดียวเนี่ยไม่เป็นไรหรอก มันไม่ได้ถือว่าเป็นบาปเป็นกรรมอะไรมากมายคือกรรมมันยังไม่ได้เกิดขึ้นครบวงจรเพราะยังไม่ได้มีตัวเราเข้าไปตัดสิน ตัวเราเข้าไปผสมโรงหรือว่าตัวเราเข้าไปรับรองว่าความคิดอย่างนั้นดีแล้วชอบแล้วกรรมที่มันจะเป็นกรรมทางความคิดเต็มๆเนี่ยมันต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมีความตั้งมั่นอยู่ในเราคือพูดง่ายๆว่าจิตของเราไปยึดว่าไอ้ความคิดแบบนั้นเนี่ยดีจริงแล้วก็ควรจะหวงๆไว้เนี่ยตัวนี้ที่มันเป็นตัวเราที่มันเป็นกรรม เป็นมโนกรรมจริงๆที่จะต้องได้รับผล แต่ไอ้ประเภทที่เกิดขึ้นแค่แวบเดียวนะ เพราะมีอะไรกระทบ จะเป็นความจำเก่าๆหรือว่าจะเป็นแค่การเห็นหน้าแล้วรู้สึกไปชั่วแวบชั่ววาบเนี่ยมันยังไม่ได้เป็นอะไรมากมาย มากไปกว่าภาวะของอกุศลธรรมเกิดขึ้นแป๊บนึงแล้วก็หายไป



๔) หากนั่งสมาธิแล้วรู้ลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยแต่ไม่ได้นึกตามว่าลมหายใจไม่เที่ยงเหมือนรู้ไปทื่อๆอย่างนี้ทำผิดหรือเปล่าคะ?

มันก็ไม่ได้ผิดในแง่ของการพยายามที่จะผูกจิตผูกใจไว้กับสิ่งที่ไม่เป็นโทษนะ ถ้าหากว่าจิตของเราสามารถผูกอยู่กับลมหายใจอันไม่เป็นโทษได้ ในที่สุดจิตมันก็จะไม่ปรุงแต่งไปในทางที่เป็นโทษ คือมันก็จะไม่ฟุ้งซ่านนะ ลักษณะของจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านนะมันพร้อมที่จะเห็นอะไรตามจริงได้อันนั้นพูดง่ายๆว่าสงบแล้วค่อยไปต่อยอดเป็นการรู้เห็นตามจริงเนี่ยก็ยังไม่สายเกินไป เอ่ออย่าไปตัดสินว่าตรงไหนผิดตรงไหนถูกแบบเหมารวบยอดนะให้แยกเป็นส่วนๆ ถ้าหากว่าใจของเรายังอยู่กับลมหายใจไปเรื่อยๆแล้วก็มีความรู้สึกว่ามันค่อยๆลดอาการฟุ้งซ่านลงหรือความฟุ้งซ่านมันเบาบางลงอันนี้ถือว่าถูกในทางสมถะไว้ก่อนนะ ให้คิดอย่างนี้ก่อนนะ แล้วจากนั้นพอมันมีความรู้สึกว่าทั้งโลกไม่เหลืออะไรเลยนอกจากสายลมหายใจนะเดี๋ยวก็เข้าเดี๋ยวก็ออก เดี๋ยวก็เข้าเดี๋ยวก็ออกเนี่ยค่อยเอาไปสังเกตได้ใช้สังเกตจากจุดยืนตรงนั้นที่มันนิ่งแล้วว่าที่มันเข้าที่มันออกอยู่เนี่ยมันเป็นลมเดียวกันหรือเปล่า แล้วที่มันเข้าที่มันออกแต่ละครั้งเนี่ยมันยาวมันสั้นเท่ากันหรือเปล่า ค่อยๆสังเกตเปรียบเทียบอย่างนี้คือไม่ใช่ว่าอยู่ๆใครจะไปเริ่มต้นขึ้นมาแล้วไปเล็งเอาเห็น สามารถเล็งเห็นความไม่เที่ยงของภาวะทางกายทางใจได้เลยทันที ไม่ใช่นะ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนั้น ในสติปัฏฐานสี่ท่านสอนให้เปรียบเทียบก่อน เปรียบเทียบเป็นอย่างๆเดี๋ยวมันก็เข้าเดี๋ยวมันก็ออก ลมหายใจเนี่ยนะ เดี๋ยวมันก็ยาวเดี๋ยวมันก็สั้น มีลมหายใจอยู่แค่นั้นจนกระทั่งเกิดจิตที่มันถอยไปจากอาการที่ยึดมั่นถือมั่นนะว่ามัน เอ่อ ลมหายใจมันเที่ยง ลมหายใจมันเป็นตัวตน พอมันถอยออกไปเนี่ยลักษณะที่จิตมันจะปรากฏให้เราเองรับรู้ก็คือ จิตอยู่ส่วนจิต ลมหายใจอยู่ส่วนลมหายใจตรงนั้นแหละถึงค่อยมีความสามารถไปรับรู้ได้ว่าลมหายใจมันแสดงความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลามีแค่ภาวะความเป็นธาตุลมที่มีอาการพัดไหวเข้าแล้วก็พัดไหวออกคืนกลับไปสู่ภายนอก ไม่มีอะไรที่มัน เป็นตัวเป็นตนเป็นบุคคลหรือว่าก่อให้เกิดมโนภาพได้ว่านี่เป็นลมหายใจของคนหน้าตาแบบไหนเพศใดนะ มันมีแต่มโนภาพของสายลมหายใจที่เปรียบคล้ายสายน้ำเดี๋ยวก็ไหลเข้าเดี๋ยวก็ไหลออกอยู่อย่างนั้นแล้วไม่เพียงแต่ลมหายใจนะ ถ้าหากว่าจิตอยู่ในฐานะผู้รู้ผู้ดูลมหายใจแสดงความไม่เที่ยงแล้วมันก็สามารถที่จะเห็นได้ด้วยว่าแต่ละครั้งที่ลมหายใจเข้าแต่ละครั้งที่ลมหายใจออกเนี่ยนะ มันนำความรู้สึกที่ดีนำความรู้สึกที่ปลอดโปร่งมาแค่ไหนหรือว่านะมันเกิดความรู้สึกอึดอัดขึ้นมา ไปฝืนไปเกร็งไปบังคับลมหายใจเค้าหรือเปล่านะ ถ้าหากว่าสามารถเห็นได้ว่าแม้กระทั่งความอึดอัดความสบายเนี่ยมันก็กำลังไม่เที่ยงอยู่ตรงนั้นมันยิ่งจะเห็นลมหายใจชัดเข้าไปอีก หรือถ้าหากว่ามันกำลังดูอยู่ว่าลมหายใจที่กำลังแสดงความเข้าแสดงความออกอยู่นั้นเนี่ยนะมันก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางความคิดอย่างไรก็จะเห็นลึกซึ้งเข้าไปว่าเนี่ยลมหายใจนะถ้ามันมีความยาวมันมีความนุ่มนวล มันสามารถทำ มันสามารถสงบความฟุ้งซ่านได้ มันสามารถทำให้จิตเกิดความประณีตได้ จิตเกิดความรู้สึกว่าไม่เห็นจะต้องไปคิดนะอยู่นิ่งๆดีกว่า แต่ถ้าหากว่าลมหายใจหยาบๆ ลมหายใจเข้าสั้นออกสั้นนะ มันก่อให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ง่ายนี่เห็นไปอย่างนี้มันก็รู้ว่าไอ้ที่ไม่เที่ยงเนี่ยมันไม่เที่ยงอย่างมีเหตุไม่ใช่ไม่มีเหตุนะแล้วถ้าหากว่าเห็นทั้งเหตุผลของฝ่ายดีเหตุผลของฝ่ายไม่ดีเนี่ยนะในที่สุดเราจะเลือกแต่เหตุของฝ่ายดีนะ พูดง่ายๆว่าเห็นว่าเป็นอนัตตาฝ่ายดีนะที่เราควรเข้าข้าง

เอาละครับคิดว่าในวันนี้คงต้องล่ำลากันที่นาทีนี้ ราตรีสวัสดิ์ ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านนะครับ

« กลับสู่สารบัญเรียงตามครั้งที่ออกอากาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น